Friday, January 22, 2016

A MAN OF COMMITMENT

บุรุษผู้รักษาคำมั่น

เราได้สนทนากับว่าที่ประธานโรตารีสากล จอห์น เจิร์ม
วันที่จอห์นเจิร์มเข้าปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานโรตารีสากลในเดือนกรกฎาคม คือวันที่เขามีสมาชิกภาพในโรตารีครบ ๔๐ ปี  และในช่วงเวลาที่เป็นโรแทเรียนเขาได้สร้างผลงานยิ่งใหญ่ไว้เช่น การเป็นผู้นำโรตารีท้าทายกองทุน ๒๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสมทบกับมูลนิธิบิลล์แอนด์เมลินดาเกทส์ เป็นผลให้โรตารีสามารถระดมทุนได้มากถึง ๒๒๘.๗ ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อใช้การกิจการรณรงค์สร้างภูมิต้านทานโปลิโอแก่เด็กทั่วโลก  "ผมเชื่อว่าพวกเราประสบความสำเร็จในการหาทุนก้อนนี้ได้แน่นอนอย่างไม่มีข้อสงสัยใด ๆ" เขากล่าว  "โรแทเรียนเป็นคนที่มีน้ำใจดีมาโดยตลอด"  นี่คืออนุสาวรีย์แห่งความทรงจำที่นำเอาองค์กรนี้ไปสู่ความสำเร็จในการขจัดโปลิโอดังที่เห็นในทุกวันนี้  เราเห็นบทบาทความเป็นผู้นำของเจิร์มอย่างชัดเจนในผลงานมากมายและการระดมเงินทุนเพื่อโครงการขจัดโปลิโอเป็นหนึ่งในโครงการแรก ๆ ที่เราเห็น เขาเริ่มเป็นสมาชิกสโมสรโรตารีแชทตานูกา เทนเนสซี่ในปี พ.ศ.๒๕๑๙  "ตอนนั้นผมไม่ได้รับหน้าที่อะไร ได้แต่ไปนั่งประชุมสโมสร จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๒๖ ผมได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการสโมสร"  เขากล่าว "แล้วผมก็ได้รับเชิญให้เป็นประธานร่วมในการรณรงค์หาทุนเพื่อโปลิโอ" หลังจากนั้นเขาก็ตกหลุมรักโรตารีทันที "ยิ่งทำงานมาก ยิ่งเห็นผลงานออกมามาก ผมก็ยิ่งอยากทำมากขึ้น" เขากล่าว ซึ่งในเวลาต่อมา เจิร์มได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น รองประธานโรตารีสากล กรรมการและรองประธานมูลนิธิโรตารี และเป็นผู้ดูแลประธานโรตารีสากลในการประชุมใหญ่โรตารีสากล เขาและจูดี้ ภริยายังได้เป็นผู้บริจาคในอาร์คซีคลัมฟ์โซไซตี้  ในด้านการงานนั้นเจิร์มยังคงทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทแคมป์เบลแอนด์แอสโซชิเอท ซึ่งเป็นบริษัทด้านวิศวกรรมในเมืองแชทตานูก้าที่เขาเริ่มทำงานด้วยเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๘ จนไต่เต้าขึ้นเป็นประธานเจ้าหน้าบริหารของบริษัท  คำสัมภาษณ์ต่อไปนี้ จอห์น เรเซกต้องการเจาะใจให้ทราบถึงความมุ่งมั่นที่จะทำในปีที่เจิร์มปฏิบัติหน้าที่ผู้นำสูงสุดในโรตารี  

เดอะโรแทเรียน : กฎสำคัญของการเป็นผู้นำมีอะไรบ้าง  และคุณเรียนรู้กฎเหล่านั้นจากใคร
เจิร์ม : สำหรับผมแล้วกฎสำคัญที่สุดของการเป็นผู้นำคือ "การฟัง" เพราะผู้นำต้องเป็นบุคคลที่สามารถโน้มน้าว จูงใจ มอบหมายงาน สร้างแรงบันดาลใจและสื่อสารกับผู้อื่นได้เก่ง  ผู้นำจะเข้าใจความต้องการและความปรารถนาของคนจากการฟัง  
เดอะโรแทเรียน : คนในตำแหน่งที่คุณเป็นจะต้องไม่ทำอะไร
เจิร์ม : คนในตำแหน่งที่ผมเป็นจะต้องไม่ขอให้คนอื่นทำในสิ่งที่แม้แต่ตัวเองยังไม่อยากทำ 
เดอะโรแทเรียน : คุณสมบัติหลักและบุคคลิกสำคัญที่โรแทเรียนควรมีคืออะไร
เจิร์ม : คุณค่าหลักที่สำคัญที่สุดคือ "คุณธรรม" คนที่ปราศจากคุณธรรม คน ๆ นั้นไม่มีคุณค่าใด ๆ เลย 

เดอะโรแทเรียน : ประธานโรตารีสากลบางคนชอบทำงานแบบเดินทางไปทุกที่  บางคนชอบทำงานในสำนักงานใหญ่ คุณเป็นแบบไหน
เจิร์ม :  ผมตั้งใจทำทั้งสองแบบ เพราะการเยี่ยมสโมสรต่าง ๆ นั้นมีความสำคัญในด้านการให้แรงจูงใจด้วยการกล่าวคำขอบคุณสำหรับผลงานที่ทำอย่างยอดเยี่ยม และบอกทีมงานของพวกเขาว่า "การรวมตัวกันทำงาน ช่วยให้ผลงานออกมาดีกว่า"  แต่ในขณะเดียวกันการประสานงานและการทำให้งานของผู้นำในโรตารีสากลท่านอื่น ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่และผู้นำในมูลนิธิโรตารี ได้เดินไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง  เราต้องมีการประชุมกันที่สำนักงานใหญ่โดยมีประธาน ประธานรับเลือกและประธานนอมินีของทั้งโรตารีสากลและมูลนิธิโรตารี รวมทั้งท่านเลขาธิการโรตารีสากล  การประชุมรวมของคณะกรรมการบริหารทั้งสองชุดควรจะมีการประชุมกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งเพื่อให้เกิดการทำงานและประสานงานกันอย่างราบรื่นต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้ต้องจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ที่อีแวนสตัน

เดอะโรแทเรียน : ความท้าทายของโรตารีที่เด่นชัดที่สุดคืออะไร และโรแทเรียนธรรมดาคนหนึ่งจะทำอะไรได้บ้าง
เจิร์ม : ความท้าทายที่สำคัญที่สุดของโรตารีคือสมาชิกภาพ  เราต้องขยายฐานสมาชิกภาพเพื่อที่จะทำงานให้มากยิ่งขึ้นได้  เราต้องดึงดูดสมาชิกใหม่ที่เป็นคนหนุ่มสาว อย่างเช่นพวกศิษย์เก่าทั้งหลายของโรตารี  กลุ่มคนที่เพิ่งเกษียณก็น่าสนใจเช่นกัน  เราคือองค์กรที่ยึดมั่นในระบบประเภทอาชีพและมาตรฐานจริยธรรมขั้นสูง   มาตรฐานดังกล่าวนี้จะต้องดำรงไว้และเราจะต้องถ่ายทอดให้สมาชิกปัจจุบันทุกคนเข้าใจว่ามันสำคัญอย่างไรที่พวกเขาแต่ละคนจะทำหน้าที่ในการเป็นผู้อุปถัมภ์แนะนำสมาชิกใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้าสู่องค์กรของเรา 

เดอะโรแทเรียน : ทำไมการทำให้คนในสังคมเข้าใจโรตารีคืออะไร ทำอะไร จึงเป็นเรื่องยากเย็น  แล้วคุณจะแก้ไขอย่างไร
เจิร์ม : โรแทเรียนบำเพ็ญประโยชน์ทั้งในและนอกประเทศมากมายตลอดระยะเวลาอันยาวนานโดยไม่ได้คิดถึงการบอกกล่าวให้สาธารณะชนได้รับรู้สิ่งที่เราทำ  เพราะฉะนั้นผมไม่สงสัยเลยว่าทำไมเวลาเราทำการสำรวจเมื่อสองสามปีที่ผ่านมา ผลก็คือคนทั่วไปไม่รู้จักโรตารีและไม่รู้ว่าเราทำอะไร  ฉะนั้นเราต้องช่วยกันติดเข็มโรตารีด้วยความภาคภูมิใจ เราต้องสนับสนุนกิจกรรมการเสริมสร้างภาพลักษณ์โรตารี ด้วยการตั้งใจทำการตลาดให้สำเร็จให้ได้โดยเฉพาะในการแสดงให้สาธารณะชนเห็นเรื่องเหลือเชื่อทั้งหลายที่เราทำให้กับสังคมชุมชนทั้งใกล้บ้านเราและในโลกนี้ และจะต้องไม่มีใครถามอีกต่อไปว่า "โรตารีคืออะไร" 

เดอะโรแทเรียน : อะไรที่ตัดสินใจลำบากมากกว่ากันระหว่างคำขวัญประจำปีและการออกแบบเน็คไท
เจิร์ม : การออกแบบเน็คไทครับ  การคิดคำขวัญนั้นง่ายมากเพราะมันจะอยู่ประมาณอะไรที่เกี่ยวกับการบำเพ็ญประโยชน์  ผมได้รับแรงบันดาลใจจากการทำงานของโรแทเรียนทั้งโครงการในประเทศและต่างประเทศผ่านการรณรงค์ขจัดโรคโปลิโอและโครงการตามภารกิจหลัก ๖ ประการของมูลนิธิโรตารี ดังนั้นคำขวัญของผมก็เพียงอธิบายงานของเราให้ได้เท่านั้น มันจึงเป็น "Rotary Serving Humanity" (โรตารีรับใช้มนุษยชาติ)

เดอะโรแทเรียน : กรุณาอธิบายขั้นตอนสัก ๒-๓ ขั้นตอนที่นำคุณขึ้นมาสู่การเป็นประธานโรตารีสากล  คุณมีคำแนะนำอย่างไรบ้างสำหรับโรแทเรียนที่ต้องการก้าวตามคุณ
เจิร์ม : ผมคิดว่าผมมาถึงจุดที่เป็นประธานโรตารีสากลได้เพราะการทำงานหนัก ผมประสบความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ตลอดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในตำแหน่งกรรมการบริหารโรตารีสากล กรรมการทรัสตีของมูลนิธิโรตารี และได้บริหารโครงการทั้งภายในและระหว่างประเทศ  แน่นอนผู้ที่จะขึ้นสู่ตำแหน่งนี้ก็ต้องเป็นนายกสโมสร เป็นผู้ว่าการภาค และกรรมการบริหารโรตารีสากลก่อนที่ทางคณะกรรมการสรรหาประธานโรตารีสากลเขาจะพิจารณาคุณ และคุณก็ต้องมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาโรตารีที่กว้างไกล นอกจากนี้คุณต้องทำงานหนักและทำให้ได้ผลงานดี และต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเส้นทางการขึ้นสู่ตำแหน่างสูงสุดนี้

เดอะโรแทเรียน : คุณมีปฏิกริยาอย่างไรเมื่อทราบว่าตัวเองได้รับการเสนอชื่อเป็นประธานโรตารีสากล
เจิร์ม : จูดี้กับผมกำลังรับประทานอาหารเย็นด้วยกันตอนที่มีโทรศัพท์เข้ามาแจ้งข่าว  เราสองคนแม้จะดีใจแต่ก็เก็บข่าวไว้เงียบ ๆ ตอนที่กรรมการสรรหาอธิบายถึงสาเหตุที่เลือกผม  ผมก็ยิ่งสงบเสงียมขึ้นไปอีก เพราะทราบดีว่าศรัทธาของผู้อื่นในโรตารีที่มีต่อผมนั้นมันมีมาก เขาไว้วางใจให้เราเป็นผู้นำและที่สำคัญให้เราเป็นผู้นำในปีที่มูลนิธิโรตารีจะครบ ๑ ศตวรรษด้วย

เดอะโรแทเรียน : งานประเภทไหนในโรตารีที่คุณชอบทำมากที่สุด
เจิร์ม : นอกเหนือจากการเป็นนายกสโมสรแล้ว งานที่ผมชอบมากคือการเป็นประธานคณะทำงานหาทุนสมทบ ๒๐๐ ล้านเหรียญร่วมกับมูลนิธิบิลล์แอนด์เมลินดาเกทส์ เพราะงานนี้ทำให้เห็นความกระตือรือร้นของบรรดาเพื่อนโรแทเรียนที่มุ่งมั่นจะช่วยให้เด็กทั่วโลกปลอดจากโรคโปลิโอตามสัญญาที่เราเคยให้ไว้  ตอนที่พวกเราไปทำกิจกรรมหยอดวัคซีนโปลิโอแล้วเห็นรอยยิ้มคนที่เป็นแม่ในขณะที่พวกเราหยอดวัคซีน ๒ หยดที่เปรียบประดุจน้ำทิพย์เข้าสู่ปากเด็กน้อยที่อ้ารออยู่ ผมรู้สึกปลื้มปิติเป็นที่สุดและคิดว่า มันจะยังมีอะไรที่เป็นงานที่ดีไปกว่านี้อีกหรือ

เดอะโรแทเรียน : สมมติว่าประธานโรตารีสากลสามารถทำโครงการให้สำเร็จได้ในปีที่ตนปฏิบัติหน้าที่ คุณอยากทำอะไรให้สำเร็จสัก ๓ เรื่อง
เจิร์ม : อย่างแรกคือทำโปลิโอให้หมดไปจากโลก  เรื่องที่สองเพิ่มสมาชิกเพื่อให้มีคนที่มีจิตใจอยากช่วยคน และมีความคิดสร้างสรรค์มาช่วยกันทำงานมากขึ้น คนที่เพ่ิมขึ้นก็ควรจะมีความหลากหลายภายในองค์กรของเราด้วย  อย่างที่สามคืออยากให้มีหุ้นส่วนและผู้ให้การอุปถัมภ์จากมูลนิธิหรือบรรษัทขนาดใหญ่ก็ได้  เพราะการทำงานร่วมกับมูลนิธิเกทส์ องค์การอนามัยโลก ยูนิเซฟ และซีดีซี พิสูจน์แล้วว่าเราประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี 

เดอะโรแทเรียน : ถ้าคุณสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรก็ได้ในโรตารีสากลสักหนึ่งอย่าง  คุณอยากเปลี่ยนอะไร
เจิร์ม : ทำให้องค์กรโรตารีบริหารงานของโรตารีสากลเหมือนธุรกิจมากกว่าองค์กรบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม  เราต้องเข้าใจให้ดีว่าแหล่งรายได้มากที่สุดของโรตารีคือค่าบำรุงสมาชิก  แทนที่เอาแต่คิดว่าจะต้องขึ้นค่าบำรุงอยู่เรื่อย เราควรจะต้องคิดว่าแล้วเราทำอะไรสนองความต้องการของภาคหรือสโมสรได้บ้าง ไม่ใช่ทำอะไรที่เราคิดฝ่ายเดียวว่าภาคหรือสโมสรต้องการ  นักธุรกิจเมื่อรับทราบว่าค่าใช้จ่ายในบริษัทเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่รายได้ไม่ได้สูงขึ้นตามไปด้วย เขาจะคิดถึงการลดทอนค่าใช้จ่ายลงก่อน ไม่ใช่คิดจะขึ้นราคาสินค้าหรือบริการเท่านั้น นักธุรกิจมักหาวิธีที่ดีกว่าในการทำงาน
เดอะโรแทเรียน : เงินของโรแทเรียนถูกใช้ไปในการจ้างพนักงาน ๖๐๐ คนทำงานในองค์กรของเรา คุณได้พบพนักงานเหล่านั้นหลายคนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  กรุณาเล่าถึงลักษณะการทำงานของพวกเขาเหมือนเล่าให้สมาชิกคนหนึ่งที่ไม่เคยรู้เรื่องของโรตารีสากลมาก่อนฟัง  คุณคิดว่าพวกเขาทำงานคุ้มเงินที่จ้างหรือไม่ 
เจิร์ม : การทำงานสนับสนุนของพนักงานโรตารีนั้นมีความจำเป็นต่อการทำงานของโรตารี พนักงานที่มีอยู่ปัจจุบันทำงานอย่างหนักเพื่อจัดหาเครื่องมือที่สโมสรต่าง ๆ ต้องการใช้ในการทำงานสโมสรให้มีประสิทธิภาพ เครื่องมือเหล่านี้ได้แก่การพัฒนาเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้งานโรตารี การให้ความช่วยเหลือเรื่องกองทุนต่าง ๆ  และการให้คำปรึกษาแนะนำต่าง ๆ  พนักงานเหล่านี้สร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับองค์กรของเรา

เดอะโรแทเรียน : หากมีคนขอให้คุณบรรยายคุณสมบัติส่วนตัวที่สำคัญ ๆ สัก ๕ ข้อ ไม่จำเป็นต้องโดดเด่นที่สุด คุณจะบอกว่ายังไง
เจิร์ม : คุณพ่อคุณแม่สอนพี่น้องและตัวผมว่าให้เป็นคนน่าเคารพ ซื่อสัตย์ เชื่อถือได้ในทุกเรื่องของชีวิต  คนมักบอกกันว่าผมเป็นพวกคิดนอกกรอบ น่านับถือ ไว้ใจได้  เชื่อถือได้ คงเส้นคงวา โน้มน้าวคนเก่ง หวังพึ่งได้ มีความมั่นใจในตนเอง และนักสร้างทีม
เดอะโรแทเรียน : หากคุณสามารถคุยกับโรแทเรียนได้ทุกคน คุณอยากคุยอะไรกับเขา

เจิร์ม : ผมอยากพูดว่า "ขอบคุณ" สำหรับสิ่งที่คุณได้ทำไปแล้ว  ขอบคุณสำหรับสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ และขอบคุณสำหรับสิ่งที่คุณกำลังจะทำ ซึ่งจะส่งผลในการพัฒนาชุมชนและเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คน  ผมอยากบอกเขาว่าหากเขาต้องการตอบแทนคนที่ให้โอกาสเขาทำความดีในโรตารี ก็ขอให้เขาแต่ละคนเชิญเพื่อนมาเป็นโรแทเรียน

The Rotarian Conversation
A man of commitment
We talk with incoming Rotary International President John Germ. 
When John Germ takes office as Rotary International’s president in July, it will mark his 40th year in Rotary. In that time, he’s likely best-known for leading Rotary’s $200 Million Challenge, a fundraising effort sparked by a challenge grant from the Bill & Melinda Gates Foundation. Rotarians surpassed that goal in 2011, raising $228.7 million toward polio immunization activities. “I never questioned that we would raise the funds,” he says. “Rotarians have been so generous.” It was a monumental moment for the organization that led to many of the eradication successes we see today. In fact, raising money for polio was one of Germ’s first leadership roles. He became a member of the Rotary Club of Chattanooga, Tenn., in 1976. “I wasn’t involved, other than going to meetings, until 1983 when I was asked to be club secretary,” he says. “Then I was asked to participate as district co-chair for the polio fundraising campaign.” After that, he was hooked. “The more active I became, and the more good that I saw being done, the more I wanted to do,” he says. Germ went on to serve Rotary as vice president, director, Foundation trustee and vice chair, and RI president’s aide. He and his wife, Judy, are also members of the Arch Klumph Society. Professionally, Germ continues to consult for Campbell & Associates, a Chattanooga engineering firm he started working for in 1965 and eventually served as chairman and CEO. Editor in Chief John Rezek spoke with him about his next big commitment – his yearlong role as RI president.

The Rotarian: What are the most important rules of leadership, and from whom did you learn them?
Germ: To me, the most important rule of leadership is to be a good listener. A good leader must be a person who can motivate, encourage, delegate, inspire, and communicate well. Listening enables you to better understand the needs and desires of others. 

TR: What does a person in your position never do?
Germ: A person in my position never asks anyone to do something I would not do myself.
TR: What are the core qualities and character traits that every Rotarian should have? 
Germ: The most important core value is integrity. Without integrity, one has nothing.




TR: Some presidents spend most of their time traveling; some frequently attend to business at RI headquarters. Which will you be?



Germ: I intend to do both. Visiting clubs and districts is important to provide motivation, to say thank you for the work being done, and to convey the TEAM message: “Together everyone achieves more.” At the same time, coordinating activities and providing continuity between RI leaders, staff, and The Rotary Foundation leadership is critical. Therefore, we must hold meetings that include the president, president-elect, president-nominee, TRF chair, TRF chair-elect and the general secretary. There should be joint board meetings, at least one per year, to insure continuity and cooperation. This requires time in Evanston.

TR: What are Rotary’s most existential challenges? What can individual Rotarians do to meet them?
Germ: Rotary’s biggest challenge is membership. We need to expand our membership so we can do more work. We need to attract younger people, like Rotary youth program alumni. Recently retired individuals are another group to engage. We are an organization with high ethical standards and a classification system. These standards should be maintained and our current members educated on why each one of them should be sponsoring other qualified individuals to become Rotarians.
TR: Why is it so hard for the public to understand what Rotary is and does? How would you remedy that?
Germ: For many years, Rotarians worked both locally and globally without seeking publicity or recognition. When a survey was conducted a few years ago, it was no surprise to me that the general public was unaware of Rotary and the work we do. We need to wear our Rotary pin with pride. We need to enhance Rotary’s public image by successfully and enthusiastically marketing who we are and the amazing things we are doing and have done locally and globally. No one should ever have to ask, “What is Rotary?”

TR: What was more difficult to decide upon: your presidential theme or design of your tie?
Germ: The design of the tie. It was easy to create a theme around service. I was inspired by the work that Rotarians do locally and globally through the polio eradication campaign and in the six areas of focus of The Rotary Foundation – so my theme is how I describe our work, Rotary Serving Humanity.

TR: What were the two or three most important steps in your journey to the presidency? What advice would you give to a Rotarian who wants to follow in your footsteps?
Germ: I think I became president due to hard work. I successfully completed terms on the Board of Directors, as a trustee for The Rotary Foundation, and have been involved in projects locally and globally. It all starts at the club level. One must be a successful club president, district governor, and RI director to be considered by the nominating committee. A broad base of experience is essential along with a vision to improve Rotary. A person needs to work hard and do the best they can while always learning something new every step along the way.

TR:  What was your reaction upon hearing the news of your nomination? 
Germ: Judy and I were having dinner when we received the phone call. We were excited and humbled by the news. When we listened to the comments of the nominating committee members, we were more humbled and realized a great amount of faith was being placed in us to lead Rotary, especially in the centennial year of The Rotary Foundation.

TR: Which jobs in Rotary have you enjoyed the most?
Germ: The job I enjoyed most following being club president was chairing the $200 Million Challenge. Visiting clubs and districts, seeing the enthusiasm of Rotarians to fulfill our promise to the children of the world for eradicating polio, was overwhelming. Participating in National Immunization Days and seeing the smiles on the mothers’ faces as their child received those two precious drops had chills run up and down my back. How can one do better work than that?


TR: Let’s imagine that the president can accomplish anything he wants during his presidential year. What are the top three things you want to accomplish? 

Germ: First, eradicate polio. Second, increase our membership so we can have more willing hands, caring hearts, and inquisitive minds. We also need to increase diversity within our organization. Third, create more partnerships and sponsorships with corporations and foundations. Our work with the Gates Foundation, WHO, UNICEF, and CDC shows us that working together is successful.

TR: If you could change one thing about RI immediately, what would it be?
Germ: To have Rotary run more like a business rather than a social services organization. Rotary needs to be aware that a major source of its income is membership dues. Rather than thinking we can always go for a dues increase, we need to be sure the services offered are those that the clubs and districts want and not what we think they want or need. When a business begins to see expenses increase without an increase in revenue, the business looks at ways to cut costs and not necessarily increase fees charged for services. A business always looks for better ways to do things. 



TR: Rotarians employ about 600 people to run the organization. You’ve met many staff members over the years. Characterize their efforts to a member who has no idea what RI does. Do Rotarians get value for their money?


Germ: Rotary staff support is essential for Rotary to do the work it does. Our outstanding staff works diligently to provide the tools needed for clubs to function better. This includes developing education materials, grant assistance, and stewardship guidance. The staff provides great value to our organization.

TR: If you were asked to describe five important, though not necessarily apparent, characteristics about yourself, what would you say?
Germ: My parents taught my brothers and me to be respectful of all people and to be honest and trustworthy in all aspects of life. I have been described as an out-of-the-box thinker, respectful, reliable, trustworthy, persistent, a motivator, a delegator, a confidant, and a team-builder.

TR: If you could have a personal conversation with every Rotarian, what would you say to each of them?
Germ: I would say thank you for what you have done; thank you for what you are doing; and thank you for what you are going to do to improve your community and change lives. I would also ask them to repay the opportunity someone gave them by asking each member to invite another person to become a Rotarian.

Wednesday, January 20, 2016

ROTARY SERVING HUMANITY

2016-17 THEME ADDRESS
John F. Germ, RI President-Elect

My friends, my fellow Rotarians, and my 2016-17 district governors:
Welcome to this International Assembly.
A Greek philosopher once wrote that great enterprises begin with small opportunities.
That sounds good, doesn't it?  But you know what?  I don't think it's true.
Great enterprises don't begin with small opportunities.  They begin with great opportunities.  It's just that great opportunities sometimes have a way of looking small.

Everyone of us here has been given a great opportunity.  And I'm not talking about the opportunity to serve as a district governor, or even the opportunity I've been given, to serve as RI president.  I'm talking about the great opportunity that first set us all on the patch to being here today.
That opportunity didn't come with the phone call saying, "Congratulations on your nomination."  It came in the form of a Rotarian saying, "I'd like to invite you to a meeting of my Rotary club."

I might have seemed like a small opportunity at the time.  But for whatever reasons, for each of us, it also seemed like a good idea: an interesting chance to meet some good people, and do some good work, and have some fun along the way.
Looking back on that now, I think every one of us recognizes the opportunity to serve through Rotary for what it truly is: not a small opportunity, but a great one - the great opportunity that led all of us to the great enterprise that is Rotary.
And what I want all of us to take from that - today, tomorrow, and in the year ahead - is that the only difference between a small opportunity and a great one is what you do with it.

All of us here in San Diego this week because we've been given an opportunity: an opportunity to motivate, inspire, and direct our clubs to better, more effective, and more ambitious service.

What we do with that opportunity - that's up to each of us.  But the decisions we make won't end with us.
The effects of our work, our decisions, will ripple out all over the world to people we'll never meet but whose lives Rotary will change.
Like the women who, right now, at this moment, are walking down dirt paths with water jars on their heads, on their way to get water from a polluted stream that's an hour away from their homes.  Next year, they won't have to carry that water anymore, because of the bore wells that Rotary will dig.
The girls in India, who have to leave school at age 12 or 13 because their school has no toilets.  next year, those girls won't have to leave, because of toilet blocks that Rotary will build.
And the children in Pakistan and Afghanistan, who live every day with the risk of being paralyzed by polio.  Next year, they won't have to worry about that, because we'll have vaccinated those children.  And soon, their countries and the whole world will be polio-free.
All of that can happen if you, and your club presidents and your Rotarians, recognize that the opportunity to join Rotary was the opportunity of a lifetime.  A great opportunity to change the world for the better, forever, through Rotary's service to humanity.

My friends, we are at a crossroads in Rotary.  We are looking ahead at year that may one day be known as the greatest year in Rotary's history: the year that sees the world's last case of polio.
We are so close - so much closer than we've ever been before.  All of South Asia, and all of Africa, are now polio - free.  Only two countries now share one remaining resevoir of the wild poliovirus.  And those two countries, Afghanistan and Pakistan, are giving it everything they have, with all of the help we can give them, to make this the year that polio finally falls.
We started this more than 30 years ago.  We've stuck with it, all this time.  And soon, $1.4 billion - and more than 2.5 billion immunized children later - we're going to finish it.
And when that moment comes, we need to be ready for it, to be sure that we are recognized for that success, and leverage that success into more partnerships, greater growth, and even more ambitious service in the decades to come.
We need to make sure that everyone knows the role that Rotary has played in making the world polio-free.  That is tremendously important.  Because the more we are known for what we've achieved, the more we'll be able to attract the partners, the funding, and most important of all, the members to achieve even more.
We're working hard to be sure that Rotary does get that credit.  But it can't all happen in Evanston.  We need you to get the word out through your clubs and in your communities about what Rotary is and what we do.
And we need to be sure that our clubs are ready for the moment that polio is finally eradicated.  So that when people who want to do good see that Rotary is a place where they can change the world, every Rotary club is ready to give them that opportunity.
We need clubs that can not only attract new members but engage them in Rotary service - clubs that are welcoming and active, that truly follow The Four-Way Test.  We can't forget that the reason Paul harris founded Rotary, 111 years ago, is still very much the reason people come to Rotary today; to find people who share their values.  People who believe in honesty, diversity, tolerance, friendship, and peace, and who believe that serving humanity is the best thing they can do with their time on this earth.
Whether we're reading to schoolchildren or building a blood bank or holding a dental clinic, even as we change and adapt and move forward, the essence of who we are and what makes a Rotarian doesn't change.
We're still based on a classification principle, because our diversity is our strength.  We still hang The Four-Way Test on the wall, because hight ethical standards don't ever go out of style.  And we still believe, as Paul harris believed, that serving humanity is the most worthwhile thing any one of us can do with our lives.
And that is why our theme in 2016-17 will be simply Rotary Serving Humanity.
My friends, we are doing so much incredible work already.  Judy and I have seen so much of it this year, all over the world.  But we could be doing so much more.
We need more willing hands, more caring hearts, and more bright minds to move our work forward.  We need clubs that are flexible, so Rotary service will be attractive to younger members and recent retirees and working people.  We need to seek out new partnerships, opening ourselves more to collaborative relationships with other organizations, to achieve even more together.  And we need to prioritize continuity in our leadership.  Because if there's one thing we've learned from polio, it's that if we what to go as far as we can, we all have to be moving in the same direction.  We have to be serving humanity.
We're all in this together.  We're all on the same tea.  if one of us scores, we all score. And we take just as much pride in an assist as we do in a goal.  Because in Rotary, we lead just like we serve: together.
So next year, we're not going to call ourselves first or best or world or any other kind of class.  We're just going to be a team: Team Rotary.  All 1.2 million of us, working together, serving together, striving together, for our shared goal of a better world.
And that's the way it should be.  But all of you here this week, you're different.  You're special. You're the best players we've got.  You're not just regular players.  You're the Rotary All-Stars.
And we need you - the best of the best - to lead our Rotarians in transforming the lives of the people who need our help the most.
They're waiting for you.  They're waiting for us - to dig the wells, to build the schools, to put an end to polio.
Every day that you serve in Rotary, you have the opportunity to change lives.  Those opportunities might look small.  Your might sometimes think that what you do doesn't matter.
But they're not small.  And everything you do matters, especially to the people you help and the people you love, in this generation and the next and the next.  Every good world you do in your life makes the world better for them all.
One good work at a time.  One day at a time.  That's all it takes.
That's what we're here for in Rotary.  That's what we do.  And next year, it's going to be your responsibility to make sure that we do it well.
To make sure that Rotary serves humanity as much as it can as well as it can, and that Rotary changes as many lives as it can for the better.
So that the mothers who are still carrying water on their heads, and the girls who have had to leave school, and every one of the world's children who are still at risk for polio, see their world change for the better next year because of Rotary Serving Humanity.
Because each one of you saw a great opportunity, and you took it.

Thank you


Monday, January 18, 2016

WHAT A WONDERFUL WORLD



โลกอันน่าภิรมย์

พวกเรามาจากคนละมุมโลก รวมตัวกันในรุ่นที่ ๒๐ ของกลุ่มนักศึกษาสันติภาพที่ศูนย์สันติภาพโรตารี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เราทุกคนพร้อมลุยแล้ว


นักศึกษาสันติภาพของโรตารีเหมือนกับโรแทเรียนในแง่ที่ว่าพวกเรามาจากหลากหลายประเทศ แต่มีเป้าประสงค์เดียวกันคือเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเรื่องสันติภาพ  นักศึกษาทั้งหมด ๒๑ คนมากจากประเทศต่าง ๆ กัน ๑๘ ประเทศ แต่ละคนทำงานที่ไม่เหมือนกันแต่มีความหวังในสิ่งเดียวกัน..โลกที่สวยงาม

พอมาถึงแผ่นดินไทย พวกเราก็ก้าวเข้าสู่ความเป็นครอบครัวเดียวกัน หลายคนอาจมาถึงสนามบินแล้วได้พบกับเจ้าภาพที่ปรึกษาที่เป็นโรแทเรียนที่คอยแนะนำให้เรารู้จักกับบ้านเมืองแห่งใหม่นี้  ตลอดอาทิตย์แรกเราจึงมีโอกาสเปิดหูเปิดตาทำความรู้จักกับเมืองใหม่ของเรา ทานอาหารแปลก ๆ และร่วมรับฟังปฐมนิเทศน์กับเจ้าภาพที่ปรึกษาของเรา  ท่านอดีตประธานโรตารีสากลพิชัย รัตตกุลได้กล่าวปาฐกถาและกล่าวต้อนรับพวกเราสู่ครอบครัวโรตารี ในการประชุมปฐมนิเทศน์เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ความรู้สึกของพวกเรานั้นใกล้ชิดเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกันแล้วตั้งแต่วันปฐมนิเทศน์ เรารู้สึกอบอุ่นกับบ้านใหม่ของเรา การต้อนรับของโรแทเรียนและรวมทั้งศูนย์ศึกษาสันติภาพแห่งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
พละกำลังและความทะเยอทะยานของเหล่านักศึกษาสันติภาพนั้นมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม พวกเราแต่ละคนได้ร่างปาฐกถาของตัวเองในประเด็นความขัดแย้งที่พบเห็นมาเพื่อนำเสนอกันในสัปดาห์แรกของการเรียนในประเทศไทย เพื่อสะท้อนถึงปัญหาที่ต่างจะต้องวิเคราะห์โดยให้กระจ่างตลอดเวลาสามเดือนของหลักสูตรนี้  งานที่จะนำเสนอนี้ได้แก่ ความขัดแย้งในส่วนต่าง ๆ ของโลก เช่น ความขัดแย้งในตีมอร์ตะวันออกและเคนยา  ความรุนแรงทางเพศในอินเดีย  ความสัมพันธ์เชิงเชื้อชาติในสหรัฐอเมริกา  และการแบ่งแยกชนกลุ่มน้อยในเยเมน ยังมีหัวข้อที่น่าสนใจอีกมากมาย  นักศึกษาแต่ละคนจะต้องนำเอาหัวข้อที่ตนเองสนใจมานำเสนอให้เพื่อนและคณาจารย์ที่ปรึกษาฟัง หัวข้อนี้อาจเกี่ยวข้องกับเขาโดยตรงหรือเกี่ยวข้องกับชุมชนที่เขาอยู่อาศัย ทั้งนี้เพื่อหาหนทางที่จะนำไปปรับปรุงคุณภาพชีวิตของเพื่อนร่วมโลกให้เป็นอยู่ดีขึ้น  บางหัวข้อที่รายงานไปแล้วน่าสนใจมากขนาดนักศึกษาติดใจนำมาคุยถกเถียงกันนอกห้องเรียนก็มี เช่น ประเด็นเรื่องการศึกษาสำหรับเด็กหญิงในอัฟกานิสถาน การให้ความช่วยเหลือเยาวชนในประเทศที่มีความซับซ้อนทางการเมืองและวนเวียนอยู่กับการใช้ความรุนแรงเช่นในปะเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกตะวันออก พวกนักศึกษาต่างใช้เวลาในทุกโอกาสที่เป็นไปได้เพื่อถาม แบ่งปันความรู้ความเห็น เสนอแนวทาง เรียนรู้และระดมความคิดกันในประเด็กนความขัดแย้งเหล่านั้น
ดิฉันเองรู้สึกลิงโลดด้วยเหมือนกันเวลาอยู่กับกลุ่มเพื่อนที่ต่างตั้งอกตั้งใจหาความรู้เพื่อนำไปสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นกับส่วนต่าง ๆ ของโลกตามที่พวกเขาจากมา  ดิฉันคิดว่าจะเรียกรู้สิ่งต่าง ๆ ให้มากที่สุดทั้งจากในห้องเรียนและนอกห้องเรียน  สำหรับคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการส่งเสริมงานสันติภาพหรือแก้ไขปัญหาความขัดแย้งตลอดชีวิตการทำงานมา ๕ ปีอย่างดิฉัน ดิฉันตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะเก็บบทเรียนต่าง ๆ ที่ได้จากในห้องเรียนและจากประสบการณ์ของเพื่อน ๆ 
ฉันอาศัยและทำงานอยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ที่นี่เป็นบ้านของฉันมานานห้าปีแล้ว  คนส่วนใหญ่เรียกประเทศนี้ว่า "หัวใจมืด" หรือ "เมืองหลวงแห่งการข่มขืนของโลก" เป็นชื่อเล่นที่เรียกประเทศหนึ่งที่น่าสยดสยองมาก ทั้งที่ประเทศนี้มีธรรมชาติที่สวยงามมาก  ประวัติศาสตร์เลือกและการทำสงครามกันตลอด ๒๐ ปีที่ผ่านมาทำให้มีคนสังเวยชีวิตไปมากกว่า ๕ ล้านคนยังไม่นับรวมผู้หญิงอีกนับไม่ถ้วนที่ถูกข่มขืน ฉันเข้าใจว่านี่เป็นที่มาของชื่อเล่นนี้  อย่างไรก็ตามชื่อเล่นนี้ตั้งขึ้นมาโดยปราศจากการมองภาพที่ใหญ่ขึ้นไปอีกของประเทศนี้และการตั้งชื่อเรียกแบบนี้ฉันคิดว่าไม่ยุติธรรมกับเจ้าของประเทศ  บางคนอาจเรียก DRC ที่ "มีแต่เรื่องธรรมดา ๆ"  ฉันอาศัยอยู่ในเมืองโกมาตั้งแต่ตอนที่กลุ่มกบฏเอ็ม ๒๓ เข้ามายึดพื้นที่ ๆ นี่ไว้  สิ่งที่หลงเหลืออยู่หลังการโจมตีทำลายล้างในภาคตะวันออกของประเทศนี้เป็นสิ่งที่รับไม่ได้จริง ๆ  แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่สายตาของฉันมองเห็นและนิยามประเทศนี้
ฉันเห็นอะไรหรือ  สิ่งที่ฉันพบเห็นคือชีวิตประจำวันและความพยายามใช้ชีวิตประจำวัน บางทีต้องพยายามแทบตายจึงได้ใช้ชีวิตแบบประจำวัน  ฉันเห็นเด็ก ๆ ทำหน้าที่ประจำวันของการไปโรงเรียนด้วยความพยายามอย่างที่สุด  ฉันเห็นนักเต้นข้างถนน ที่พยายามสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นด้วยศิลปะและการเต้นรำไปทุกที่ทั่วประเทศ  ฉันเห็นหญิงชาวบ้านแบกผักผลไม้ที่ปลูกได้ไปขายที่ตลาด ฉันเห็นผู้ประกอบการเปิดร้านค้าและจ้างคนทำงาน  ฉันเห็นนักร้องและนักแสดงทำงานสนับสนุนสันติภาพผ่านผลงานเพลงของพวกเขา  ฉันเห็นงานประจำปีจัดขึ้นที่เมืองโกมาเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพที่จัดขึ้นทุกปีและมีคนร่วมงานนับพันคน  ฉันเห็นคนหนุ่มสาวที่รวมตัวกันทำโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนบ้านเกิดของพวกเขา  และฉันก็ยังเห็นโรแทเรียนที่คอยบำเพ็ญประโยชน์พื่อชีวิตคนที่ดีขึ้นในชุมชนที่นี่   
ฉันได้เห็นควันเหนือยอดภูเขาไฟไนยีรากงโกซึ่งเป็นภาพที่อยู่ขอบเมืองโกมา  ฉันเห็นสีฟ้าสงบนิ่งของทะเลสาบคีวูที่ตอนย่ำค่ำมีเรือประมงมุ่งกลับเข้าฝั่ง  ฉันเห็นเทือกเขาเรนซอรีที่มีสีขาวของหิมะเคลือบอยู่บนยอดเขา  ฉันเห็นหกบินโฉบเฉี่ยวมวลพฤกษชาติและต้นมะนาวในสวน  ฉันเห็นทารกลิงกอริลลากอดปล้ำพี่น้องของพวกมันในป่าลึก
ส่วนหนึ่งของปาฐกถาของท่านอดีตประธานโรตารีสากลพิชัย รัตตกุล นำเสนอบทหนึ่งของเนื้อเพลงว่า "โลกนี้ช่างน่าภิรมย์ยิ่งนัก (What a Wonderful World)" จริงที่สุด โลกนี้ช่างน่าอภิรมย์ยิ่งนัก  ฉันไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่โหดเหี้ยมไม่ได้เกิดขึ้นแล้ว หรือชีวิตเป็นไปอย่างง่ายดายแล้ว แต่อันที่จริงพวกเรามาเรียนเรื่องสันติภาพและการขจัดความขัดแย้ง  แม้โลกนี้จะมีปัญหาวุ่นวายต่าง ๆ ที่กล่าวมา โลกนี้ก็ยังสวยงามน่าภิรมย์อยู่ดี  พวกเรา ๒๑ คนที่เพิ่งมาถึงกรุงเทพไม่กี่วันมานี้ เพื่อเข้าศึกษาตามโครงการสันติภาพของโรตารี ต่างมาเพื่อเพ่งพินิจด้วยความคิดบวกเพื่อหาทางทำให้โลกนี้เป็นโลกที่ดีขึ้น  ฉันได้รับการต้อนรับอย่างดีและได้รับกำลังใจจากเพื่อนรอบ ๆ ตัวฉัน และฉันอยากเห็นว่าอะไรจะขึ้นกับฉันบ้างตลอดเวลาสามเดือนจากนี้

แชนนอน โอฤกษ์ จากสหรัฐเมริกา
นักศึกษาสันติภาพโรตารี
มกราคม ๒๕๕๙ 

What a Wonderful World

Shannon picArriving from across the globe this week, the 20th class of Rotary Peace Fellows at the Rotary Peace Center at Chulalongkorn University has hit the ground running.  Like Rotary, we are a mixture of people from all over the world committed to advancing world understanding and peace. We are a diverse group of 21 individuals from 18 different countries, working in a range of fields but all with similar goals.
When we arrived in Thailand, we immediately stepped into a family.  Many of us were met by Rotary Host Counselors or other Rotarians when we arrived at the airport to help introduce us to Bangkok.  Our first week here has already been filled with exploring the city, dinners and an orientation with our host counselors.  Past Rotary International President Bhichai Rattakul spoke to us during the Rotary orientation this weekend, and welcomed us to the Rotary family.  Even before the formal orientation, we already felt at home in our temporary home of Bangkok among the support of Rotarians and the Rotary Peace Center at Chulalongkorn University.
There is an energy and an enthusiasm that is undeniable among the Fellows.  Each fellow gave a conflict presentation during our first week in Thailand to introduce the topic that they will reflect on and analyze during our three months in the program.  The presentations included a range of topics including land conflict in East Timor and Kenya, sexual violence in India, race relations in the United States and discriminated minorities in Yemen, among many other topics.  Each of the Fellows presented something that showed their passion for their work and also their passion for working with their communities to improve the lives of their fellow human beings.  The presentations sparked conversations among Fellows that continued outside the classroom on girls’ education in Afghanistan, how to support youth and the complexities of the cyclical violence in Eastern Democratic Republic of Congo, among others.  The Fellows take every opportunity to ask questions, share, engage, learn and brainstorm with each other.
I myself am thrilled to be among such a passionate group of individuals who are working hard to promote peace in a range of different ways around the world.  I think I will be learning as much outside of the classroom as I will inside the classroom.  As someone with no formal peace training who has been working in conflict-affected settings for the past 5+ years, and working on conflict-related issues for longer than that, I am excited to dedicate the next three months to learning about peace and conflict resolution both in the classroom and from the experiences of my fellow Fellows.
I live and work in the Democratic Republic of Congo (DRC), which I have called home for almost five years.  It is often called the “Heart of Darkness” and the “Rape Capital of the World.”  These are absolutely horrendous nicknames for such an incredibly beautiful place.  With a bloody history as well as recently over 20 years of war that resulted in the death of over five million people and the rape of countless women, I understand where these nicknames come from.  However, these are nicknames that miss the bigger picture and that do not do justice to the country.  One might call these nicknames the “simple story” of the DRC.  I was living in Goma when the M23 rebel group took over the city, and the destruction that armed conflict has caused in Eastern DRC cannot be ignored.  However, that is not what I usually see when I look at the country.
shannon pic 2What do I see?  I see people living their everyday lives and doing everyday things, sometimes making an incredible effort to do so.  I see children doing everything they can to go to school.  I see street dancers, exploring transformative peace through art and dance, performing all across the city.  I see women carrying the produce of their fields to the market.  I see entrepreneurs who open businesses and create jobs.  I see musicians and singers who promote peace and justice through their music.  I see the yearly peace festival which is organized in Goma each year that draws a crowd of thousands.  I see young people organizing in their home towns to improve their communities.  And I see Rotarians, who are also active in bettering their communities.
shannon pic 3I also see smoke coming from Mount Nyiragongo volcano which lies just beyond the edge of the city of Goma.  I see the quiet blue stillness of Lake Kivu with fishing boats returning home at dusk.  I see the Rwenzori mountains capped with snow.  I see birds flitting around the flowers and lemon trees in the garden.  I see baby gorillas playing and tumbling over each other in the jungle.
As part of his speech at our Rotary orientation, Past Rotary International President Bhichai Rattakul quoted the song “What a Wonderful World.”  And it is true, it really is a wonderful world.  That does not mean that horrible things do not happen or that life is easy.  After all, we are here to study peace and conflict resolution.  But despite all the terrible things that happen in the world, the world is also wonderful.  And the 21 Rotary Peace Fellows who just arrived in Bangkok are some of those in this world who focus on the positive while trying to make the world a better place.  I am encouraged and further motivated by the Fellows around me and I look forward to seeing what these next three months will bring!
Shannon O’Rourke, USA
Rotary Peace Fellow
January 2016 Session
SOURCE:https://rotarypeacechula.wordpress.com/2016/01/11/what-a-wonderful-world/

Friday, January 15, 2016

Rotary condemns deadly attack on polio security personnel in Pakistan


Rotary condemns deadly attack on polio security personnel in Pakistan
Rotary members and our partners in the fight to eradicate polio offer our heartfelt condolences and express a deep sadness in the wake of a horrific bomb attack in Quetta, Pakistan, that took the lives of at least 15 security personnel today.
This attack outside a polio immunization center is a stark reminder of the dangers faced by Rotary, our partners in the Global Polio Eradication Initiative, and the brave women and men on the front lines of our effort to protect all children from the paralyzing effects of polio. While the bombing will be investigated, one thing is clear: The security personnel who were killed died because their job was to protect teams of polio immunizers. We applaud the government’s commitment to continue the vaccination campaign throughout Pakistan, which is one of only two countries where the poliovirus is still endemic.
Today we pause to honor the sacrifice made by the heroic police officers killed. Yet our 30-year commitment to end polio remains steadfast. Even as we absorb the horror of this bombing, we are redoubling our efforts to educate families and build confidence in the safety of polio vaccines, and to engage community and religious leaders to support our campaign.
We are closer than ever to achieving a polio-free world. Vast improvements have been seen in Pakistan, with more than 80 percent fewer cases in the country than in 2014. In order to stop polio in Pakistan in 2016, we must ensure the safety of vaccinators to reach every child.
And today, our release of $35 million in grants for polio eradication signals our determination to finish the job to which thousands of courageous individuals have committed themselves, and to never forget the sacrifices made by those who lost their lives in this effort.

Saturday, January 9, 2016

ROTARY FRIENDSHIP EXCHANGE


ท่องเที่ยวไปกับโครงการแลกเปลี่ยนมิตรภาพของโรตารี
แคโรล เมทซ์เคอร์
สโมสรโรตารีอีคลับวันเวิลด์ ภาค๕๒๔๐

Carol Hart Metzker
เราไปเที่ยวประเทศกาน่าไม่กี่วัน แต่เราได้ความผูกพันที่ลึกซึ้ง มองเห็นประเทศนี้ด้วยสายตาของคนในท้องถิ่น ยอว์ อะโบอักเย เพื่อนใหม่ของเราได้พาเราเข้าไปในตลาดมาโคลาที่กว้างใหญ่ ที่นี่พ่อค้าแม่ค้าต่างกวักมือเรียกเราให้ดูเม็ดปาล์ม มะม่วงดิบ และแยมสีน้ำตาลที่เขาเสนอขายในตะกร้า และดูผ้าที่พับกองสูงเกือบติดหลังคา  ยอว์พาเราเดินผ่านบ้านที่ทรุดโทรมริมถนนในย่านเจมส์ทาวน์ ซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นย่านเก่าแก่ของอักกรา เมืองหลวงของประเทศกาน่า  คนที่นี่ไม่ค่อยยอมให้เราถ่ายรูป แต่เขาบอกเราเป็นภาษาท้องถิ่น จึงต้องให้ยอว์เกลี้ยกล่อมคนในครอบครัวหนึ่งยอมให้เราถ่ายภาพเขากำลังตำ "ฟูฟู" อาหารท้องถิ่นที่ทำจากมันสัมปะหลังผสมผักต่าง ๆ  
จากนั้นยอว์พาเราเดินลึกเข้าไปในหมู่บ้านชาวประมงในแถบท่าเรือ มีพวกผู้ชายกำลังซ่อมแซมตาข่ายและเรือไม้  ส่วนพวกผู้หญิงที่มัดลูกไว้กับหลังก็กำลังผัดอาหารในหม้อที่ตั้งบนกองไฟ ห้องน้ำสาธารณะทำขึ้นแบบรวก ๆ และมีร่องระบายน้ำถูกใช้เป็นห้องน้ำสำหรับทุกคนในหมู่บ้านนี้
นักเดินทางท่องเที่ยวไม่มีใครอยากเข้ามาเที่ยวบริเวณนี้ และถึงแม้ประเทศกาน่าจะมีชายหาดที่นักท่องเที่ยวนิยมแห่กันมาชื่นชมเพราะหาดทรายและแสงแดดที่สวยงาม ภายใต้รัฐบาลที่มีเสถียรภาพมั่นคงสูง และเป็นเมืองที่มีคนมาเที่ยวมากที่สุดของประเทศ แต่ที่นี่ก็ห่างไกลจากบ้านของฉันที่เวสต์เชสเตอร์ เพนซิลวาเนีย  ฉันและแคธรีนลูกสาวเดินทางมาที่กาน่า ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนมิตรภาพของโรตารี ซึ่งจัดให้โรแทเรียนได้พักร่วมกับสมาชิกสโมสรในต่างประเทศ ทำให้เราได้ประสพการณ์รู้เห็นสถานที่น่าตื่นตาตื่นใจและยังได้รับความอบอุ่นจากเพื่อนโรแทเรียนด้วย

เราจะรู้สึกเหมือนอยู่บ้านเมืองตัวเองนับตั้งแต่ก้าวแรกที่มาถึงสนามบินในอักกรา แคธลีน บูเฮนส์ สมาชิกสโมสรโรตารีอักกราเซาธ์ ยืนคอยต้อนรับเราที่สนามบินพร้อมกับชูป้ายคำว่า "อควาบา" (แปลว่ายินดีต้อนรับในภาษาท้องถิ่น) เธอทักทายเราด้วยรอยยิ้มและการสวมกอด ขับรถพาเราไปที่ ๆ พักที่สะดวกสบาย และอยู่พาเราเที่ยวตลอดทุกวันที่เราอยู่ที่นั่น เธอยังสอนให้เรารู้จักวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่  วันที่แคธลีไม่ว่างจริง ๆ เธอแนะนำเพื่อนสนิทคนหนึ่งให้มาคอยดูแลพาเราเที่ยว เขาคนนั้นชื่อ ยอว์ แล้วยอว์ก็เป็นเพื่อนสนิทกับเราได้ในเวลาสั้น ๆ

นับแต่แรกเริ่มตอนหลุดออกมาจากสนามบิน เราก็รู้สึกตื่นตาตื่นใจแล้ว  เมืองนี้มีการผสมผเสของความเก่าแก่และความทันสมัย ความจนกับความรวย  ท่ามกลางการจราจรที่แออัด เราเห็นสตรีที่แต่งกายด้วยผ้าผ้ายเดินขวักไขว่ ทุกคนผูกลูกน้อยไว้ข้างหลัง และอาจแบกภาชนะบรรจุถั่ว มะม่วงหรือถังใส่น้ำไว้บนศีรษะตัวเอง บนถนนสายหนึ่งเรียงรายด้วยอาคารทันสมัย บดบังแถวของร่มชายหาดที่ ๆ เป็นที่ตั้งของตลาดกลางแจ้ง  ผู้ชายหลายคนในชุดเสื้อคลุมแบบโบราณถือกระเป๋าเอกสารเดินเคียงข้างชายที่แต่งกายด้วยสูทนักธุรกิจ  ชีวิตในเมืองเป็นมาแบบนี้อย่างช้านานแล้ว  
รถพาเราออกจากถนนหลายเลนที่จอแจคับคั่ง ไปสู่ถนนดินลูกรังสายเล็กที่ผิวขรุขระที่แต่งขอบถนนด้วยพุ่มไม้ดอกและรั้วสูง  แล้วเราก็มาถึงบ้านของครอบครัวบูเฮนส์ที่ ๆ เราเรียกว่าบ้านตลอดห้าวันจากนี้ไป  เราพบสามีของแคธลีน เขาชื่อยอว์เหมือนกัน (เป็นประเพณีสำหรับชายชาวกาน่าที่คนเกิดวันเดียวกัน (วันในสัปดาห์) จะมีชื่อเหมือนกัน)  ยอว์คือชื่อของคนที่เกิดวันอังคาร
ทุกเย็นเราจะได้ร่วมรับประทานอาหารที่ทำเองในครอบครัวที่อร่อยมาก เขาทำซุปถั่วตามสูตรเฉพาะของครอบครัว  ลูกสาวของฉันช่วยจัดโต๊ะไปพลางคุยกับสมาชิกในครอบครัวบูเฮนส์ในเกือบทุกเรื่องภายใต้พระอาทิตย์นี้  เราคุยกันเรื่องความงดงามของธรรมชาติในกาน่า เรื่องเด็ก ๆ เรื่องพ่อแม่ และความสำคัญของน้ำซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่ามากสำหรับแคธลีน เพราะเมื่อตอนเป็นเด็กเล็ก เธอต้องเดินเท้าเป็นระยะทางไกลกว่าจะถึงบ่อน้ำ  เราคุยกันแม้กระทั่งเรื่องโรงศพไม้ของชาวกาน่า ซึ่งจะทำการสลักลวดลายและทาสีให้มีความหมายสอดคล้องกับผู้ตายด้วย ซึ่งอาจมีสัญลักษณ์พิิเศษของเขาหรือเธอ เช่นขวดโคคาโคล่า ปากกาบิ้ก  รถบรรทุก  วัว ปลา ไก่ที่กางปีกบิน เป็นต้น สัญลักษณ์ต่าง ๆ เหล่านี้เชื่อว่าจะช่วยปกป้องครอบครัวหลังจากที่มีคนตายไปแล้ว   
วันที่สองในกาน่า เราไปร่วมประชุมกับสโมสรโรตารีของแคธลีน  เมื่อคุณมาที่ต่างบ้านต่างเมืองอย่างนี้ มีอะไรหลายอย่างที่แตกต่างออกไปจากบ้านคุณ แต่มีสิ่งที่คุณจะคุ้นเคยได้คือโครงสร้างการประชุมของสโมสรโรตารี  ที่นี่ก็เช่นกันเรามีช่วงเวลามิตรภาพสังสรรค์ก่อนการประชุมอย่างเป็นทางการจะเริ่มขึ้นด้วยการสวดหรือร้องเพลงจากหนังสือเพลงโรตารี  ชาร์ลส ควิสท์ ผู้ที่วางแผนการเดินทางให้กับเราได้เข้ามาทักทายและบอกให้ฉันขึ้นกล่าวแนะนำตัวและแนะนำลูกสาวอย่างสั้น ๆ  ความสนิทสนมค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตลอดทางที่เราถูกพาไปเที่ยวในตลาดและหมู่บ้านชาวประมงโดยการนำของยอว์เพื่อนสนิทของครอบครัว ทำให้เราได้ค้นพบสิ่งแปลกใหม่มากมาย  วันหนึ่งที่น่าจดจำมากคือวันที่เราเดินทางออกนอกเมืองอักกราเพื่อไปเยี่ยมบ้านเกิดของแคธลีนที่อยู่บนเขาที่ปกคลุมไปด้วยต้นปาล์ม ไผ่ และไม้ยืนต้นสูงใหญ่เสียดฟ้า พื้นที่บริเวณนี้เขียวชอุ่มไปทั่วด้วยเฉดสีเขียวและเทาที่แตกต่างกัน ดูคลื้มไปอย่างน่าอัศจรรย์ใจ  ถนนที่ปราศจากรั้วกั้นวกวนไปมาตามสันเขา จนในที่สุดเราผ่านโรงเรียนที่แคธลีนเคยเรียนตอนเป็นเด็ก  เธอชี้ให้เห็นเส้นทางเดินดินลงเขาที่เธอและเพื่อน ๆ ใช้เดินไปเพื่อตักน้ำ เป็นงานที่อาจจะน่าเบื่อแต่เธอบอกว่ามันก็ช่วยให้เธอออกห่างจากแม่บ้านเจ้าระเบียบและเป็นโอกาสที่จะสนุกับเพื่อน ๆ
เราหยุดรถเพื่อไปร่วมงานเลี้ยงวันเกิดเพื่อนคนหนึ่งของแคธลีน จากนั้นพวกเรานั่งรถต่อไปยังสวนพฤกษชาติอาบูรี ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของเมืองนี้ที่แคธลีนชอบ  เซอร์วิลเลียม ครอว์เธอร์ อพยพจากสก๊อตแลนด์มาอยู่ที่นี่และริเริ่มปลูกต้นไม้ต่าง ๆ ในสวนแห่งนี้ เขาเป็นทวดของเธอ ระหว่างทางเดินขึ้นเขามีฝนตกลงมา แต่ทิวทัศน์และความเป็นมิตรที่ได้รับทำให้เรารู้สึกสดชื่นตลอดเวลาที่เดินทางกลับ
ตอนใกล้จะร่ำลากลับบ้าน เราได้มอบของขวัญให้กับครอบครัวที่ให้การดูแลเรา เราได้ยินมาว่าครอบครัวบูเฮนส์ชอบจัดเลี้ยงบาบีคิว เราจึงมอบผ้ากันเปื้อนที่มีโลโก้โรตารีให้กับยอว์ เขารีบนำมันมาใส่ให้ดูด้วยท่าทางลิงโลด แต่เขาผูกเชือกด้านหลังไม่ได้เพราะตัวเขาใหญ่เกินไป "ไม่เป็นไร ผมไม่ค่อยได้เป็นคนปรุงอาหารอยู่แล้ว"  เขากล่าว แต่ก็ยังคงใส่ผ้ากันเปื้อนที่ผูกไว้เฉพาะที่คอเท่านั้นตลอดเย็นวันนั้น  เวลาเดินปลายผ้ากันเปื้อนและเชือกสบัดไปมาตลอด เราแยกกันแต่ไม่ได้ร่ำลา เพียงกล่าวสั้น ๆ ว่า "หวังว่าจะได้พบคุณอีกเร็ว ๆ นี้" และพวกเราก็มีแผนจะพบกันที่การประชุมใหญ่โรตารีสากล  ระหว่างทางไปที่สนามบินผ่านถนนที่จอแจสายเดียวกับที่พาเราไปบ้านของครอบครัวบูเฮน ฉันคิดในใจกับตัวเองถึงความแตกต่างระหว่างกาน่ากับเพนซิลวาเนีย และฉันก็นึกถึงคำพังเพยบทหนึ่งที่ว่า "ถนนสายที่ไปบ้านเพื่อน ไม่เคยยาวไกลเกินไป"


TRAVEL ON A ROTARY FRIENDSHIP EXCHANGE
CAROL METZKER
Rotary E-Club of One World D5240

We’d been in Ghana for only a few days, but already we’d had an intimate, local’s eye view of the country.  Our new friend, Yaw Aboagye, led us deep into the aisles of the huge Makola Market, Where vendors beckoned us to their baskets of red palm nuts, green mangoes, and brown yams, and to their stacks of batik fabric that reached toward the tin roof.  He took us past dilapidated homes on a street in Jamestown, the old colonial section of Accra, the capital.  People in this area often refuse to be photographed, or “snapped,” but using a local dialect, Yaw persuaded a family to let us get a shot of them pounding fufu, a traditional dough of cassava and plantations.

He then escorted us even farther off the beaten path, through a fishing village at the harbor.  There men repaired nets and wooden fishing boats, and women carried babies on their backs while stirring tiny pots over open fires.  A crude public facility and an open sewer gutter served as toilets for all the village inhabitants.
Most vacations wouldn’t want to venture to this neighborhood.  And though Ghana is a popular tourist destination with sunny beaches and stable political environment, even the more heavily traveled parts of the country are a world away from my home in West Chester, Pa.  But my daughter, Kathryn, and I arrived in Ghana on a Rotary Friendship Exchange, a program that enables Rotarians to stay in the homes of Rotary club members overseas.  That made all the difference, allowing us to experience the most exothic sites while taking comfort in the fellowship of Rotary friends.
We were made to feel at home the moment we arrived at the Accra airport.  Waiting for us at the doors, which were decorated with signs reading “Akwaaba” (“Welcome” in the local language), was Kathleen Boohene, of the Rotary Club of Accra-South.  She greeted us with smiles and hugs, drove us to her confortable house, and spent several of the following days ferrying us around town and teaching us about the area’s culture.  When Kathleen absolutely had to be at work one day, she introduced us to here close family friend Yaw, who quickly became our friend too.
Even that initial drive from the airport was eye-opening – hodgepodge of the perennial and the modern, the poor and the rich.  Women in cotton dresses weaved through the bumper-to-bumper traffic, almost all of them with babies on their backs and gigantic platters of peanuts, mangoes, or plastic bags of drinking water balanced on their heads.  In one city block, a modern office building towered over a field of beach umbrellas, the only shelter for an outdoor market.  Men with briefcases and traditional-style tunics walked alongside men in Western-style business suits.  The city reverberated with activity and life.
We traveled from the busy multilane streets to bumpy red-dirt roads to a quiet gravel lane bordered with flowering trees and tall gates.  At last we arrived at the Boohene family’s house – the place we would call home fore the next five days.  There we met Kathleen’s husband, also name Yaw.  (It’s traditional for male Ghanaians born on the same day of the week to share the same name; Yaw is the name given to Thursday babies.)

Nearly every night, we were fed a delicious home-cooked meal, including a ground-nut soup made from a family recipe.  My daughter and I helped set the table and was the dishes, all along talking to the Boohenes about nearly every subject under the sun.  We talked about Ghana’s natural beauty, our children, our parents, and the importance of water – so dear to Kathleen because as a schoolgirl she had to walk long distances to the nearest well.  We talked about Ghana’s wooden coffins, many sculpted and painted t resemble items that were meaningful to the deceased: a Coca-Cola bottle, an Bic pen, a truck, a cow a fish, or an chicken with outstretched wings. Symbolizing protection of the family beyond the end of life.

On our second day in Ghana, we attended a meeting of Kathleen’s club.  When you’ve just landed in a foreign country, where many things are wildly different, there’s something wonderfully familiar about the structure of a Rotary club meeting.  After some time for fellowship, the meeting started with an invocation and a tune from the Rotary songbook.  Charles Quist, who helped arrange our trip, came to greet us, and I was asked to give a brief speech introducing myself and my daughter.
The camaraderie fortified us for the day’s adventure to the market and fishing village with Yaw, the family friend, and for our many other explorations.  Once memorable day, we ventured out of Accra, driving with Kathleen north to the region where she grew up.  The hilly area, covered in palms, bamboo, and soaring Sky God trees, was misty and mysterious looking, with every shade of green and gray imaginable.  The road twisted and turned along sheer ridges without guardrails and eventually passed the school that Kathleen attended as a young girl.  She pointed out a dirt path down a steep hill where she and her friends had walked each day to gather water.  It was a chore, she explained, but it was also an opportunity to get away from her strict headmistress and have some fun.
We stopped for a birthday luncheon for one of Kathleen’s school friends, and then we all visited the Aburi Botanic Gardens, a top tourist draw with special ties for Kathleen.  Sir William Crowther, an immigrant from Scotland who planted many of the gardens’ trees, was her great-grandfather.  It rained on us during our short hike, but the views and good company had us all feeling quite exhilarated by the time we headed home.

Toward the end of our visit, we presented gifts to our host family.  We had heard that the Boohenes enjoyed barbecues, so I gave Yaw an apron emblazoned with a Rotary logo.  He put it on immediately and grinned.  A large man, he couldn’t begin to wrap it around his middle or ties it at the back.  “No problem.  I never liked to cook on a grill anyway,”  he said, then continued to wear the apron around his neck for the rest of the evening, its edges and strings flapping as he walked.
We parted not with goodbyes, but with “Hope to see you soon” and plan to meet at the RI Convention.  As we drove to the airport, back along the same side streets and bustling avenues that had brought us to the Boohene home, I thought about the differences between Ghana and Pennsylvania, and I recalled a familiar proverb: The road to a friend’s house is never long.
 
Interested in Rotary’s Friendship Exchange program?  Learn more at www.rotary.org/rfe  

SECRET OF TELLING SECRET

บอกความลับของคุณในสโมสร
ดัชแชน "ดุด" แองกัส
สโมสรโรตารีลอสแอลทอส แคลิฟอร์เนีย

วันสุกดิบก่อนวันคริสต์มาสปี พ.ศ.๒๕๓๑  ผมไปรับสตีฟ ลูกชายจากสนามบิน เขาเป็นคนดูแลตัวเองดี แต่ออกจะผอมไปภายใต้สีผิวที่ดูซีด  ผมไม่ได้พูดอะไร แต่เช้าวันคริสต์มาส ผมถามเขาว่า "ลูกเป็นอะไรหรือเปล่า"
เขาตอบว่า "ไม่ค่อยดีครับ ที่จริงรู้สึกจะแย่มากเลย" ตอนแรก เขาบอกว่าเขาเป็นโรคคาโปซี่ซาโคมา ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของคนเป็นโรคเอดส์  ดูเอาเถิดครับเป็นขนาดนี้แล้วยังไม่ยอมใช้คำพูดตรง ๆ  แต่สุดท้ายเขาก็สารภาพว่า "ตอนอยู่ที่ยูซีแอลเอ เขาไปติดไวรัสมา"

ผมถึงได้รู้ว่ามันคือไวรัสเอดส์
ตอนนั้นพวกเราทุกข์ใจกันสาหัสมาก  สำหรับผมเองถึงกับอยู่ในอาการซึมเศร้าไปหลายเดือนเลย  โอ้พระเจ้า! ผมเบื่อชีวิตอยู่ตลอดเวลา  แต่ก็ยังพอมีความพยายามที่จะปิดบังความซึมเศร้า ซึ่งก็ต้องฝีืนจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด  พอมาได้คิดทบทวนอย่างรอบคอบแล้ว ก็บอกกับตัวเอง "ถึงเวลาต้องทำอะไรสักอย่าง"  ผมตัดสินใจเอาเรื่องนี้ไปเล่าให้เพื่อนสมาชิกฟังในสโมสร ผมเพียงอยากรู้ว่าเราจะทำอะไรเพื่อให้ความรู้และเตื่อนคนอื่น ๆ ได้อย่างไรบ้าง
พญามัจจุราชกำลังจะเอาชีวิตลูกชายผมไป หลายคนอยากปกป้องเขา แต่ด้วยความรู้สึกอับอาย สตีฟจึงไม่อยากจะเข้าหน้าคนมากนัก ผมเองก็ไม่ละความพยายามที่จะเกลี้ยกล่อมเขา ให้เหตุผลว่าหากเราสามารถช่วยชีิวิตคนอื่นได้อีกสักคนสองคนมันน่าจะดีไม่ใช่หรือ ผมบอกว่า "ใครก็ตามที่ห่วงใยเรา เขาจะต้องสนับสนุนความคิดนี้"  สุดท้ายเขายอมรับในความความคิดนี้
วันที่ผมจะไปพูดให้เพื่อนสมาชิกฟัง ผมรู้สึกค่อนข้างว้าเหว่ ไม่รู้ว่าผลออกมาจะเป็นอย่างไร แต่ผมคิดว่าผลจะเป็นอย่างไรผมก็ไม่แคร์ ผมแค่อยากให้พวกเขารับรู้เรื่องของลูกเท่านั้น
ผมเคยเป็นนักกีฬามาก่อน ชอบคิดอะไรเป็นเหมือนเกม และนี่ก็เป็นวันประลอง ผมเตรียมเล่นเกมนี้มาอย่างดี  ไม่ต้องการให้ตอนไหนของเกมหลุดไปเหมือนเป็นบทละครน้ำเน่า  แต่อยากให้ดำเนินไปแบบการเล่าเรื่องและจบลงด้วยการถามความสนใจว่ามีใครอยากจะร่วมตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจเพื่อต่อสู้กับโรคเอดส์บ้าง
ผมลุกขึ้นยืนพูด แล้วก็แปลกใจตัวเองที่พูดได้โดยไม่ติดขัดแม้ในช่วงที่พูดถึงสตีฟ ไม่มีอาการปากคอสั่น ตอนที่ผมบอกทุกคนว่าผมมีลูกที่ติดโรคเอดส์ ทุกคนอ้าปากค้าง เพราะเพื่อนรุ่นเดียวกันที่มีลูก ไม่มีใครมีลูกที่เป็นเอดส์  สังคมยอมรับไม่ได้ ก็นั่นแหละครับเรื่องแบบนี้ต้องช็อกพวกเขาเป็นธรรม ผมเห็นอาการของพวกเขาจากสีหน้าที่แสดงออก
ถึงขั้นนี้แล้วหากยังไม่มีใครยอมออกมาอาสาทำโครงการนี้ ผมคิดว่าผมไปตายดีกว่า  แต่ก็ต้องขอบคุณพระเจ้าที่พวกเขาตอบรับดีครับ  พวกเขาเข้าหาผมพร้อมกับน้ำตา มีบุคคลสำคัญในสโมสรเสนอให้ความช่วยเหลือ ซึ่งรวมถึงอดีตนายกในสโมสรหลายท่าน  มีอยู่ท่านหนึ่งเป็นคนที่มีทัศนคติเชิงอนุรักษ์มากขนาดเคยทำรูปปั้นกษัตริย์อัตติลา (บางทีเรียกว่าอัตติลาเดอะฮัน ที่เป็นมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรฮันหรือยุโรปโบราณ) ในท่าของเทพีสันติภาพ
เรื่องที่น่าอัศจรรย์ที่สุดคือ การบอกเล่าความลับที่เก็บอัดอั้นมานานของผมกลายเป็นการยกภูเขาออกจากอกในเกือบทันที  ผมรู้สึกโปร่งโล่งขึ้นมาก ไม่เคยคิดเลยว่าคนกลุ่มจะต้องจับกลุ่มกันทำอะไร แต่ไม่เพียงแต่สโมสรโรตารีลอสแอลทอสจะจัดตั้งเป็นโครงการเอดส์อย่างเป็นทางการ ผลที่ตามมาคืออาการซึมเศร้าผมหายไปด้วย ผมใช้เวลากว่า ๖ เดือนในการซ่อนอาการเหล่านี้ เวลา ๖ เดือนที่ต้องแบกความทุกข์ที่บอกใครไม่ได้นี้เอาไว้  ไม่มีใครควรจะต้องแบกรับความเจ็บปวดอะไรไว้คนเดียวนานขนาดนั้น  คนที่ป่วยด้้วยโรคเอดส์เองหรือคนที่เขารักมากที่สุดก็ไม่ควรต้องแบกความทุกข์นั้นไว้  สตีฟตายในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๒ หกเดือนหลังจากผมเปิดใจเกี่ยวกับความลับนั้น  จากนั้นก็มีเพื่อนร่วมสโมสรที่มีชื่อเสียงมากยอมลุกขึ้นยืนและประกาศว่าเขาติดเชื้อเอดส์เช่นกัน ตอนนั้นเหมือนข้ามพ้นข้อสงสัยเกี่ยวกับจะตั้งโครงการนี้ดีหรือไม่  ความทุกข์ที่เกิดขึ้นได้พิสูจน์ให้พวกเราเห็นว่านี่เป็นสิ่งจำเป็น
หลังจากที่ผมเล่าเรื่องของตัวเอง เพื่อน ๆ หลายคนขึ้นมาที่แท่นปาฐกและบอกผมว่านี่เป็นการแสดงความกล้าหาญอย่างที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อน  ผมพูดว่า "ใครก็ตามที่มีชีวิตจิตใจ ย่อมทำแบบเดียวกัน" พวกเขาไม่ค่อยอยากเชื่อประโยคนี้ แต่มันเป็นความจริง - รายงานโดยสตีฟ อัลมอนด์   

Dude Angius (middle) whose bravery help safe many AIDS victims
TELL YOUR CLUB YOUR SECRET
DUSHAN “DUDE” ANGIUS
Rotary Club of Los Altos, Calif.

On Christmas eve of 1988, I picked up my son Steve at the airport. He always kept himself in good shape, but he was so skinny it was really beyond the pale.  I didn’t say anything, but Christmas morning I asked him, “Are you right?”
He said, “No, actually, I’m not well at all.”  At first, he said he had Kaposi sarcoma, which is manifestation of AIDS.  You see, he didn’t want to say the word.  Finally he said, “When I was at UCLA I got this virus.”

Now I know it was AIDS.
We were devastated.  And in my case, it was followed by months of depression.  Oh, my God. I was so tired all the time.  I was trying to hide my depression, too, and that was killing me.  And as I thought through it, I said, “I’ve got to do something with this.”  I decided to tell my Rotary club.  I wanted to see if we could get an education and awareness program going. 
My kids, were dead set against it.  They wanted to protect Steve.  His concern was the stigma associated with AIDS.  But I kept going back to him.  I said, “If we could save a life or two, wouldn’t that make it worth it?”  I said, “Anyone who really cares about us will support us.”  He finally bought into the idea.
The day I was going to tell the club, it felt a little lonely.  I didn’t know what the response would be.  But here’s the thing: I didn’t care.  I had to tell them about my son.
Because of my background in athletics, I sort of treated it as “game day.”  I knew what the game plan was.  I didn’t want to go into some big melodramatic scene.  I just wanted to tell my story and ask if there would be interest in setting up an AIDS task force.
I got up and spoke, and really I’m kind of amazed that I didn’t choke up when I mentioned Steve’s name.  No quivering chin.  When I told everyone that I had a son who had AIDS, there was a collective gasp.  Guys like me don’t have kids who get AIDS.  That was the perception.  So, yeah, I guess that shocked them.  I could see it in their faces.

If no one had come forward to volunteer for the task force, I think I would have dies.  But thank God, people did.  They came up to me in tears.  We had some very important people step forward, including most of the past presidents of our club.  One of them was so ultra-conservative he made Attila the Hun look like a flaming liberal.
And you know the amazing thing?  Telling that secret got rid of my depression almost immediately.  What a relief it was!  I don’t think I ever told that group what they did.  Not only did they launch the Los Altos Rotary AIDS Project.  They eliminated my depression.  I’d gone six months trying to hid those feelings, six months carrying around this secret.  No one should have to carry something that heavy alone – not those afflicted by AIDS or their loved ones.  Steve died in November 1989.
Six months after I told my story, another member of our club, a very popular member, stood up at a meeting and announced that he had AIDS.  That really won over a lot of the doubting Thomases.
After I told my story, a lot of people came up to the podium and told me what a gutty call it had been.  I said, “Anybody with a soul would have done the same thing.”  They didn’t believe me.  But it’s true.  – As told to Steve Almond

Learn more about the Los Altos Rotary AIDS Project at www.rotaryaidsproject.org
The Rotarian Action Group for Family Health & AIDS Prevention is also working on this issue.  Find out more at www.rffa.org