Monday, November 30, 2015

A ROTARY VOLUNTEER BECOMES A GIFT TO THE WORLD


โครงการในโรงพยาบาลอินเดียช่วยเปิดโลกทัศน์ใหม่

(คัดลอกจากนิตยสารเดอะโรแทเรียนเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๘)

ตอนที่คามิลลา แมคกิลล์วางแผนเดินทางครั้งแรกไปประเทศอินเดียเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว เธอไม่เคยรู้เลยว่าเธอจะได้เรียนรู้บทเรียนที่สำคัญนี้ได้อย่างรวดเร็วและแสนเจ็บปวด
"ดิฉันอยู่คนเดียวในโรงแรม และฝันร้าย" เธอเล่า "ดิฉันถึงกับกระโดดออกจากเตียง ตกลงมาบนพื้นทั้งที่ผ้าห่มคลุมเท้าอยู่  หัวกระแทกพื้นด้วย"  เช้าวันถัดมาเธอรู้สึกเวียนหัว และทำอะไรไม่ค่อยถูก ขอบตาก็ดำ แต่เธอก็มุ่งมั่นที่จะไปปฏิบัติภารกิจตามนัด นั่นคือไปช่วยรณรงค์ในวันสร้างภูมิคุ้มกันแห่งชาติร่วมกับบรรดาโรแทเรียนทั้งหลายที่โรงพยาบาลใกล้ ๆ
"ฉันหาโรงพยาบาลที่นัดไว้ไม่เจอ" เธอกล่าว "แต่โชคดีได้พบกลุ่มแม่ชีที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยวัณโรค พวกเธอพาฉันไปล้างตัวทำความสะอาด แล้วพวกเราทั้งหมดก็กลับมาด้วยกัน" ไม่นานนักเธอก็ได้ทำหน้าที่ของเธอ และดีใจที่ได้พบกับคนแปลกหน้าที่ใจดี ที่ทำให้เธอต้องผิดนัด
"การเป็นชาวตะวันตก เรามักได้รับการสอนให้เป็นคนเริ่มทำก่อน เช่น เป็นผู้นำ ยึดการทำงานตามแผน" แมคกิลล์กล่าว "แต่คนอินเดียที่ฉันพบส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นอย่างนั้น พวกเขาทำงานโดยมุ่งที่คน ให้ความสำคัญกับสัมพันธภาพ"แมคกิลล์คุยกับเพื่อนอินเดียนที่รูัจักกันที่แคนาดา แล้วรู้สึกว่ามีสิ่งที่น่าสนใจที่มีโอกาสร่วมกันทำได้  เธอเข้าไปหาข้อมูลในเว็บ ติดต่อกับสโมสรในอินเดีย และพบว่ามีหลายสโมสรในอินเดียต้องการอาสาสมัครในโครงการบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน โรงพยาบาลแม่และเด็ก หรือจะเป็นโรงพยาบาลโรคตา ที่สโมสรอนาคาพาลี ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่อยู่ทางตะวันออกของภาคกลางในอินเดีย "ฉันจึงได้ติดต่อที่สโมสรนี้" เธอกล่าว
ถ้าไม่คิดถึงอุบัติเหตุในโรงแรมนั้นแล้ว การเดินทางครั้งแรกนั้นก็ถือว่าประสบความสำเร็จทีเดียว  เงินบรจาคจากสโมสรโรตารีเพิร์ลแลนด์ จำนวน ๑๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ช่วยให้สโมสรอนาคาพาลีจัดหาโต๊ะเรียนและม้านั่งให้กับโรงเรียน และในเวลาต่อมาด้วยเงินก้อนใหญ่ขึ้นจากมูลนิธิโรตารีเราสามารถให้ความช่วยเหลือโรงพยาบาลแม่และโรงพยาบาลโรคตาสิบปีหลังจากการเดินทางไปอินเดียครั้งแรก ความสัมพันธระหว่างแมคกิลล์กับคนอินเดีย แคเนดียน และอเมริกันได้ช่วยคนยากจนในอินเดียผ่านโครงการต่าง ๆ มากมาย
การเดินทางของเธอเริ่มขึ้นจากจุดที่ห่างออกไป ๙,๓๐๐ ไมล์จากประเทศอินเดีย ณ เมืองพอร์ทแลนด์ รัฐเทกซัส เธอกับสามีย้ายมาอยู่ที่นี่จากแคนาดาเพื่อหางานทำ แมคกิลล์ต้องกลับเข้าเรียนเพิ่มเติมด้านการสื่อสารในวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรม และเธอได้เข้าเป็นสมาชิกสโมสรโรตารีใกล้บ้าน "ดิฉันได้เข้าร่วมในการประชุมใหญ่โรตารีสากลปี ๒๕๔๘ ที่ชิคาโก ตั้งแต่ปีแรกที่เป็นสมาชิกเลย" เธอระลึกถึงวันแห่งความหลัง  "ฉันได้เห็นองค์ประกอบของการทำงานของโรตารีในโลก และอัศจรรย์ใจยิ่งที่ได้รู้ว่ามีกองทุนให้ทำโครงการต่าง ๆ เกือบทุกเรื่อง"
แมคกิลล์และสามีต้องย้ายที่อยู่อีกหลังจากมาอยู่เทกซัสไม่นาน ตอนแรกย้ายไปอยู่เมืองวิลมิงตัน รัฐเดลาแมร์ แล้วก็ย้ายอีกไปที่ซาร์เนีย รัฐออนแทริโอ แต่การย้ายที่อยู่ไม่ได้ทำงานอาสาสมัครของเธอลดน้อยถอยลง เธอเข้าสโมสรเดลาแมร์และทำโครงการที่ได้ทุนสมทบจากมูลนิธิ  ในเมืองซาร์เนียเธอเข้าสโมสรโรตารีซาร์เนียบลูวอเตอร์แลนด์ ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์ร่วมในโครงการทุนสมทบโลกของมูลนิธิธิโรตารีเพื่อทำโครงการในโรงพยาบาลโรคตากับสโมสรอนาคาพาลีเมื่อปีที่แล้ว
"โรคต้อกระจกตามักพบเห็นมากในอินเดีย" แมคกิลล์อธิบาย "แสงแดดเป็นสาเหตุหนึ่ง นอกนั้นยังมีเรื่องอาหารการกินด้วย เพราะที่นั่นยังอดอยากอยู่มาก  ตอนที่โรงพยาบาลเปิดเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓ เขาตั้งเป้าที่จะผ่าตัดตาต้อ ๔๐ รายต่อเดือน โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายรวมทั้งค่ายา  "ทุนสมทบที่เราได้ช่วยให้เราสามารถผ่าตัดตาต้อได้ถึง ๗๖๐ รายตลอดปีที่แล้ว  และยังมีเงินเหลือพอรักษาผู้ป่วยทางตาอื่น ๆ อีก ๒๕๐๐ คน และยังได้จัดสัมมนาวิชาการหลักปฏิบัติเพื่อปรับปรุงสุขภาพตาด้วย"
จากการกลับไปเยี่ยมประจำปี แมคกิลล์ประจักษ์ถึงผลที่ได้รับจากโครงการของโรตารี "มีอยู่ปีหนึ่งที่เราช่วยจ่ายค่าทาสีและปูกระเบื้องพื้นใหม่ และช่วยจัดซื้อเครื่องไอน้ำความร้อนสูงเพื่อค่าเชื้อโรค" เธอกล่าว "และยังมีสโมสรโรตารีอื่น ๆ จากตะวันตกบริจาคเครื่องวัดสายตา  ตอนนี้โรงพยาบาลสามารถใช้เครื่องฟาโกอีมัลซิไฟเออร์ (เครื่องมือราคาแพงที่ใช้ในการปั่นและสกัดต้อกระจก เครื่องนี้สามารถทำให้ผลของการติดกระจกตาใกล้เคียงความต้องการของผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น) ซึ่งแมคกิลล์อธิบายว่าเป็นผลงานที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง
การที่เธอเดินทางไปเยี่ยมอนาคาพาลี ทำให้เธอเข้าใจบริการของโรงพยาบาลที่ทำให้ชุมชน  "ครั้งหนึ่ง ฉันได้ไปเยี่ยมโรงพยาบาล ฉันเห็นเจ้าหน้าที่ยิ้มและหัวเราะอย่างมีความสุข ฉันก็ถามว่ายิ้มอะไร"  เธอกล่าว  "มันกลายเป็นว่า มีผู้ป่วยชายคนหนึ่งเคยถูกควักลูกตาออกเมื่อตอนเด็ก ๆ ตอนนี้เหลือตาข้างเดียวและตาข้างนี้กำลังเป็นต้อกระจกเต็มแก้วตา โรงพยาบาลกำลังจะช่วยผ่าตาต้อให้เขา เจ้าหน้าที่คนนั้นดีใจที่เคราะห์กรรมของผู้ป่วยรายนี้กำลังจะผ่านพ้นไป เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่เขาจะได้เห็นอีกครั้งหนึ่ง"
เธอหวังว่าโรแทเรียนทั้งหลายจากโลกตะวันตกที่ทำโครงการโดยใช้กองทุนต่าง ๆ ของโรตารีเพื่อช่วยโครงการในต่างประเทศจะได้ไปตรวจเยี่ยมผลของโครงการด้วย "เพราะเมื่อโครงการปฏิบัติแล้วเสร็จ กองทุนนั้นก็เป็นมากกว่าโครงการในกระดาษ เมื่อเราอยู่ที่นั่น เราสามารถรู้สึกได้ว่าอะไรที่พวกเขาต้องการ ไม่ใช่แค่ข้อมูลที่จะบอกว่าเขาต้องการอะไร"
เขียนโดย แอนน์ ฟอร์ด
นิตยสารเดอะโรแทเรียน
15 ตุลาคม 2558

INDIAN HOSPITAL PROJECT IS EYE-OPENING
Rotary International / Alyce Henson
From the November 2015 issue of The Rotarian
When Camilla McGill planned her first visit to India about 10 years ago, she couldn’t have known how quickly – nor how painfully – she’d learn one of the trip’s most important lessons.
“I was alone in a hotel, and I had a nightmare,” she says. “I jumped out of bed, caught my foot in the sheet, fell to the floor, and hit my head.” In the morning, she found herself dizzy and disoriented, with a blossoming black eye, but she was determined to keep her first appointment: assisting with a National Immunization Day event with Rotarians at a nearby hospital.
“I didn’t find the hospital I was looking for,” she says, “but I came across a group of nuns who care for tuberculosis patients. They took me in, cleaned me up, and put me back together.” She soon resumed her work, grateful that the strangers’ kindness had sidetracked her.
“As Westerners, we’re often taught to take initiative: ‘Be the leader! Stick to the plan!’” McGill says. “Most of the Indians I’ve met don’t work that way; they work with people. It’s about relationships.”
A decade after that first trip, the relationships McGill has built with Indian, Canadian, and U.S. Rotarians have helped hundreds of India’s poorest citizens in a variety of projects.
Her journey began about 9,300 miles away from India, in the town of Pearland, Texas. When she and her husband moved there from Canada for his job, McGill returned to school to study inter-cultural communication – and joined the local Rotary club. “I went to the 2005 Rotary International Convention in Chicago my first year as a member,” she recalls. “I saw the full international component of Rotary on display. I was amazed to learn that there were grants available to do all kinds of things.”
Through Indian friends back in Canada, McGill had developed an interest in India, and she sensed an opportunity. She took to the Web, browsing posts from Rotary clubs working in the country. Volunteers were needed for many projects, including schools, a maternity hospital, and an eye hospital, with the Rotary Club of Anakapalle, a small town in east-central India. “I contacted them, and I went,” she says.
The hotel mishap aside, that first journey was a success. A $1,000 donation from the Rotary Club of Pearland furnished Anakapalle schools with desks and benches, and later, larger grants from The Rotary Foundation supported projects benefiting the town’s maternity and eye hospitals.
McGill and her husband relocated again after Texas – first to Wilmington, Del., and then, after retirement, to Sarnia, Ont. – but the moves didn’t slow her volunteer efforts. She joined a Rotary club in Delaware and kept working on grant projects. In Sarnia, she joined the Rotary Club of Sarnia-Bluewaterland, which co-sponsored a Rotary Foundation Global Grant project with the Anakapalle club last year at the eye hospital.
“Cataracts are much more common in India than they are here,” McGill explains. “The sunlight there causes some cases, and diet – particularly insufficient food – can play a role. When the eye hospital opened in 2000, the goal was to provide 40 free cataract surgeries per month and dispense eye medications to the poor.” The grant last year provided cataract surgeries for 760 people, medical treatment for about 2,500 patients with other eye conditions, and medical seminars on best practices for improving eye health.
Through annual visits, McGill has witnessed Rotary’s impact on the hospital. “One year we paid for painting and new tiles, and we’ve purchased a new autoclave,” she says. “Many other Rotary clubs from the West have donated ophthalmologic microscopes. Now the hospital could use a phacoemulsifier” – an expensive piece of equipment that uses vibration to pulverize and extract the cataract. It will help improve outcomes for patients with limited access to health care – which McGill describes as the most rewarding part of this work.
Her visits to Anakapalle have allowed her to see how vital the hospital’s services are to the community too. “One day I was visiting the eye hospital, and the staff was smiling and happy and laughing, and I asked why,” she says. “It turned out that a man was coming in who’d had a damaged eye removed at an early age. He had only one eye left, and a completely white cataract was covering that entire retina. The hospital was going to remove the cataract, and the staff knew he would be able to see again. That was exhilarating to see happen.”
She hopes other Western Rotarians pursuing global grant projects will visit potential partner clubs and project sites, she says. “Once that’s done, the grant becomes more than a piece of paper. We can feel what the need is, in addition to knowing what the need is.”
By Anne Ford
The Rotarian
15-Oct-2015

No comments: