Rotary Timeline




รากฐานแห่งมิตรไมตรี

พ.ศ.๒๔๔๘
นักกฎหมายแห่งนครชิคาโก พอล พี. แฮร์รีสจัดให้มีการประชุมโรตารีครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ณ ห้องชุดเลขที่ ๗๑๑ อาคารยูนิตี้ในเมืองชิคาโก  แฮร์รีสตั้งใจที่จะจัดตั้งสโมสรแห่งนักวิชาชีพที่มาจากหลากหลายสาขาอาชีพ ในวันประชุมแรกนี้ยังมีสมาชิกอีกสามคนคือ กุสตาวูส เลอห์  ฮิแรม ชอห์เร่ และซิลเวสเตอร์ ชีล อันเป็นที่มาของสโมสรเพื่อการบำเพ็ญประโยชน์แห่งแรกของโลก ที่ชื่อว่าสโมสรโรตารีชิคาโก
พ.ศ.๒๔๕๐
สโมสรโรตารีชิคาโกเริ่มปฏิบัติการบำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์สาธารณะครั้งแรก โดยจัดประชุมร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อจัดสร้างส้วมสาธารณะ เพื่อปรับปรุงสภาพสุขอนามัยชุมชน
"เพื่อนร่วมสโมสรเห็นพ้องด้วยกับสิ่งที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ตลอดมาว่า การให้นั้นต้องอยู่เหนือการรับ"
พอล แฮร์รีส เขียนไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ "ยุคแห่งโรตารีในปัจจุบัน"
พ.ศ.๒๔๕๑
สโมสรโรตารีแห่งที่สองได้ก่อกำเนิดขึ้นในชื่อว่า สโมสรโรตารีโรตารีซานฟรานซิสโก โดยได้รับสารตราตั้งเมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน สมาชิกก่อตั้งประกอบด้วย โฮเมอร์ วู้ด  เชสเตอร์ เอช. วูลเซ่ย์ และรอย อาร์. โรเจอร์ส ซึ่งร่วมอยู่ในพิธีฉลองสารตราตั้ง สมาขิกในสโมสรเลือกวู้ดเป็นนายกก่อตั้งของสโมสร และเขาเป็นที่รู้จักต่อมาว่าเป็นบิดาแห่งโรตารีแห่งฝั่งแปซิฟิค

พ.ศ.๒๕๕๓
สโมสรโรตารทั้งหมดที่รวมตัวกันเป็นสมาคมโรตารีในอเมริกาแห่งชาติ ได้ร่วมกันจัดประชุมใหญ่ครั้งแรกที่นครชิคาโก ณ โรงแรมเดอะคองเกรส ในวันที่ ๑๕-๑๗ สิงหาคม มีผู้ลงทะเบียนร่วมประชุม ๖๐ คน พวกเขาเลือกผู้ก่อตั้งองค์กรโรตารี พอล แฮร์รีสเป็นประธานสมาคมฯ คนแรก ในขณะนั้นมีสโมสรโรตารีอยู่ ๑๖ สโมสร และมีสมาชิกทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา รวม ๑,๐๐๐ คน
พ.ศ.๒๔๕๔
โรตารีจัดพิมพ์นิตยสารครั้งแรกชื่อ "เดอะเนชั่นแนลโรแทเรียน (ภายหลังเปลี่ยนแป็น เดอะโรแทเรียน) โดยมีเชสเล่ย์ เพอร์รี่เป็นบรรณาธิการ ฉบับแรกออกในเดือนมกราคม เป็นนิตยสารหนา ๑๒ หน้า ประกอบด้วยบทความต่าง ๆ รวมถึงข้อเขียนจากพอล แฮร์รีสเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสโมสรโรตารี การประกาศก่อตั้งสโมสรใหม่และข่าวต่าง ๆ ที่สโมสรส่งเข้ามา


โรตารีก้าวขึ้นสู่องค์กรระดับโลก

พ.ศ.๒๔๕๕
สโมสรโรตารีแห่งแรกที่ก่อตั้งนอกประเทศสหรัฐอเมริกาคือสโมสรโรตารีวินนีเพก รัฐแมนนิโทบา ประเทศแคนาดา ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ซึ่งใช้เวลานาน ๒ ปีหลังจากมีการประชุมกันครั้งแรก ส่วนสโมสรโรตารีลอนดอนเป็นสโมสรแรกที่โรตารีก่อตั้งในยุโรป ในปีนี้สมาคมโรตารีอเมริกาแห่งชาติเปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมสโมสรโรตารีสากล เพื่อสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เริ่มมีสโมสรนอกประเทศอเมริกาแล้ว
Courtesy of the Rotary Club of Winnipeg.
1914
สโมสรโรตารีในอังกฤษและไอร์แลนด์รวมตัวกันตั้งสมาคมสโมสรโรตารีแห่งอังกฤษ โดยมี อาร์ ดับเบิลยู เพนท์แลนด์เป็นประธานสมาคมฯ ในการประชุมใหญ่โรตารีในปีนั้น ที่ประชุมมีมติรับการก่อตั้งสมาคมนี้ซึ่งมีสมาชิกโรตารีรวม ๑,๑๒๘ คน

พ.ศ.๒๕๕๙
สโมสรโรตารีฮาวานา ประเทศคิวบา เป็นสโมสรแรกในโลกที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษในการประชุม  สโมสรนี้ได้รับการก่อตั้งในวันที่ ๒๙ เมษายน มีสมาชิกก่อตั้ง ๒๒ คน สโมสรนี้มีบทบาทสำคัญในการร่วมวางแผนเมือง และในปี พ.ศ.๒๔๖๐ ได้ช่วยร่างกฎหมายจราจรให้กับประเทศด้วย


พ.ศ.๒๔๖๐
ประธานโรตารีสากลอาร์ค ซี คลัมพ์เสนอให้ตั้งกองทุนจากการบริจาคเพื่อวัตถุประสงค์ในทำสิ่งดี ๆ แก่โลกนี้  กองทุนนี้มีผู้บริจาครวมกันในครั้งแรก ๒๖.๕๐ เหรียญสหรัฐ โดยสโมสรโรตารีแคนซัส ซิตี้ รัฐมิซซูรี สหรัฐอเมริกา กองทุนนี้เกิดขึ้นจนนำไปสู่การก่อตั้งมูลนิธิโรตารี อันเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่สนับสนุนกิจกรรมของโรตารีสากล 
พ.ศ.๒๔๖๑
โรแทเรียนจากประเทศสหรัฐอเมริกา แอนซิล บราวน์ก่อตั้งสโมสรพันธมิตรโรตารีแห่งประเทศฝรั่งเศสในปารีส สโมสรนี้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ณ โรงแรมคอนติเนนตัล บราวน์เป็นนายกสโมสรคนแรก และได้เชิญโรแทเรียนจากสหรัฐอเมริกาที่มาปฏิบัติหน้าในระหว่างสงครามที่อาศัยอยู่ในปารีสมาร่วมประชุม
สโมสรโรตารีมอนเตวีดีโอ ประเทศอุรุไกวเป็นสโมสรแรกที่ก่อตั้งขึ้นสำหรับประเทศที่อยู่ตำ่กว่าเส้นศูนย์สูตร
พ.ศ.๒๔๖๒

การสัมมนาอบรมผู้ว่าการภาคเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน สโมสรโรตารีมะนิลาเป็นสโมสรแรกในเอเซียที่ได้รับเข้าสู่องค์กรโรตารีเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม และสโมสรโรตารีเซี่ยงไฮ้เป็นสโมสรแรกในประเทศจีน
พ.ศ.๒๔๖๔
สโมสรโรตารียอร์ค ประเทศอังกฤษ เป็นสโมสรแห่งที่ ๑,๐๐๐ ของโรตารีที่ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม สโมสรที่ก่อตั้งพร้อมกันเป็นครั้งแรกในประเทศออสเตรเลียคือ สโมสรโรตารีเมลเบอร์น สโมสรโรตารีวิกตอเรีย และสโมสรโรตารีซิดนีย์ ส่วนสโมสรแห่งแรกในทวีปอัฟริกาคือ สโมสรโรตารีโยฮันเนสเบอร์กในประเทศอัฟริกาใต้
พ.ศ.๒๔๖๕
มีการใช้ชื่อ "โรตารีสากล" เป็นครั้งแรก อันสืบเนื่องจากการได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ระหว่างประเทศที่พิจารณารับธรรมนูญและข้อบังคับฉบับใหม่

พ.ศ.๒๔๖๗
คณะกรรมการบริหารโรตารีสากลได้มีมติให้ใช้ตราสัญลักษณ์แบบใหม่ของโรตารี ที่ปรับปรุงจากรูปโลโกวงล้อเดิมที่เริ่มใช้ในปี พ.ศ.๒๔๖๑ โลโก้ใหม่นี้เป็นรูปเฟืองที่มีช่องกุญแจเพลาที่สะท้อนความเป็นจริงยิ่งขึ้น

พ.ศ.๒๔๗๑
โรแทเรียนจากประเทศแคนาดา เจมส์ ดับเบิลยู เดวิดสันรับภารกิจสำคัญในการเป็นฑูตโรตารี เผยแพร่อุดมการณ์ขององค์กรโรตารีในเอเซียและตะวันออกกลาง ในระยะเวลา ๓ ปีของการปฏิบัติหน้าที่ เดวิดสันสามารถก่อตั้ง ๒๓ สโมสรใน ๑๒ ประเทศ ตั้งแต่ด้านตะวันตกที่ประเทศตุรกีไปถึงตะวันออกเช่นประเทศไทย

พ.ศ.๒๔๗๒
มูลนิธิโรตารีมอบของขวัญชิ้นแรกเป็นจำนวนเงิน ๕๐๐ เหรียญสหรัฐ แก่เนชั่นแนลโซไซตี้เพื่อเด็กพิการ และต่อมาก็มอบให้มูลนิธิอีสเตอร์ ซีลที่ก่อตั้งในปี พ.ศ.๒๔๖๔ โดยโรแทเรียนเอ็ดการ์ เอฟ. อัลเลนแห่งสโมสรโรตารีเอลิเรีย รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีพอล แฮร์รีสเป็นประธาน

พ.ศ. ๒๔๗๓

สโมสรโรตารีกรุงเทพคือสโมสรโรตารีแห่งแรกในประเทศไทย ได้รับการก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๔๗๓ โดยมีการประชุมเพื่อก่อตั้งสโมสร ณ วังพญาไท กรุงเทพฯ มีสมาชิกร่วมก่อตั้งจำนวน ๖๙ คนจากประเทศต่าง ๆ รวม ๑๕ ประเทศ  พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้รับเลือกเป็นนายกก่อตั้งของสโมสร สโมสรได้รับสารตราตั้งเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๓

ห้วงเวลาเปลี่ยนผ่าน
พ.ศ.๒๔๗๓
โรตารีฉลองครอบรอบ ๒๕ ปีในการประชุมใหญ่ที่ชิคาโก เมื่อวันที่ ๒๓-๒๗ มิถุนายน มีประธานโรตารีสากลในอดีตทุกคน (ขาดไปสามคน) ร่วมประชุมด้วย โรแทเรียนใช้โอกาสนี้เยี่ยมมหาวิทยาลัยชิคาโก ล่องเรือในทะเลสาบมิชิแกน เล่นกอล์ฟในกว่า ๓๐ สนาม ภริยาที่ร่วมเดินทางมาประชุมได้ร่วมรับประทานอาหารว่างในโรงแรมเอดจ์วอเตอร์ และทั้งหมดยังได้เข้าร่วมงานเวเนเชี่ยนคาร์นิวัลที่จัดบนท่าเรือของกองทัพเรือ
พ.ศ.๒๔๘๓
สงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นเหตุการณ์ที่ทดสอบความหวังของโรตารีในเรื่องสันติภาพ โรแทเรียนได้ร่วมกันตั้งกองทุนเพื่อการช่วยเหลือฟื้นฟูเหยื่อจากภัยสงคราม และยังได้ช่วยร่างบทบัญญัติสหประชาชาติที่เรียกว่า "การยอมรับในสิทธิมนุษยชน" ถือเป็นการวางรากฐานบทบาทที่เด่นชัดของโรตารีในการส่งเสริมสันติภาพในโลก
พ.ศ.๒๔๘๖
โรตารีสากลมีมติรับหลักการ "การทดสอบสี่แนวทาง" ซึ่งเป็นหลักการโรตารีที่มีการพิมพ์เผยแพร่ทั่วโลก เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งจรรยาบรรณทางธุรกิจ หลักทดสอบสี่แนวทางนี้คิดขึ้นโดยเฮอร์เบิร์ต เจ. เทย์เลอร์ สมาชิกสโมสรโรตารีชิคาโกซึ่งต่อมาเป็นประธานโรตารีสากลปี พ.ศ.๒๔๙๗-๙๘ หลักการที่ใช้คำพูด ๒๔ คำนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในโรงงานผลิตอลูมิเนียมแห่งหนึ่งที่กำลังจะล้มละลายเนื่องจากภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในสหรัฐอเมริกา.
พ.ศ.๒๔๘๘
โรแทเรียนจำนวน ๔๙ คนได้รับเชิญให้ร่วมเสนอร่างกฎบัตรสหประชาชาติ โรตารีสากลได้รับเชิญให้เป็นที่ปรึกษาในการประชุมร่างกฎบัตรสหประชาชาติ มีโรแทเรียนบางท่านช่วยแปลเอกสารและร่วมแก้ไขข้อขัดแย้งให้กับสมาชิกที่ร่วมประชุม การได้เข้าร่วมทำงานกับสหประชาชาติตั้งแต่เริ่มต้นเป็นการปูพื้นในการร่วมทำงานกับองค์กรอื่น ๆ ภายใต้สหประชาชาติอีกหลายองค์กรในเวลาต่อมา
พ.ศ.๒๔๙๐
ผู้ก่อตั้งโรตารี พอล แฮร์รีสถึงแก่กรรมในวันที่ ๒๗ มกราคม โรแทเรียนทั่วโลกกว่า ๓๐๐,๐๐๐ ร่วมไว้อาลัยและบริจาคเงินเข้ามูลนิธิโรตารีในกองทุนที่ระลึกพอล แฮร์รีส เพื่อให้ทุนแก่การศึกษาในระดับสูงในต่างประเทศสำหรับนักเรียน ๑๘ คนในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๙๐-๒๔๙๑ อันเป็นที่มาของทุนการศึกษาโครงการฑูตสันติภาพ (Ambassadorial Scholarships Program) ในปัจจุบัน

พ.ศ.๒๔๙๓
ที่ประชุมใหญ่ประจำปี ที่ดีทรอยท์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา อนุมัติให้ใช้คติพจน์ ๒ ประโยคประจำองค์กรโรตารีนั่นคือ "บริการเหนือตน" และ "ผู้บริการดีที่สุดย่อมได้รับผลตอบแทนสูงสุด" 

พ.ศ.๒๔๙๘
โรตารีเฉลิมฉลองการมีสโมสรก่อตั้งครบ ๘,๕๐๐ แห่งใน ๘๙ ประเทศ การจัดประชุมใหญ่ ณ นครชิคาโก ได้รับเกียรติจากรองประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันกล่าวสุนทรพจน์ มีการจัดรายการวิทยุโรตารีโกลเด้นเธียเตอร์ เพื่อเชิดชูโรตารี
พ.ศ.๒๕๐๐
มูลนิธิโรตารีเริ่มจัดทำเหรียญเชิดชูสหายพอล แฮร์รีส แก่ผู้บริจาคให้มูลนิธิโรตารี รางวัลนี้มีการประกาศอยู่ในนิตยสารเดอะโรแทเรียนฉบับประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๐๐

พ.ศ.๒๕๐๕
โครงการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชนโลก (World Community Service หรือ WCS) เริ่มเกิดขึ้นในปีนี้ และคณะกรรมการบริหารโรตารีสากลยังอนุมัติให้จัดตั้งสโมสรอินเตอร์แรคท์ สำหรับการรวมตัวกันของเยาวชนที่สนใจทำกิจกรรมเพื่อสังคมและสร้างมิตรภาพกับเพื่อนในต่างประเทศ ชื่อนี้มาจากคำว่า "อินเตอร์เนชั่นแนว" หรือ "ระหว่างประเทศ" กับคำว่า "แอคชั่น" หรือ "ทำกิจกรรม" เริ่มแรกตั้งเป้าหมายรับเฉพาะเด็กชายที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยม สโมสรอินเตอร์แรคท์แห่งแรกคือ สโมสรอินเตอร์แรคท์เมลเบอร์น รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา
พ.ศ.๒๕๐๘
มูลนิธิโรตารีริเริ่มโครงการกลุ่มศึกษาแลกเปลี่ยน เพื่อให้สโมสรต่าง ๆ ทั่วโลกสรรหาหนุ่มสาวที่เพิ่งเริ่มทำงานใหม่ ๆ ได้เดินทางไปศึกษาหาประสบการณ์ในต่างประเทศในด้านธุรกิจและอาชีพ โครงการนี้จัดครั้งแรกมีผู้ร่วมกิจกรรม ๓๔ ทีม แลกเปลี่ยนกันระหว่างประเทศออสเตรเลีย อังกฤษ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา  มูลนิธิยังได้ริเริ่มให้มีการจัดสรรทุนเพื่อสมทบทำโครงการในประเทศต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นยุคเริ่มต้นของการทำโครงการข้ามประเทศ 
พ.ศ.๒๕๑๑
คณะกรรมการบริหารโรตารีสากลอนุมัติให้จัดตั้ง "โรตาแรคท์" (ROTARACT: Rotary In Action) เป็นโครงการสำหรับคนหนุ่มสาวที่มีวัยสูงกว่าอินเตอร์แรคท์ เพื่อได้มีโอกาสร่วมมือกันบำเพ็ญประโยชน์และมิตรภาพสังสรรค์  สโมสรโรตาแรคท์แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลน่า ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม มีสมาชิกร่วมก่อตั้ง ๒๑ คน ทำโครงการปลูกต้นไม้ภายในมหาวิทยาลัยในวันที่ฉลองสารตราตั้ง
พ.ศ.๒๕๑๓
สภานิติบัญญัติซึ่งจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๗ ได้รับการพิจารณาให้ตั้งเป็นสถาบันที่มีหน้าที่พิจารณากฎหมายที่เกี่ยวกับโรตารีทั้งหมด สโมสรจะมีส่วนในการทำงานพิจารณากฎข้อบังคับของโรตารีโดยการส่งร่างแก้ไขให้แก่สภาเพื่อการพิจารณา ภาคส่งตัวแทนเพื่อร่วมออกเสียงได้ภาคละหนึ่งท่าน 
สภามีส่วนในการผลักดันนโยบายสำคัญของโรตารีเช่น การก่อกำเนิดโครงการโปลิโอพลัสในปี พ.ศ.๒๕๒๙ และการยอมสตรีเป็นสมาชิกสโมสร ในปี พ.ศ.๒๕๓๒
พ.ศ.๒๕๑๔
คณะกรรมการบริหารโรตารีสากลอนุมัติโครงการฝึกอบรมเยาวชนผู้นำโรตารี (Rotary Youth Leadership Awards) ในซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย โครงการนี้มีพื้นฐานมาจากกิจกรรมของภาคโรตารีในออสเตรเลียที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๓ เป็นโครงการฝึกอบรมเยาวชนอายุตั้งแต่ ๑๔ ถึง ๓๐ ปี ให้รู้จักบทบาท มีความเป็นผู้นำ พัฒนาตนเอง และเป็นพลเมืองดี
พ.ศ.๒๕๑๕
โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนโรตารีได้รับการบรรจุเป็นโปรแกรมของโรตารีสากลหลังจากที่มีการดำเนินการมาก่อนแล้วโดยแลกเปลี่ยนกันเองระหว่างสโมสรเป็นเวลา ๔๐ ปี  โดยสโมสรในยุโรปเริ่มมีการแลกเปลี่ยนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๓ โดยมีเป้าหมายในการส่งเสิรมให้เกิดการเรียนรู้ต่างวัฒนธรรมและความคิด ระหว่างโรแทเรียนและเยาวชนในโครงการ  โครงการนี้ต้องระงับไว้ชั่วคราวในห้วงแห่งสงครามโลกครั้งที่ ๒  และกลับมาดำเนินการเป็นปกติในปี พ.ศ.๒๔๘๙
พันธกิจใหม่
พ.ศ.๒๕๒๑
มูลนิธิโรตารีจัดสรรทุนเพื่อโครงการมนุษยชาติ 3-H (อนามัย ความหิวโหย และมนุษยธรรม) เช่น โครงการสร้างภูมิต้านทานโรคโปลิโอแก่เด็กจำนวน ๖ ล้านคนในประเทศฟิลิปปินส์  โดยประธานโรตารีสากลเจมส์ แอล. โบเมอร์ได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกับรัฐบาลฟิลิปปินส์ในการรณรงค์สร้างภูมิคุ้มกันโรคโปลิโอและการบริหารจัดการให้เกิดการหยอดวัคซีนหยดแรกแก่เด็กฟิลิปปินส์  กองทุนนี้ปูทางไปสู่การต่อสู้ยาวนานหลายสิบปีกับโรคโปลิโอ
พ.ศ.๒๕๒๘ 
โรตารีเริ่มโครงการโปลิโอพลัส  เพื่อปฏิบัติการ ปลุกเร้ามวลชน และฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เพื่อการขจัดโรคโปลิโอให้หมดไป โครงการนี้เปิดตัวที่การประชุมใหญ่โรตารีสากล โดยมี ดร.อัลเบิร์ต เซบิน ผู้ค้นพบวัคซีนโปลิโอแบบหยอดทางปาก กล่าวโน้มน้าวให้ความเข้าใจแก่โรแทเรียนถึงความสำคัญที่จะต้องยึดมั่นในเป้าหมายที่จะใช้สรรพกำลังในการสร้างภูมิคุ้มกันโรคโปลิโอแก่เด็กทั่วโลก เซบินกล่าวเตือนว่าหากปราศจากการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังเราก็ยังคงจะเห็นคนเป็นโรคโปลิโออีกแปดล้านคนภายในปี พ.ศ.๒๕๔๘ (ล่าสุดปี พ.ศ.๒๕๕๘ มีผู้ป่วยใหม่ใน ๒ ประเทศคือ ปากีสถานและอัฟกานิสถานรวมจำนวน ๖๐ ราย)
พ.ศ.๒๕๓๐
สุภาพสตรีเข้าร่วมกับโรตารีได้  ในวันที่ ๔ พฤษภาคม ศาลสูงสหรัฐตัดสินให้โรตารีต้องยอมรับให้สมาชิกภาพแก่สตรีเพศ ส่งผลให้สุภาพสตรีนับร้อยทั่วสหรัฐอเมริกาได้เข้าเป็นสมาชิกสโมสรโรตารี  สโมสรแรกที่เป็นที่มาของการต่อสู้ในทางกฎหมายเพื่อการยอมรับสตรีเพศเป็นสมาชิกคือสโมสรโรตารีดูอาร์ท รัฐแคลิฟอร์เนีย (เป็นสโมสรที่รับสตรีเป็นสมาชิกก่อน จึงถูกเพิกถอนสมาชิกภาพของสโมสร) ได้รับสถานภาพสโมสรคืน หลังจากที่ถูกเพิกถอนไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๑
ในปี พ.ศ.๒๕๒๒ สภานิติบัญญัติของโรตารีได้ตัดถ้อยคำเกี่ยวกับสมาชิกภาพที่จำกัดให้เพียงสุภาพบุรุษออก อนุญาตให้สุภาพสตรีเป็นสมาชิกได้ทั่วโลก
พ.ศ.๒๕๓๑
โรแทเรียนร่วมกันรณรงค์หาทุนจนได้เงินจำนวน ๒๔๗ ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อตั้งเป็นกองทุนโปลิโอพลัส  ความปรารถนาอันแรงกล้าของโรตารีที่จะหยุดโรคโปลิโอนี้เกิดขึ้นในห้วงแห่งการประชุมสมัชชาอนามัยโลกที่จัดขึ้นทุกปีโดยองค์การอนามัยโลก โรตารีเรียกร้องให้โลกร่วมกันผลักดันโครงการขจัดโรคโปลิโอให้หมดไปจากโลกนี้ก่อนปี พ.ศ.๒๕๔๓ มติของที่ประชุมยอมรับข้อเสนอนี้ เป็นการปูทางไปสู่การจัดตั้งความริเริ่มขจัดโปลิโอระดับโลก อันเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศที่เป็นเครือข่ายสุขอนามัยสาธารณะที่ใหญ่ที่สุด โรตารีเป็นหนึ่งในองค์กรหุ้นส่วนที่เสนอจัดตั้งกองทุนเพื่อร่วมในโครงการนี้
พ.ศ.๒๕๓๒
โรตารีกลับคืนสู่ประเทศฮังการีและโปแลนด์อีกครั้ง หลังจากที่สโมสรโรตารีบูดาเปสที่เคยก่อตั้งไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๘ และยุบไปในปี พ.ศ.๒๔๘๕ กลับมาได้สถานะสโมสรอีกครั้งในวันที่ ๒๕ มกราคม ปีนี้ และสโมสรโรตารีวอร์ซอ เคยก่อตั้งไว้ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ ปิดไปในปี พ.ศ.๒๔๘๓ กลับมาเป็นสโมสรอีกครั้งในปีนี้เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน
สโมสรโรตารีหลายแห่งในยุโรปจำเป็นต้องถูกระงับการเคลื่อนไหวในการประชุมสโมสรด้วยเหตุผลด้านสงคราม ซึ่งทำให้ไม่สะดวกในการเดินทางและการสื่อสาร  และเมื่อสโมสรประชุมไม่ได้ โรตารีสากลจึงจำเป็นต้องยกเลิกสถานภาพสโมสรเหล่านั้น
พ.ศ.๒๕๓๘
โรแทเรียนสตรีกลุ่มแรกได้เริ่มปฏิบัติหน้าที่ผู้นำในภาคในฐานะผู้ว่าการภาค ในจำนวน ๘ คนประกอบด้วย มีมี อัลท์แมน ภาค ๖๖๔๐ (อิลลินอยส์ สหร.) กิลดา คีราฟซี ภาค ๗๒๓๐ (เบอร์มิวด้า นิวยอร์ค สหร.) แจนเนท ดับเบิลยู ฮอลแลนด์ ภาค๕๗๙๐ (เท็กซัส สหร.)  เรบา เอฟ. โลฟเรียน ภาค ๕๕๒๐ (นิวเม็กซิโก เท็กซัส สหร.) เวอร์จิเนีย บี. นอร์ดบี้ ภาค ๖๓๘๐ (ออนแทริโอ แคนาดา/ มิชิแกน สหร.) ดอนน่า เจ. แรพพ์ ภาค ๖๓๑๐ (มิชิแกน สหร.) แอนน์ โรเบอร์สัน ภาค ๖๗๑๐ (เคนตักกี้ สหร.) และ โอลีฟ พี สก๊อต ภาค ๗๑๙๐ (นิวยอร์ค สหร.) 

1999
Rotary establishes the Rotary Centers for International Studies in peace and conflict resolution to help prepare future leaders and diplomats. The program offers coursework in international relations, public administration, sustainable development, peace studies, and conflict resolution at several partner universities throughout the world.
2002
Europe is declared polio-free at the RI Convention in Barcelona, Spain. By the end of the year, only seven countries remain polio-endemic. Rotary announces a new US$80 million campaign to support polio eradication. Rotarians respond by raising over $129 million.
A Thai Rotarian was honored to serve as Rotary International President. RI President Bhichai Rattakul advocated "Sow the Seeds of Love" as his theme for the servicing year.

2003
The Rotary Club of Kabul, Kabul, Afghanistan is chartered. Jonathan Majiyagbe, of Kano, Nigeria, becomes Rotary International's first president from Africa.
Five Rotary Centennial bells begin their journey to Rotary clubs around the globe in honor of the organization's 100th anniversary in 2005. The bells embark in June from the RI Convention in Brisbane, Australia.
2004
RI hosts its largest convention to date in Osaka, Japan. A record 45,381 paid registrants from 113 countries and geographical areas attend, surpassing the attendance record set by the Tokyo convention in 1978.
The inaugural class of 66 Rotary World Peace Fellows graduates.
2005
Rotary celebrates its 100th anniversary at the centennial convention in Chicago. Clubs commemorate the centennial by launching hundreds of community service projects and contributing thousands of volunteer hours.
2006
Only four countries remain polio-endemic: Afghanistan, India, Nigeria, and Pakistan. Polio cases worldwide have dropped by 99 percent since 1985.
พ.ศ.๒๕๕๐
มูลนิธิโรตารีเฉลิมฉลองผู้บริจาคพอลแฮร์รีสเฟลโลว์ครบ ๑ ล้านคน เชิดชูเกียรติแก่ผู้บริจาคสูงสุด ๓๔ คนจาก ๓๔ โซนโรตารี  ผู้บริจาคได้รับโล่และประกาศเกียรติคุณ
2008
Rotary officially launches its effort to match a US$100 million challenge grant from the Bill & Melinda Gates Foundation to help eradicate polio.
In 2009, Rotary receives another grant of $255 million from the Gates Foundation and launches Rotary's US$200 Million Challenge to match a portion of the grants and further support efforts to End Polio Now.
พ.ศ.๒๕๕๒
โรตารีเฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปีของการประชุมใหญ่โรตารี ณ เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ ในปีนี้โรตารีได้รับเกียรติการแสดงสุนทรพจน์จากสาธุคุณเดสมอนด์ ตูตู้  เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นายบัน คีมูน นักแสดงและฑูตสันติภาพ มีอา ฟาร์โรว์ และนักวานรวิทยาและนักเคลื่อนไหวเพื่อมนุษยธรรม ดร.เจน กู้ดดอล. 
พ.ศ.๒๕๕๖
โรตารีสากลประกาศดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์เพื่อความเข้มแข็งของภาพลักษณ์โรตารี เปลี่ยนโลโก้จากภาพเฟืองที่ออกแบบมาใช้ในปี พ.ศ.๒๔๖๑ มาเป็นแบบอักษรอ่านได้ว่า "Rotary" เคียงข้างรูปเฟืองเดิม และกำหนดให้สีหลักของโรตารีมีสองสีคือสีทองของเฟืองและสีน้ำเงินของอักษรคำว่าโรตารี
Inline image 1

No comments: