Wednesday, December 14, 2016

New Rotary Web Faces To Inspire Public


สดใสกับหน้าเว็บใหม่ปีใหม่นี้

เดือนมกราคม ผู้ที่เยี่ยมชมเว็บไซท์โรตารีสากลจะพบกับหน้าจะพบกับหน้าเว็บใหม่ที่จัดทำขึ้นชั่วคราวแปลกตาออกไปที่เน้นการบอกเล่าเรื่องราวโรตารีที่น่าตื่นตาตื่นใจ  การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นขั้นตอนแรกจากที่เตรียมไว้สองขั้นตอน โดยแยกเป็นขั้นแรกปรับปรุงหน้าตาในส่วนของเว็บ "ส่วนนอก" ให้ใหม่ทันสมัยทั้งหมด จากนั้นจึงนำเสนอการปรับปรุงขั้นที่สองในส่วนของ My Rotary
บางส่วนของการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเห็นได้ชัดเจนในเรื่องของเทคนิคการใช้ภาพและกราฟฟิกประกอบเรื่องราวที่ทันสมัยที่มุ่งเน้นให้ผู้ชมรู้จักโรตารีและผลงานที่เราทำได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้เรายังปรับปรุงความรวดเร็วให้ตอบสนองความต้องการผู้เยี่ยมชมด้วย
เราเชื่อว่าการปรับปรุงครั้งนี้จะช่วยให้ประชาชนทั่วไปมองเห็นได้กระจ่างขึ้นว่าโรตารีช่วยให้โลกน่าอยู่ขึ้นได้อย่างไร และนี่จะส่งผลให้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมของโรตารีผ่านสโมสรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคหรือการอาสาสมัครเข้าช่วยงานในโครงการบริการของสโมสร
อย่าลืมเข้าเยี่ยมเว็บไซท์ rotary.org ในเดือนมกราคมเพื่อเป็นคนแรก ๆ ที่จะได้ชื่นชมกับโฉมหน้าใหม่ของเว็บไซท์โรตารี



A sneak peek at the Web refresh


A sneak peak at the new Our Causes page.
A sneak peak at the new Our Causes page.
By Rotary staff
Posted on December 13, 2016
In January, visitors to Rotary.org will discover a new, contemporary site that tells Rotary’s story in a fresh and exciting way. It’s the first step in a two-part process to refresh our entire website: first the public site, Rotary.org, and then My Rotary.
Some of the changes will be obvious: a modern design, increased use of imagery and graphics to tell our stories, and better organization of content to help readers find out who we are and what we’re doing. Others, like the improved speed of the site, will be a welcome surprise.
We believe these changes will more clearly show that Rotary is making the world a better place — and will persuade potential members and donors to support our work by joining a club, volunteering on a project, or donating to a cause. Visit Rotary.org in January to see all the improvements we’ve made.

Monday, November 7, 2016

Recipe for Membership Growth


ส่วนผสม ๖ อย่างในสูตรสร้างเสริมสมาชิกภาพ
โดย เควนทิน วอดดัน สมาชิกสโมสรโรตารีแคปปิตอลฮิลล์ วอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา
เผยแพร่วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

ต้องยอมรับก่อนว่าสโมสรยิ่งเล็กยิ่งมีโอกาสเพิ่มสมาชิกได้มาก สโมสรของผมมียอดสมาชิกลดลงต่อเนื่องเป็นเวลา ๕ ปี แต่แล้วรายงานจำนวนสมาชิกเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม ปีนี้เรามีสมาชิกเพิ่ม ๖๐ เปอร์เซนต์ เมื่อเดือนกรกฎาคมเรามีสมาชิก ๑๘ คน ตอนนี้เรามี ๒๘ คน ในจำนวนนี้เป็นสมาชิกใหม่ ๑๑ คนที่รับมาในปีโรตารีนี้
ทำได้ไง  ขอให้ผมแบ่งปันสูตรลับนี้

ส่วนผสมที่ ๑ ประชุมน้อยลง บำเพ็ญประโยชน์และร่วมกิจกรรมสังคมมากขึ้น มติของที่ประชุมสภานิติบัญญัติโรตารีที่ผ่านมาเปิดโอกาสให้สโมสรมีความยึดหยุ่นมากขึ้นในการจัดความถึ่การประชุม ซึ่งสโมสรของผมลดจำนวนการประชุมลงจากเดือนละ ๔-๕ ครั้งเหลือเพียงเดือนละ ๒ ครั้ง ส่งผลให้เรามีเวลามากขึ้นการร่วมกันทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และกิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ

ส่วนผสมที่ ๒ โอกาสในการบำเพ็ญประโยชน์ที่ดียิ่งขึ้น โรแทเรียนทั้งหลายคือผู้นำธุรกิจ ผู้นำในวิชาชีพ และผู้นำในชุมชน แต่น่าเสียดายว่าบางครั้งพวกเขาไม่ได้ใช้ศักยภาพในอาชีพนั้นอย่างเต็มที่นักเมื่อเป็นกรรมการในสโมสร แต่ในสโมสรเราไม่เป็นเช่นนั้น  เราตั้งทีมโรแทเรียนร่วมกับผู้นำที่ไม่ใช่โรแทเรียนเพื่อให้คำปรึกษาฟรีในการวางยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาให้แก่คนในท้องถิ่นในกิจกรรมที่ไม่แสวงหากำไร  ปฏิบัติการเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยกิจกรรมอาสาสมัครประสบความสำเร็จ แต่ยังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่สาธารณะสำหรับโรตารีด้วย

ส่วนผสมที่ ๓ ใช้จ่ายเงินน้อยลง สำหรับมาตรฐานการครองชีพคนในวอชิงตัน ดีซีแล้ว ค่าบำรุงสมาชิกของสโมสรเราในอัตรา ๖๐๐ เหรียญสหรัฐฯ ต่อคนต่อปี นับว่าไม่สูงเลย แต่สำหรับบางท่านก็ยังอาจนับว่าสูงอยู่  ดังนั้นเราจึงเพิ่มประเภทสมาชิกขึ้นอีก ๒ ประเภทคือ สมาชิกที่เป็นคนหนุ่มสาวอายุไม่เกิน ๓๕ ปีในอัตราครึ่งหนึ่งของปกติ และประเภทคู่สมรส/คู่ครอง ในอัตรา ๑ ใน ๓ ของอัตราปกติ

ส่วนผสมที่ ๔ ภาพลักษณ์โรตารีที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น  เราได้จัดกิจกรรมสาธารณะดี ๆ ได้บ่อยยิ่งขึ้น เช่นเมื่อเร็ว ๆ นี้เราจัดสัมนนาและปาฐกถาที่ธนาคารโลกในเรื่องการศึกษาเพื่อสันติภาพและสังคมที่เปลี่ยนแปลง  ในช่วงสัปดาห์นั้นเราตั้งบูธในชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์ด้วย นอกจากนี้เรายังเขียนบทความดี ๆ เกี่ยวกับกิจกรรมของเราลงในนิตยสาร บล๊อกและสื่อท้องถิ่น ตลอดจนหนังสือพิมพ์ที่แจกฟรีด้วย

ส่วนผสมที่ ๕ แผนยุทธศาสตร์  ในที่สุดเราก็มีแผนยุทธศาสตร์ของสโมสรครั้งแรก หลังจากที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๖ แผนยุทธศาสตร์นี้ช่วยให้เรามีวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ที่ต้องการบรรลุอย่างชัดเจน 

ส่วนผสมที่ ๖ โชคช่วย การที่สมาชิกเพิ่มขึ้นสำหรับสโมสรของเรา ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของโชค เพราะสมาชิกที่เข้าใหม่ ๒ คนย้ายมาจากสโมสรอื่น ด้วยสาเหตุของการปรับเพิ่มค่าบำรุงในสโมสรอื่น และการย้ายที่ทำงาน โชคยิ่งไปกว่านั้นคือคนเหล่านี้มีความรู้ประสบการณ์ดี ๆ ที่จะมาแบ่งปันให้กับสโมสรด้วย

คงต้องติดตามกันต่อไปว่าช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้เราจะมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่อย่างไร  สมาชิกในสโมสรบางคนอาจต้องย้ายที่ทำงาน ซึ่งเราก็ต้องหาเพิ่มมาเติมส่วนที่ขาดหายไปด้วยเพื่อให้จังหวะการเพิ่มดีเหมือนเดิม พวกเรายังคงตื่นเต้นกับความคิดริเริ่มต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดที่จะส่งผลให้เราเป็นที่รู้จักดียิ่งขึ้นในชุมชน ช่วยให้สมาชิกในชุมชนมีชีวิตที่แตกต่างยิ่งขึ้น และหวังว่าสโมสรก็จะยังคงเติบโตต่อไป
---------------
เกี่ยวกับผู้เขียน  เควน วอดดันเป็นนักเศรษฐศาสตร์แนวหน้าในธนาคารโลก  เขาได้รับปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสคร์และการศึกษาหลักทฤษฎีศาสนา เขายังเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเขาเป็นนายกสโมสรโรตารีแคปปิตอลฮิลล์ ในวอชิงตัน ดีซี  เขามีผลงานบทความในบล๊อกของเขาที่www.rotarianeconomist.com 

6 ingredients for membership growth
Posted on November 4, 2016
Festival booth
One public event the club organized included a booth at a neighborhood festival.
By Quentin Wodon, a member of the Rotary Club of Capitol Hill, Washington, D.C., USA
Let’s admit it: achieving a high growth rate (negative or positive) is easier with a small club. Still, after more than five years of almost continuous decline in membership, my club was excited to report a 60 percent growth in membership from July to October. We had 18 members on 1 July. Now we have 29, with 11 new members inducted in the first trimester of the new Rotary year.
How did we do it? Let me share our recipe:
Ingredient 1: Less meetings, more service and public eventsRotary’s Council on Legislation has given a lot of freedom to clubs on how they organize their meetings. So we decided to reduce our regular meetings from four to two per month, which gives us more time for service work and organizing public events.
Ingredient 2: Better service opportunities. Many Rotarians are professionals and business leaders, yet most do not use their skills when they volunteer with their club. We changed that in our club by creating teams of Rotarians and non-Rotarians combining their skills to provide free advice to local nonprofits on the strategic issues they face. This is not only more interesting in terms of volunteer work, but it is also more impactful to create positive change in the community.
Ingredient 3: Lower cost. By the standards of Washington D.C., our membership dues are not very high, at $600 per year. But this is too much for many. So we created two new membership types – a membership at half the regular dues for young professionals under 35 years of age, and a spouse/partner membership at one third of the dues.
Ingredient 4: Stronger public image. We are organizing better and more regular public events. One of our recent events was a seminar at the World Bank with great speakers on education for peace and social change. That same week we also had a stand at the main festival in our neighborhood. In addition, we have been writing articles for a local blog, the local magazine for our neighborhood in Washington, D.C., and a free newspaper.
Ingredient 5: Strategic planning. We now have a strategic plan, our first since the club’s creation in 2003. The plan gives us a vision, and clear milestones and targets that we are trying to achieve.
Ingredient 6: Luck. Part of our gain in membership was just luck, as two new members transferred from other clubs due to changes in jobs and the location of their workplace. What’s great is that they bring with them a lot of experience in Rotary.
It remains to be seen whether we will continue on the path of membership growth for the rest of the year. We expect some members to relocate, so we will need to recruit more members to compensate. But we are making progress, and we have exciting initiatives coming up that should help us become better known in the community, make a larger difference for the less fortunate, and hopefully continue to grow.
1411_wodonAbout the author: Quentin Wodon is a lead economist at the World Bank. He holds PhDs in economics and in theology and religious studies, and has taught at universities in Europe and the U.S. He is currently President of the Rotary Club of Capitol Hill, in Washington, D.C. He is also author of the Rotarian Economist blog at www.rotarianeconomist.com.

Saturday, October 22, 2016

WHY DOES POLIO MATTER?

วันโปลิโอโลก ๒๔ ตุลาคม 
WORLD POLIO DAY 24 October

Let's help ending Polio !



World Polio Day from Rotary International on Vimeo.
Nigeria One-Year Milestone from Rotary International on Vimeo.


Monday, October 3, 2016

PR by Telling Story of Others

ไม่พูดถึงสโมสร ก็ประชาสัมพันธ์ได้
โดย เควนทิน โวดอน สโมสรโรตารีแคปปิตอลฮิลล์ วอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา 

บางครั้งวิธีดี ๆ ที่จะดึงความสนใจคนมาสู่สโมสร ก็อาจจะไม่ใช่การพูดเรื่องเกี่ยวกับสโมสร แต่อาจเป็นเรื่องของกลุ่มคนหรือกลุ่มอาสาสมัครที่สโมสรมีโครงการร่วมทำด้วยกันกับเขา

สมาชิกโรตารีค่อย ๆ เร่ิมรับรู้ถึงความจำเป็นของการสื่อสารโดยการเล่าเรื่องมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ช่องทางในการสื่อสารในปัจจุบันเราอาจต้องเน้นไปที่บล๊อกหรือแม็กกาซีนเพื่อให้เข้าถึงคนในชุมชนมากกว่าการป่าวประกาศในสโมสรและในภาค ทั้งนี้ก็เพราะโดยทั่วไปแล้วช่องทางสื่อภายนอกนี้สามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่ใหญ่กว่า
ปัญหาคือ แล้วเราจะทำยังไง คนทำบล๊อกหรือแม็กกาซีนเหล่านั้นเกิดความสนใจในเรื่องราวที่เราจะเล่า

นาน ๆ ครั้ง ท่านอาจรู้สึกว่ามีเรื่องดี ๆ เกี่ยวกับสโมสรของเราที่อยากเล่า และคิดว่าบลีอกหรือแม็กกาซีนจะชอบเช่นกัน อย่างไรก็ตามบรรณาธิการที่ดูแลอยู่อาจไม่ค่อยชอบลงเนื้อหาซ้ำ ๆ ในกรอบหัวข้อแบบเดิม ๆ นี่คือสาเหตุที่เราต้องคิดถึงการนำเรื่องราวที่เกี่ยวกับองค์กรอื่น ๆ มาพิจารณาด้วย

เมื่อได้มาเป็นนายกสโมสร ผมเริ่มเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับองค์กรหุ้นส่วนที่ไม่แสวงหากำไร มุ่งเน้นทำงานกิจกรรมสังคมขององค์กร แต่ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับสโมสรโรตารีของเราอยู่บ้าง

สื่อหลักที่สโมสรใช้เผยแพร่เรื่องราวในชุมชนวอชิงตัน ดีซี คือ "เดอะฮิลล์อิสโฮม" และแม็กกาซีน "ฮิลล์แร็ก" ซึ่งเป็นนิตยสารรายเดือน ผมก็เริ่มเขียนให้กับสื่อสองทางนี้และก็ไม่ใช่เขียนเกี่ยวกับสโมสรโดยตรง แต่เกี่ยวกับผลงานดีเด่นของหุ้นส่วนของเราที่เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร แล้วพ่วงท้ายถึงการเชื่อมโยงที่สโมสรของเรามีอยู่กับเขา ในท้ายบทความผมจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสโมสรของเรา ผมทำอย่างนี้มาได้ ๓ บทความแล้วสำหรับนิตยสารฮิลล์แร็ก และ ๕-๖ บทความในบล๊อกฮิลล์อิสโฮม

ทั้งหมดเป็นสิ่งที่เห็นและจับต้องได้จริง

วิธีนี้ดูเหมือนคุ้มค่า เพราะไม่เพียงเราทำให้สโมสรเป็นที่รู้จักกับคนภายนอกแล้ว แต่สำคัญกว่านั้นคือเราได้ทำให้ผู้อ่านรู้ว่ามีโครงการดี ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของสังคมเกิดขึ้นโดยไม่แสวงหากำไรหรือผลตอบแทน ยกตัวอย่างเช่น มีอยู่โครงการหนึ่งที่กลุ่มราชการของเมืองแคปปิตอลฮิลล์ จัดตั้งทีมอาสาสมัครเพื่อร่วมสำรวจสวัสดิการที่จัดให้กับคนไร้ที่อยู่ โดยเฉพาะช่วงฤดูกาลที่อากาศแปรปรวนรุนแรง

องค์กรหุ้นส่วนที่ไม่แสวงผลกำไรเหล่านี้พึงพอใจในสิ่งที่เราทำเพื่อเขา ความจริงพวกเขาควรได้รับคำชื่นชมจากสังคมโดยตรงเพราะเป็นผู้ที่อยู่แนวหน้าในโครงการนั้น ๆ และได้จัดการกับปัญหาให้คนยากจนและผู้ด้อยโอกาสอย่างแท้จริง ก็หวังว่ากลยุทธการเขียนบทความเล่าเรื่องขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไรเช่นนี้จะช่วยทำให้เกิดอาสาสมัครมากขึ้นในชุมชน ในขณะเดียวกันการอ้างอิงถึงสโมสรโรตารีในบทบาทของผู้ที่ให้การสนับสนุนจะสร้างการเปลี่ยนแปลงและภาพลักษณ์เชิงบวกแก่องค์กรโรตารีด้วยเช่นกัน
--------
เกี่ยวกับผู้เขียน : เควนทิน โวดอน เป็นนักเศรษฐศาสตร์ระดับแนวหน้าของธนาคารโลก เขาจบปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์ และศาสนศาสตร์และเทววิทยา เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยในยุโรป และสหรัฐอเมริกา เขาเป็นสมาชิกสโมสรโรตารีแคปปิตอลฮิลล์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ได้เกี่ยวข้องในโครงการทุนสมทบโลกของโรตารีที่เน้นนวัตกรรมใหม่ ๆ และเขายังเป็นนักเขียนประจำในบล๊อกของโรแทเรียนอีโคโนมิสต์
How to promote your club by not talking about your club
Volunteers from Capitol Hill Group Ministry assist the homeless.
Volunteers from Capitol Hill Group Ministry assist the homeless. Photo courtesy Capitol Hill Group Ministry
By Quentin Wodon, Rotary Club of Capitol Hill, Washington, D.C., USA
Sometimes the best way to gain a little attention for your club is to not talk about your club, but about other worthy groups and volunteers you are working with.
Rotary members are becoming more aware of the need to tell their Rotary story. But here’s the catch. It may be better to use local blogs or magazines in your community rather than your club or district’s own channels. This is because typically, these external sources will have a much larger readership.

But how do you get local blogs or magazine to use your stories?

Once in a while, you may have a great story to tell about your club that the blog or magazine will accept. However, they are not going to want to repeatedly publish stories on so narrow a topic. This is where talking about other organizations comes into play.
As president of my club this year, I have started to write stories about our nonprofit partners, focusing on their work, but also inserting a few lines about our Rotary club in each story.

The main local blog for my club’s community in Washington, D.C., is “The Hill Is Home.” And the main magazine is Hill Rag, which is published monthly. So I started writing stories for both, again not directly about our club, but about the great work that our nonprofit partners are doing, and how we are working with them. At the bottom of each article or blog post I provide basic information on our club and when we have our regular meetings. So far I have published three articles for Hill Rag and a half dozen blog posts for the Hill Is Home.

It’s all about visibility
This approach seems to be worthwhile not only to get our club slightly better know, but more importantly to give visibility to great nonprofits serving those in need. For example, one of the stories focused on Capitol Hill Group Ministry, which organizes teams of volunteers to check on the welfare of homeless, especially during extreme weather.

Our nonprofit partners are grateful when we write about them. They deserve the spotlight as they are truly at the frontline in helping the poor and those who are vulnerable in our communities. Hopefully, this strategy of writing about our nonprofit partners helps them and promotes volunteering in the community, while also mentioning in passing the role that our club plays in contributing to positive change.

About the author: Quentin Wodon is a lead economist at the World Bank. He holds PhDs in economics and in theology and religious studies, and has taught at universities in Europe and the U.S. He is a member of the Rotary Club of Capitol Hill, in Washington, D.C., and is involved in several innovative global grants. He is also author of the Rotarian Economist blog.


Wednesday, August 3, 2016

MANAGING MEDIA CRISIS

How to handle a social media crisis

150209_burrellBy Evan Burrell, a member of the Rotary Club of Turramurra, New South Wales, Australia
There seems to be a social media crisis or PR nightmare almost every other week nowadays, and even your Rotary club isn’t immune to a potential crisis that can blow out of all proportion.
Crisis planning is essential and an effective crisis plan is based first and foremost on truth, transparency, and sincerity. Every Rotary club should have a strategy for how it will deal with a public relations disaster, either online or offline. If your club does not have a plan in place, I recommend your club devise one as a matter of urgency.
As part of your crisis plan, make sure you or the club leadership can confidently answer these following questions:
  • Who will handle your social media accounts in case of a crisis?
  • What will that person be authorized to write on social media about the crises?
  • Will they need approval for every post?
  • What will the messaging be across all the different platforms i.e. social media, traditional media, other Rotary clubs etc.?
  • Will you have more than one person responding to online posts or offline discussion?
  • What social media posts will you proactively put out there to manage it?
Managing the CrisisThere is no one answer to managing a crisis, you need to do what is best for you and your club. Here are some ideas for successfully managing a social media crisis.
1: Identify & Communicate
If a crisis is identified, urgently inform the club leadership, tell them what’s wrong and give them as much information as you are able to. They may need to seek legal advice or act on the information you give.
2. Acknowledge
Some companies first response is “yes, we realize something has happened” etc. If you don’t have all answers though, then it is a good idea to seek direction on a proper acknowledgment of the crisis. A proper well-informed response may stop nonfactual gossip, messages, or comments.
3. Respond quickly
Once you have some relevant information and received some direction, you should respond to the crisis ASAP. A timely response is essential in limiting the reach and potential damage. Be prepared to acknowledge the crisis within a few hours or at least a day. Two weeks after the crisis has started is way too late!
4. Manage the situation
If you have posted a response to the crisis on your club Facebook page, be cautious about removing comments made by members of the public (unless they are offensive comments, or could be libelous, etc.) To be seen to manipulate the responses to the crisis by selective deleting can itself result in a backlash.
You never know where or when a crisis will break. However, if you manage it properly, the fallout can be minimized.

Wednesday, April 27, 2016

STOP MOTHER FROM DYING: A ROTARIAN'S QUEST FOR VOCATIONAL SERVICE

โครงการอบรมอาชีพ- ช่วยแม่คลอดให้รอดตาย
โดย อดีตผู้ว่าการภาค ดร.หิมานซู บาซู ผู้ประสานงานฝึกอบรมด้านเทคนิคเพื่อกิจกรรมสุขภาพแม่และเด็กของมูลนิธิโรตารี
ทุกห้านาทีมีแม่ ๓ คนกับเด็กทารกเกิดใหม่อีกจำนวน ๒๐ คน ต้องเสียชีวิตไป ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในอัฟริกาและอนุภูมิภาคอินเดีย  ผมตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาการตายของแม่และเด็กอยู่เสมอว่าเราน่าจะป้องกันได้
เมื่อครั้งที่ภาคโรตารีของเราได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนำร่องวิสัยทัศน์อนาคตโรตารี ๒๐๑๐  เราก็มองเห็นช่องทางที่จะสามารถสนับสนุนโครงการที่เน้นเรื่องสุขภาพแม่และเด็ก  ผมทราบดีว่าโครงการแบบนี้จะสร้างผลกระทบที่เป็นประโยชน์ต่อเนื่องออกไปและเป็นผลที่มีความยั่งยืน  นอกจากนี้เราวางยุทธศาสตร์การทำงานที่จะส่งผลที่ประเมินความสำเร็จได้ และมีองค์ประกอบของผลที่สำเร็จบรรลุผลสำเร็จที่มองเห็นได้  แต่อย่างไรก็ดีโครงการแบบนี้ก็ต้องผ่านการทดสอบจากโครงการนำร่องที่ทุกฝ่ายต้องเฝ้าดูผลการดำเนินการอย่างใกล้ชิดและทำการประเมินอย่างตรงไปตรงมา
ประสานใจ
เพื่อนและผู้ให้การสนับสนุนหลายท่านในองค์กรระหว่างประเทศก็ดี หน่วยงานภาครัฐหรือนอกภาครัฐก็ดี ตลอดจนองค์กรโรตารีเอง ทุกองค์กรในทุกระดับช่วยกันพัฒนาโปรแกรมขึ้น ผ่านการประสานงานกันในชื่อรหัสโครงการ "CALMED"  (Collaborative Action in Lowering of Maternal Encoutered Deaths หรือ ปฏิบัติการร่วมมือเพื่อลดเหตุแห่งการตายในมารดา) จึงได้ถือกำเนิดขึ้น
แน่นอนว่าปัญหาสุขภาพแม่และเด็กนั้นได้รับการจัดลำดับความสำคัญและบรรจุไว้ในหนึ่งในหกโครงการที่โรตารีให้ความสำคัญลำดับต้น และปัญหาของแม่และเด็กบางครั้งก็มองเห็นไม่ชัดเจนไม่ว่าจะเป็นโรแทเรียนหรือคนนอกโรตารีก็ตาม  พวกเราส่วนมากไม่รู้ว่าช่วงเวลาสุกงอมที่หญิงตั้งครรภ์และให้กำเนิดลูกมีความเสี่ยงสูงสุดที่จะเสียชีวิตนั้นในไนจีเรียมีมากถึง ๑ ใน ๔๐ คน และมี ๑ ใน ๒๕๐ คนในอินดีย ในขณะที่มีเพียง ๑ ใน ๕,๙๐๐ คนในสหราชอาณาจักร  และแม้อัตราการเสียชีวิตนี้อาจหลีกเลี่ยงได้ อัตราการตายแบบนี้ก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลงไป
พลังยิ่งใหญ่แห่งเครือข่ายโรตารี
ส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานตามโครงการนำร่องนี้ คือเราต้องระบุความความต้องการที่แท้จริงเพื่อจัดสรรทรัพยากรที่โรตารีจัดหามาให้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งหมายรวมถึงผู้ที่อยู่ในวิชาชีพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น แพทย์ พยาบาล แพทย์ผดุงครรถ์  เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล และอาสาสมัครต่าง ๆ  ทั้งหมดมีบทบาทสำคัญในการช่วยปฏิบัติงานตามโครงการลดอัตราการเสียชีวิตของแม่และเด็ก
ด้วยว่าผมมีความรับผิดชอบในฐานะประธานมิตรภาพวิชาชีพแพทย์ในโรตารีจึงเป็นธรรมดาที่ผมจะต้องพยายามขายความคิดโครงการ CALMED ให้โรแทเรียนทั่วโลกในเวทีการประชุมใหญ่โรตารีสากล การประชุมใหญ่ภาค ระดับโซน และการประชุมอินสติติวท์  ผมยังรับเป็นผู้อำนวยการด้านการแพทย์ให้กับกลุ่มปฏิบัติการโรตารีเพื่อประชากรและการพัฒนา  ซึ่งมีสมาชิกเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคและให้ความรู้แก่โรแทเรียนที่สอบถามมาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพแม่และเด็ก
และในฐานะผู้ประสานงานการอบรมด้านเทคนิคเพื่อสุขภาพแม่และเด็กของมูลนิธิโรตารี ผมเข้าไปเกี่ยวข้องและติดต่อสื่อสารกับโรแทเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือในโครงการที่เกี่ยวเนื่องด้วยเรื่องสุขภาพทางเพศและการวางแผนครอบครัว 
โครงการ CALMED คืออะไร
โครงการคาลเมด ใช้รูปแบบการอบรมที่จะสร้างความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ในการทำคลอดฉุกเฉินและการดูแลทารกแรกคลอด  เนื้อหาโครงการครอบคลุมไปถึงการระมัดระวังในระหว่างตั้งครรถ์และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการทำคลอดในชนบทที่ห่างไกลบริการทางการแพทย์ที่มีเครื่องมือครบถ้วน
องค์ประกอบที่สามของโครงการนี้คือการวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตระหว่างและหลังคลอดของแม่  จัดทำข้อเสนอเพื่อเป็นแนวทางป้องกันในอนาคต (เรียกว่า MDSR หรือ การเฝ้าระวังเพื่อตอบสนองต่อสาเหตุการเสียชีวิตของแม่)  เมื่อมีวิวัฒนาการที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้นเราก็สามารถหาวิธีที่เหมาะสมเพื่อรับมือกับสาเหตุการตาย อย่างเช่นที่เราเรียกว่า การดูแลแบบแม่จิงโจ้ (KMC) ชุดป้องกันการช๊อค (NASG)  แนวคิดชั่วโมงทองคำ  เป็นต้น  ทั้งหมดก้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการแต่ละแบบ 
ทีมฝึกอบรมวิชาชีพสำหรับคาลเมด
ขณะนี้มีทุนสมทบระดับโลก ๓ ชุดที่ทำโครงการคาลเมดแบ่งตามที่ตั้งโครงการดังนี้
  • รัฐสิกขิม อินเดีย โดยมีเป้าหมายประชากร ๗ แสนคน เริ่มแล้วในปี พ.ศ.๒๕๕๖ ได้ทำการตรวจเยี่ยมโครงการในปี พ.ศ.๒๕๕๗ และ พ.ศ.๒๕๕๙
  • เมืองบุจ รัฐคุชราช อินเดีย  มีเป้าหมายประชากร ๒.๕ ล้านคน  เริ่มต้นในปี พ.ศ.๒๕๕๗  เยี่ยมโครงการครั้งที่สองในปี พ.ศ.๒๕๕๙
  • มัธยประเทศ อินเดีย มีเป้าหมายประชากร ๓.๕ ล้านคน  เพิ่งเริ่มวางระบบ และจะมีการเข้าเยี่ยมในเดือนตุลาคม ๒๕๕๙
ถึงขณะนี้ ทีมงานทั้งหมดได้ให้การอบรมผู้เข้าร่วมโครงการไปแล้ว ๓๙ คน ซึ่งจะได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่อบรมหลัก  (จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ ๑๐๐ คน)  เจ้าหน้าที่อบรมหลักนี้จะต้องไปอบรมแพทย์และพยาบาลอีก ๒๖๔ คน (เป้าหมาย ๕๐๐ คน)  เพื่อให้เข้าใจการทำคลอดฉุกเฉินและการดูแลทารกแรกคลอด และต้องไปอบรมผู้ฝึกอบรมรุ่นต่อไปอีก ๙๕ คน 
ผลการทำงานของทีมอบรมวิชาชีพคาลเมด
ในเบื้องต้น โครงการนี้ต้องการขยายจำนวนบุคคลากรการแพทย์ที่ได้รับการอบรมด้านการทำคลอดฉุกเฉินและการดูแลแม่และเด็กหลังคลอด  และเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ร่วมโครงการที่เป็นกลุ่มสตรีในหมู่บ้านให้รู้จักการดูแลสุขภาพก่อนและหลังคลอดและสุขภาพเด็กที่คลอดใหม่  รายงานระบุว่าแพทย์และพยาบาลตามโครงการนี้มีความมั่นใจมากขึ้นในการดำเนินการทำคลอดนับตั้งแต่โครงการคาลเมดเปิดตัว  การติดตามผลหลังจากนั้นสามปีในรัฐสิกขิมแสดงให้เห็นว่ามีความคืบหน้ามากในตัวเลขที่ลดลงของอัตราการตายของแม่เหลือเพียงร้อยละ ๒๕ ของตัวเลขในหนึ่งปีเท่านั้น เมื่อเทียบกับตัวเลขเมื่อสามปีก่อน ก่อนที่จะเร่ิมโครงการคาลเมด
จะช่วยได้อย่างไร
  • ลงทุนในโครงการเพื่อสุขภาพสตรีและเด็ก ซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
  • ปลดปล่อยพลังแห่งการลุ่มลึกในวิชาชีพของบรรดาโรแทเรียนและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ๆ เรามีรูปแบบจากทีมฝึกอบรมคาลเมดที่อาจนำไปปรับใช้ได้
  • บอกเล่าความสำเร็จของคาลเมด และพิจารณาแนะนำโครงการคาลเมดให้ใช้ในพื้นที่ของท่าน หากอยู่ในพื้นที่ ๆ มีปัญหาการเสียชีวิตของแม่และเด็กในอัตราสูง
จงเริ่มวันนี้ โดยการเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซท์ของโครงการ หรือติดต่อที่ผู้ดูแล ไม่ว่าท่านมีปัญหาและความเห็นใด ๆ   เมื่อเราร่วมมือกัน เราสามารถหยุดสาเหตุที่ฆ่าแม่หลังคลอดได้

Monday, April 11, 2016

มือก็ไกว ดาบก็แกว่ง ถ้ามีแรง ชีวิตนี้ดีแน่

EMPOWERING MOTHERS BY PREVENTING INJURIES

Robert Zinser is surrounded by women whose lives were forever changed after receiving surgery to repair obstetric fistulas, a preventable childbirth injury that can lead to social isolation, nerve damage, and death.
Robert Zinser understands numbers. The economist and retired president for Asia at chemical giant BASF has spent his life analyzing and predicting future trends. So when he initiated a five-year, $3 million pilot project to reduce infant and maternal mortality in Nigeria – a country with the second highest mortality rate in the world – he was doing more than just betting it would make a difference. He knew it would.
“In Nigeria, 70 percent of births are home deliveries. If the labor goes on too long, a woman can suffer a fistula,” an injury that often results in a stillborn baby, causes chronic incontinence, and can lead to social isolation as well as infection, nerve damage, or death. “With fistulas, prevention is key,” says Zinser, who co-founded what became the Rotarian Action Group for Population Growth and Sustainable Development and serves as its CEO.
Using a comprehensive approach of better antenatal care and quality assurance techniques, the project has helped reduce maternal mortality rates in hospitals by 60 percent. Since 2005 they’ve also repaired 1,500 fistulas – 500 more than their initial goal – and added microcredit and vocational training to the pilot project.
“Many women with this condition had been thrown out of their homes and needed a way to make a living,” says Zinser, who is a past district governor and member of the Rotary Club of Ludwigshafen-Rheinschanze, Germany. “They didn’t even know the injury could be repaired until we started running radio programs showcasing true-to-life stories and community dialogues.”
A Rotary Foundation grant for $478,000, sponsored by Rotary District 9125 in Nigeria and the Rotary Club of Weissenburg, Germany, helped launch the project. It also attracted an additional $826,000 from the German government and the Aventis Foundation. Activities such as solar power and water projects, donations of materials including mosquito nets, and cash contributions complemented the effort.
“If you travel in the developing world, walk through slums, and talk to people, you know that the women are often dominated by the men,” says Zinser. “They are suffering. They lack support. Women cannot be empowered if they can’t make their own choices in antenatal care and child spacing. But if mothers are empowered and healthy, so are their families, leading to an alleviation of poverty and hunger.”
So what does the 85-year-old Zinser plan to tackle next? “Scaling up,” he says. “The time is ripe. Maternal health is in the spotlight because of the UN Global Strategy for Women’s and Children’s Health. We should replicate and publicize this pilot project.
”My friends ask me, ’Why don’t you go golfing with us?’ They don’t know how my Rotary work benefits me,” Zinser says. “More and more, scientists are advising that if you do good for other people, it will keep you young. When I’m in Africa, I feel I am the right man, at the right time, in the right place.”

By Vanessa N. Glavinskas
This story originally appeared in the June 2012 issue of The Rotarian.
6-Aug-2013
-----------
"มือก็ไกว ดาบก็แกว่ง" ถ้าแรงมีชีวิตนี้มีหวัง
โรเบิร์ต ซินเซอร์ เก่งเรื่องตัวเลข เขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่เกษียณจากตำแหน่งประธานบริษัทเคมีที่ชื่อบาสฟ์ เอเซีย  เขาใช้เวลาตลอดชีวิตในการคาดคะเนและทำนายแนวโน้มอนาคต  ด้วยเหตุนี้ตอนที่เขาริเริ่มโครงการห้าปีที่ต้องใช้เงินสามล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อลดอัตราการตายของทารกเกิดใหม่ในประเทศไนจีเรีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีปัญหาอัตราเด็กเกิดใหม่ตายสูงเป็นอันดับสองของโลก โรเบิร์ตต้องทำมากกว่าการเดิมพันว่าผลของโครงการจะทำให้โลกมีอะไรที่แตกต่างเกิดขึ้น เขารู้ว่าผลที่เกิดขึ้นต้องมีมากกว่านั้นแน่
"ในไนจีเรีย แม่เจ็ดในสิบคนคลอดลูกที่บ้าน หากระยะเวลาในระบวนการคลอดนานเกินไป อาจส่วผลให้เกิดอาการฟิสตูลา ซึ่งเป็นอาการที่ส่งผลให้เด็กที่คลอดออกมาเสียชีวิต หรือผู้ป่วยมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ทำให้ต้องแยกตัวเองออกจากสังคม มีอาการติดชื้อ ประสาทบางส่วนถูกทำลาย หรือตายได้ในที่สุด  "สำหรับอาการฟิสตูลาแล้ว การป้องการคือวิธีที่ดีที่สุด"  ซินเซอร์กล่าว  เขาคือผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มปฏิบัติงานโรตารีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับประชากรในวัยเจริญเติบโต เขามีตำแหน่งเป็นซีอีโอของหน่วยงานนี้ 

วิธีการให้บริการครบถ้วนสำหรับแม่และเด็กก่อนคลอดรวมถึงเทคนิคการประกันสุขภาพ โครงการนี้ช่วยลดอัตราการตายของแม่ในโรงพยาบาลได้ ๖๐ เปอร์เซนต์ และได้ช่วยรักษาอาการป่วยฟิสตูลาสได้ถึง ๑๕๐๐ รายหรือเพิ่มขึ้น ๕๐๐ รายตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๘  ซึ่งนับว่าสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ โครงการนี้ยังเพิ่มบริการฝึกวิชาชีพและการให้กู้ยืมเงินแบบไมโครเครดิตด้วย
"สตรีเป็นจำนวนมากที่ป่วยด้วยโรคแบบนี้มักถูกไล่ออกจากบ้าน และไร้หนทางในการทำมาหากิน" ซินเซอร์แล่าวจากสำนึกของผู้ที่เป็นอดีตผู้ว่าการภาคโรตารี และเป็นสมาชิกของสโมสรลุควิกชาเฟ่น ไรน์ชานช์ แห่งประเทศเยอรมันนี  "พวกเธอไม่เคยรู้ด้วยซ้ำว่าโรคนี้รักษาได้ จนกระทั่งทราบการประชาสัมพันธ์จากพวกเราผ่านรายการวิทยุโดยเอาชีวิตจริงของผู้ที่ผ่านวิกฤตการณืนี้มาแล้ว มาเล่าห้ฟัง"
ทุนสมทบจากโรตารีสากลรวม ๔๗๘,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ โดยมีภาค ๙๑๒๕ ในประเทศไนจีเรียและสโมสรโรตารีไวเซนเบิร์ก เยอรมันนีได้ร่วมสมทบกันในโครงการนี้  และยังได้เงินสนับสนุนเพิ่มเติมจากรัฐบาลเยอรมันจำนวน ๘๒๖,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ กับมูลนิธิเอเวนติส  ทำให้สามารถขยายสู่กิจกรรมอื่น ๆ ได้อีกเช่น การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์พลังแสงอาทิตย์  การรณรงค์ให้ใช้มุ้งกันยุง และการดึงเงินบริจาคจากแหล่งอื่น ๆ เพิ่มเติม
"หากคุณเดินทางเข้าสู่ประเทศที่กำลังพัฒนา แล้วเดินเข้าไปในสลัมและคุยกับชาวบ้าน คุณจะรู้สึกได้ว่าผู้หญิงส่วนใหญ่ถูกครอบงำโดยผู้ชาย" ซินเซอร์กล่าว "พวกเธอเจ็บปวดและไม่มีใครช่วยได้  พวกผู้หญิงจะไม่สามารถมีพลังทำอะไรทั้งสิ้นหากพวกเธอดูแลสุขภาพตัวเองก่อนคลอดและเลี้ยงดูลูกหลังคลอดด้วยตัวเองไม่ได้ แต่หากเธอสามารถมีกำลังทำสิ่งเหล่านี้ได้และเป็นคนมีสุขภาพดี ครอบครัวก็จะมีความสุข และนำไปสู่ชีวิตที่ปราศจากความยากจนและความหิวโหยได้ในที่สุด
ดังนั้นแล้วคุณซินเซอร์ที่อายุตั้ง 85 ปีแล้ววางแผนที่จะทำต่อไป  "ต่อยอดออกไปอีก" เขากล่าว "เวลานี้เหมาะสมที่สุดแล้ว เราต้องเพ่งการทำงานโครงการไปที่สุขภาพแม่ เพราะมันจะสอดคล้องกับเป้าหมายการทำงานของสหประชาชาติในระดับโลกที่มียุทธศาสตร์ในการดูแลสุขภาพผู้หญิงและเด็ก  เราก็ควรทำงานสอดรับกับแนวทางนี้และเร่งประชาสัมพันธ์โครงการออกไป
"เพื่อนของผมถามว่า ทำไมผมไม่ไปเล่นกอล์ฟกับพวกเขาบ้าง"  เขาถามอย่างนี้ก็เพราะว่าไม่รู้ว่าผมได้ประโยชน์จากโรตารีขนาดไหน"  ซินเซอร์กล่าว  "นักวิทศาสตร์มากมายสรุปไว้ว่า หากคุณทำความดีให้กับผู้อื่น คุณก็จะดูอ่อนไว  เวลาผมไปอัฟริกา ผมจะรู้สึกเป็นคนที่ทำอะไรถูกที่ถูกเวลาและถูกใจผมที่สุด"
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องของกลุ่มปฏิบัติการโรตารีเพื่อการพัฒนาและความยั่งยืนแห่งการเติบโตของประชากร ได้ที่ http://www.rifpd.org/index.shtml 

เขียนโดย วาเนสซ่า เอ็น กลาวินสกาส

บทความนี้ปรากฎครั้งแรกที่นิตยสารเดอะโรแทเรียน ฉบับเดือนมิถุนายน ๒๕๕๕

Monday, March 28, 2016

H2O Collaboration

Ghana excited to take part in next phase of H2O Collaboration
Posted on February 8, 2016


Primary school children in the Volta region of Ghana use a new spigot to wash their hands.
By Ako Odotei, a member of the Rotary Club of Tema, Ghana, Africa. This is the first in a series of planned posts from Rotary members involved in the Rotary-USAID International H2O Collaboration that supports lasting, positive change to water, sanitation, and hygiene (WASH) initiatives.
When the Rotary-USAID International H20 Collaboration asked Rotary clubs in Ghana to participate in the second phase of the partnership, there was a lot of excitement as well as some trepidation. US$4 million (the amount the collaboration has committed to each country for 2015-18) is a lot of money!
Even though we were successful the first time around (from 2009 to 2013), setting up a national project between clubs can bring some challenges of their own. We didn’t want clubs to feel as if the project was being forced on them. So we began by promoting the benefits of this partnership and project to club leadership.
Club leaders were informed of the long-term nature of the project, and the importance of choosing members with skills to ensure a successful outcome. To collect information and data, we asked local Rotaractors to help. We anticipate 34 clubs will participate.
As far as I am concerned, Rotary is all about fellowship and service and the collaboration presents Rotary members the opportunity to have a meaningful connection with the local communities and direct beneficiaries.
We are expected to raise $200,000, so securing an international partner and other club/district contributors are essential. To find an international partner, we advertised in theWater and Sanitation Rotarian Action Group (WASRAG) bulletin.  Thanks to the support of Past District Governor Ron Denham, we received a lot of interest and we secured a partnership with District 6380 (parts of Ontario, Canada, and Michigan, USA). We have worked with them in the past and are excited to once again work together. We would like to secure more District Designated Funds and/or cash contributions, so if you are interested, please email us at rotaryusaid@rotary.org.
In April 2015, the host project management committee, Global Communities (USAID’s implementing partner) and USAID Mission-Ghana began discussions with the Community Water and Sanitation Agency (the government agency in charge of rural water and sanitation in Ghana). Six areas in the northern, southern, western, and eastern regions were selected based on a needs assessment done by the Community Water and Sanitation Agency. From these regions, 13 districts were selected and approximately 130 communities have been earmarked for intervention. After the club committees are trained, we will conduct a needs assessment and verify needs in those 130 selected communities, then begin implementing the project in March 2016.
Some struggles we faced were getting all organizations on the same page. We are finalizing a plan which will include monthly informational meetings between the host project management committee, Global Communities, and the USAID Mission for updates, additional strategic planning and coordination of all activities.

About the author: Ako Odotei is chair of the host project management committee in Ghana for the Rotary-USAID International H2O Collaboration. The host project management committees are responsible for the oversight and coordination of the partnership on the ground in their countries.

เขียนโดย อาโก โอโดเตอิ สมาชิกสโมสรโรตารีเทมา ประเทศกาน่า
บทความนี้เป็นฉบับแรกจากจำนวนหลายฉบับที่จัดทำเป็นชุดโดยสมาชิกสโมสรโรตารีในโครงการร่วมมือระหว่างยูเสดและโรตารีในชื่อว่า H2O ที่จะสนับสนุนความริเริ่มโครงการน้ำสะอาดและสุขอนามัยที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในทางบวกและยั่งยืน
ตอนที่โครงการร่วมมือ H2O ของโรตารี-ยูเสด (USAID - United States Agency for International Development องค์การพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา) ได้ติดต่อไปที่สโมสรโรตารีในกาน่า เพื่อขอให้ช่วยประสานงานในโครงการนี้ในขั้นที่สอง คนที่นั่นต่างแสดงความตื่นเต้นและวิตกกังวล เพราะเงินจำนวนสี่ล้านเหรียญสหรัฐ ที่จะใช้ตลอดโครงการนี้ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๘ - ๒๕๖๑ นั้นเป็นเงินจำนวนมากทีเดียว 
แม้ว่าเราจะประสพความสำเร็จในขั้นแรกที่มีระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๒ - ๒๕๕๖ โดยได้จัดตั้งโครงการระดับประเทศร่วมกับสโมสรต่าง ๆ สร้างความท้าทายให้เกิดขึ้นในบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้อง เราไม่ต้องการให้สโมสรรู้สึกว่าเรากดดันให้เขาต้องมาเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้ ดังนั้นเราจึงจัดให้มีการบอกกล่าวกับผู้นำสโมสรทั้งหมดถึงประโยชน์ที่หุ้นส่วนในโครงการนี้จะได้รับ
ผู้นำสโมสรรับทราบถึงผลได้ผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากโครงการนี้ในระยะยาว และมีความจำเป็นเพียงใดที่จะต้องมีการคัดเลือกสมาชิกที่มีทักษะเข้าร่วมเพื่อประกันความสำเร็จของโครงการ ดังนั้นเราจึงมีความจำเป็นต้องเก็บข้อมูลให้มากพอ เราจึงขอความช่วยเหลือไปยังสโมสรโรตาแรคท์ ซึ่งคาดว่าจะมีสโมสรต่าง ๆ ทั้งสิ้น ๓๔ สโมสรเข้าร่วม 
ที่ผมเข้าใจคือโรตารีเน้นเรื่องของมิตรภาพและการบำเพ็ญประโยชน์ และการร่วมมือกันระหว่างสโมสรกับชุมชนก็ช่วยเสริมสร้างความหมายในความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ตลอดจนคนที่ได้รับประโยชน์จากโครงการด้วย
เราหวังว่าจะสามารถหาทุนได้จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ เหรียญ ดังนั้นการหาหุ้นส่วนจากต่างประเทศและสโมสรหรือภาคโรตารีต่างประเทศจึงเป็นหัวใจสำคัญ  วิธีการหาผู้ร่วมโครงการจากต่างประเทศนั้น เราใช้วิธีการลงโฆษณาในจดหมายข่าวของ กลุ่มปฏิบัติการน้ำและสุขาภิบาลของโรตารี ด้วยความช่วยเหลือจากอดีตผู้ว่าการภาครอน เดนแฮม มีการตอบรับเข้ามามาก และเราก็เลือกภาค ๖๓๘๐ (บางส่วนของออนแทริโอ ประเทศแคนาดา กับมิชิแกนของสหรัฐอเมริกา) เราเคยทำงานร่วมกับภาคนี้มาก่อนแล้ว และดีใจที่จะได้ร่วมงานกันอีก เรายังคงต้องการเงินจากกองทุนภาค (DDF) หรือเงินสดสมทบในโครงการนี้ ดังนั้นหากมีผู้สนใจ กรุณาติดต่อเราที่ rotaryusaid@rotary.org 
เดือนเมษายน ๒๕๕๘ คณะกรรมการบริหารจัดการที่เป็นเจ้าภาพในโครงการนี้ ซึ่งประกอบด้วยโกลบอลคอมมูนิตี้ (หุ้นส่วนภาคปฏิบัติของยูเสด) และ ยูเสดสาขากาน่าได้เริ่มปรึกษาหารือร่วมกับหน่วยงานน้ำและสุขาภิบาลชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยงานของราชการ  พื้นที่ ๖ ส่วนในที่ครอบคลุมในภาคทั้ง ๔ คือ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก ได้รับการคัดเลือกโดยประเมินความต้องการที่แท้จริงโดยหน่วยงานน้ำและสุขาภิบาลชุมชน  จากพื้นที่ ๖ แห่งนี้เราคัดเลือก ๑๓ อำเภอที่มีชุมชนที่เดือดร้อนจริงอยู่ ๑๓๐ ชุมชน เป็นเป้าหมายในการให้ความช่วยเหลือก่อน เมื่อคณะกรรมการของสโมสรได้รับการฝึกอบรมเพียงพอแล้ว เราทำการสำรวจประเมินความต้องการเพื่อตรวจสอบชุมชนทั้ง ๑๓๐ แห่ง ก่อนที่จะเข้าไปทำโครงการจริงจังในเดือนมีนาคม ๒๕๕๙
จุดบกพร่องที่เราพบคือการรวบรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้มาอยู่ในโครงการเดียวกันให้ได้ เรากำลังเร่งทำแผนให้เสร็จสิ้นซึ่งในนั้นจะกำหนดวันประชุมระหว่างเจ้าภาพกับคณะกรรมการบริหารโครงการ โกลบอลคอมมูนิตี้ และตัวแทนจากยูเสด ทั้งนี้เพื่อให้ทุกฝ่ายรับทราบข้อมูลที่ปรับปรุงล่าสุดตรงกัน รวมถึงการ่วมกันวางแผนยุทธศาสตร์และกำหนดความร่วมมือในทุกกิจกรรม
เกี่ยวกับตัวผู้เขียน:  อาโก โอโดเตอิ เป็นประธานเจ้าภาพ คณะกรรมการบริหารโครงการในกาน่าสำหรับโครงการความร่วมมือ H2O ระหว่างประเทศ โรตารี-ยูเสด คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแลและให้ความร่วมมือกับองค์กรหุ้นส่วน

Wednesday, March 16, 2016

A SIMPLE IDEA BENEFITS MANY IN MEXICO

A simple idea benefits many in Mexico

Posted on August 27, 2015
Rotary members, students, and teachers in front of the water purification system in San Miguel.
Rotary members, students, and teachers in front of the water purification system in San Miguel.
By Jon Kaufman
From 2 to 8 July, I led my club’s second H2OpenDoors expedition to central Mexico. The three-year-old Rotary project provides SunSpring water purification systems for poor villages and schools and allows the villages to sell the surplus water from the systems.
The project touches on several of Rotary’s areas of focus: providing clean water, building peace (by combating poverty), and educating youth.
We bring along a dozen or so students, as well as a few teachers, so they can see how a simple idea can become a project and benefit thousands of people. We hope the students return to their schools empowered to make a difference.
Presidential visit
Last year, we were able to visit with former Mexican President Vicente Fox, who pledged to partner with us on future efforts.
This year’s trip included 24 Rotary members, friends, family, students, and teachers. We installed a solar-powered SunSpring water purification system in San Miguel de Allende. The plant will bottle water into 10-liter reusable jugs and sell it to the public at a third the cost of other water. Even so, it will raise close to $200,000 a year for CRISMA, a rehabilitation center for disabled children and adults with cerebral palsy and Down syndrome. Fox and his wife support the center through their foundation.
The implications of this project are huge. All over the developing world, social services like these close for lack of funding or government support. At CRISMA, mothers and their disabled children travel for up to three days by bus for therapy sessions vital to the children’s growth and recovery.
A thirst for change
A student applies paint to the window of a school.
A student applies paint to the window of a school.
Mexico is the world’s No. 1 consumer, per capita, of bottled water. The vast majority of sales are by four multinational companies. By launching a new water-bottling enterprise whose sole purpose is to support services for the poor, we our creating a model others can follow.
During our trip, students spent time painting, planting, and helping with aqua-therapy classes. One of our teachers noted that the trip was a once-in-a lifetime experience. We spent the final three days of the six-day trip at Centro Fox, the presidential library and international conference center named for the former president. Fox told us he enjoyed hosting the students as an opportunity to help them develop a purpose in life and learn leadership skills
My day job is running KL&P Marketing in San Carlos, California, and our largest client, AT&T, is running a college promotional campaign that will raise $100,000 for H2OpenDoors. When the campaign ends in October, 10 college students from all over the country will be chosen to join a team to install water systems at two villages in Guanajuato State in central Mexico. We also have expeditions planned for Nepal, Guatemala, El Salvador, and Cuba.
Visit H2OpenDoors to learn more, or contact Jon Kaufman at jon@H2OpenDoors.org.
1508_kaufmanAbout the author: Jon Kaufman owns KL&P Marketing, a large agency in the Silicon Valley. He has been a member of the Peninsula Sunrise Rotary Club in Redwood City, California, since 2012. Jon started H2openDoors as a Rotary project to provide drinking water technology to the poorest villages and schools who spend up to a third of their daily income on bottled water.
ความคิดธรรมดา ๆ แต่ให้ประโยชน์กับคนจำนวนมาก
โดย จอน คอฟแมน
ระหว่างวันที่ ๒ - ๘ กรกฎาคม ผมกับเพื่อนสมาชิกในสโมสรได้นำเอาโครงการ H2OpenDoors บุกเข้าไปยังภาคกลางของเม็กซิโก  โครงการนี้มีอายุสามปีแล้ว มันเป็นโครงการที่จัดหาเครื่องกรองน้ำพลังแสงอาทิตย์ให้กับหมู่บ้านและโรงเรียนที่ขาดแคลนแหล่งน้ำสะอาด หากผลิดเกินความต้องการก็ยังนำออกขายหารายได้ได้ด้วย
เราสามารถจัดโครงการนี้ให้อยู่ในประเภทโครงการเน้นพิเศษของโรตารีได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นโครงการน้ำสะอาด สันติภาพ หรือการศึกษาของเยาวชน
เวลาไปทำโครงการนี้เราเชิญครูและนักเรียนติดตามไปด้วยรวมกันแล้วกว่าสิบคน พวกเขาจะได้พบเห็นวิธีการง่าย ๆ ในการทำโครงการซึ่งได้ประโยชน์กับคนนับพัน นักเรียนเหล่านั้นเมื่อกลับไปที่โรงเรียนก็จะสามารถเสนอความคิดที่แตกต่างกันเพื่อพัฒนาโรงเรียนและชุมชน
การเยี่ยมของประธานาธิบดี
ปีที่แล้ว เราได้รับเกียรติให้เร่วมเยี่ยมโครงการพร้อมกับอดีตประธานาธิบดีวีเซนเต้ ฟอกซ์ ผู้ซึ่งเสนอให้ความช่วยเหลือร่วมทำโครงการกับเราในอนาคตด้วย
ปีนี้มีผู้ร่วมเดินทาง ๒๔ คนมีทั้งโรแทเรียน เพื่อน ๆ สมาชิกในครอบครัว นักเรียนและครู  เราติดตั้งเครื่องกรองน้ำพลังแสงอาทิตย์ (SunSpring) ในซานมิเกลเดออัลลองด์ ระบบนี้จะสามารถบรรจุน้ำในถัง (ถังประเภทใช้หมุนเวียน) ขนาด ๑๐ ลิตร แล้วส่งไปจำหน่ายในต้นทุนเพียงหนึ่งในสามของราคาน้ำ จะเป็นรายได้ปีละสองแสนเหรีญสหรัฐแก่ศูนย์ฟื้นฟูเด็กและผู้ใหญ่สมองพิการคริสม่า อดีตประธานาธิบดีฟอกซ์และภริยาให้การอุปการะศูนย์นี้ผ่านมูลนิธิของเขา
ผลตอบรับของโครงการนี้ดีมาก เพราะในส่วนของโลกที่กำลังพัฒนานั้นสวัสดิภาพด้านน้ำสะอาดนี้ช่วยเติมเต็มพื้นที่ ๆ รัฐบาลยังเข้าไม่ถึง  เช่นที่คริสม่านี้ ผู้ปกครองและเด็กพิการต้องเดินทางมากันจากที่ห่างไกล บางคนต้องใช้เวลาตั้งสามวันโดยรถโดยสารประจำทางกว่าจะมาถึง เพื่อรับการบำบัดซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับการเจริญเติบของเด็กที่มีถาวะผิดปกติเหล่านี้
กระหายความเปลี่ยนแปลง
เม็กซิโกเป็นประเทศที่บริโภคน้ำขวดเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่มีเพียงสี่บริษัทยักษ์ใหญ่ครอบงำตลาดน้ำดื่มนี้ การเปิดตัวสหกิจชุมชนบรรจุดน้ำดื่มเองเพื่อคนยากจนเช่นที่เราทำนี้ จะเป็นแบบอย่างให้ชุมชนอื่น ๆ นำไปใช้ได้
ระหว่างการเดินทางของเรา นักเรียนที่ติดตามมาด้วยจะร่วมกิจกรรมทาสี ปลูกต้นไม้ และเป็นผู้ช่วยในคอร์สธาราบำบัด  ครูที่มาด้วยคนหนึ่งยอมรับว่านี่เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากมาก  เราใช้เวลาสามวันสุดท้าย (จากทั้งหมด ๖ วัน) คลุกคลีอยู่ที่ศูนย์ฟอกซ์ ห้องสมุดประธานาธิบดี และศูนย์ประชุมระหว่างประเทศที่ตั้งชื่อตามอดีตประธานาธิบดี  ซึ่งเขากล่าวกับพวกเราว่า เขาชื่นชอบการได้เป็นเจ้าภาพต้อนรับบรรดานักเรียนนักศึกษา เพราะเยาวชนเหล่านี้จะได้มีโอกาสพัฒนาเป้าหมายในชีวิตและทักษะความเป็นผู้นำ
ในวันปกติผมทำงานที่บริษัทเคแอลแอนด์พีมาร์เก็ตติ้งในซานคาร์ลอส แคลิฟอร์เนีย เรามีลูกค้ารายใหญ่คือ เอทีแอนด์ที ซึ่งกำลังช่วยเราในการรณรงค์หาทุนจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ เหรียญเพื่อโครงการ H2OpenDoors  ซึ่งพอถึงเดือนตุลาคมนี้ นักศึกษา ๑๐ คนที่คัดเลือกมาจากทั้งประเทศจะรวมกันเป็นทีมเพื่อไปทำการติดตั้งระบบกรองน้ำในหมู่บ้านห่างไกลในรัฐกวนนาฮวาโต ประเทศเม็กซิโก  แผนต่อไปของเราคือเข้าให้ถึงประเทศเนปาล กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ และคิวบา
อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซท์ www.H2OpenDoors.org หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อ jon@H2OpenDoors.org