ผู้ชำนาญการสินเชื่อรากหญ้า เผยเคล็ดลับฟังชาวบ้านให้ได้งาน
โรแทเรียนมารีลีน ฟิทซ์เจอรัลด์เกือบมอบทุนให้คุณพ่อของเด็กในอินโดนีเซียเพื่อได้เข้าเรียนในโรงเรียน แต่เปลี่ยนใจเมื่อพ่อของเด็กขอนำเงินไปซื้อควายแทน เขาให้เหตุผลว่าควายจะช่วยให้ครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้นสามเท่าหากนำไปใช้งานในนาข้าว รายได้จากการขายข้าวเปลือกจะช่วยให้เขาสามารถส่งเสียลูกให้เรียนหนังสือได้
บทเรียนนี้เปลี่ยนความคิดของฟิทซ์เจอรัลด์ อดีตนายกสโมสรโรตารีเทรเวิสซิตี้ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา และเป็นการเปลี่ยนความคิดเรื่องโครงการยั่งยืนแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เธอได้ทำโครงการต่อเนื่องในหลายประเทศหลังจากนั้น
ขณะนี้มาริลีนพร้อมที่จะทำโครงการตามระบบการจัดสรรทุนใหม่ของแผนวิสัยทัศน์อนาคตซึ่งกำหนดว่าจะต้องคำนึงถึงความยั่งยืนของผลของโครงการ
สิ่งที่ฟิทซ์เจอรัลด์ได้เรียนรู้ในประเทศอินโดนีเซีย สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะนำโครงการไปสู่เป้าหมายแห่งความยั่งยืนได้คือ "การรับฟัง" เธอกล่าวว่า "คนที่เราจะไปให้ความช่วยเหลือนั้นมีเรื่องสำคัญที่เราจะต้องฟังเขาเล่า นอกจากนั้นเขายังมีทรัพยากรและทรัพย์สินบางอย่างที่ยินดีเอามาใช้ในโครงการด้วย"
หลัก ๖ ขั้นแห่งการประสบความสำเร็จในการทำงานด้วยการ "รับฟัง" คือ
๑. ใช้เวลาอยู่ในชุมชนให้มากขึ้น
มาเร็วไปเร็ว มักไม่ช่วยให้เราได้รายละเอียดขนาดทำโครงการที่ยั่งยืนได้
๒. ทำตัวให้เข้าหาได้ง่าย
ฟิทซ์เจอรัลด์เองมักเข้าไปในชุมชนกับไกด์อีกคนหนึ่งเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องทำแบบ "นักท่องเที่ยวใจบุญ" เธอเสริม "ถ้าดิฉันเข้าไปในชุมชนที่มีประชากร ๕๐ คน โดยไปเป็นคณะเจ้าหน้าที่ ๑๐ คน แบบนี้ชาวบ้านจะรู้สึกเกร็ง"
๓. ถามคำถาม
ประเมินความต้องการของชาวบ้าน ด้วยคำถามเช่น "คุณคิดว่าอะไรเป็นสิ่งจำเป็นในหมู่บ้านนี้ ถ้าจะขอเครื่องมืออะไรสักอย่าง คุณคิดว่ามันควรเป็นอะไร" เป็นต้น
๔. ฟังคำตอบ
ตอนที่ชาวบ้านบอกฟิทซ์เจอรัลด์ว่า เขาต้องการโทรศัพท์มือถือ ไม่ใช่ห้องน้ำ เธอสงสัยว่า แล้วนี่เธอจะไปอธิบายให้เพื่อน ๆ ในสโมสรฟังยังไง เพื่อให้ได้คำอธิบาย เธอจึงหาข้อมูลเพิ่มเติมและทราบว่าโทรศัพท์มือถือนั้นจะช่วยให้ชาวบ้านทั้งหลายสามารถสื่อสารในการทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น และนี่จะช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
๕. สร้างระบบขั้นตอนการประเมินผล
ถามชาวบ้านว่า พวกเขาวัดผลสำเร็จของโครงการอย่างไร
๖. ให้การศึกษา แล้วจึงขอความเห็น
"การฟังที่ดีเหมือนการระวังตัวเวลาเต้นรำ มันเป็นการสร้างอำนาจการต่อรองด้วย" เธอกล่าว "ชาวบ้านไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไร ฉะนั้นคุณต้องให้ข้อมูลและให้ความรู้ เมื่อเขารู้เพียงพอแล้วเราจึงขอให้เขามีส่วนช่วยแก้ปัญหา"
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
----------
Tips from a microcredit expert on becoming a better listener in the field
Rotarian Marilyn Fitzgerald wanted to give money to help children in Indonesia attend school, but one father asked for a water buffalo instead. The animal would help him triple the yield of his rice fields, he told her, and then he could pay his children's tuition for years to come.
That lesson in sustainability proved a turning point for Fitzgerald, a past president of the Rotary Club of Traverse City, Michigan, USA, who went on to develop sustainable projects in several countries. She's now well equipped to design projects for the new global grants - part of The Rotary Foundation's new grant model - which require that projects demonstrate sustainability.
As Fitzgerald learned in Indonesia, the No. 1 thing you can do to improve the sustainability of your project is to listen. "The people we're trying to help have stories that we need to hear," Fitzgerald says. "And they have resources and assets that they can bring to the table."
Fitzgerald offers these tips to sharpen listening skills:
1. Spend time in the community.
A quick visit won't deliver the level of detail required for a sustainable project.
2. Be Approachable.
Fitzgerald likes to go into villages accompanied only by her guide. Don't be a "service tourist," she adds. "If I show up with 10 people in a village of 50 and we all stick together, that's intimidating."
3. Ask Questions.
Assess community need with questions such as: "What do you think would be useful in your community? If you could add a resource to this community, what would it be?"
4. Get Answers.
When villagers told her they wanted cell phones, not toilets, Fitzgerald wondered how she could explain that to her club back home. She investigated further and learned that the cell phones would help the villagers increase business profits, thus improving their overall living conditions.
5. Establish an Ongoing Evaluation Process.
Ask community members how they measure success.
6. Educate, but ask for solutions.
"Listening is a very careful dance; it's a negotiation," she says. "People don't know what they don't know, so you need to share information and knowledge. But they need to come up with their own solutions."
Read more of this story
http://www.rotary.org/en/mediaandnews/news/pages/130208_news_fitzgerald.aspx