Friday, November 23, 2012

2013-14 D3350 PR-TEAM

Unveiling 2013-14 District 3350's Public Relations Committee
Consulting team: PP. Dr. Tim CORNWALL / PP. Ritnarong KULPRASOOT
Surakit KERDSONGKRAN (Bangkhen), Chair
Kitthanate VASUKIATCHAROEN (Srapatum)
Roongporn LEKKHIEN (Bangkok 70)
Chaiyuth SINSOONGSUD (Bangkhen)
Porapon ATHIRAKSIL (Taksin Dhonburi), External PR
Phitsanu KERDSONGKRAN (Bangkok Benjasiri), Internal PR
Trong SANGSWANGWATANA (Bangkok Suwanabhum), Content Supervision
Voradaj PANJARONGKHA (Sukhumvit), Social Media
Kittiwongs PATIPSWANGWONG (Taksin Dhonburi), Image taking & spreading


The team commits to
build & strengthen 

  • rotary IMAGE
  • district UNITY, and
  • Sustainable INNOVATION


Saturday, November 17, 2012

10 วิธีเชิญสุดยอดผู้บรรยาย


๑๐ วิธีหาผู้บรรยายมาพูดที่สโมสร
(Ten ways to find Great Speakers for your Club, by Jonathan Black)

สโมสรโรตารีมักหาโอกาสสร้างเครือข่ายมิตรภาพและการบำเพ็ญประโยชน์แก่สมาชิกแบบผสมผสานไปด้วยกัน แต่ส่วนผสมขั้นพื้นฐานที่เป็นเคล็ดลับอย่างหนึ่งก็คือ ผู้บรรยายรับเชิญ การสรรหาตัวผู้บรรยายที่พูดดี พูดน่าฟังก็จะจูงใจสมาชิกให้สนใจติดตามการประชุมทุกครั้ง  แต่ตรงกันข้าม หากเห็นรายชื่อผู้บรรยายที่ไม่รู้จัก ไม่ค่อยน่าสนใจ เพื่อนสมาชิก็อาจหลีกเลี่ยงไม่อยากเข้าประชุม  ดังนั้นปัญหาจึงมิได้อยู่ที่ควรหาผู้บรรยายดี หรือไม่  แต่อยู่ที่วิธีการหาได้อย่างใดมากกว่า ผู้เขียนจึงขอแนะนำวิธีการสรรหาผู้บรรยายรับเชิญ ของสโมสรที่ประสบความสำเร็จแล้ว ๑๐ ประการดังนี้

๑. คัดเลือกให้ดี 
ผู้บรรยายที่มีความสามารถ มีชื่อเสียง จะช่วยจูงใจสมาชิกส่วนใหญ่มาประชุม และควรจะมีสมาชิกที่รู้จักสนิทสนมกับผู้บรรยายอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อแบ่งปันข้อมูลสมาชิกสโมสรสำหรับการเตรียมตัวล่วงหน้าแะสโมสรที่มีสมาชิกจำนวนมาก มีผลงานในชุมชนดี จะมีส่วนดึงดูดให้ผู้บรรยายยินดีรับเชิญอีกเช่นกัน
๒. มองคนในก่อน
บ่อยครั้งที่สโมสรมองข้ามหรือไม่สนใจสมาชิกที่มีคุณภาพในสโมสรของตนเอง ทั้ง ๆ ที่เขาสามารถเป็นผู้บรรยายเรื่องที่น่าสนใจให้สมาชิกคนอื่นฟังโดยมิต้องไปหาคนนอก คำเปรียบเทียบเรื่องนี้คือ "ใกล้เกลือกินด่าง"
๓.​ ขยันติดต่อ
หากสโมสรของคุณมีสมาชิกน้อย ก็ย่อมจะหาผู้บรรยายดี ๆ ได้ยาก ดังนั้นคุณจะต้องมีวิธีชักจูงผู้บรรยายให้คล้อยตามและยินดีมาบรรยายให้ได้  ดังนั้นสโมสรที่ประสบความสำเร็จ มักจะเชิญผู้นำในระดับชุมชน มาเป็นผู้บรรยายและในการติดต่อ คุณจะต้องขยันโทรศัพท์บ่อย ๆ เพื่อโน้มน้าวให้ผู้บรรยายรู้สึกอยากแบ่งปันด้วย
๔. หาหุ้นส่วน
กลยุทธ์สำหรับสโมสรขนาดเล็ก คือการเป็นหุ้นส่วนกับสโมสรโรตารีที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อจะได้จัดการให้ผู้บรรยายมีผู้ฟังจำนวนมากขึ้น  ผู้บรรยายส่วนใหญ่มักชอบหาโอกาสพูดกับผู้ฟังที่เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ มากกว่ากลุ่มเล็ก
๕. มองหาระดับสากล
นายกสโมสรบางแห่งใช้วิธีแสวงหาผู้บรรยายจากชาวต่างชาติ เนื่องจากการที่โรตารีมีเครือข่ายระหว่างประเทศกว้างขวาง สโมสรโรตารีที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยวหรือเมืองใหญ่ ๆ จะมีโอกาสต้อนรับมิตรโรแทเรียนต่างชาติมาร่วมประชุมและมาเป็นผู้บรรยายพิเศษบ่อยครั้ง หรือการเชิญบคคลที่มีสถานภาพระดับสากลเช่น กงสุลกิตติมศักดิ์ หรือฑูตก็เป็นแม่เหล็กที่ดีได้ไม่แพ้กัน
๖. เลี่ยงการขาย
มีคำแนะนำให้สโมสร ระวังผู้บรรยายที่มีวัตถุประสงค์แอบแฝงในการเสนอขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งจะสร้างความรู้สึกไม่ดีอย่างรุนแรงสำหรับสมาชิกที่อ่อนไหวกับการแสวงหาประโยชน์เช่นนี้
๗. สถานที่ประชุม
สโมสรที่มีห้องประชุมที่เหมาะสม เป็นสถานที่จูงใจผู้ร่วมประชุมตลอดจนผู้นำชุมชนและแขกผู้มาเยือน เปรียบดังทรัย์สินที่เป็นหน้าตาของสโมสร ก็ย่อมจะหาผู้บรรยายได้ไม่ยาก
๘. ตั้งคณะกรรมการโปรแกรมการประชุม
สโมสรโรตารีเมืองดัลลัส จัดให้มีผู้บรรยายระหว่างอาหารกลางวันเป็นเรื่องหลัก และในการรักษาคุณภาพของโแปรแกรมการประชุม ขอให้ตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งที่เป็นคณะทำงานหลัก ๆ ๑๐ - ๑๒ คน เพื่อช่วยจัดโปรแกรมการประชุมให้มีความหลกหลายในสายอาชีพต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกสโมสรสนใจมากขึ้น  เช่น การแพทย์  การกีฬา  การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม  องค์กรอิสระ ฯลฯ
๙. บรรยายให้กระชับ
โรแทเรียนอาจเป็นนักฟังที่ไม่อดทนมากนัก เพราะส่วนใหญ่เคยรับฟังการบรรยายอื่น ๆ มามากแล้ว และความอดทนจะลดน้อยถอยลง หากผู้บรรยายวันนี้มัวแต่ค้นหากระดาษโน๊ตระหว่างพูดไป.. โดยไม่สนใจผู้ฟัง
นายกสโมสรควรใช้กระดาษโน๊ตแผ่นเล็ก ๆ เตือนให้ผู้บรรยายทราบว่ามีเวลาเหลืออีก ๕ นาที ขอให้รีบจบการบรรยายด้วย
๑๐. มีเวลาให้ซักถาม
ไม่ว่าการบรรยายนั้นจะสั้นหรือยาว ขอให้แน่ใจว่ามีเวลาเหลือสำหรับการซักถามด้วย  ที่จริงแล้ว ผู้ฟังทุกคนจะชอบช่วงเวลาถาม-ตอบปัญหา  ซึ่งมีคุณค่าเช่นเดียวกับการบรรยาย การตอบคำถามที่ไม่มีเวลาเตรียมตัว ผู้บรรยายจะตอบโดยใช้มุมมองที่อาจแตกต่างไปจากของตนเอง

คำแนะนำสุดท้าย - ไม่มีสิ่งใดช่วยสร้างพลังขับเคลื่อนแก่สโมสรได้เท่ากับโปรแกรมการประชุมที่ดี ซึ่งเปิดโอกาสให้สมาชิกได้รับฟังแนวคิดแบบใหม่ ๆ แนวคิดที่ดีสำหรับสร้างแรงจูงใจแก่สมาชิกให้มีความรู้เพิ่มเติม เพื่อจะได้ช่วยกันดำเนินโครงการบำเพ็ญประโยชน์ที่ดียิ่งขึ้นต่อ ๆ ไป.

Wednesday, November 7, 2012

RIGHT TO LEAD



สิทธิแห่งการเป็นผู้นำมาจากไหน?
แน่นอนว่าคงไม่ได้มาโดยวิธีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง  คนที่มีตำแหน่ง สถานะ ลำดับชั้น หรือจบจากมหาวิทยาลัยมีชื่อ คงยังไม่ใช่คุณสมบัติที่เพียงพอจะไปนำใครคนอื่นได้  และความสามารถในการนำก็ไม่ได้ได้มาอย่างอัตโนมัติเมื่อคน ๆ หนึ่งอาวุโสขึ้นหรือมีประสบการณ์มากขึ้น  ก็คงไม่ใช่อีกเช่นกันที่จะบอกว่าใครคนใดคนหนึ่งจะมอบสิทธิในการนำให้คนอีกคนหนึ่งได้  เพราะสิทธิในการนำต้องมาด้วยการแสดงออกอย่างเพียงพอและนั่นก็อาศัยเวลาพอสมควร 
ผู้นำประเภทที่ใคร ๆ ก็อยากตาม 
กุญแจสำคัญของการเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมไม่ได้อยู่ที่การทำให้ผู้อื่นทำตาม แต่อยู่ที่การทำให้ตัวเองเป้นแบบอย่างที่คนอยากตาม  คุณจะต้องเป็นคนประเภทที่ผู้อื่นให้ความไว้วางใจที่จะนำเขาไปในที่ ๆ เขาต้องการไป  จงใช้แนวทางต่อไปนี้เมื่อคุณเตรียมตัวเป็นผู้นำที่ดีและเติบโตในอนาคต
  1. ปล่อยวางตัวตนของ "กู".
  2. ผู้นำที่แท้จริงจะไม่ครองความเป็นผู้นำเพื่อประโยชน์ของตนเอง  เขานำเพื่อผู้อื่น คงเปรียบได้กับสิ่งที่ลอว์เรนซ์ กี เบลล์กล่าวไว้ว่า "ถ้าคุณบอกได้ว่าใครไม่เกี่ยงที่จะทำงานที่ไร้ความสำคัญ แล้วผมจะบอกคุณว่าใครบ้างที่เชื่อไม่ได้ที่จะให้ทำงานใหญ่" 
  3. ก่อนนำเขาต้องตามเป็น.
  4. ผู้นำที่ไม่เรียนรู้การเป็นผู้ตามที่ดีก่อนยากที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้  นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่สถาบันฝึกอบรมผู้นำอย่างเช่น สถาบันฝึกวิชาทหารสหรัฐอเมริกาจะสอนให้เจ้าหน้าที่รู้จักการเป็นผู้ตามที่ดีก่อน และเป็นเหตุผลว่าทำไมเวสปอยท์จึงสามารถผลิตผู้นำได้มากกว่าฮาร์วาร์ด 
  5. สร้างสายสัมพันธ์ที่ดี.
  6. ภาวะผู้นำคืออำนาจ ไม่มากและไม่น้อยกว่านั้น หมายความว่ามันเกี่ยวพันธ์กันโดยธรรมชาติ  ผู้นำรุ่นปัจจุบันรู้ข้อเท็จจริงนี้ เพราะตำแหน่งและฐานะมีความหมายเพียงเล็กน้อยสำหรับพวกเขาเพราะพวกเขารู้กันว่าจะเดินตามคนที่เข้ากับพวกเขาได้ดี
  7. ทำงานเพื่อความเป็นเลิศ.
  8. คนธรรมดาสามัญย่อมไม่ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำ  ผู้นำจะได้รับสิทธิแห่งการนำก็ด้วยการทำหน้าที่อย่างเต็มที่และทุ่มเท  เขาไม่ได้มาทำงานด้วยมือเปล่าหรือเพียงแค่มีสมองและความสามารถเท่านั้น แต่เขาทำงานด้วยความเอาใจใส่และทุ่มเทอย่างหนักหน่วง  เขาทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในระดับสูงสุดของความรู้ความสามารถที่มี 
  9. ยึดมั่นในวินัย ไม่ไหลตามอารมณ์.
  10. ภาวะผู้นำมักทำได้ง่ายในเวลาที่ดี ๆ กันอยู่  แต่ผู้นำที่แท้จริงเกิดขึ้นตอนที่ทุกสิ่งทุกอย่างดูเหมือนจะต่อต้านคุณ ตอนที่คุณหมดเรี่ยวแรง และคุณไม่ต้องการจะนำอีกต่อไป  ตลอดฤดูกาลที่ผันผ่านไป ห้วงเวลาสำคัญของผู้นำคือตอนที่ต้องเลือกระหว่างฝีืนเดินหน้าต่อไปกับการล้มเลิก เมื่อเวลาเช่นนั้นมาถึงให้ยึดมั่นในหลักการ ไม่ผันแปรไปตามเม็ดทรายแห่งอารมณ์
  11. ตั้งเป้าหมายสู่คุณค่าที่สูงขึ้น.
  12. เมื่อคุณพิจารณาผู้นำที่ชื่อเสียงของท่านยังคงอยู่ในใจคนหลังจากที่เสร็จสิ้นภารกิจไปแล้ว คุณจะพบว่าพวกเขาเหล่านั้นทำในสิ่งที่ช่วยเหลือผู้อื่นให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้นและช่วยผู้อื่นได้ทำสิ่งที่เขามีศักยภาพที่จะทำได้ นั่นคือคุณค่าของการเป็นผู้นำ เพราะเขานำคุณค่าที่ดีกว่าให้เกิดขึ้นกับผู้อื่น 
  13. กระจายอำนาจ.
สิ่งที่ท้าทายความสามารถความเป็นผู้นำคือหากจะเป็นผู้นำที่ดีขึ้นกว่าเดิมแล้วคุณต้องรู้จักแบ่งปันอำนาจที่คุณมีให้แก่ผู้อื่นไม่ใช่เก็บมันไว้กับตัวเองทั้งหมด  คุณต้องทำตัวให้เป็นแม่น้ำ ไม่ใช่อ่างเก็บน้ำ  หากคุณใช้อำนาจเพื่อการเพิ่มอำนาจให้ผู้อื่น ภาวะความเป็นผู้นของคุณจะได้รับการขยายต่อยอดออกไปเกินกว่าอำนาจที่คุณมีอยู่เดิม  
-จอห์น แมกซ์เวลล์

Tuesday, November 6, 2012

Introducing 2013-14 D3350 Governor


ประวิทย์ โรจน์ขจรนภาลัย
ผู้ว่าการภาค ๓๓๕๐ ปี พ.ศ.๒๕๕๖-๕๗
จากสโมสรโรตารีสวนหลวง
เกิดกรุงเทพฯ วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๙๔ สมรสกับคุณจินตนา โรจน์ขจรนภาลัย มีบุตร ๒ คนคือ นส.พิชญา โรจน์ขจรนภาลัย และนายพีระ โรจน์ขจรนภาลัย
ในเวลาว่างชอบ ซ้อมยิงปืน สื่อสารวิทยุสมัครเล่น เก็บรูปสวย ๆ ที่น่าประทับใจ และหาความรู้เพิ่มเติมและใช้งานคอมพิวเตอร์
เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ และสามารถทำปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ปัจจุบันเป็นกรรมการบริหารบริษัทไทยธานีเคมีจำกัด และบริษัทไทยมัลติเพิลจำกัด โดยวางมือการเป็นผู้บริหารสูงสุดในบริษัท ๔ แห่งให้ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจสูงสุดดำเนินงานแทน เพื่อจะได้ทุ่มเทกับการทำงานให้โรตารีอย่างเต็มที่

ในโรตารี ท่านเป็นสมาชิกก่อตั้งที่ได้รับความไว้วางใจให้เป็นนายกสโมสรคนที่ ๔ ของสโมสรโรตารีสวนหลวงเมื่อปีโรตารี พ.ศ.๒๕๓๔-๓๕ โดยปีนั้นมีผู้ว่าการภาคชื่อ พล.อ.สายหยุด เกิดผล เมื่อเป็นอดีตนายกสโมสรก็ทุ่มเททำงานให้ภาคในตำแหน่งต่าง ๆ เกือบทุกตำแหน่งเช่น ประธานอนุกรรมการบริการชุมชน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รักษาสมาชิกภาพ เป็นผู้ช่วยผู้ว่าการภาค เป็นผู้แทนพิเศษผู้ว่าการภาคก่อตั้งสโมสรโรตารีกรุงเทพสุวรรณภูมิ เป็นประธานจัดการประชุมใหญ่ ๒ ครั้ง และล่าสุดเป็นประธานมูลนิธิโรตารีภาค ๒ ปี

Roles & Responsibility


คณะกรรมการประชาสัมพันธ์ภาค

คณะกรรมการประชาสัมพันธ์ภาคมีหน้าที่เผยแพร่ข่าวสารโรตารีให้กับกลุ่มคนภายนอกเช่นสื่อมวลชน  ผู้นำชุมชน  ชาวบ้านที่ได้ประโยชน์จากโครงการของสโมสรโรตารี และผู้ที่เป็นเป้าหมายในการเป็นอาสาสมัคร หรือบริจาค หรือเป็นสมาชิก และส่งผลต่อการสนับสนุนองค์กรโรตารี

กรรมการควรจะ
  • เชิญชวนสโมสรให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์โดยการใช้ทรัพยากรที่โรตารีสากลจัดเตรียมไว้ให้ เช่น ก้าวแห่งมนุษยชาติ (Humanity in Motion) ข่าวโครงการสาธารณะ (Public Service Announcement) และข่าวจากโรตารีสากล
  • ทำงานร่วมกับผู้ว่าการภาคและประธานคณะกรรมการอื่น ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลของโครงการและกิจกรรมที่ทำในระดับภาค
  • ติดต่อสื่อมวลชนเพื่อเผยแพร่ข่าวสารกิจกรรมและงานสำคัญของภาค
  • ฝึกอบรมสโมสรต่าง ๆ เพื่อให้มีทักษะในการทำงานประชาสัมพันธ์
  • เข้าร่วมการฝึกอบรมระดับภาคทุกครั้ง และร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการของโรตารีสากลเมื่อมีโอกาส

ทรัพยาการสำหรับคณะกรรมการ



Public relations committee
The district public relations committee promotes Rotary among external audiences such as the media, community leaders, program beneficiaries, and potential volunteers, donors, and members and fosters support for the organization.
Committee members
  • Encourage clubs to make PR a priority by using materials from RI, such asHumanity in Motion  public service announcements and RI News  stories
  • Work with the district governor and committee chairs to stay informed about district projects and activities
  • Contact the media with newsworthy stories of district projects and events
  • Train clubs on how to enhance their PR outreach
  • Attend the district team training seminar  and PR workshops held in conjunction with RI meetings, whenever possible 
Committee resources

Monday, November 5, 2012

Social Media & Rotary



RI Social Media video from Rotary International on Vimeo.

สื่อสังคมออนไลน์คืออะไร? สื่อสังคมออนไลน์คือการสนทนา ที่ช่วยให้คนเชื่อมประสานกัน มันทำลายกำแพงที่ปิดกั้นระหว่างคนในโลก
ทำไมจึงต้องมีสื่อสังคมออนไลน์?  เพราะมันเติบโตรวดเร็วมาก อย่างเฟสบุ๊คมันโตเร็วขนาดสื่ออื่น ๆ ต้องใช้เวลานานถึง ๕๕ - ๖๕ ปี
วันนี้ คนรุ่นเจนวายมีจำนวนมากกว่าคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์  คนรุ่นนี้กว่าร้อยละ ๙๖ รู้จักวิธีใช้โครงข่ายสังคมออนไลน์
เราต้องใช้เวลานานเท่าใดกว่าจะมีคนใช้สื่อมากถึง ๕๐ ล้านคน?
วิทยุใช้เวลา ๓๘ ปี
ทีวีใช้เวลา ๑๓ ปี
อินเตอร์เน็ต ๔ ปี
ไอพ๊อด ๔ ปี
เฟสบุ๊คมีคนใช้ ๒๐๐ ล้านคนภายใน ๙ เดือน
แอปพริเคชั่นในไอทูนมีคนดาวน์โหลด ๑ พันล้านครั้งในเวลา ๙ เดือน
ถ้าเฟสบุ๊คเป็นประเทศหนึ่ง ก็จะเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ ๓ ของโลก
๘๐ เปอร์เซนต์ของบริษัททั่วโลกใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อหาบุคคลากรมาร่วมงาน
๘๐ เปอร์เซนต์ของผู้ใช้ทวิตเตอร์ ใช้ผ่านโทรศัพท์มือถือ
สื่อสังคมออนไลน์กับโรตารี
เทคโนโลยี ทำให้วิะีการสื่อสารระหว่างมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป
ในอดีตเมื่อโรตารีพูด ทุกคนฟัง
ปัจจุบัน ผู้คนพูดกัน โรตารีต้องฟัง
จงหา ติดตาม ฟัง เรียนรู้ จากสมาชิกและเชิญชวนให้เขาร่วมทำงาน
อนาคตของสื่อสังคมออนไลน์อยู่ในมือท่าน

รู้จักประธานโรตารีสากลปี ๒๕๕๖-๕๗


แนะนำประธานโรตารีสากลปี ๒๕๕๖-๕๗
แปลโดย อผภ. เกษมชัย นิธิวรรณากุล

รอน ดี เบอร์ตัน, สมาชิกของ สโมสรโรตารีนอร์แมน, โอ คลาโฮมา ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะ กรรมการสรรหาตำแหน่งประธานโรตารีสากล สำหรับปี ๒๕๕๖-๕๗ เบอรต์นัจะกลายเป็นประธานนอมินิใีนวนัท่ี1ตลุาคมหากไม่มีผู้สมัครอื่นประสงค์เสนอชื่อเพื่อท้าทาย
ขณะนี้เบอร์ตันเกษียณแล้วจากการเป็นประธานมูลนิธิแห่ง มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เขาเป็นสมาชิกเนติบณัฑิตยสภา อเมริกันและเป็นสมาชิกในเนติบัณฑติยสภาของคลีฟแลนด์เคาน์ตี้และของรัฐโอคลาโฮมา เขาจะต้องเข้าฝึกภาคปฏิบัติในโอคลาโฮมาก่อนที่จะปฏิบัติหน้าที่ในศาลฎีกาสหรัฐอเมริกา.
“นี่คือเวลาที่น่าตื่นเต้นของโรแทเรียนคนหนึ่ง" เบอร์ตันกล่าว “ผมเชื่อว่าเราโชคดที่อยู่ในสถานภาพที่สามารถสร้างจุดแข็งของเราได้ โดยการใช้ประโยชน์จากแผนกลยุทธ์และแผนวิสัยทัศน์อนาคต วิสัยทัศน์ของผมคือการที่โรแทเรียนทุกคนชื่นชมกับความหมายของการ เป็นโรแทเรียนด้วยเคร่ืองมือท้ังสองนี้ เราสามารถทำให้วิสัยทัศน์นั้นเป็นจริงได้”
ด้วยความเป็นคนทไม่อยู่นิ่งในชมุชน เบอร์ตันเป็นผู้ก่อตั้งและ เป็นประธานมูลนิธิโรงเรียนภาครัฐแห่งเมืองมอร์แมน และเป็นผู้ก่อตั้งและอดีตสมาชิกคณะกรรมการบริหารมูลนิธิชุมชนเมืองนอร์แมน และจากการที่เขาเป็นอดีตรองประธานสภาลูกเสื้อพรมแดนสุดท้ายแห่งอเมริกา ทำให้เขาได้รับรางวัลซิลเวอร์บีเวอร์ด้วย
เบอร์ตันเชื่อว่าการที่โรตารีส่งเสริมมาตรฐานด้านจริยธรรมระดับสูง เป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่ทำให้โรตารีโดดเด่นกว่าองค์กรอื่น ๆ
"ผมให้ความมั่นใจกับบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องกับเราว่าโรตารีคือองค์กรที่เชื่อถือได้" เขากล่าวว่า "พวกเราส่วนใหญ่ทำงานในหน่วยงานธุรกิจหรือวิชาชีพที่มีจริยธรรมกันอยู่แล้ว บริการอาชีพในโรตารีช่วยเสริมหลักจริยธรรมเหล่านั้นเท่านั้นเอง  เรามีหน้าที่ที่จะต้องดำรงสถานะให้อยู่เหนือจุดนั้นและก้าวให้สูงขึ้นไปอีก เพื่อให้แน่ใจว่าทุกการกระทำของเราจะอยู่เหนือข้อบกพร่องทั้งหลาย"
ด้วยการเป็นโรแทเรียนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เบอร์ตันได้รับความไว้วางใจให้เป็นรองประธานของคณะกรรมการวิสัยทัศน์อนาคตและเป็นสมาชิกในคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อขจัดโปลิโอสำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา เขาเคยเป็นกรรมการทรัสตีของมูลนิธิโรตารีและได้เคยดำรงตำแหน่งรองประธานทรัสตีด้วย เขาเคยเป็นพิธีกรการอบรมผู้ว่าการภาค เป็นผู้ช่วยพิธีกรและผู้นำการอภิปราย รวมทั้งเคยเป็นผู้ว่าการภาคมาก่อน
ความรับผิดชอบอื่น ๆ ที่เขาได้รับมอบหมายมาก่อนในองค์กรโรตารีได้แก่ ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมใหญ่โรตารีสากลปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่นิวออร์ลีนส์  รองประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาการลงทุน  กรรมการทรัสตีในคณะกรรมการบริการอาชีพ  ที่ปรึกษากองทุนถาวรระดับประเทศ และเป็นผู้ประสานงานมูลนิธิโรตารีในระดับภูมิภาค  เขาเป็นผู้ติดตาม (aide) ประธานโรตารีสากลปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๕๐ วิลเลียม บี. บอยด์  นอกจากนี้เบอร์ตันยังได้รับประกาศเกียรติคุณ "บริการเหนือตน" จากโรตารีสากล  ประกาศเกียรติคุณจากมูลนิธิโรตารี  รางวัลบำเพ็ญประโยชน์ที่โดดเด่น และรางวัลจากโครงการโลกไร้โปลิโอนานาชาติ
เบอร์ตันและภรรยาของเขาเจตต้ามีบุตรด้วยกันสองคนและหลานสามคน

รอน ดี เบอร์ตัน

Rotary District 3350 THAILAND
สุนทรพจน์ ในโอกาสรับตำแหน่งประธานโรตารีสากลรับเลือก
ของ รอน ดี เบอร์ตัน
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕

ผมรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีน้อมรับการเสนอชื่อเพื่อเป็นประธานโรตารีสากลสำหรับปีโรตารี ๒๕๕๖ - ๕๗
ผมเป็นโรแทเรียนตั้งแต่ปี .๒๕๒๒ ในปีนี้หากจะมีเรื่องดีที่สุดที่ได้เรียนรู้จากการเป็นโรแทเรียน นั่นก็คือการได้รับเกียรติอย่างยิ่งในการได้เป็นโรแทเรียนคนหนึ่ง  เพราะสำหรับผมแล้วโรตารีไม่ใช่แค่องค์กรบำเพ็ญประโยชน์เท่านั้น โรตารีมีสิ่งที่แตกต่างและเป็นสิ่งที่วิเศษสุด
การได้เป็นโรแทเรียน ก็เหมือนหลายสิ่งหลายอย่างในชีวต ที่ท่านสามารถสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นได้ แต่โรตารีไม่เป็นเช่นสิ่งอื่น ๆ อีกหลายสิ่งเช่นกัน ทุก ๆ วันเราเป็ฯส่วนหนึ่งของโรตารี เราต้องเลือกว่าจะไปให้ถึงจุดที่ให้ประโยชน์สูงสุดของชีวิตเท่าที่เรามีโอกาสไปถึงในฐานะโรแทเรียนหรือไม่ หรือเราจะปล่อยให้โอกาสนั้นหลุกลอยไป ทั้งนี้ก็เพราะโรตารีไม่ใช่อะไรนอกเหนือจากศักยภาพ ซึ่งเป็นศักยภาพที่สามารถเปลี่ยนชีวิตคนได้อย่างเหลือเชื่อ ศักยภาพที่จะช่วยผู้อื่น และศักยภาพที่จะเป็นคนดีที่ดีขึ้นกว่าเดิมของพวกท่านเอง  แล้วเราทำอะไรกับศักยภาพเหล่านั้นบ้าง เราทำอะไรกับโอกาสต่าง ๆ ที่โรตารีเปิดเอาไว้ให้เราบ้าง นั้นคือการเลือกที่ขึ้นอยู่กับแต่ละท่านที่จะทำ
ผมเชื่อเหลือเกินว่า  เวลานี้คือเวลาที่น่าตื่นเต้นที่สุดสำหรับการเป็นโรแทเรียน  อาจเรียกว่าเป็นห้วงเวลาที่น่าตื่นเต้นที่สุดตั้งแต่มีการก่อตั้งโรตารีมากว่า ๑๐๗ ปี  เรากำลังเข้าไปจุดที่ใกล้ที่สุดสำหรับเป้าหมายของการขจัดโรคโปลิโอให้หมดโลก  เราช่วยกันทำงานอย่างหนักกว่าที่เคยเป็นมา ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้แน่ใจว่าคำสัญญาของเราจะต้องเป็นจริง ตอนนี้ในขณะที่เรามุ่งทำงานเพื่อปิดฉากสุดท้าย เราก็มองไปข้างหน้าข้ามพ้นโปลิโอไป เราจะฝันถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า บรรลุความสำเร็จในระดับที่เหนือกว่า และนำโลกไปสู่ความแตกต่างที่ยั่งยืน นี่คือเหตุผลว่าทำไปมูลนิธิโรตารีเลือกที่จะเริ่มโครงการวิสัยทัศน์อนาคต ก็เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะร่วมกันทำสิ่งดีที่สุดที่เราทำได้โดยใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่เรามีอยู่
ในทุกระดับการทำงานของผู้นำในโรตารีสากล พวกเรามองไปในอนาคตถึงหลาย ๆ ปีข้างหน้าที่จะเป็นปีที่ดีที่สุดของโรตารีที่ผมเชื่อว่ายังไม่มาถึงเร็ว ๆ นี้  เรามีความแข็งแกร่งของสมาชิก ความแข็งแกร่งของสโมสรต่าง ๆ และความแข็งแกร่งของมูลนิธิ โรตารีจะเป็นองค์กรที่มีความโดดเด่นยิ่งขึ้นอันเป็นผลจากที่พวกเราได้ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ที่เราได้ร่วมกันเขียนขึ้น
แผนยุทธศาสตร์ไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งมี อันที่จริงมันคือระบบย้ำเตือนให้สโมสรต่าง ๆ ทำงานตามแผนซึ่งเราทำกันมาหลายปีแล้ว  สิ่งที่อาจต่างออกไปคือตอนนี้เรานำมันมาเขียนเป็นแผนอย่างเป็นกิจจะลักษณะ รวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบระเบียบและส่งต่อให้โรแทเรียนในสโมสรและในภาคได้ใช้เป็นเครื่องมือต่อไป แผนยุทธศาสตร์คือการสร้างความชัดเจนให้กับความเข้าใจในตำแหน่งที่เรายืนอยู่ รู้ว่าเราจะเดินไปสู่เป้าหมายใด และจะนำตัวเองไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างไร  และมันยังเป็นระบบยำ้เตือนที่ทรงพลังในการช่วยจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของเป้าหมายที่มอยู่หลากหลาย  ซึ่งอันที่จริงแล้วหัวใจของการทำแผนยุทธศาสตร์นี้ก็ไม่แตกต่างจากที่เราเคยมีมาแล้วตั้งแต่โรตารีเริ่มก่อตั้ง
หลายสิ่งหลายอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ พอล แฮร์ริสได้ก่อตั้งโรตารีเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๘  แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของโรตารีไม่เคยเปลี่ยนแปลงและจะไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือการเป็นโรแทเรียนจะต้องสำเหนียกว่า ความต้องการของผู้อื่นต้องอยู่เหนือความต้องการของตัวเรา  และนั่นสะท้อนให้เห็นในคุณค่าหลักของโรตารี ๕ ประการคือ การบำเพ็ญประโยชน์ มิตรภาพ ความหลากหลาย คุณธรรม และภาวะผู้นำ  การเป็นโรแทเรียนคือการยึดมั่นในอุดมการณ์ "บริการเหนือตน"  และยึดมั่นในหลักการทดสอบสี่แนวทางไม่ว่าเราจะคิด พูด หรือทำ.
ห้วงเวลาในอนาคตจากนี้ไปมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่ออนาคตของโรตารี พวกเราทั้งหลายโชคดีที่อยู่เป็นโรแทเรียนในปัจจุบัน และพวกเราทุกคนก็มีส่วนในความรับผิดชอบต่ออนาคตของโรตารี  ในปี ๒๕๕๖-๕๗ ที่จะถึงนี้ผมปรารถนาที่จะได้รับความช่วยเหลือจากโรแทเรียนทุกคนในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับอนาคตของโรตารีให้โชติช่วงชัชวาล เพื่อให้เรามีความเจริญรุ่งเรืองต่อไปอีก ๑๐๗ ปีภายใต้อุดมการณ์บริการเหนือตน

ขอบคุณ




………
Ron D. Burton RI President-nominee’s Acceptance Remarks 
Bangkok, Thailand 9 May 2012

I am both honored and humbled to accept the nomination of president of Rotary International for the 2013-14 Rotary year.
I’ve been a Rotarian since 1979. In that time, if there’s one thing I’ve learned about Rotary, it’s that it’s a privilege to be a Rotarian. I take a tremendous amount of pride in being a Rotarian. To me, Rotary isn’t just another service organization. It is something different, something special.
Being a Rotarian, well, it’s like a lot of things in life — it is what you make of it. But Rotary isn’t like anything else in our lives. Every day that we are a part of Rotary, we have a choice to make: whether we’re going to take full advantage of the opportunities that are open to us as Rotarians, or whether we’re going to let those opportunities pass us by. Because Rotary, for each of us, is nothing more than potential: the incredible potential to change lives, to help others, to be better people ourselves. And what we do with that potential — what we do with the opportunities that Rotary offers us — that’s a decision that’s up to each one of us.
I really believe that this is an incredibly exciting time to be a Rotarian — probably the most exciting time since Rotary was founded, more than 107 years ago. We’re closing in on our great goal of a polio-free world. We’re working harder than ever, with more partners than ever, to be sure that we keep that Rotary promise. And while we focus on finishing that job, we’re also looking ahead — past polio, to a future where we will dream bigger, achieve more, and make a more lasting difference. That’s why our Rotary Foundation has chosen to launch Future Vision — to be sure that we are doing absolutely the most we can, with every resource we have.
At every level of RI’s leadership, we’re looking forward — to the best years of Rotary, which I believe are yet to come. We’ve got tremendous strengths, in our members, our clubs, and our Foundation.
Using the RI Strategic Plan, we have an outline that we can use to make Rotary more relevant.
The strategic plan isn’t really new — it’s really just a solid reminder of the things that Rotary clubs have been doing for years. What’s different is that we have finally written them down, put them in a logical format, and provided that to Rotarians, Rotary clubs, and districts as a tool for all of us to use. The plan is a way to look clearly at who we are, where we’re going, and how we should be getting there. And it’s a powerful reminder of our goals and our priorities — which, at their heart, are the same as they’ve been since Rotary was founded.
A lot has changed since Paul Harris started the first Rotary club in 1905. But the most important things about Rotary haven’t changed, and won’t ever change.
Being a Rotarian means putting others’ needs before our own, and it means embracing our core values: service, fellowship, diversity, integrity, and leadership. Being a Rotarian means living the Rotary motto, Service Above Self. Being a Rotarian means living The Four-Way Test in everything we think, say, or do.

The years that stand before us now will be pivotal to the future of Rotary. Every one of us here is fortunate to be a Rotarian at this time — and every one of us also has a responsibility to Rotary’s future. In 2013-14, I will ask for the help of every Rotarian to make that future as strong and bright as possible — to ensure another 107 wonderful years of Service Above Self.

Thank you.

RI Social Media video from Rotary International on Vimeo.