10 วลี พูดแล้วพัง
โดย เจฟฟ์ แฮดเด้น
๑๐ วลีพึงหลีกเลี่ยงในการพูดในที่ชุมชน |
หากคุณต้องการล้มเหลวในการแสดงปาฐกถา ลองใช้วิธีต่อไปนี้
ในการพูดให้ประสบความสำเร็จนั้น
เราต่างรู้ว่าไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่ถ้าอยากให้การพูดครั้งนี้นพังคุณทำได้ง่ายมากภายในไม่กี่นาทีแรกของการแสดง
สุนทรพจน์
เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะไม่สูญเสียความมั่นใจของผู้ฟังไป
เรามีคำแนะนำดี ๆ จาก บอรีส เวลทุชเซ่น แวน แซนเทน
ผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ยาวนาน และเป็นผู้ก่อตั้ง ทวิตเตอร์เคาน์เตอร์
และเดอะเน็กซ์เว็บ เขาบอกว่าเราต้องหลีกเลี่ยงการพูด ๑๐ วลีต่อไปนี้
๑. “ผมปวดหัว / รู็สึกเหนื่อย / รู้สึกเมาค้าง”
มีสถิติที่คนพูดกันไว้ แต่ไม่แน่ใจว่าต้นตอมาจากไหนว่า
หนึ่งในห้าของการนำเสนอในการประชุมระดับผู้บริหาร ผู้พูดจะพูดขึ้นต้นการพูดว่า
“ผมเพิ่งรู้ตัวว่าต้องพูดเมื่อวานนี้เอง”
หรือ “ผมรู้สึกอ่อนล้าจากการเดินทาง” หรือใช้ข้ออ้างที่ผู้ฟังไม่ต้องการฟัง
โปรดทราบว่าพวกเราผู้ฟัง ต้องการฟังสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณพูด
ถ้าุคุณร่างกายทรุดโทรมมากก็น่าจะขอยกเลิกการพูด หรือไม่ก็ทานยารักษา
หรือดื่มกาแฟให้ร่างกายสดชื่นเสียก่อน !!
๒. “ข้างหลัง
ได้ยินผมไม๊ อ๋อ..ได้ยินนะครับ”
วลีแบบนี้คนก็ชอบพูดกันมาก โดยอาจเริ่มจากเคาะไมค์ ๓
ครั้งแล้วตะโกนถาม “คนที่อยู่ขางหลังได้ยินดีผมไม๊ครับ” แล้วก็ยิ้มเจื่อน ๆ
หลังจากที่รู้ว่าทุกคนได้ยินสิ่งที่คุณพูด
แต่ก็ไม่มีใครยอมยกมือ
มันไม่ใช่หน้าที่ของคุณที่จะไปเช็คไมค์
มีช่างที่คอยทำงานนี้อยู่แล้ว (และถ้าไม่มีช่างคอยเช็ค คุณจะเช็คเองก็ต้องทำตอนที่ยังไม่มีผู้ฟังในห้อง)
แต่ถ้าระหว่างพูดคุณรู้สึกว่าไมค์มีปัญหา ก็ขอให้สงบสติไว้
นับหนึ่งถึงสามแล้วลองพูดอีกครั้ง
หากมันยังมีปัญหาอยู่อีก ก็ให้เดินไปที่ข้างเวที ขอให้พิธีกรช่วยจัดการให้
ตลอดเวลาที่เครื่องเสียงมีปัญหา ขอให้สงบอารมณ์ไว้ ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
และรอจนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไข
๓. “ผมมองพวกท่านไม่ค่อยเห็น
เพราะแสงส่องเข้าเวทีแรงเกินไป”
ใช่แล้ว
เวลาท่านอยู่บนเวลา
แสงต้องสว่างและแรงจนท่านรู้สึกร้อนและลดความสามารถในการมองเห็นผู้ฟังที่อยู่ข้างล่าง แต่พวกเขาก็ไม่จำเป็นต้องรู้ปัญหาของคุณ
คุณต้องมองไปที่ผู้ฟังทั้งที่ไม่เห็นหน้า
ยิ้มบ้างเหมือนว่าคุณมองเห็นพวกเขา และหากต้องการเห็นหน้าชัด ๆ จริง ๆ
ก็สามารถเดินออกไปที่ผู้ฟังได้
อีกประการหนึ่งคือ
ต้องไม่เอามือมาป้องตาหากคุณต้องการเห็นจำนวนคนที่ยกมือหรือคนที่ลุกขึ้นถามคำถาม
ให้ขอผู้คุมไฟหรี่ไฟหรือ เปลี่ยนทิศทางการส่องไฟไปที่ผู้ฟัง
และจะดียิ่งขึ้นหากคุณคุยกับผู้คุมไฟก่อนว่าจะมีกิจกรรมอะไรบ้างระหว่างการพูดที่ต้องเกี่ยวข้องกับ
การปรับทิศทางการส่องไฟ
๔.
“ผมจะตอบคุณทีหลัง”
หากผู้ฟังเกิดข้อสงสัย สนใจอยากถามคำถาม
ขอให้ใช้โอกาสนั้นตอบเขาทันทีเลย ถ้าคำถามเกี่ยวข้องกับสไลด์ที่คุณจะฉายในหน้าถัด
ๆ ไป คุณก็สามารถยกเลิกสไลด์นั้นได้เพราะคุณตอบไปแล้ว
ใครก็ตามกล้ายกมือถาม
คุณต้องให้รางวัลเขาโดยตอบสิ่งที่เขาต้องการรู้ และก่อนเข้าเนื้อหาการพูด
คุณควรอย่างยิ่งที่จะแจ้งทุกคนให้ยกมือถาม ได้ตลอด
๕. “คุณอ่านข้อความในสไลด์เได้ไหม”
กฎที่ใช้กันทั่วไปคือทำฟอนท์ตัวอักษรให้ใหญ่เป็นสองเท่า
นั่นหมายความว่าถ้าหากคุณคิดว่าอายุผู้ฟังเป้าหมายเฉลี่ยคือ ๔๐ ปี
คุณต้องใช้ขนาดฟอนต์ ๘๐ ตลอดแผ่นสไลด์ทั้งหมด
ฟอนต์ที่ใหญ่ขนาดนี้คุณอาจจะใส่ข้อความในแต่ละสไลด์ได้ไม่มากนัก
นั่นก็เป็นเรื่องดี บังคับให้คุณต้องพูดประเด็นต่อไปได้เร็วขึ้น
๖. “ขออนุญาตอ่าน
(ข้อความในสไลด์ให้ฟังนะครับ”
จำไว้ว่าจะต้องไม่ให้มีข้อความ
หรือข้อมูลตัวหนังสือในสไลด์มากมายจนผู้ฟังจะต้องเสียเวลาอ่าน และถ้าจำเป็นต้องมีข้อมูลแสดงให้เห็นมาก ๆ
ก็จะต้องไม่อ่านให้ผู้ฟังฟัง
การบรรจุตัวอักษรไว้ในสไลด์มากเท่าใดก็เท่ากับคุณยอมตัดความสนใจของผู้ฟังที่เชื่อมโยงกับผู้พูด
ให้ไปอยู่กับการอ่านสไลด์
ถ้าในสไลด์มีตัวหนังสือมากกว่า ๔ คำ คนฟังก็ต้องสนใจอ่าน เมื่อเขาสนใจอ่าน
เขาก็จะไม่สนใจฟังสิ่งที่คุณพูด
ในแต่ละสไลด์ควรมีข้อความกำกับสั้น ๆ
และคุณต้องจำข้อความในสไลด์นั้นให้ได้
ในกรณีที่มีข้อความในสไลด์มากกว่า ๓ ข้อความ คุณจำไม่ได้ว่ามีอะไรบ้าง
ก็ขอให้ออกคำสั่งให้ผู้ฟังอ่าน ในขณะที่คุณเงียบ ไม่พูดอะไรสัก ๑๐
วินาทีเพื่อให้ความสนใจยังคงไปในทิศทางเดียว
๗.
“ขอให้ช่วยปิดโทรศัพท์ / แล็ปท๊อป / แทบเบล็ต ด้วย”
เมื่อก่อนมีคนไม่กี่คนที่ใช้โทรศัพท์มือถือในห้องประชุม
คุณก็สมควรประกาศให้คนเหล่านั้นปิดเครื่องหรือปรับเป็นระบบสั่น
แต่เดี่ยวนี้มีกันทั้งห้องประชุมแล้ว การประกาศแบบนี้ไม่ต้องมีแล้ว
หลายคนต้องใช้เครื่องสมาร์ทโฟนหรือแทบเบล็ตในการจดบันทึกทั้งข้อความ และภาพ
หรือเช็คข้อความด่วนผ่านเฟสบุ๊ค
คุณอาจขอให้ผู้ฟังเปลี่ยนระบบเสียงเป็นระบบสั่น นอกจากนั้นแล้วเป็นหน้าที่ของคุณที่จะต้องทำให้เนื้อหาและวาทะศิลปของคุณจะเป็นตัวกำหนด
ว่าคุณจะสามารถรักษาความสนใจของผู้ฟังไว้ตลอดวาระที่คุณพูดได้หรือไม่
คุณสั่งให้เขาฟังไม่ได้ แต่โน้มน้าวได้
๘.
“ท่านไม่ต้องจดอะไรเลย
เพราะผมจะเอาไฟล์นี้ขึ้นออนไลน์”
มันเท่ห์ที่คุณจะอัพโหลดไฟล์นำเสนอขึ้นเว็บไซท์
แต่ถ้าเป็นสไลด์นำเสนอที่ดีมันจะมีข้อความอยู่ไม่มากพอที่จะทำให้เข้าใจเนื้อหาที่แท้จริง (ดูข้อ ๔)
และมันจะไม่เป็นประโยชน์กับผู้ฟังที่ดาวน์โหลดไฟล์นั้น
หลายคนยังยึดติดกับการจดมากกว่าการจำสิ่งที่พวกเขาฟัง
สรุปคือปล่อยให้ผู้ฟังทำตามความชอบและถนัดของตัวเองเถิด
๙.
“ขอตอบคำถามนี้เลยว่า....”
มันเป็นความเยี่ยมยอดเลยที่คุณสามารถตอบคำถามที่มีคนสนใจถามในทันที
แต่ก่อนตอบคำถามคุณต้องทำสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก่อน
สิ่งนั้นคือการทวนคำถามให้ทุกคนในห้องได้ยินและเข้าใจตรงกัน
เพราะบ่อยครั้งทีเดียวที่ภาษาที่ใช้ถามนั้นเข้าใจเพียงเฉพาะวิทยากรเกับผู้ถามท่านั้น
แต่คนอื่น ๆ ในห้องอาจไม่เข้าใจคำถาม
เพราะฉะนั้นควรพูดว่า “ผมขอทวนคำถาม เพื่อให้ทุกคนในห้องได้ยินนะครับ” แ้ล้วจึงตอบคำถามนั้น
นอกจากประโยชน์ดังกล่าวแล้ว
การทวนคำถามยังช่วยเพิ่มเวลาให้คุณได้ทบทวนและเลือกใช้วิธีตอบที่ได้ใจผู้ฟังด้วย
๑๐. “ผมขอพูดสั้น ๆ เพื่อประหยัดเวลา”
คำสัญญาเช่นนี้ไม่เคยมีผู้พูดคนไหนปฏิบัติได้จริง แต่หลายคนมักเริ่มต้นแบบนี้
ผู้ฟังไม่ค่อยสนใจว่าคุณจะพูดสั้นหรือยาว
พวกเขาลงทุนเสียเวลามาฟังแล้วเขาก็ต้องการได้รับข้อมูลหรือแรงบันดาลใจในเรื่องที่ฟัง เพราะฉะนั้นขอให้พูดว่า “การนำเสนอนี้
จะเปลี่ยนแปลงชีวิตคุณ” หรือ “การนำเสนอนี้กำหนดให้ใช้เวลา ๓๐ นาที
แต่ผมจะใช้เวาเพียง ๒๕ นาที เพื่อว่าพวกท่านจะได้มีเวลาออกไปเบรค
และทานกาแฟได้เร็วขึ้น”
หน้าที่ของท่านก็คือการรักษาสัญญานั้น และไม่ใช้เวลาให้เกิน
นี่ก็คือ ๑๐ ข้อ “วลีที่ควรหลีกเลี่ยง”
ข้อแนะนำเสริม อีกวลีที่คนชอบพูดคือ “อะไรนะ หมดเวลาแล้ว
แต่ผมยังเหลืออีกตั้ง ๒๓ สไลด์”
ถ้าคุณพูดแบบไม่ได้เตรียมตัวให้ดีและต้องขอต่อเวลาพูดออกไป
คุณกำลังทำลายตัวเอง เพราะฉะนั้นคุณต้องซ้อมการนำเสนอของคุณก่อน
เพื่อให้เนื้อหาพอดีกับเวลาที่จัดให้
ดีที่สุดคือให้พูดจบก่อนหมดเวลาสัก ๕ นาที
แล้วถามว่าใครมีคำถาม และถ้าไม่มีใครถามก็เชิญทุกท่านเบรคทานกาแฟ และคุยกันแบบตัวต่อตัว
การคืนเวลาให้กับผู้ฟัง ๕ นาทีทำให้พวกเขาชื่นชมคุณในวิธีการจัดการเวลา
ในทางตรงข้าม การขอเวลาพวกเขาเพิ่ม ๕ นาที
ถือเป็นการรบกวนและอาจสร้างความไม่พอใจเงียง ๆ ได้.
สรุป
ต้องเตรียมตัวให้ดี เป็นตัวของตัวเอง แสดงให้เห็นว่าเป็นมืออาชีพ ผู้ฟังจะชื่นชมท่่านที่พูดได้ชัดเจน เข้มข้น
และตรงเวลา
ที่มา : translated from "10 Phrases Great Speakers Never Say" http://www.inc.com/jeff-haden/10-things-speakers-should-never-say-th.html?cid=em01017week02a
No comments:
Post a Comment