Monday, November 30, 2015

A ROTARY VOLUNTEER BECOMES A GIFT TO THE WORLD


โครงการในโรงพยาบาลอินเดียช่วยเปิดโลกทัศน์ใหม่

(คัดลอกจากนิตยสารเดอะโรแทเรียนเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๘)

ตอนที่คามิลลา แมคกิลล์วางแผนเดินทางครั้งแรกไปประเทศอินเดียเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว เธอไม่เคยรู้เลยว่าเธอจะได้เรียนรู้บทเรียนที่สำคัญนี้ได้อย่างรวดเร็วและแสนเจ็บปวด
"ดิฉันอยู่คนเดียวในโรงแรม และฝันร้าย" เธอเล่า "ดิฉันถึงกับกระโดดออกจากเตียง ตกลงมาบนพื้นทั้งที่ผ้าห่มคลุมเท้าอยู่  หัวกระแทกพื้นด้วย"  เช้าวันถัดมาเธอรู้สึกเวียนหัว และทำอะไรไม่ค่อยถูก ขอบตาก็ดำ แต่เธอก็มุ่งมั่นที่จะไปปฏิบัติภารกิจตามนัด นั่นคือไปช่วยรณรงค์ในวันสร้างภูมิคุ้มกันแห่งชาติร่วมกับบรรดาโรแทเรียนทั้งหลายที่โรงพยาบาลใกล้ ๆ
"ฉันหาโรงพยาบาลที่นัดไว้ไม่เจอ" เธอกล่าว "แต่โชคดีได้พบกลุ่มแม่ชีที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยวัณโรค พวกเธอพาฉันไปล้างตัวทำความสะอาด แล้วพวกเราทั้งหมดก็กลับมาด้วยกัน" ไม่นานนักเธอก็ได้ทำหน้าที่ของเธอ และดีใจที่ได้พบกับคนแปลกหน้าที่ใจดี ที่ทำให้เธอต้องผิดนัด
"การเป็นชาวตะวันตก เรามักได้รับการสอนให้เป็นคนเริ่มทำก่อน เช่น เป็นผู้นำ ยึดการทำงานตามแผน" แมคกิลล์กล่าว "แต่คนอินเดียที่ฉันพบส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นอย่างนั้น พวกเขาทำงานโดยมุ่งที่คน ให้ความสำคัญกับสัมพันธภาพ"แมคกิลล์คุยกับเพื่อนอินเดียนที่รูัจักกันที่แคนาดา แล้วรู้สึกว่ามีสิ่งที่น่าสนใจที่มีโอกาสร่วมกันทำได้  เธอเข้าไปหาข้อมูลในเว็บ ติดต่อกับสโมสรในอินเดีย และพบว่ามีหลายสโมสรในอินเดียต้องการอาสาสมัครในโครงการบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน โรงพยาบาลแม่และเด็ก หรือจะเป็นโรงพยาบาลโรคตา ที่สโมสรอนาคาพาลี ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่อยู่ทางตะวันออกของภาคกลางในอินเดีย "ฉันจึงได้ติดต่อที่สโมสรนี้" เธอกล่าว
ถ้าไม่คิดถึงอุบัติเหตุในโรงแรมนั้นแล้ว การเดินทางครั้งแรกนั้นก็ถือว่าประสบความสำเร็จทีเดียว  เงินบรจาคจากสโมสรโรตารีเพิร์ลแลนด์ จำนวน ๑๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ช่วยให้สโมสรอนาคาพาลีจัดหาโต๊ะเรียนและม้านั่งให้กับโรงเรียน และในเวลาต่อมาด้วยเงินก้อนใหญ่ขึ้นจากมูลนิธิโรตารีเราสามารถให้ความช่วยเหลือโรงพยาบาลแม่และโรงพยาบาลโรคตาสิบปีหลังจากการเดินทางไปอินเดียครั้งแรก ความสัมพันธระหว่างแมคกิลล์กับคนอินเดีย แคเนดียน และอเมริกันได้ช่วยคนยากจนในอินเดียผ่านโครงการต่าง ๆ มากมาย
การเดินทางของเธอเริ่มขึ้นจากจุดที่ห่างออกไป ๙,๓๐๐ ไมล์จากประเทศอินเดีย ณ เมืองพอร์ทแลนด์ รัฐเทกซัส เธอกับสามีย้ายมาอยู่ที่นี่จากแคนาดาเพื่อหางานทำ แมคกิลล์ต้องกลับเข้าเรียนเพิ่มเติมด้านการสื่อสารในวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรม และเธอได้เข้าเป็นสมาชิกสโมสรโรตารีใกล้บ้าน "ดิฉันได้เข้าร่วมในการประชุมใหญ่โรตารีสากลปี ๒๕๔๘ ที่ชิคาโก ตั้งแต่ปีแรกที่เป็นสมาชิกเลย" เธอระลึกถึงวันแห่งความหลัง  "ฉันได้เห็นองค์ประกอบของการทำงานของโรตารีในโลก และอัศจรรย์ใจยิ่งที่ได้รู้ว่ามีกองทุนให้ทำโครงการต่าง ๆ เกือบทุกเรื่อง"
แมคกิลล์และสามีต้องย้ายที่อยู่อีกหลังจากมาอยู่เทกซัสไม่นาน ตอนแรกย้ายไปอยู่เมืองวิลมิงตัน รัฐเดลาแมร์ แล้วก็ย้ายอีกไปที่ซาร์เนีย รัฐออนแทริโอ แต่การย้ายที่อยู่ไม่ได้ทำงานอาสาสมัครของเธอลดน้อยถอยลง เธอเข้าสโมสรเดลาแมร์และทำโครงการที่ได้ทุนสมทบจากมูลนิธิ  ในเมืองซาร์เนียเธอเข้าสโมสรโรตารีซาร์เนียบลูวอเตอร์แลนด์ ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์ร่วมในโครงการทุนสมทบโลกของมูลนิธิธิโรตารีเพื่อทำโครงการในโรงพยาบาลโรคตากับสโมสรอนาคาพาลีเมื่อปีที่แล้ว
"โรคต้อกระจกตามักพบเห็นมากในอินเดีย" แมคกิลล์อธิบาย "แสงแดดเป็นสาเหตุหนึ่ง นอกนั้นยังมีเรื่องอาหารการกินด้วย เพราะที่นั่นยังอดอยากอยู่มาก  ตอนที่โรงพยาบาลเปิดเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓ เขาตั้งเป้าที่จะผ่าตัดตาต้อ ๔๐ รายต่อเดือน โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายรวมทั้งค่ายา  "ทุนสมทบที่เราได้ช่วยให้เราสามารถผ่าตัดตาต้อได้ถึง ๗๖๐ รายตลอดปีที่แล้ว  และยังมีเงินเหลือพอรักษาผู้ป่วยทางตาอื่น ๆ อีก ๒๕๐๐ คน และยังได้จัดสัมมนาวิชาการหลักปฏิบัติเพื่อปรับปรุงสุขภาพตาด้วย"
จากการกลับไปเยี่ยมประจำปี แมคกิลล์ประจักษ์ถึงผลที่ได้รับจากโครงการของโรตารี "มีอยู่ปีหนึ่งที่เราช่วยจ่ายค่าทาสีและปูกระเบื้องพื้นใหม่ และช่วยจัดซื้อเครื่องไอน้ำความร้อนสูงเพื่อค่าเชื้อโรค" เธอกล่าว "และยังมีสโมสรโรตารีอื่น ๆ จากตะวันตกบริจาคเครื่องวัดสายตา  ตอนนี้โรงพยาบาลสามารถใช้เครื่องฟาโกอีมัลซิไฟเออร์ (เครื่องมือราคาแพงที่ใช้ในการปั่นและสกัดต้อกระจก เครื่องนี้สามารถทำให้ผลของการติดกระจกตาใกล้เคียงความต้องการของผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น) ซึ่งแมคกิลล์อธิบายว่าเป็นผลงานที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง
การที่เธอเดินทางไปเยี่ยมอนาคาพาลี ทำให้เธอเข้าใจบริการของโรงพยาบาลที่ทำให้ชุมชน  "ครั้งหนึ่ง ฉันได้ไปเยี่ยมโรงพยาบาล ฉันเห็นเจ้าหน้าที่ยิ้มและหัวเราะอย่างมีความสุข ฉันก็ถามว่ายิ้มอะไร"  เธอกล่าว  "มันกลายเป็นว่า มีผู้ป่วยชายคนหนึ่งเคยถูกควักลูกตาออกเมื่อตอนเด็ก ๆ ตอนนี้เหลือตาข้างเดียวและตาข้างนี้กำลังเป็นต้อกระจกเต็มแก้วตา โรงพยาบาลกำลังจะช่วยผ่าตาต้อให้เขา เจ้าหน้าที่คนนั้นดีใจที่เคราะห์กรรมของผู้ป่วยรายนี้กำลังจะผ่านพ้นไป เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่เขาจะได้เห็นอีกครั้งหนึ่ง"
เธอหวังว่าโรแทเรียนทั้งหลายจากโลกตะวันตกที่ทำโครงการโดยใช้กองทุนต่าง ๆ ของโรตารีเพื่อช่วยโครงการในต่างประเทศจะได้ไปตรวจเยี่ยมผลของโครงการด้วย "เพราะเมื่อโครงการปฏิบัติแล้วเสร็จ กองทุนนั้นก็เป็นมากกว่าโครงการในกระดาษ เมื่อเราอยู่ที่นั่น เราสามารถรู้สึกได้ว่าอะไรที่พวกเขาต้องการ ไม่ใช่แค่ข้อมูลที่จะบอกว่าเขาต้องการอะไร"
เขียนโดย แอนน์ ฟอร์ด
นิตยสารเดอะโรแทเรียน
15 ตุลาคม 2558

INDIAN HOSPITAL PROJECT IS EYE-OPENING
Rotary International / Alyce Henson
From the November 2015 issue of The Rotarian
When Camilla McGill planned her first visit to India about 10 years ago, she couldn’t have known how quickly – nor how painfully – she’d learn one of the trip’s most important lessons.
“I was alone in a hotel, and I had a nightmare,” she says. “I jumped out of bed, caught my foot in the sheet, fell to the floor, and hit my head.” In the morning, she found herself dizzy and disoriented, with a blossoming black eye, but she was determined to keep her first appointment: assisting with a National Immunization Day event with Rotarians at a nearby hospital.
“I didn’t find the hospital I was looking for,” she says, “but I came across a group of nuns who care for tuberculosis patients. They took me in, cleaned me up, and put me back together.” She soon resumed her work, grateful that the strangers’ kindness had sidetracked her.
“As Westerners, we’re often taught to take initiative: ‘Be the leader! Stick to the plan!’” McGill says. “Most of the Indians I’ve met don’t work that way; they work with people. It’s about relationships.”
A decade after that first trip, the relationships McGill has built with Indian, Canadian, and U.S. Rotarians have helped hundreds of India’s poorest citizens in a variety of projects.
Her journey began about 9,300 miles away from India, in the town of Pearland, Texas. When she and her husband moved there from Canada for his job, McGill returned to school to study inter-cultural communication – and joined the local Rotary club. “I went to the 2005 Rotary International Convention in Chicago my first year as a member,” she recalls. “I saw the full international component of Rotary on display. I was amazed to learn that there were grants available to do all kinds of things.”
Through Indian friends back in Canada, McGill had developed an interest in India, and she sensed an opportunity. She took to the Web, browsing posts from Rotary clubs working in the country. Volunteers were needed for many projects, including schools, a maternity hospital, and an eye hospital, with the Rotary Club of Anakapalle, a small town in east-central India. “I contacted them, and I went,” she says.
The hotel mishap aside, that first journey was a success. A $1,000 donation from the Rotary Club of Pearland furnished Anakapalle schools with desks and benches, and later, larger grants from The Rotary Foundation supported projects benefiting the town’s maternity and eye hospitals.
McGill and her husband relocated again after Texas – first to Wilmington, Del., and then, after retirement, to Sarnia, Ont. – but the moves didn’t slow her volunteer efforts. She joined a Rotary club in Delaware and kept working on grant projects. In Sarnia, she joined the Rotary Club of Sarnia-Bluewaterland, which co-sponsored a Rotary Foundation Global Grant project with the Anakapalle club last year at the eye hospital.
“Cataracts are much more common in India than they are here,” McGill explains. “The sunlight there causes some cases, and diet – particularly insufficient food – can play a role. When the eye hospital opened in 2000, the goal was to provide 40 free cataract surgeries per month and dispense eye medications to the poor.” The grant last year provided cataract surgeries for 760 people, medical treatment for about 2,500 patients with other eye conditions, and medical seminars on best practices for improving eye health.
Through annual visits, McGill has witnessed Rotary’s impact on the hospital. “One year we paid for painting and new tiles, and we’ve purchased a new autoclave,” she says. “Many other Rotary clubs from the West have donated ophthalmologic microscopes. Now the hospital could use a phacoemulsifier” – an expensive piece of equipment that uses vibration to pulverize and extract the cataract. It will help improve outcomes for patients with limited access to health care – which McGill describes as the most rewarding part of this work.
Her visits to Anakapalle have allowed her to see how vital the hospital’s services are to the community too. “One day I was visiting the eye hospital, and the staff was smiling and happy and laughing, and I asked why,” she says. “It turned out that a man was coming in who’d had a damaged eye removed at an early age. He had only one eye left, and a completely white cataract was covering that entire retina. The hospital was going to remove the cataract, and the staff knew he would be able to see again. That was exhilarating to see happen.”
She hopes other Western Rotarians pursuing global grant projects will visit potential partner clubs and project sites, she says. “Once that’s done, the grant becomes more than a piece of paper. We can feel what the need is, in addition to knowing what the need is.”
By Anne Ford
The Rotarian
15-Oct-2015

Monday, November 9, 2015

DROUGHT IN CALIFORNIA

ภัยแล้งในแคลิฟอร์เนีย ไม่เกี่ยวกับคุณในวันนี้ 
แต่อีกไม่นานจะเกี่ยว


ในเดือนมิถุนายน ท่ามกลางความแห้งแล้งที่ทำลายสถิติเท่าที่เคยเกิดขึ้นในรัฐแคลิฟอร์เนีย ผู้ว่าราชการเมืองซานฟรานซิสโกแสดงความกล้าหาญตัดสินใจเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่คนอาจไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก  เทศบาลเมืองซานฟรานซิสโกออกเทศบัญญัติฉบับหนึ่งบังคับให้โครงการจัดสรรใหม่ที่มีขนาดใหญ่ซึ่งรวมไปถึงบ้านจัดสรรและอาคารพาณิชย์ต้องติดตั้งระบบนำน้ำทิ้งกลับมาใช้  โครงการจัดสรรใหม่ใดที่มีขนาดใหญ่กว่า ๒๕๐,๐๐๐ ตารางฟุตจะต้องมีระบบเก็บน้ำฝนและน้ำเทาที่จะสามารถนำกลับไปทำให้สะอาดและใช้ใหม่ได้ภายในอาคารนั้นเพื่อนำไปใช้กับชักโครกห้องน้ำ น้ำล้างเครื่องจักร และน้ำเพื่อการชลประทานแก่สวนตกแต่ง อาคารใหม่ ๆ ที่มีระบบเวียนน้ำใช้ยังสามารถนำน้ำที่ผ่านกระบวนการนี้ไปจำหน่ายให้กับอาคารใกล้เคียงหรือโครงการพัฒนาอื่น ๆ ได้

เจอร์รี่ บราวน์ ขึ้นไปประกาศต่อสู้ภัยแล้งบนยอดเขาเซียร่าเนวาดา 
ที่ปกติในเดือนเมษายนจะมีหิมะปกคลุมทั่ว
ด้วยเทศบัญญัติฉบับดังกล่าว ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์จากสภาเทศบาล  เมืองซานฟรานซิสโกจึงกลายเป็นเมืองแรกในสหรัฐอเมริกาที่บังคับติดตั้งระบบเวียนน้ำใช้  ช่วงที่อยู่ในท่ามกลางความแห่งแล้ง เมืองนี้ได้เตรียมตัวเองให้พร้อมรับภัยแล้งที่จะมาเยือนอีกในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ และ พ.ศ. ๒๕๙๕

ฤดูร้อนที่กำลังมาถึงนี้จะครบห้าปีที่แคลิฟอร์เนียต้องอยู่ในสภาพแห้งแล้ง  เดือนเมษายนที่ผ่านเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียเจอร์รี่ บราวน์ออกมาตรการเข้มงวดการใช้น้ำ ขอให้บ้านเรือนลดการใช้น้ำลง ๒๕ เปอร์เซนต์เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๖  ในเดือนมิถุนายนซึ่งเป็นเดือนแรกที่บังคับใช้มาตรการนี้ครัวเรือนต่าง ๆ ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและทำได้ตามเป้าหมาย  น้ำใช้ภายในเทศบาลเมืองลดลง ๒๗ เปอร์เซนต์ ทั้ง ๆ ที่เป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์แคลิฟอร์เนีย  ในเดือนกรกฎาคมตัวเลขยิ่งดีขึ้นเพราะการใช้น้ำลดลง (เมื่อเทียบกับปีก่อน) ถึง ๓๑ เปอร์เซนต์

"มันเป็นปัญหาโลกที่จัดการได้ยาก" บราวน์กล่าว "เราต้องอาศัยวิธีการที่แตกต่างออกไป"

เขาขึ้นไปยืนตรงพื้นหญ้าบนยอดเขาเซียร่าเนวาดาเพื่อทำการประกาศ ซึ่งปกติในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีจะมีหิมะสูง ๕ ฟุตครึ่ง แต่วันนั้นเขายืนได้บนพื้นดินเปล่า  รัฐแคลิฟอร์เนียปกติจะได้น้ำจากหิมะละลายประมาณหนึ่งในสามของแหล่งน้ำทั้งหมด แต่ในปี ๒๕๕๘ มีหิมะเพียง ๕ เปอร์เซนต์จากทั้งหมดที่เคยมี  ซึ่งน้อยที่สุดที่เคยมีการบันทึกมาก่อน หิมะหายไปถึงร้อยละ ๙๕ นับเป็นปีที่มีหิมะน้อยที่สุดตลอดช่วง ๔ ปีที่อยู่ในสภาพแห้งแล้งในประวัติศาสตร์ของรัฐนี้

ความแห้งแล้งของรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นเรื่องที่ผิดปกติไม่ว่าคุณจะใช้อะไรวัดก็ตาม  และด้วยเหตุที่แคลิฟอร์เนียเป็นรัฐที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีประชากรมากที่สุด แหล่งผลิตอาหารใหญ่ที่สุด รวมถึงเป็นแหล่งผลิตผักและผลไม้เป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของที่ประเทศผลิตได้ ภัยแล้งนี้จึงมีผลกระทบแผ่ขยายออกไปถึงเมืองซาคราเมนโตและซานดิเอโก

แต่หัวใจของเรื่องนี้คือความลุ่มลึกในการมองปัญหาที่ส่วนใหญ๋มองข้ามกัน แต่ที่แคลิฟอร์เนียการรับมือภัยแล้งทำได้ยอดเยี่ยมมาก

ผลที่ตามมาคือเศรษฐกิจของรัฐนี้เติบโตมากขึ้น และเติบโตกว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ และมากกว่าช่วงที่มีภัยแล้งก่อนหน้านี้ แคลิฟอร์เนียนำหน้ารัฐอื่น ๆ ในการจ้างงาน และดึงดูดคนย้ายเข้ามาอยู่ในรัฐนี้มากกว่าเมื่อสิบปีที่แล้ว ชุมชนเกษตรกรรมถึงแม้จะใช้น้ำเพียงร้อยละ ๘๐ ของเป้าหมายที่รัฐกำหนดให้ใช้ในแต่ละปี ก็ยังสามารถเพิ่มผลผลิตและคงระดับการจ้างงานให้เพิ่มขึ้นได้
The way to plan for the turbulent future of water is by changing how people use it – not by hoping it will rain.
วิธีวางแผนเพื่อรับมือความแปรปรวนของปริมาณน้ำต้องทำโดยการเปลี่ยนแปลงวิธีที่คนใช้น้ำ ไม่ใช่ด้วยการรอคอยน้ำฝน

ความลำบากที่เกิดขึ้นจากภัยแล้งนี้ เช่นชุมชนที่ประสบภาวะแหล่งเก็บน้ำเหือดแห้ง ที่คนอเมริกันต้องต่อสู้เพื่อหาน้ำให้พอใช้แบบวันต่อวัน ไม่ต่างกับประเทศกำลังพัฒนาบางแห่งที่ไม่มีระบบบริหารจัดการน้ำ ซึ่งไม่น่าจะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา แต่สิ่งที่น่าฉงนก็คือทำไมผลกระทบของภัยแล้งจึงมีไม่มากนักในรัฐนี้ อันเป็นรัฐที่ ๆ มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศมาก เหตุผลนั้นคงไม่ใช่เพราะน้ำไม่มีความสำคัญ น้ำต้องมีความสำคัญแน่นอน แต่แคลิฟอร์เนียได้วางแผนรับมือภัยแล้งนี้มา ๒๐ ปีแล้ว

หากท่านติดตามดูอย่างใกล้ชิด หน่วยงานรัฐเองพยายามคิดหายุทธศาสตร์ที่จะให้ชุมชนต่าง ๆ ช่วยเหลือตนเองได้

การออกเทศบัญญัติให้นำน้ำใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่นั้น หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นของซานฟรานซิสโกยอมทำในสิ่งที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นมาก่อนหากเรื่องนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับน้ำ พวกเขายอมรับความจริงที่เกิดขึ้น เข้าใจดีว่าการวางแผนเพื่อรับมือความแปรปรวนของปริมาณน้ำ ต้องจัดการโดยเปลี่ยนแปลงวิธีที่คนใช้น้ำ ไม่ใช่ด้วยการรอคอยน้ำฝน

ซานฟรานซิสโกเคยทำอย่างนี้มาแล้ว ฤดูแล้งปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ถึง พ.ศ. ๒๕๓๕ เมืองนี้บอบช้ำรุนแรง และเมื่อภัยแล้งหยุดลงในปีนั้น เมืองซานฟรานซิสโกก็ไม่เคยผ่อนผันการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับภัยแล้งเลยแม้แต่น้อย ไม่เพียงเท่านั้นเมืองนี้ยังกำหนดให้ประชาชนและภาคธุรกิจร่วมมือกันลดการใช้น้ำอย่างต่อเนื่องตลอดไป

วันนี้ สองในสามของบ้านเรือนในซานฟรานซิสโกใช้ระบบน้ำน้อยในถังชักโครก ก็ดูออกจะเป็นเรื่องไม่ปกติสำหรับเมืองที่เก่าแก่และเป็นจุดหมายปลายทางของนักเดินทาง ครึ่งหนึ่งของบ้านเรือนในซานฟรานซิสโกมีเครื่องซักผ้าแบบประหยัดน้ำ นับจากภัยแล้งที่เกิดขึ้นครั้งที่แล้ว คนซานฟรานซิสโกสามารถลดการใช้น้ำจากเฉลี่ยคนละ ๕๙ แกลลอน (ประมาณ ๒๒๓ ลิตร) ต่อวัน ลงเหลือ ๔๙ แกลลอน (๑๘๕ ลิตร) ต่อวัน ซึ่งนี่คือตัวเลขการใช้น้ำครึ่งหนึ่งของคนอเมริกันโดยเฉลี่ย

สก๊อต ไวเนอร์ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองผู้เสนอร่างระบบหมุนเวียนน้ำใช้ ที่ผ่านการลงมติในเดือนมิถุนายน กล่าวว่า "น้ำในแคลิฟอร์เนียก็เหมือนกับนิวเคลียร์ เราต่อสู้เรื่องนี้มา ๑๕๐ ปีแล้ว และตอนนี้ถึงเวลาที่จะต้องตัดสินใจด้วยความกล้า วิกฤติการณ์เปิดทางให้กับโอกาสทางการเมืองที่จะทำการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เราไม่คิดว่าจะทำได้เมื่อ ๕ หรือ ๑๐ ปีที่แล้ว"

ความพยายามของเมืองซานฟรานซิสโกนั้นอยู่ในสายตาของคนทั่วรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่นี่มีชื่อเสียงมากในเรื่องระบบประปา เพราะมีโครงสร้างวิศวกรรมที่สลับซับซ้อน ปริมาณน้ำจำนวนมากไหลจากทางเหนือผ่านเข้าสู่ตอนกลางของรัฐที่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมเซ็นทรัลแวลเลย์ แล้วกระจายตัวแตกแยกออกมาทางใต้ สิทธิการใช้และกฎหมายที่เกี่ยวกับน้ำของรัฐแห่งนี้ก็ยุ่งยากสับสนไม่แพ้กัน เกษตรกรที่ปลูกพืชแบบเดียวกันอาจได้รับการแบ่งปันน้ำต่างกันและราคาก็ไม่เท่ากัน
แต่่หลายเมืองทางใต้ของรัฐได้ร่วมกำหนดจริยธรรมใหม่กันขึ้น อันสืบเนื่องจากความคิดที่เมืองเหล่านี้ต้องต่อสู้เพื่อให้ได้ "อิสรภาพการใช้น้ำ" เพราะการต้องคอยนำเข้าน้ำจากทางภาคเหนือของแคลิฟอร์เนียและแม่น้ำโคโลราโดนั้นไม่ทำให้พวกเขารู้สึกมีความมั่นคง และไม่รู้ว่าจะพบวิกฤติเมื่อใด
สำนังานประปามหานครแคลิฟอร์เนียใต้ (MWD) คือหน่วยงานที่ครอบคลุมการทำงานกว้างจากออกซ์นาร์ดที่อยู่ด้านเหนือของลอสแองเจลิสไปถึงชายแดนแม็กซิโกมีความยาวถึง ๒๐๐ ไมล์ จัดสรรน้ำให้แก่ประชาชนจำนวน ๑๙ ล้านคนซึ่งเท่ากับประชากรครึ่งหนึ่งของรัฐแคลิฟอร์เนีย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๓ ประชากรในพื้นที่นี้เพิ่มขึ้นมา ๔ ล้านคน แต่ภูมิภาคนี้กลับใช้น้ำในปี ๒๕๕๘ น้อยกว่าปี ๒๕๓๓ แคลิฟอร์เนียใต้มีประชากรเพิ่มขึ้นทั้งที่พอร์ทแลนด์และลาสเวกัส แต่คนที่นี่ไม่ได้ใช้น้ำเพิ่มขึ้นเลย ทั้งคนที่เพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นตลอดเวลา ๒๕ ปีที่ผ่านมาเป็นไปได้ด้วยวิธีการประหยัดน้ำ
วิธีการประหยัดน้ำมักถูกมองว่าจะลดทอนคุณภาพชีวิต เช่นฝักบัวปล่อยน้ำแบบไหลช้า ก๊อกน้ำผสมลม ซึ่งซ่อนพลังแห่งคุณประโยชน์ไว้ คนแคลิฟอร์เนียใต้กำลังค่อย ๆ สร้างวัฒนธรรมการใช้น้ำของตนเอง แม้ว่าจำนวนการใช้ซ้ำน้ำใช้แล้วจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวในรอบ ๒๐ ปี แต่ก็ยังเป็นเพียงร้อยละ ๑๑ ของการใช้น้ำในเมืองในรัฐนี้ การจัดการน้ำฝนก็เช่นกัน แคลิฟอร์เนียใต้เพิ่งจะคิดทำอะไรกับมัน ระบบระบายน้ำในเมืองเป็นทางผ่านของน้ำทุกอย่างรวมทั้งน้ำฝน ที่ปกติจะมีมรสุมปีละสองสามครั้ง แต่ละครั้งมีปริมาณน้ำมหาศาล และแทนที่จะเก็บเพื่อการใช้ประโยชน์ในอนาคต พวกเขาทิ้งน้ำนั้นลงมหาสมุทรแปซิฟิก
แต่ตอนนี้มีสัญญานที่บอกว่าคนเริ่มเข้าใจว่าโลกเปลี่ยนแปลงไปแล้ว และแคลิฟอร์เนียใต้ต้องมีวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไปในการใช้น้ำ ฤูดใบไม้ผลิปีนี้ MWD ประกาศใช้ระบบชดเชยแก่บ้านเรือนที่ยอมเปลี่ยนสนามหญ้าไปปลูกพืชที่ทนแล้ง โดยขยายครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด ลาสเวกัสอาสาเป็นเมืองต้นแบบทำโครงการ “หญ้าแลกเงิน” แคลิฟอร์เนียใต้ขานรับโครงการนี้โดยใช้เงินงบประมาณเพื่อการชดเชยถึง ๓๔๐ ล้านเหรียญสหรัฐ มีบ้านเรือนที่ยอมรื้อสนามหญ้าตนเองเป็นจำนวน ๑๗๐ ล้านตารางฟุตภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ซึ่งพื้นที่ขนาดนี้ลาสเวกัสต้องใช้ถึงเวลา ๑๖ ปี
เกษตรกรแคลิฟอร์เนียเป็นอะไรที่สลับซับซ้อนกว่ามาก การรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนทำให้เขาปรับตัวได้ตามวิธีการที่สร้างสรรค์และมีเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข็งขันการแย่งชิงน้ำ แต่พวกเขาก็สร้างความเสียหายให้กับแหล่งน้ำของรัฐในสมรภูมิการแย่งชิงทรัพยากรน้ำ
ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ แทบจะไม่มีเกษตรกรในแคลิฟอร์เนียรู้จักหรือยอมใช้ระบบชลประทานน้ำหยด แต่วันนี้หนึ่งในสามของพื้นที่เกษตรกรรมในแคลิฟอร์เนียพึ่งพาระบบนี้ และพื้นที่ ๆ ยังใช้ระบบชลประทานน้ำท่วมซึ่งเป็นระบบที่เหวี่ยงแห่ในการให้น้ำ ลดลงไปครึ่งหนึ่งแล้ว
การให้น้ำตรงจุดแก่พืชอย่างระบบน้ำหยดนั้น หมายความว่าเกษตรกรจะสามารถประหยัดน้ำได้ ๒๐ - ๓๐ เปอร์เซนต์ พืชได้รับน้ำมากกว่าระบบอื่น ทำให้ได้ผลิตผลมากกว่า ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๔๓ - ๒๕๕๓ แคลิฟอร์เนียสามารถเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางเกษตรกรรมกว่า ๔๐ เปอร์เซนต์ อันเป็นผลส่วนหนึ่งจากการเปลี่ยนระบบชลประทานและส่วนหนึ่งจากการเปลี่ยนไปปลูกพืชที่มีมูลค่าสูงขึ้น เช่นอัลมอนด์และพิสตาคิโอ ซึ่งเป็นพืชผลที่คนสนใจปลูกกันในช่วงประสบภัยแล้ง
Ultimately water problems are local. For people who live in Chicago or Dallas, not eating California tomatoes and lettuce, or skipping the California wine, won't help battle the drought.สุดท้ายแล้วปัญหาน้ำก็เป็นเรื่องของท้องถิ่น คนที่อยู่ในชิคาโกหรือดัลลัสอาจเลือกกินมะเขือเทศหรือผักกาดจากแคลิฟอร์เนียน้อยลง หรือยอมอดไวน์จากแคลิฟอร์เนีย แต่นี่ก็ไม่ใช่วิธีการต่อสู้กับภัยแล้ง



แคลิฟอร์เนียปฏิบัติกันมายาวนานในการยอมให้ใครก็ได้ที่เป็นเจ้าของที่ดินขุดเอาน้ำใต้ดินมาใช้ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือต้องบันทึกว่าเอาน้ำไปใช้มากน้อยเท่าไหร่ ความจริงที่นี่เป็นที่เดียวที่ไม่มีกฎหมายบังคับการใช้น้ำใต้ดิน เกษตรกรชดเชยการใช้น้ำที่ขาดไปเนื่องจากมีกฎหมายกำหนดการใช้น้ำในช่วงหน้าแล้งโดยพวกเขาปั๊มน้ำใต้ดินมาใช้คิดเป็นตัวเลขประมาณ ๗๐ เปอร์เซนต์ของน้ำที่ขาดไป

การสูบน้ำขึ้นมาใช้อย่างที่ไม่มีกฎหมายบังคับกำลังทำลายแหล่งน้ำใต้ดิน มีการนำเอาน้ำใต้ดินไปใช้มากเกินกว่าการทดแทนทางธรรมชาติในอนาคตจะเกิดขึ้นได้ แม้จะมีการชดเชยจากน้ำฝนบ้างก็ตาม พื้นที่บางแห่งในเมืองเซ็นทรัลแวลเลย์พื้นดินทรุดตัวลงเดือนละ ๑ นิ้วเพราะการสูบน้ำไปใช้ อ่างเก็บน้ำในเมืองและบ้านเรือนนับร้อยหลังคาเรือนกำลังขาดน้ำ

เกษตรกรประสบความสำเร็จในการแลกความมั่นคงในการใช้น้ำในอนาคตกับผลผลิตทางการเกษตรช่วงหน้าแล้ง "พวกเขาหวังพึ่งการขุดหาน้ำใต้ดินโดยขุดลึกลงไปเรื่อย ๆ และเปลี่ยนที่ขุดไปเรื่อย ๆ โดยคิดว่าน้ำคงไม่มีวันหมด" เดวิด ออธ ผู้จัดการทั่วไปของการอนุรักษ์เมืองคิงส์ริเวอร์ กล่าว หน่วยงานนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเซ็นทรัลแวลเลย์ซึ่งเป็นศูนย์กลางเกษตรกรรมของแคลิฟอร์เนีย "ผมไม่แน่ใจว่าเราจะยังมีหนทางที่จะเติมน้ำใต้ดินให้มีเท่าเดิมได้"

ที่นี่เช่นเดียวกันที่ความแห้งแล้งจะกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ฤดูใบไม้ล่วงปี พ.ศ.๒๕๕๗ มีการผ่านกฎหมายสำคัญซึ่งจะไม่เพียงควบคุมการใช้น้ำใต้ดิน แต่มีผลถาวรในการปกป้องแหล่งน้ำใต้ดินของแคลิฟอร์เนีย โดยจะต้องทำแผนที่น้ำใต้ดิน ทำการประเมินวัดปริมาณน้ำที่มีและชุมชนเกษตรกรทั้งหมดจะได้รับอนุญาตให้สูบน้ำขึ้นใช้ในปริมาณที่สามารถใช้คืนได้ในอนาคตไม่ว่าจะโดยวิธีธรรมชาติหรือมือมนุษย์ น้ำใต้ดินทั้งหมดจะต้องได้รับการบริหารจัดการให้เป็นทรัพยากรที่มีความยั่งยืนถาวร


กฎหมายจัดการน้ำอย่างเด็ดขาดนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่นำสมัยที่สุดของประเทศ เป็นตัวอย่างที่ดีของการปรับเปลี่ยนนโยบายให้สอดรับการสถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้น อย่างที่เคยเกิดขึ้นโดยไม่คาดหมายสองสามปีที่ผ่านมา ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้การสูบน้ำถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลของประชาชนในรัฐนี้ ถึงแม้ว่ากฎหมายสร้างความสมดุลการสูบน้ำและกักเก็บน้ำจะยังไม่เป็นผลสมบูรณ์จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๘๕ เกษตรกรแคลิฟอร์เนียจะต้องปรับตัวและวิธีปฏิบัติอีกครั้งเมื่อเวลานั้นมาถึง แคลิฟอร์เนียจะต้องเป็นตัวอย่างในการนำน้ำฝนและน้ำที่ท่วมขังผ่านวิธีการที่เหมาะสมให้กลับไปสู่ชั้นหินเก็บน้ำใต้ดิน

ปัญหาน้ำอาจเป็นปมปัญหาที่ส่งผลรุนแรง และบานปลายเกินรับมือได้ แต่มันก็เป็นปัญหาที่เกิดในท้องถิ่น คนที่อยู่ชิคาโกหรือดัลลัสอาจเลือกกินมะเขือเทศหรือผักกาดจากแคลิฟอร์เนียน้อยลง หรือยอมอดไวน์แคลิฟอร์เนีย แต่นี่ก็ไม่ใช่วิธีการต่อสู้กับภัยแล้ง

ในขณะที่แคลิฟอร์เนียผจญกับภัยแล้งอย่างสุดแสนสาหัสในประวัติศาสตร์ของรัฐนี้ด้วยความอดทน การปรับตัวในระยะสั้น ๆ ก็มีข้อจำกัดอยู่เช่นกัน เพราะไม่มีใครบอกได้ว่าภัยแล้งนี้จะจบสิ้นเมื่อใด นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นต้นมา แคลิฟอร์เนียเพิ่งจะมีโอกาสชื่นชมความชุ่มฉ่ำเพียงสี่ปีซึ่งก็มีปริมาณฝนระดับเฉลี่ยเท่านั้น ชาวแคลิฟอร์เนียอาจใช้ชีวิตอยู่แบบแล้ง ๆ ตลอดไปไม่ได้ แต่พวกเขาต้องปรับตัวให้อยู่ในสภาพอากาศใหม่
ทุกชุมชนในสหรัฐอเมริกาคือชุมชนของโลกที่พัฒนาแล้วก็จริงอยู่ เรามีระบบประปา ชลประทานที่ดี แต่ทุกระบบก็มีความเสี่ยงทั้งสิ้น ที่เห็นว่าน้ำยังเป็นปกติอยู่ทุกวันนี้ ชาวบ้านอาจมองไม่เห็นความไม่มั่นคง แต่เรายังคงต้องการให้น้ำไหลเป็นปกติอย่างเช่นที่นักวิชาการน้ำต้องการให้เป็นเช่นนั้นเช่นกัน

ทุกครั้งเมื่อจะใช้น้ำ จงถามคำถาม ๓ ข้อคือ หนึ่ง) น้ำประปาที่เราใช้อยู่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรไปบ้าง สอง) เราจะทำอย่างไรหากเราต้องใช้น้ำน้อยลง ๑๐ หรือ ๒๐ หรือ ๓๐ เปอร์เซนต์ และ สาม) เราจะสร้างกันชนน้ำประปาและหลักประกันแก่ลูกค้าน้ำประปาได้อย่างไร เราจะสอนพวกเขาให้ใช้น้ำน้อยอย่างไร และเราจะใช้แหล่งน้ำมือสองเช่นการเวียนน้ำใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ และการใช้น้ำฝนได้อย่างไร

ถ้าตอบคำถามข้างต้นได้อย่างมั่นใจ ผู้ตอบก็คงไม่รู้สึกลำบากหรือต้องจ่ายแพงกับค่าน้ำ แต่หากตอบคำถามข้างต้นด้วยความรู้สึกหวั่นวิตก เช่นนั้นการถามคำถามเหล่านั้นตอนนี้จะลำบากและแพงน้อยกว่ารอถามอีก ๖ เดือนหรือหนึ่งปีข้างหน้า

บทเรียนจากภัยแล้งที่หนักหน่วงที่เกิดขึ้นกับรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ผู้คนไม่ว่าจะอยู่ที่ใด จะเป็นที่แห้งแล้งอย่างตะวันตกเฉียงใต้หรือที่อุดมสมบูรณ์อย่างแถบเกรทเลค ควรจะยกเป็นอุทาหรณ์สอนใจได้
แคลิฟอร์เนียจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้พอดิบพอดี เพราะปัญหาค่อย ๆ เกิดขึ้นในขณะที่มีเวลาทำนโยบายและปรับทัศคติให้ทันได้ตลอดเวลา ๒๐ ปีที่ผ่านมา รัฐนี้อาจปรสบภาวะวิกฤติได้หากภัยแล้งยังรุนแรงต่อเนื่องไปอีกปีหรือสองปี แต่หากไม่เคยได้มีการทำงานอย่างหนักและวางแผนเพื่อรับมือกับภัยแล้งนี้ ตอนนี้รัฐคงพบกับภาวะวิกฤติไปแล้ว

ไม่มีใครในแคลิฟอร์เนียรอคอยฝน คนที่ทำงานบนตึกระฟ้าไปจนถึงชาวไร่ชาวนาที่เซ็นทรัลแวลเลย์ คนแคลิฟอร์เนียเตรียมรับมือด้วยวิธีการที่ทันสมัยที่จะทำให้รัฐแคลิฟอร์เนียสามารถปรับตัวทันกับสถานการณ์ภัยแล้งที่จะมาเยือนในครั้งต่อไป

หากสนใจประเด็นเกี่ยวกับน้ำ สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้จากหน้าเว็บไซท์ เรื่องเน้นของโรตารี ที่ www.rotary.org/water หรือร่วมแสดงความเห็นกันได้กับกลุ่มปฏิบัติการโรแทเรียนเกี่ยวกับน้ำและสุขาภิบาลที่เว็บไซท์ www.wasrag.org  ประเด็นเกี่ยวกับน้ำที่มีผลกระทบต่อท่านคืออะไร  สโมสรของท่านมีโครงการเกี่ยวกับน้ำหรือไม่ โปรดบอกเล่าให้เราได้ทราบที่อีเมล rotarian@rotary.org หรือ  facebeeon.com/therotaianmagazine.

เขียนโดย ชาลส์ ฟิชแมน

เดอะโรแทเรียน




CALIFORNIA’S DROUGHT MAY NOT BE YOUR DROUGHT, BUT IT WILL BE SOON ENOUGH

From the November 2015 issue of The Rotarian
In June, in the middle of the worst drought in California’s settled history, San Francisco did something bold that got almost no attention. The city passed an ordinance requiring all new developments of a certain size – commercial or residential – to install water recycling systems right on-site. Any new development of 250,000 square feet or larger will have to collect rainwater and gray water, clean it, and reuse it in the building or development for toilets, washing machines, and landscaping irrigation. New buildings with the recycling systems also will be able to sell this water to nearby buildings and developments.
With that ordinance – which passed the board of supervisors unanimously – San Francisco became the first city in the United States to make on-site water recycling mandatory. In the middle of the drought, the city was getting ready for the next one, the drought that will come in 2022 or 2052.
The drought in California entered its fifth year this summer. In April, for the first time in history, California’s governor, Jerry Brown, imposed mandatory water restrictions on the state’s water utilities, requiring residents to reduce their water use by 25 percent over 2013 amounts. In June, the first month in which this mandatory reduction was in force, residents surpassed that target, lowering municipal water use by 27 percent statewide, even though it was the hottest June in California history. In July, Californians did even better, cutting water use by 31 percent.
“It’s a different world,” Brown said. “We have to act differently.”
He made the announcement in a meadow in the Sierra Nevada mountains, where there would normally be 5 1/2 feet of snow on an April day. He was standing on bare ground. California gets one-third of its fresh water each year from melting snow, but in 2015, the snowpack was just 5 percent of the average, the lowest level ever documented. Ninety-five percent of the snow was missing – on top of the four driest years in state history.
California’s drought has been extraordinary any way you measure it. And because California has the largest economy in the United States, and has the largest population, and produces the most food – including half the nation’s fruits and vegetables – the drought has affected places far beyond Sacramento and San Diego.
But at the heart of this is an insight, largely overlooked: California has done pretty great in this drought.
The state’s economy is soaring – it has grown faster than the national economy in every year of the drought. California leads the country in creating new jobs, and it is attracting new residents faster than at any time in the last decade. Even its agricultural community – which uses 80 percent of the water the state requires each year – is increasing production and sustaining employment.
The way to plan for the turbulent future of water is by changing how people use it – not by hoping it will rain.
There are pockets of misery in the drought – communities where wells have run dry, where ordinary Americans struggle every day to get enough water, as if they lived in a developing nation without a water system instead of in the richest state in America. But the astonishing thing is how little impact the drought has had on the most important economy in the country. The reason isn’t that water doesn’t matter. Water does matter, and California has spent the last 20 years getting ready for this drought.
If you look closely, what’s really happening is that the state is pioneering a whole set of strategies and ideas that communities everywhere should grab hold of for themselves.
WITH THE WATER RECYCLING ORDINANCE, San Francisco’s officials were doing something rare when it comes to water: They were acknowledging reality, understanding that the way to plan for the turbulent future of water is by changing how people use it – not by hoping it will rain.
San Francisco has done this before. California’s last devastating drought stretched from 1987 to 1992, and once it ended, the city never relaxed its drought rules. Instead, it embarked on a determined effort to get residents and businesses to use even less water, permanently.
Today, two-thirds of all homes in San Francisco have low-flow toilets, extraordinary for a city of that age and density. Half of all homes in San Francisco have water-efficient washing machines. Since the last major drought, San Francisco has cut daily residential water use from 59 gallons per person to 49 gallons per person – less than half the U.S. average.
Scott Wiener is the city supervisor who wrote the water recycling law passed in June. “Water is kind of nuclear in California. We’ve been fighting about it for 150 years,” he says. “This is the time to take bold policy steps. A crisis has a way of opening up political opportunities to make policy changes that would have been unthinkable 5 or 10 years before.”
San Francisco’s efforts are mirrored across the state. California has a famously convoluted water system – the engineering is complicated, with river-size volumes of water moved from the north down to farmers in the Central Valley and the sprawling metropolises of the south. The state’s system of water rights and water law is equally complex, with farmers growing similar crops entitled to very different quantities of water at very different prices.
But in the southern cities in the last decade, a new ethic has taken hold: the idea that the cities need to strive for “water independence,” that relying on water imported from Northern California and from the Colorado River doesn’t make them secure, but dangerously vulnerable.
The Metropolitan Water District of Southern California is the vast water agency that stretches from Oxnard, north of Los Angeles, to the Mexican border 200 miles south, supplying water for 19 million people – half the state’s population. Since 1990, the number of people in the MWD has increased by four million, but the district uses less water in 2015 than it did in 1990. Southern California has added enough people to fill Portland and Las Vegas without adding any new water. All the population and economic growth that’s powered the region in the last 25 years has been accomplished while conserving water.
Water conservation often gets trivialized – low-flow showerheads, faucet aerators – in ways that disguise its power. But Southern California is just starting to change the water culture. Although use of recycled water in California has doubled in the last 20 years, it still accounts for only an estimated 11 percent of total urban water use in the state. Even when it comes to rain, Southern California is just getting started. The region’s sewers collect all the water that falls on urban areas as rain – often in just a few storms a year, but in huge volumes – and rather than saving it for future use, the system dumps that water into the Pacific.
But there are signs that people understand that the world has changed, that the Southern California culture needs to adapt. This spring, the MWD announced a dramatic expansion of a rebate program that encourages residents to remove their turf lawns and replace them with drought-tolerant plants. Las Vegas pioneered such “cash for grass” programs. Southern California’s entire $340 million in rebates was spoken for in a matter of weeks – with homeowners committing to remove 170 million square feet of lawn, the same amount it took Las Vegas 16 years to remove.
CALIFORNIA'S FARMERS are a more complicated story. As a group, they have adapted with determination and creativity to increasing competition for water. They also have done real damage to the state’s water resources as they have struggled to survive the current drought.
In 1980, almost no farmers in California used micro- or drip-irrigation. Today, one-third of the state’s irrigated acres depend on these techniques, and the amount of land that is flood-irrigated – a practice as imprecise as it sounds – has been cut in half.
Putting water right where the plants are, as drip irrigation does, means that although farmers apply 20 to 30 percent less water overall, individual plants get more water, and fields with precise irrigation have dramatically higher yields. Between 2000 and 2010, California farmers increased the value of their harvest by 40 percent for a fixed amount of water – in part through smarter irrigation, in part by switching to higher-value crops like the almonds and pistachios that have gotten so much attention during the drought.
Ultimately water problems are local. For people who live in Chicago or Dallas, not eating California tomatoes and lettuce, or skipping the California wine, won't help battle the drought.
But California has a long tradition of allowing anyone to pump groundwater from underneath their own land – not only without paying for it but without even recording how much they use. In fact, it is the only state in which groundwater has been largely unregulated. And in the drought, farmers are making up for the water they have lost under carefully regulated formal irrigation systems by pumping from wells – replacing about 70 percent of their missing water.
The unregulated pumping is over-drafting California’s aquifers, taking far more water out than will soon be replaced, even when rain does return. In some places in the Central Valley, the land itself is subsiding an inch a month or more because of the pumping, and the wells of towns and hundreds of homes have gone dry.
The farmers have been trading successful harvests in the drought for future water security. “People are counting on digging deeper and deeper into the ground, into the ‘water account,’ with the assumption that it will never dry up,” says David Orth, general manager of the Kings River Conservation District, which sits in the middle of the Central Valley, California’s agricultural heartland. “I’m not sure there’s much more room for resiliency.”
But here too, the current drought will prove to have been a turning point. In the fall of 2014, the legislature passed a far-reaching law that will not just regulate groundwater – it will permanently protect the state’s aquifers. Every aquifer in California will be mapped and measured, and farmers and communities will be allowed to pump out only the amount of water that will be returned, by nature or with human help. All groundwater will be managed as a permanently sustainable resource.
The sweeping groundwater law – considered the most advanced in the nation – is an example of how the crisis has opened the way for policy changes that would have been unimaginable just a few years ago, in a state where pumping groundwater has been considered a matter of personal freedom. Although the final rules balancing pumping and restoration don’t take effect until 2042, California farmers will have to adapt their practices again. California will have to pioneer ways to put rain and floodwater more efficiently back into aquifers.
WATER PROBLEMS CAN BE DRAMATIC, they can have far-reaching impact, but ultimately water problems are local. For people who live in Chicago or Dallas, not eating California tomatoes and lettuce, or skipping the California wine, won’t help battle the drought.
And while California has weathered the worst drought in its history with remarkable resilience, there is a limit to the state’s short-term adaptability. There’s no telling how long the drought will last. Since 2001, California has had only four wet years, or even average rainfall years. Californians may not be living in a drought. They may be living in their new climate.
Every community in the United States – indeed, in the developed world – has a water system, and every one of those water systems is at risk. But where the water seems to be flowing fine right now, residents may not see the risk, or want to – and that’s as true of water professionals as it is of ordinary people.
Any water utility should be asking three basic questions: How is the water supply we rely on changing? How would we cope if our water availability were 10 or 20 or 30 percent less than it is now? What can we do to build a cushion for our water supply and our water customers – can we teach people to use less, or create a second supply by reusing either wastewater or storm water?
If the answers to those questions are reassuring, then asking them is neither painful nor expensive. If the answers are scary, then asking the questions now is much less painful and expensive than it would be after waiting even six months or a year.
Those are the blunt lessons from the California drought that people anywhere – whether in arid areas like the Southwest or flush areas like the Great Lakes – should be taking to heart.
California has held up so well this time precisely because of all the slow but steady change in water policy and water attitude over the last 20 years. The state could be in crisis if the drought lasts another year or two – but it would have been in crisis already if not for the work already done.
And no one in California is waiting around for the rain to return. From the future skyscrapers of San Francisco to the future farmers of the Central Valley, Californians are putting in place innovative practices that will give their state a wider measure of resilience for the next drought.
Interested in water issues? Learn more about this area of focus at www.rotary.org/water, or get involved with the Water and Sanitation Rotarian Action Group at www.wasrag.org. What water issues affect your community? Is your club working to address them? Tell us about it at rotarian@rotary.org or atfacebook.com/therotarianmagazine.
By Charles Fishman
The Rotarian
15-Oct-2015

Friday, October 2, 2015

UNDER ONE SKY CHICAGO

ใต้ฟ้าเดียวกันชิคาโก

ผู้ร่วมกิจกรรม "ใต้ฟ้าเดียวกัน" ที่ชิคาโกเต้นรำกันอย่างสนุกสนานพร้อมการแสดงดนตรีของ  Funkadesi
ภาพโดย อลิส เฮนเซ่น

โรตารีและ "ONE" องค์กรรณรงค์ระหว่างประเทศ ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรอื่น ๆ จัดกิจกรรมในใจกลางเมืองชิคาโกเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน เพื่อแสดงออกถึงความมุ่งมั่นที่จะขจัดความยากจน ความไม่เท่าเทียมกันในสังคม และปัญหาโลกร้อนให้หมดไปจากโลก โดยกิจกรรมจัดขึ้นหนึ่งวันก่อนการประชุมประจำปีสมัชชาสหประชาชาติเพื่อการประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ท้าทาย ๑๗ ประการจะได้รับการจัดทำเป็นแผนที่เส้นทางการทำงานเพื่อให้บรรลุความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาซึ่งกำลังส่งผลกระทบรุนแรงกับโลกของเรา  ซึ่งสอดรับกับแนวทางการทำงานของโรตารีที่ต้องการแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนต่าง ๆ ทั่วโลกด้วยแนวทางที่สร้างสรรค์   กิจกรรมเริ่มในช่วงเย็นเมื่อพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าชิคาโก บรรดาผู้ร่วมกิจกรรมต่างชูไฟฉายสีฟ้าและส่องแสงสีฟ้าขึ้นสู่ท้องฟ้าประหนึ่งแสงจากหิ่งห้อยเต็มพื้นที่ในพลาซ่าที่จัดเป็นแหล่งนัดพบนั้น เป็นสัญลักษณ์ของ "ไฟนำทาง" ไปสู่โลกที่ดีกว่า
"นี่เป็นโอกาสที่ดีมากที่ผู้คนมากมายจะมาอยู่ร่วมกันเพื่อเพ่งความสนใจไปสู่การแก้ปัญหาให้โลกที่ดีกว่า" เชอริล แมคอินไตล์ นายกสโมสรโรตารีชิคาโก กล่าว
จูลี บอร์โด ผู้แทนองค์กร ONE ประจำท้องถิ่น ยอมรับว่าการ่วมมือกันระหว่างโรตารีกับ ONE จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
"เรามีเป้าหมายคล้าย ๆ กัน และเมื่อเราทุ่มเทสรรพกำลังเข้าด้วยกัน ทำให้เราเข้าถึงคนเป็นจำนวนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เขาตระหนักถึงประเด็นสำคัญ ๆ เหล่านั้นดีขึ้น" เธอกล่าว
ใต้ฟ้าเดียวกันชิคาโกคือหนึ่งในกิจกรรมกว่า ๔๐ ประเภทที่เราจัดให้มีขึ้นที่องค์การสหประชาชาติและอีก ๑๕๐ ประเทศทั่วโลก  เมืองสำคัญอื่น ๆ ที่จัดกิจกรรมนี้ได้แก่ ซิดนีย์ นิวเดลลี โยฮันเนสเบอร์ก  เซาเปาโล และนิวยอร์ค
ข่าวโดย  อาร์โนลด์ อาร์ กราห์ล
๒๙ กันยายน ๒๕๕๘ 








_______
Rotary and ONE, an international advocacy organization, joined other event partners in downtown Chicago on 24 September to demonstrate a commitment to ending extreme poverty and inequality and to promoting action on climate change on the eve of the United Nations launch of its Sustainable Development Goals.
The  constitute a road map for finding solutions to the world’s most pressing problems, and dovetail with Rotary members’ work to create positive change in their communities and around the world. As dusk fell over Chicago, participants in the Under One Sky event held up blue lights, transforming the plaza where they were gathered into a field of fireflies to #LightTheWay to a more just world.
“This is a great opportunity for people to network and join an event where we are all focused on creating a better world,” said Cheryl McIntyre, president of the Rotary Club of Chicago.
Julie Bordo, a district representative for ONE.org, noted that Rotary and ONE are more effective when they work together.
“We have very similar goals, and when we put our collective efforts together, it allows us to reach more people in addressing these incredibly important issues,” she said.
Under One Sky Chicago was one of more than 40 such events planned in the United States and more than 150 around the world. Other cities that hosted them include Sydney, New Delhi, Johannesburg, São Paulo, and New York.
Rotary News
29-Sep-2015