Saturday, January 9, 2016

ROTARY FRIENDSHIP EXCHANGE


ท่องเที่ยวไปกับโครงการแลกเปลี่ยนมิตรภาพของโรตารี
แคโรล เมทซ์เคอร์
สโมสรโรตารีอีคลับวันเวิลด์ ภาค๕๒๔๐

Carol Hart Metzker
เราไปเที่ยวประเทศกาน่าไม่กี่วัน แต่เราได้ความผูกพันที่ลึกซึ้ง มองเห็นประเทศนี้ด้วยสายตาของคนในท้องถิ่น ยอว์ อะโบอักเย เพื่อนใหม่ของเราได้พาเราเข้าไปในตลาดมาโคลาที่กว้างใหญ่ ที่นี่พ่อค้าแม่ค้าต่างกวักมือเรียกเราให้ดูเม็ดปาล์ม มะม่วงดิบ และแยมสีน้ำตาลที่เขาเสนอขายในตะกร้า และดูผ้าที่พับกองสูงเกือบติดหลังคา  ยอว์พาเราเดินผ่านบ้านที่ทรุดโทรมริมถนนในย่านเจมส์ทาวน์ ซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นย่านเก่าแก่ของอักกรา เมืองหลวงของประเทศกาน่า  คนที่นี่ไม่ค่อยยอมให้เราถ่ายรูป แต่เขาบอกเราเป็นภาษาท้องถิ่น จึงต้องให้ยอว์เกลี้ยกล่อมคนในครอบครัวหนึ่งยอมให้เราถ่ายภาพเขากำลังตำ "ฟูฟู" อาหารท้องถิ่นที่ทำจากมันสัมปะหลังผสมผักต่าง ๆ  
จากนั้นยอว์พาเราเดินลึกเข้าไปในหมู่บ้านชาวประมงในแถบท่าเรือ มีพวกผู้ชายกำลังซ่อมแซมตาข่ายและเรือไม้  ส่วนพวกผู้หญิงที่มัดลูกไว้กับหลังก็กำลังผัดอาหารในหม้อที่ตั้งบนกองไฟ ห้องน้ำสาธารณะทำขึ้นแบบรวก ๆ และมีร่องระบายน้ำถูกใช้เป็นห้องน้ำสำหรับทุกคนในหมู่บ้านนี้
นักเดินทางท่องเที่ยวไม่มีใครอยากเข้ามาเที่ยวบริเวณนี้ และถึงแม้ประเทศกาน่าจะมีชายหาดที่นักท่องเที่ยวนิยมแห่กันมาชื่นชมเพราะหาดทรายและแสงแดดที่สวยงาม ภายใต้รัฐบาลที่มีเสถียรภาพมั่นคงสูง และเป็นเมืองที่มีคนมาเที่ยวมากที่สุดของประเทศ แต่ที่นี่ก็ห่างไกลจากบ้านของฉันที่เวสต์เชสเตอร์ เพนซิลวาเนีย  ฉันและแคธรีนลูกสาวเดินทางมาที่กาน่า ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนมิตรภาพของโรตารี ซึ่งจัดให้โรแทเรียนได้พักร่วมกับสมาชิกสโมสรในต่างประเทศ ทำให้เราได้ประสพการณ์รู้เห็นสถานที่น่าตื่นตาตื่นใจและยังได้รับความอบอุ่นจากเพื่อนโรแทเรียนด้วย

เราจะรู้สึกเหมือนอยู่บ้านเมืองตัวเองนับตั้งแต่ก้าวแรกที่มาถึงสนามบินในอักกรา แคธลีน บูเฮนส์ สมาชิกสโมสรโรตารีอักกราเซาธ์ ยืนคอยต้อนรับเราที่สนามบินพร้อมกับชูป้ายคำว่า "อควาบา" (แปลว่ายินดีต้อนรับในภาษาท้องถิ่น) เธอทักทายเราด้วยรอยยิ้มและการสวมกอด ขับรถพาเราไปที่ ๆ พักที่สะดวกสบาย และอยู่พาเราเที่ยวตลอดทุกวันที่เราอยู่ที่นั่น เธอยังสอนให้เรารู้จักวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่  วันที่แคธลีไม่ว่างจริง ๆ เธอแนะนำเพื่อนสนิทคนหนึ่งให้มาคอยดูแลพาเราเที่ยว เขาคนนั้นชื่อ ยอว์ แล้วยอว์ก็เป็นเพื่อนสนิทกับเราได้ในเวลาสั้น ๆ

นับแต่แรกเริ่มตอนหลุดออกมาจากสนามบิน เราก็รู้สึกตื่นตาตื่นใจแล้ว  เมืองนี้มีการผสมผเสของความเก่าแก่และความทันสมัย ความจนกับความรวย  ท่ามกลางการจราจรที่แออัด เราเห็นสตรีที่แต่งกายด้วยผ้าผ้ายเดินขวักไขว่ ทุกคนผูกลูกน้อยไว้ข้างหลัง และอาจแบกภาชนะบรรจุถั่ว มะม่วงหรือถังใส่น้ำไว้บนศีรษะตัวเอง บนถนนสายหนึ่งเรียงรายด้วยอาคารทันสมัย บดบังแถวของร่มชายหาดที่ ๆ เป็นที่ตั้งของตลาดกลางแจ้ง  ผู้ชายหลายคนในชุดเสื้อคลุมแบบโบราณถือกระเป๋าเอกสารเดินเคียงข้างชายที่แต่งกายด้วยสูทนักธุรกิจ  ชีวิตในเมืองเป็นมาแบบนี้อย่างช้านานแล้ว  
รถพาเราออกจากถนนหลายเลนที่จอแจคับคั่ง ไปสู่ถนนดินลูกรังสายเล็กที่ผิวขรุขระที่แต่งขอบถนนด้วยพุ่มไม้ดอกและรั้วสูง  แล้วเราก็มาถึงบ้านของครอบครัวบูเฮนส์ที่ ๆ เราเรียกว่าบ้านตลอดห้าวันจากนี้ไป  เราพบสามีของแคธลีน เขาชื่อยอว์เหมือนกัน (เป็นประเพณีสำหรับชายชาวกาน่าที่คนเกิดวันเดียวกัน (วันในสัปดาห์) จะมีชื่อเหมือนกัน)  ยอว์คือชื่อของคนที่เกิดวันอังคาร
ทุกเย็นเราจะได้ร่วมรับประทานอาหารที่ทำเองในครอบครัวที่อร่อยมาก เขาทำซุปถั่วตามสูตรเฉพาะของครอบครัว  ลูกสาวของฉันช่วยจัดโต๊ะไปพลางคุยกับสมาชิกในครอบครัวบูเฮนส์ในเกือบทุกเรื่องภายใต้พระอาทิตย์นี้  เราคุยกันเรื่องความงดงามของธรรมชาติในกาน่า เรื่องเด็ก ๆ เรื่องพ่อแม่ และความสำคัญของน้ำซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่ามากสำหรับแคธลีน เพราะเมื่อตอนเป็นเด็กเล็ก เธอต้องเดินเท้าเป็นระยะทางไกลกว่าจะถึงบ่อน้ำ  เราคุยกันแม้กระทั่งเรื่องโรงศพไม้ของชาวกาน่า ซึ่งจะทำการสลักลวดลายและทาสีให้มีความหมายสอดคล้องกับผู้ตายด้วย ซึ่งอาจมีสัญลักษณ์พิิเศษของเขาหรือเธอ เช่นขวดโคคาโคล่า ปากกาบิ้ก  รถบรรทุก  วัว ปลา ไก่ที่กางปีกบิน เป็นต้น สัญลักษณ์ต่าง ๆ เหล่านี้เชื่อว่าจะช่วยปกป้องครอบครัวหลังจากที่มีคนตายไปแล้ว   
วันที่สองในกาน่า เราไปร่วมประชุมกับสโมสรโรตารีของแคธลีน  เมื่อคุณมาที่ต่างบ้านต่างเมืองอย่างนี้ มีอะไรหลายอย่างที่แตกต่างออกไปจากบ้านคุณ แต่มีสิ่งที่คุณจะคุ้นเคยได้คือโครงสร้างการประชุมของสโมสรโรตารี  ที่นี่ก็เช่นกันเรามีช่วงเวลามิตรภาพสังสรรค์ก่อนการประชุมอย่างเป็นทางการจะเริ่มขึ้นด้วยการสวดหรือร้องเพลงจากหนังสือเพลงโรตารี  ชาร์ลส ควิสท์ ผู้ที่วางแผนการเดินทางให้กับเราได้เข้ามาทักทายและบอกให้ฉันขึ้นกล่าวแนะนำตัวและแนะนำลูกสาวอย่างสั้น ๆ  ความสนิทสนมค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตลอดทางที่เราถูกพาไปเที่ยวในตลาดและหมู่บ้านชาวประมงโดยการนำของยอว์เพื่อนสนิทของครอบครัว ทำให้เราได้ค้นพบสิ่งแปลกใหม่มากมาย  วันหนึ่งที่น่าจดจำมากคือวันที่เราเดินทางออกนอกเมืองอักกราเพื่อไปเยี่ยมบ้านเกิดของแคธลีนที่อยู่บนเขาที่ปกคลุมไปด้วยต้นปาล์ม ไผ่ และไม้ยืนต้นสูงใหญ่เสียดฟ้า พื้นที่บริเวณนี้เขียวชอุ่มไปทั่วด้วยเฉดสีเขียวและเทาที่แตกต่างกัน ดูคลื้มไปอย่างน่าอัศจรรย์ใจ  ถนนที่ปราศจากรั้วกั้นวกวนไปมาตามสันเขา จนในที่สุดเราผ่านโรงเรียนที่แคธลีนเคยเรียนตอนเป็นเด็ก  เธอชี้ให้เห็นเส้นทางเดินดินลงเขาที่เธอและเพื่อน ๆ ใช้เดินไปเพื่อตักน้ำ เป็นงานที่อาจจะน่าเบื่อแต่เธอบอกว่ามันก็ช่วยให้เธอออกห่างจากแม่บ้านเจ้าระเบียบและเป็นโอกาสที่จะสนุกับเพื่อน ๆ
เราหยุดรถเพื่อไปร่วมงานเลี้ยงวันเกิดเพื่อนคนหนึ่งของแคธลีน จากนั้นพวกเรานั่งรถต่อไปยังสวนพฤกษชาติอาบูรี ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของเมืองนี้ที่แคธลีนชอบ  เซอร์วิลเลียม ครอว์เธอร์ อพยพจากสก๊อตแลนด์มาอยู่ที่นี่และริเริ่มปลูกต้นไม้ต่าง ๆ ในสวนแห่งนี้ เขาเป็นทวดของเธอ ระหว่างทางเดินขึ้นเขามีฝนตกลงมา แต่ทิวทัศน์และความเป็นมิตรที่ได้รับทำให้เรารู้สึกสดชื่นตลอดเวลาที่เดินทางกลับ
ตอนใกล้จะร่ำลากลับบ้าน เราได้มอบของขวัญให้กับครอบครัวที่ให้การดูแลเรา เราได้ยินมาว่าครอบครัวบูเฮนส์ชอบจัดเลี้ยงบาบีคิว เราจึงมอบผ้ากันเปื้อนที่มีโลโก้โรตารีให้กับยอว์ เขารีบนำมันมาใส่ให้ดูด้วยท่าทางลิงโลด แต่เขาผูกเชือกด้านหลังไม่ได้เพราะตัวเขาใหญ่เกินไป "ไม่เป็นไร ผมไม่ค่อยได้เป็นคนปรุงอาหารอยู่แล้ว"  เขากล่าว แต่ก็ยังคงใส่ผ้ากันเปื้อนที่ผูกไว้เฉพาะที่คอเท่านั้นตลอดเย็นวันนั้น  เวลาเดินปลายผ้ากันเปื้อนและเชือกสบัดไปมาตลอด เราแยกกันแต่ไม่ได้ร่ำลา เพียงกล่าวสั้น ๆ ว่า "หวังว่าจะได้พบคุณอีกเร็ว ๆ นี้" และพวกเราก็มีแผนจะพบกันที่การประชุมใหญ่โรตารีสากล  ระหว่างทางไปที่สนามบินผ่านถนนที่จอแจสายเดียวกับที่พาเราไปบ้านของครอบครัวบูเฮน ฉันคิดในใจกับตัวเองถึงความแตกต่างระหว่างกาน่ากับเพนซิลวาเนีย และฉันก็นึกถึงคำพังเพยบทหนึ่งที่ว่า "ถนนสายที่ไปบ้านเพื่อน ไม่เคยยาวไกลเกินไป"


TRAVEL ON A ROTARY FRIENDSHIP EXCHANGE
CAROL METZKER
Rotary E-Club of One World D5240

We’d been in Ghana for only a few days, but already we’d had an intimate, local’s eye view of the country.  Our new friend, Yaw Aboagye, led us deep into the aisles of the huge Makola Market, Where vendors beckoned us to their baskets of red palm nuts, green mangoes, and brown yams, and to their stacks of batik fabric that reached toward the tin roof.  He took us past dilapidated homes on a street in Jamestown, the old colonial section of Accra, the capital.  People in this area often refuse to be photographed, or “snapped,” but using a local dialect, Yaw persuaded a family to let us get a shot of them pounding fufu, a traditional dough of cassava and plantations.

He then escorted us even farther off the beaten path, through a fishing village at the harbor.  There men repaired nets and wooden fishing boats, and women carried babies on their backs while stirring tiny pots over open fires.  A crude public facility and an open sewer gutter served as toilets for all the village inhabitants.
Most vacations wouldn’t want to venture to this neighborhood.  And though Ghana is a popular tourist destination with sunny beaches and stable political environment, even the more heavily traveled parts of the country are a world away from my home in West Chester, Pa.  But my daughter, Kathryn, and I arrived in Ghana on a Rotary Friendship Exchange, a program that enables Rotarians to stay in the homes of Rotary club members overseas.  That made all the difference, allowing us to experience the most exothic sites while taking comfort in the fellowship of Rotary friends.
We were made to feel at home the moment we arrived at the Accra airport.  Waiting for us at the doors, which were decorated with signs reading “Akwaaba” (“Welcome” in the local language), was Kathleen Boohene, of the Rotary Club of Accra-South.  She greeted us with smiles and hugs, drove us to her confortable house, and spent several of the following days ferrying us around town and teaching us about the area’s culture.  When Kathleen absolutely had to be at work one day, she introduced us to here close family friend Yaw, who quickly became our friend too.
Even that initial drive from the airport was eye-opening – hodgepodge of the perennial and the modern, the poor and the rich.  Women in cotton dresses weaved through the bumper-to-bumper traffic, almost all of them with babies on their backs and gigantic platters of peanuts, mangoes, or plastic bags of drinking water balanced on their heads.  In one city block, a modern office building towered over a field of beach umbrellas, the only shelter for an outdoor market.  Men with briefcases and traditional-style tunics walked alongside men in Western-style business suits.  The city reverberated with activity and life.
We traveled from the busy multilane streets to bumpy red-dirt roads to a quiet gravel lane bordered with flowering trees and tall gates.  At last we arrived at the Boohene family’s house – the place we would call home fore the next five days.  There we met Kathleen’s husband, also name Yaw.  (It’s traditional for male Ghanaians born on the same day of the week to share the same name; Yaw is the name given to Thursday babies.)

Nearly every night, we were fed a delicious home-cooked meal, including a ground-nut soup made from a family recipe.  My daughter and I helped set the table and was the dishes, all along talking to the Boohenes about nearly every subject under the sun.  We talked about Ghana’s natural beauty, our children, our parents, and the importance of water – so dear to Kathleen because as a schoolgirl she had to walk long distances to the nearest well.  We talked about Ghana’s wooden coffins, many sculpted and painted t resemble items that were meaningful to the deceased: a Coca-Cola bottle, an Bic pen, a truck, a cow a fish, or an chicken with outstretched wings. Symbolizing protection of the family beyond the end of life.

On our second day in Ghana, we attended a meeting of Kathleen’s club.  When you’ve just landed in a foreign country, where many things are wildly different, there’s something wonderfully familiar about the structure of a Rotary club meeting.  After some time for fellowship, the meeting started with an invocation and a tune from the Rotary songbook.  Charles Quist, who helped arrange our trip, came to greet us, and I was asked to give a brief speech introducing myself and my daughter.
The camaraderie fortified us for the day’s adventure to the market and fishing village with Yaw, the family friend, and for our many other explorations.  Once memorable day, we ventured out of Accra, driving with Kathleen north to the region where she grew up.  The hilly area, covered in palms, bamboo, and soaring Sky God trees, was misty and mysterious looking, with every shade of green and gray imaginable.  The road twisted and turned along sheer ridges without guardrails and eventually passed the school that Kathleen attended as a young girl.  She pointed out a dirt path down a steep hill where she and her friends had walked each day to gather water.  It was a chore, she explained, but it was also an opportunity to get away from her strict headmistress and have some fun.
We stopped for a birthday luncheon for one of Kathleen’s school friends, and then we all visited the Aburi Botanic Gardens, a top tourist draw with special ties for Kathleen.  Sir William Crowther, an immigrant from Scotland who planted many of the gardens’ trees, was her great-grandfather.  It rained on us during our short hike, but the views and good company had us all feeling quite exhilarated by the time we headed home.

Toward the end of our visit, we presented gifts to our host family.  We had heard that the Boohenes enjoyed barbecues, so I gave Yaw an apron emblazoned with a Rotary logo.  He put it on immediately and grinned.  A large man, he couldn’t begin to wrap it around his middle or ties it at the back.  “No problem.  I never liked to cook on a grill anyway,”  he said, then continued to wear the apron around his neck for the rest of the evening, its edges and strings flapping as he walked.
We parted not with goodbyes, but with “Hope to see you soon” and plan to meet at the RI Convention.  As we drove to the airport, back along the same side streets and bustling avenues that had brought us to the Boohene home, I thought about the differences between Ghana and Pennsylvania, and I recalled a familiar proverb: The road to a friend’s house is never long.
 
Interested in Rotary’s Friendship Exchange program?  Learn more at www.rotary.org/rfe  

No comments: