Tuesday, December 24, 2013

CK HUANG's Acceptance Speech

Gary C.K. Huang, RI President 2014-15


สุนทรพจน์ ตอบรับผลการสรรหา
โดย แกรรี่ ซี เค ฮวง ประธานโรตารีสากลปี ๒๕๕๗-๕๘

ผมรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งในการตอบรับผลการเสนอชื่อบุคคลที่จะทำหน้าที่ประธานโรตารีสากลสำหรับปีโรตารี ๒๕๕๗ - ๕๘
โรตารีให้โอกาสผมในการปฏิบัติหน้าที่อันทรงเกียรติมาโดยตลอด ผมได้รับเกียรติครั้งแรกเมื่อ ๓๗ ปีที่แล้วเมื่อได้รับการยอมรับให้เข้าเป็นสมาชิกสโมสรไทเปหลังจากที่ถูกปฏิเสธถึงสามครั้ง เพราะสโมสรของผมมีความเข้มงวดในกฎเรื่องข้อจำกัดประเภทอาชีพ กระนั้นก็ตามก็ย่อท้อที่จะขอให้สโมสรพิจารณาการสมัครของผม และผมดีใจที่ไม่ละความพยายามในตอนนั้น  มิเช่นนั้นแล้วก็คงไม่มีโอกาสได้รับเกียรติในวันนี้
ผมได้เฝ้าดูการเติบโตของโรตารีในไต้หวัน และทำงานร่วมกับเพื่อนโรแทเรียนอย่างหนักเพื่อผลที่เกิดขึ้นนี้  ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๓๙ - ๔๐ ตอนที่ผมเป็นผู้ว่าการภาค ๓๔๕๐ ผมก่อตั้งสโมสรใหม่ทั้งสิ้น ๑๙ แห่งในไต้หวันและมาเกา  ผมยังได้แต่งตั้งผู้แทนพิเศษผู้ว่าการภาคอีก ๑๕ ท่านในปีต่อมา และเราก็ร่วมทำงานกันมิได้หยุด เรายังคงพยายามรับสมาชิกใหม่และก่อตั้งสโมสรใหม่เพิ่มขึ้น นี่เป็นผลจากความศรัทธาในโรตารีและปรารถนาที่จะแบ่งปันเกียรติแห่งการเป็นโรแทเรียนให้คนอื่น ๆ ต่อไป

องค์กรโรตารียังได้ให้โอกาสผมในการปฏิบัติหน้าที่นอกอาณาเขตประเทศตัวเอง โดยผมได้เข้าร่วมก่อตั้งสโมสรโรตารีในประเทศมองโกเลียและจีน ด้วยเหตุนี้ผมจึงใคร่เชิญชวนทุก ๆ ท่านได้ร่วมกับผมในการนำเอาหลักการบำเพ็ญประโยชน์ข้ามพรมแดนขยายเครือข่ายขององค์กรโรตารี เพราะผมเชื่อว่าเครื่องข่ายของโรตารีที่เข้มแข็งนั้นจะยังประโยชน์ที่แท้จริงให้เกิดขึ้นกับโลกของเรา.

โชคดีที่โรตารีมีผู้นำที่เข้มแข็งและมีวิสัยทัศน์กว้างไกล และผมหวังว่าโอกาสแห่งความความสำเร็จนั้นรอคอยเราอยู่ข้างหน้าเพราะสิ่งที่บรรดาผู้นั้นเหล่าสร้างไว้ให้  เรารู้ว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นได้อย่างไร หนทางแห่งการเปลี่ยนเปลี่ยนได้เปลี่ยนไป มันเปลี่ยนเร็วกว่าที่เคยเป็น แต่ขอให้พวกเราไม่ต้องกลัว เพราะเรามิได้ปรับตัวเองให้เปลี่ยนแปลงไปตามความรวดเร็วของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป  แต่ความจริงแล้วเราปรับตัวให้เข้ากับอนาคตตามแผนยุทธศาสตร์ของเรา  เราเพ่งการทำงานไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจน และพวกเราทำงานกันด้วยแรงบันดาลใจ

เพื่อนรักทั้งหลาย ผมเชื่อว่าหน้าที่ของโรตารีสากลนั้นเข้าใจได้ง่ายมาก นั่นคือช่วยให้สโมสรโรตารีต่าง ๆ เป็นสโมสรที่ดีที่สุดเท่าที่แต่ละแห่งจะเป็นได้  และหน้าที่ของประธานโรตารีสากลก็คือ การให้หลักประกันว่าโรตารีสากลจะมีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ และสามารถทุ่มเทกำลังเพื่อสนับสนุน (การทำงานของ) โรแทเรียน ในทุกหนทางเท่าที่เขาจะทำได้ 

ปราชญ์ขงจื้อกล่าวไว้ว่า "จุดเทียนเพียงเล่มเดียว ย่อมดีกว่าก่นด่าความมืด" ผมเชื่อว่าชาวโรแทเรียนยึดคติธรรมดังนี้ และเมื่อเราเผชิญหน้ากับปัญหาใด ๆ ในโลกนี้ เราย่อมไม่ยอมนิ่งดูดาย แต่จะวิ่งเต้นหาทางออกให้ได้

ผมได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งที่ยึดหลักการแนวเดียวกันนี้ หนังสือเล่มนี้ชื่อ "แก้ไข ไม่แก้ตัว"  นี่จะเป็นหลักการที่ผมยึดในการทำงานให้กับพวกท่านเพื่อช่วยเหลือชุมชนของพวกเรา  ผมยังเชื่อว่าวันที่ดีที่สุดของโรตารียังมาไม่ถึง และอีกไม่นานเราจะต้องภาคภูมิใจในองค์กรของเรายิ่งกว่าที่เคยภาคภูมิใจมาแล้ว เพราะเราจะเติบโตขึ้นกว่าเดิม กระฉับกระเฉงกว่าเก่า และเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น นั่นหมายความว่าเราจะเข้าถึงผู้ด้อยโอกาสมากขึ้นและทำให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้นทุก ๆ วัน และผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับใช้พวกท่านด้วยทั้งหมดของความตั้งใจที่ผมมีตลอดปีโรตารี ๒๕๕๗ - ๕๘ และร่วมกันทำให้โลกของเราเจิดจรัสยิ่งขึ้น
ของคุณ


แกรี่ ซี.เค. ฮวง

ประธานโรตารีสากลรับเลือก (๒๕๕๗-๕๘)
จากสโมสรโรตารีไทเป ประเทศไต้หวัน

ฮวงกำหนดวิสัยทัศน์ของเขาคืการเพิ่มสมาชิกให้มากกว่า ๑.๓ ล้านคน
"เพื่อเพิ่มสมาชิกของเรา เราต้องข้ามพ้นเขตแดนของศักยภาพของการเพิ่มสมาชิก เช่น จีน มองโกเลีย และเวียดนาม"  "ผมจะเน้นไปที่การเพิ่มจำนวนสมาชิกเพศหญิงและสมาชิกรุ่นหนุ่มสาว ผมจะกระตุ้นให้อดีตโรแทเรียนกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวเราอีกครั้งหนึ่ง"
ฮวงเป็นประธานบริษัท Taiwan Sogo Shinkong Security Co., Ltd., Shin Kong Life Real Estate Service Co., และ PS Insurance Agency, Inc. และเป็นผู้อำนวยการสมาคม Taipei Life Line Association.
เขาเคยเป็นประธานบริษัท Malayan Overseas Insurance Co. และเลขาธิการก่อตั้ง Council for Industrial and Commercial Development ในไต้หวัน
เขาเป็นโรแทเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๙  เคยเป็นรองประธานโรตารีสากล  กรรมการบริหารโรตารีสากล  กรรมการทรัสตีมูลนิธิโรตารี  ผู้ว่าการภาค  ผู้ฝึกอบรมผู้ว่าการภาครับเลือก
นอกจากนั้น ยังเป็นประธานจัดการประชุมโรตารีโซนอินสติติวท์ที่ฮ่องกง (ปี ๒๕๔๓) มนิลา (๒๕๔๕) และสิงคโปร์ (๒๕๔๖) เขายังเคยเป็นประธานสภาอดีตผู้ว่าการภาคของไต้หวันอีกด้วย
ฮวงก่อตั้งสโมสรใหม่ ๑๙ สโมสรในสมัยที่เขาเป็นผู้ว่าการภาค ๓๔๕ ซึ่งครอบคลุมฮ่องกง  มาเก๊า  และไต้หวัน ในปี ๒๕๓๙ - ๒๕๔๐
ฮวงได้รับรางวัล National Civic Service Award ของ Federation of Non-Profit Associations และรางวัลบริการดีเด่นจากกระทรวงมหาดไทยของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และยังได้รับรางวัลบริการเหนือตนจากโรตารีสากล และประกาศเกียรติคุณการบำเพ็ญประโยชน์ดีเด่นจากมูลนิธิโรตารี
ฮวงและภริยา คอรินนา เหยา มีบุตรธิดารวม ๓ คน
(ดัดแปรงจาก นิตยสารโรตารีประเทศไทย ฉบับเดือนกันยายน/ตุลาคม ๒๕๕๖)

Acceptance remarks
Gary C.K. Huang 2014-15 RI President
I am greatly honored and delighted to accept this nomination to serve as the president of Rotary International for the year 2014-15.
Rotary has continuously provided me with honors to serve. My first honor came 37 years ago, when I was finally allowed to join Rotary Club of Taipei, after being rejected three times. Although my club had a strict quota on members’ classification, I insisted on joining and I am very glad I did not give up. Otherwise I wouldn’t have had this honor today.
I have witnessed tremendous growth of Rotary in Taiwan, working hard over these years together with my fellow Rotarians. During 1986-87 when I was a district governor of D3450, I chartered 19 new clubs in Taiwan, Hong Kong, and Macau. I also created another 15 new Rotary clubs as district governor’s special representative in the following years, and we never stopped. We are still working on recruiting members and establishing new clubs. This is because we believe in the spirit of Rotary, and would like to share the honor of being a Rotarian.

Rotary also gave me the honor to serve beyond my country’s borders. I helped establish clubs in Mongolia and China. I would like to ask for all of you to join me in looking beyond borders and extending the network of Rotary. I am confident that as the network of Rotary becomes stronger, the world will be a better place for all of us.

We have been fortunate in Rotary to have had many years of strong and visionary leaders and I look forward to the opportunity to build upon their success. We know how to change ourselves to become better. The pace of change has changed, and it’s getting faster. However, there is nothing to fear, since we are not just adapting to the fast- changing environment but we are actually shaping our future through our strategic plan. We are focused, our goals are clear, and we are highly motivated to serve.
My friends, I believe that the job of Rotary International is very simple; and that is helping every Rotary Club to be the best it can be. And the job of an RI president is also simple: ensuring that RI is strong, efficient, effective, and dedicated to supporting Rotarians — in every way that they serve.
An ancient Chinese scholar, Confucius, said “It is better to light up a single candle than to sit and curse the darkness.” Rotarians have always believed this to be true. When we are confronted by the world’s problems, we are not paralyzed by despair, we are called to action.
I’ve written a book with similar meaning, titled Find Solutions, Not Excuses. That’s exactly what I shall do for you and we shall do for our communities. I believe that the best days of Rotary are yet to come — and that all of us will soon be prouder than ever, of a Rotary that is larger, more active, and better known than ever before — a Rotary that touches more lives, and makes the world better, every single day. And I look forward to serving all of you with all my heart in the 2014-15 Rotary year to brighten up our world together.
Thank you.


GARY C.K. HUANG

PRESIDENT-ELECT 2014-15

ROTARY CLUB OF TAIPEI

TAIWAN
Gary C.K. Huang is currently an adviser for Wah Lee Industrial Corp. and Bank of Panhsin. He is also a director of Federal Corporation and Sunty Property Development.
A Rotarian since 1976, Huang has served RI as vice president, director, Rotary Foundation trustee, International Assembly group discussion leader, regional session leader, task force member and coordinator, committee member and chair, and district governor. He wrote about his experiences in business and Rotary in his book “Finding Solutions, Not Excuses”. Huang has been awarded the National Civic Service Award by the Federation of Non-Profit Associations and the Outstanding Community Service Award by the Ministry of the Interior R.O.C.
He is a recipient of the RI Service Above Self Award and a Presidential Citation, and The Rotary Foundation’s Citation for Meritorious Service and Distinguished Service Award.

Friday, December 13, 2013

2014 District 3350 Conference

2014 District 3350 Conference to be taken place at the Dusit Pattaya Hotel


ประชุมใหญ่ประจำปี ภาค ๓๓๕๐
ปี ๒๕๕๖๕๗ ณ โรงแรมดุสิต พัทยา
วันที่ ๑๕ – ๑๖ มีนาคม ๕๗
ค่าลงทะเบียน คนละ ๓,๓๕๐ บาท สิทธิพิเศษสำหรับ
-      ๒,๗๐๐ บาท ท่านที่ลงทะเบียนภายใน ๓๐ ธ.ค. ๕๖
-      ๓,๐๐๐ บาท ท่านที่ลงทะเบียนภายใน ๒๘ ก.พ.๕๗
การรณรงค์ ที่ ๑
     สุดยอด สำหรับสโมสร ทีแจ้งยอดผู้เข้าร่วมประชุมทุก ๑๐ คน ในวันนั้น (๓๑ ส.ค.๕๖) จะได้รับ ๑ สิทธิ์และต้องชำระค่าลงทะเบียนท่านละ ๒,๗๐๐ บาท ภาย ในวันที่ ๓๐ พ.ย.๕๖ ไปยังโรตารีแอนน์เสริมศรี  กลิ่นแก้ว จะมีสิทธิ์จับรางวัล แอร์คอนดิชั่น ขนาด ๑๒,๐๐๐ บีทียู ๑ ตัว ซึ่งมี ๒๖ สโมสร **โปรดรักษาสิทธิ์***
การรณรงค์ ที่ ๒
     ขอให้สโมสรที่ยังไม่แจ้งยอดผู้เข้าร่วมประชุมใหญ่  ยังมีโอกาสนำทีมสมาชิกให้ครบ ๑๐ ท่าน รีบแจ้งไปยัง โรตารีแอนน์เสริมศรีฯ โทร. ๐๘ ๙๔๙๐ ๔๓๐๐ ภายในวันที่ ๓๐ พ.ย.๕๖ ซี่งเป็นการประชุมคณะกรรมการภาค,ผู้ช่วยผู้ว่าการภาค ครั้งที่ ๓ และ กลุ่มนายกสโมสรครั้งที่ ๒ ณ จังหวัดลพบุรี มีสิทธิ์จับรางวัลใหญ่ Projectorยี่ห้อ Ricoh มูลค่า ๔๐,๐๐๐ บาท โดยค่าลงทะเบียนเท่าเดิม ๒,๗๐๐ บาท ขอเชิญชวนเพื่อน นายกในรุ่นของท่านนำสมาชิกเข้าร่วมประชุมใหญ่ให้ได้มากที่สุด
ดาวน์โหลดใบลงทะเบียนได้ที่ เว็บไซต์โรตารีภาค ๓๓๕๐

2013 - 2014 District 3350 Conference at Dusit Pattaya.
15 - 16 March 2014
Registration fee is 3,350 baht per person
Pre Registration at 2,700 baht by 30 December 2013 at 3,000 baht by 28 February 2014
Special registration campaigns:
Campaign 1: Early Bird Booking 23 Rotary clubs who have made booking for 10 seats on August 30, 2013 (DG meet Presidents) are entitled to one ballot, provided that payment is made before 30 November 2013. Please rush payment of 2,700 per person, your club will be eligible to lucky draw for one 12,000 BTU airconditioner.
Campaign 2: Those who miss campaign 1, your can still with the chance to win Ricoh Projector valued ฿40,000 simply by placing registration of 10 members at the District Leadership Team #3 & Club Presidents Meeting #2 at Lopburi Province on November 30, 2013. Please contact R.Ann Sermsri Klinkaew for Preregistration. Tel. 08 9490 4300 Club Presidents please don't miss the upcoming G&P Meet to share your and your fellow Club Preidents' successes.


Registration Form

Tuesday, December 10, 2013

CREATIVITY in ROTARY'S PUBLIC IMAGE


มีโรแทเรียนมากมายหลายท่านที่มีความสามารถและมีชื่อเสียงในระดับประเทศ หรือระหว่างประเทศ แต่มีน้อยคนนักที่เขียนหนังสือ..
โรแทเรียน ดร. อเล็กซานเดอร์ เพาฟเลอร์แห่งสโมสรโรตารีกรุงเทพ ภาค3350 เขียนหนังสือที่นักธุรกิจน้อยคนจะเขียนได้ แม้เรื่องที่เขียนจะใกล้ตัวและขาดไม่ได้สำหรับผู้นำในยุคปัจจุบัน “Creativity GYM for Innovative Leaders” เป็นผลงานอีกชิ้นหนึ่งของโรแทเรียน ดร. เพาฟเลอร์ ที่เน้นการนำเอาหลักการง่าย ๆ ในการคิดสร้างสรรค์ไปใช้ในทุก ๆ เรื่องของชีวิต บทสัมภาษณ์นี้ เชื่อว่ามีคุณค่ากับโรแทเรียนทุกท่าน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประธานประชาสัมพันธ์ของทุกสโมสร.

Author of "CREATIVITY GYM for Innovative Leaders" Dr. Alexander Paufler
DPR: ทั้ง ๆ ที่มีงานในหน้าที่ความเป็นผู้นำในภารกิจทางธุรกิจ อะไรเป็นแรงบันดาลให้ท่านเขียนหนังสือเล่มนี้
AP: มีเหตุผลสองประการที่ผลักดันให้ผมต้องการนั่งเขียนหนังสืออีกหนึ่งเล่ม และต้องคอยทำตามขั้นตอนการเขียนต่าง ๆ เช่นการร่างต้นฉบับ อ่านตรวจทาน และอ่านต้นฉบับครั้งแล้วครั้งเล่า
ประการที่หนึ่ง ผมทำตามหนึ่งในแปดข้อของส่วนผสมสำคัญของการจัดการการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ หลายปีที่ผ่านมานี้ผมเรียนรู้ว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นหัวใจสำคัญของทุก ๆ เรื่องที่เราปฏิบัติ และเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องเรียนรู้ ผมถึงได้ออกแบบชุดเตรียมความพร้อม เพื่อให้ผู้นำที่ดีสามารถนำไปใช้ให้ติดเป็นนิสัย
ประการที่สอง ตอนที่ผมเดินทางเข้ามาประเทศไทยนั้นเป็นช่วงวิกฤติการณ์ซับไพร์ม ผมไม่ได้นำพาบริษัทฝ่าฟันวิกฤตินั้นตรง ๆ เพราะผมใส่ใจกับการสำรวจความคิดที่สนับสนุนการทำให้เกิดรายได้เป็นลำดับแรก  เป้าหมายของผมคือหลีกเลี่ยงการคัดคนออก เพราะนั่นเป็นเพียงหนทางที่จะทำให้คนเก่ง ๆ ของเราต้องลดลงและมีผลกระทบกับครอบครัวของเขาด้วย  นั่นก็นำมาสู่คำถามว่า ผมจะจ้างพนังกงานทุกคนให้อยู่ต่อไปได้อย่างไร โดยแลกเปลี่ยนกับการดึงความคิดของเขาออกมาและเปลี่ยนมันเป็นคำปรึกษาที่สร้างสรรค์  มันสมองมนุษย์เป็นเหมืองทองของบริษัท และความคิดต่าง ๆ คือหัวใจสำคัญที่จะทำให้บริษัทอยู่รอดได้ในสภาพตลอดที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและมีความไม่แน่นอนสูงเช่นในปัจจุบัน สภาพเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายที่เกิดจากการแข่งขันหำ้หั่นกันของคู่แข่งขัน  ความไม่เดียงสาและขาดความรับผิดชอบทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรวดเร็วเหลือเกิน  ดังนั้นทางรอดทางเดียวที่ยั่งยืนคือการหาทางออกโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ของผู้บริหารสูงสุดขององค์กรและทีมงานของเขา
DPR : มีความเชื่อกันว่าการทำงานของโรตารีนั้นเป็นแบบอนุรักษ์นิยมและมีการวางแผนจากส่วนกลาง ท่านจะแนะนำให้โรแทเรียนประยุกต์ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานโรตารีอย่างไร

AP: ความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องสนุก เพราะฉะนั้นมันเหมือนเป็นออกซิเจนให้กับการทำงานบริหาร ซึ่งนับรวมถึงองค์กรที่เป็นแนวอนุรักษ์นิยมด้วย เราต้องทำให้สมาชิกในองค์กรรู้สึกสนุกกับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อความยั่งยืนขององค์กร  โรตารีเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จด้วยสมาชิกที่มากว่าหนึ่งล้านสองแสนคน ที่เป็นผู้นำนักธุรกิจและเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีอยู่ในทุกชุมชนทั่วโลก มีสโมสรโรตารีอยู่มากกว่า 33,000 แห่งใน 200 ประเทศและพื้นที่ภูมิศาสตร์  ต้องนับว่าเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่นี้เกิดจากพื้นฐานของการทำงานกันอย่างหนักของคนที่มีจิตอาสา  "ไม่มีความล้มเหลวอะไรยิ่งไปกว่าการยึดติดความสำเร็จ" ประโยคอมตะที่เตือนสติได้ดีนี้กล่าวโดยนักประวัติศาสตร์อาร์โนลด์ทอยน์บีซึ่งได้ศึกษาประเทศและองค์กรที่ล้มเหลว ปรากฎการณ์เช่นนี้ทำให้ผู้นำโรตารีทั้งหลายต้องหันมาให้ความสำคัญกับการคิดอย่างสร้างสรรค์และยอมรับนวัตกรรมใหม่ ๆ ก่อนที่สโมสรจะพบกับความตกต่ำและต้องใช้ยาขนานหนักและแรงในการบำบัดรักษา  กาลเวลาเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ เราก็ต้องเปลี่ยนด้วย  การเปลี่ยนแปลงหมายถึงการสร้างนวัตกรรมสด ๆ ใหม่ ๆ หนังสือที่ผมเขียนนั้นช่วยไม่ให้ผู้อ่านมองข้ามความคิดสร้างสรรค์ดี ๆ ไป ช่วยให้ท่านรู้ว่าจะหาความคิดสร้างสรรค์ได้จากที่ไหนและจะเอาไปใช้อย่างไร  หนังสือยังระบุเส้นเริ่มต้นของการคิดอย่างสร้างสรรค์ ปรับความคิดที่เป็นประโยชน์ให้เป็นนวัตกรรม และอีกทั้งยังช่วยการทำงานของผู้ประกอบการธุรกิจด้วย.

DPR: จำเป็นเสมอไปหรือไม่ที่ความคิดใหม่ต้องฆ่า (เพื่อเข้าแทนที่) ความคิดเดิม
AP: ความคิดใหม่ ๆ หล่อเลี้ยงสถานภาพปัจจุบัน ความคิดใหม่ ๆ ช่วยปรับสภาพของความคิดปัจจุบัน และใช่ครับ บางทีมันก็ฆ่าความคิดเก่าที่ล้าสมัย นี่คือเหตุผลที่ทำให้เราสามารถผ่านวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ความล่มสลายธุรกิจดอทคอมในปี 2544 เหตุการณ์ซับไพร์มที่อื้อฉาวระดับโลกในปี 2551 ที่ส่งผลให้เกิดวิกฤติการทางการเงินโลก เราต้องจัดการกับวิกฤติด้วยความคิดใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นเหมาะเจาะกับเวลา วิกฤติการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นจากปัญหาความชั่วร้ายที่เราไม่อาจมองเห็นวี่แววว่าจะเป็นปัญหาร้ายแรง แต่บางครั้งเราอาจมองเห็นสัญญานของปัญหาแต่รีรอที่จะจัดการเปลี่ยนแปลง หรือคุณอาจหาจังหวะที่เหมาะสมอยู่  เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวรับสถานการณ์วิกฤติครั้งใหม่และฝึกความสามารถในการปรับตัวจึงมีความจำเป็น เมื่อวิกฤติการณ์เกิดขึ้น ดีที่สุดคือการยอมรับในสิ่งที่ผมขอยกคำพูดของผู้กำกับภาพยนต์โจเซฟ แมนคีวิคซ์ ที่ว่า "ความแตกต่างระหว่างหนังกับชีวิตจริง คือในภาพยนต์เรามีบทที่เขียนขึ้นตามหลักเหตุผล แต่ในชีวิตจริงนั้นมันไม่ใช่"  การเตรียมความพร้อมที่เหนือชั้นนั้น ความล้ำลึกของอัลเบิร์ต ไอสไตน์เป็นสิ่งที่น่าเอาอย่าง เพราะท่านให้คำแนะนไว้ว่า "ปัญหาสำคัญ ๆ ที่เราประสบนั้นไม่อาจจะแก้ไขได้ด้วยระดับความคิดปกติเหมือนตอนที่เราทำให้ปัญหานั้น ๆ เกิดขึ้น"  การฝึกฝนและการเตรียมพร้อมจะช่วยให้เราสามารถสร้างความคิดในระดับใหม่ และสามารถประดิษฐ์เครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาแบบใหม่ ๆ ด้วย
DPR : อะไรทำให้งานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์หรือความคิดใหม่ ๆ ล้มเหลว
AP: เพราะยึดแนวทางความสำเร็จแบบเก่า ๆ มากเกินไป ตกหลุมพรางของมุมมองปัญหาแบบเก่า ๆ ประมาท และขาดสำนึกในความเร่งด่วน

DPR: ในขณะที่ท่านเผยแพร่หลักการและวิธีปฏิบัติในหนังสือ Creativity GYM นั้นท่านแบ่งงานธุรกิจและชีวิตส่วนตัวแบบสร้างสรรค์ได้อย่างไร 
AP: แม้ช่องว่างที่อยู่ระหว่างธุรกิจและครอบครัวจะหาไม่ได้ก็ตาม ผมก็ยังมีเวลาใช้ความคิดที่เป็นไปตามหลักการ 27 ข้อของการคิดสร้างสรรค์ตามที่เขียนในหนังสือเล่มนี้  ด้วยเหตุที่ผมเป็นคนตื่นเช้า ผมมักใช้เวลาระหว่าง 5-11 นาฬิกาเป็นเวลาแห่งความคิด และใช้เวลาช่วงบ่ายจนถึง 6 โมงเย็นเป็นเวลาแห่งการปฏิบัติงาน ในช่วงแห่งเวลาใช้ความคิดผมมักจะแยกตัวเองออกจากทุกสิ่งทุกอย่างและเพ่งคิดในงานสร้างสรรค์ เช่น การเขียนหนังสือ เตรียมหัวข้อบรรยาย เตรียมสุนทรพจน์และคิดแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน สิ่งรบกวนที่อาจเกิดขึ้นจากอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ ทีวี แอปส์ต่าง ๆ และของเล่นดิจิตอลต่าง ๆ จะต้องปิดทิ้ง มีผลงานวิจัยที่ระบุว่ามนุษย์เรามักถูกรบกวนจากสิ่งรอบข้างทุก ๆ 3.5 นาที และเราจะต้องใช้เวลารวบรวมสมาธิเพื่อกลับไปทำงานคิดได้เหมือนเดิมอีกถึง 27 นาที  ด้วยเหตุนี้ผมจึงต้องปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดก่อนที่จะนั่งอ่านหนังสือ คิดหรือเขียนงานต่าง ๆ การปิดเครื่องเหล่านั้นหมายถึงการได้พักผ่อน การสื่อสาร การรับฟัง และการมีสมดุลในชีวิต คุณต้องหยุดการหลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ยอมหยุดของของเล่นสื่อสารและโทรศัพท์

DPR: คุณจะบอกเพื่อนโรแทเรียนให้มีชีวิตแบบสร้างสรรค์ได้อย่างไร
AP: ผมก็จะบอกเรื่องที่ตอบคำถามคุณไปก่อนหน้านี้ 5 ข้อ  และถ้าจะให้ชัดขึ้นก็สามารถอ่านได้จากหนังสือที่ผมเขียน ซึ่งเป็นการรวบรวมความคิดของคนอื่น ๆ อีกกว่า 800 คน  ทุกอย่างเรียนรู้ได้และทำให้เป็นจริงได้ แต่ทุกคนต้องเชื่อและยอมรับว่าการเรียนรู้เรื่องความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นความคิดที่ดีที่ควรลงทุน แน่นอนว่าทุกคนชอบความคิดดี ๆ และยิ่งกว่านั้นพวกเราชอบการค้นพบความคิดใหม่ ๆ  ผมอยากพูดว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นถูกสร้างบนพื้นฐานของความอยากรู้อยากเห็น  ความคิดสร้างสรรค์จากความอยากรู้อยากเห็นนั้นเป็นหนทางแห่งการสร้างความพึงพอใจให้กับตัวเอง  ยิ่งไปกว่านั้นผมยังเชื่อในสิ่งที่ ลีโอ เอฟ. บุสคาเกลีย ที่พูดว่า "คนที่มีความสุขที่สุดคือคนที่รักสิ่งต่าง ๆ อย่างคลั่งไคล้ จริงจัง"  คนที่มีความสุขคือคนที่มีมุมมองกว้างขวางกว่าคนที่ฉลาดซึ่งมักสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น  แต่ความสุขที่แท้นั้นต้องมีความหลากหลายให้เลือกได้. 
-----------------------------------
ขณะนี้หนังสือมีจำหน่ายเป็นภาษาอังกฤษทั้งในร้านหนังสือชันนำในประเทศไทยและในระบบออนไลน์ของอเมซอนดอทคอม.
สำหรับภาษาไทย จัดพิมพ์โดยนานมีบุ๊คส์ มีจำหน่ายแล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๖
อีกไม่นานภาคภาษาจีนแบบจีนอักษรโบราณและแบบอักษรรุ่นใหม่ จัดพิมพ์โดย วู่หนานบุ๊ค อิงค์ เลขที่ 106 ไทเป ประเทศไต้หวัน 

ประวัติ :
การเดินทางรอบโลกเป็นประสบการณ์ที่เกิดกับ ดร. อเล็กซานเดอร์ เพาฟเลอร์ตั้งแต่ยังเด็กเล็ก ๆ อยู่ เขาต้องจากบ้านเกิดที่บ๊าดเฮอร์เฟลด์โต เทอบิงเจน ประเทศเยอรมันนีเพราะต้องติดตามบิดาที่ต้องย้ายไปตามงาน ไปถึงเมืองโคโมแถบทะเลสาบโคโมในประเทศอิตาลี ต่อไปยังดูสเซลดอร์ฟ และที่อื่น ๆ เขาศึกษาเศรษฐศาสตร์และการบริหารธุรกิจจากหลายมหาวิทยาลัย ได้แก่เทอบิงเจน ซาร์เบริกเคน และดัลส์เบิร์ก จบการศึกษาเขาได้รับปริญญาโทเอ็มบีเอ และปริญญาเอก ในตอนหลังเมื่อทำงานแล้ว เขายังสอบเพื่อเป็นที่ปรึกษากฎหมายภาษีรับอนุญาตอีกด้วย.

การทำงานเป็นที่ปรึกษาภาษี และการเขียนหนังสือกฎหมายภาษีประเทศญี่ปุ่นของ ดร. เพาฟเลอร์ ส่งผลให้เขาเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ.2530 และได้เริ่มงานในภาคปฏิบัติอย่างเป็นทางการกับเมอร์ซิเดซเบนซ์ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ.2533 ในตำแหน่ง ซีเอฟโอ/ซีไอโอ (เจ้าหน้าที่การเงินสูงสุด / เจ้าหน้าสารสนเทศสูงสุด) และเมื่อเดมเลอร์เข้าร่วมทุนกับมิตซูบิชิมอร์เตอร์ เขาได้รับตำแหน่งเจ้าหน้าบริหารอาวุโส (ฝ่ายการเงินและภาษี) และหลังจากที่กับเข้าร่วมงานกับเมอร์ซิเดซเบนซ์ในปีตำแหน่งซีอีโอประจำกรีซระหว่างปี พ.ศ.2547-2551 จึงเป็นเหตุให้เขาได้รับความไว้วางใจให้เข้าดูแลกิจการของบริษัทนี้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 เป็นต้นมา โรแทเรียนอเมล็กซานเดอร์ เพาฟเลอร์เป็นสมาชิกสโมสรโรตารีกรุงเทพ
(อนุเคราะห์ นำเสนอประวัติ ดร. เพาฟเลอร์ โดย อน. ลินดา เชง)


คิดเปลี่ยนคุณ โดย ดร.อเล็กซานเดอร์ เพาฟเลอร์

"Creativity GYM for Innovative Leaders" seems to be more than a book written out of an individual's perception of long time experience in creativity works as a business leaders, readers will feel like reading a research in easy unofficial text. The book enlightens just anybody on how he / she can convert their daily life into creative living and productive work.
Dr. Parfler has shown in the following interview his desire for people to live everyday life with creativity and how Rotarians will benefit from leading with creatively mind set.



Q&A


1. Aside from busy works in your leading role in business,
what inspired you to write the book?
Two things were the main motivators for me to write again a book and undertake the long frustrating process to draft, write. edit and read again and again the script:
Firstly, as one of eight ingredients for change management I identified and use creativity. Over the years I learned to see that creativity is the key to everything we do and thus must be learned. I designed a preparation kit to make it a habit of a good leader.
Secondly, when I arrived in Thailand the recession resulting from subprime mortgage scandals hit.  In order to steer the company through crisis my attention was on how to create and collect ideas supporting the revenue flow - the top line. My goal was to avoid headcount cut which only hit heads that count such as our employees and their families. That led to the question: How can I engage all employees, tap their brains and turn them into innovation consultants. Brains are the gold mines of the company and the ideas are key for the survival in today's fast and instable global markets. Ups and downs triggered by fierce competition, stupid mistakes and a lack of responsibility take turns faster and faster. Therefore, idea creation is a survival must for any CEO and his team in order to ensure sustainability.



2. It is said that Rotary is rather conservative and centrally planned, how do you suggest Rotarians can implement CREATIVITY in Rotary's work?

Creativity is fun and therefore oxygen for performance management. Even leaders of a conservative organization must engage its members to enjoy creativity and innovation for sustainability sake. Rotary is a successful organization of more than 1.2 Million business, professional and community leaders. There are 33,000 Rotary Clubs in more than 200 countries and geographical areas. That is a big success based on hard work and service mindedness. "Nothing fails like success when you rely on it too much" is a thought provoking line by the historian Arnold Toynbee studying failing countries and entities. This phenomenon must make all Rotary leaders think about creativity and innovation before the club goes into a downturn and needs a serious turnaround for rescue. Times are changing and so we have to do. Change means innovation with new and fresh ideas. The book helps avoiding idea killers, helps finding ideas and implementing ideas. The book shows a line starting at creativity for ideas, turning useful  ideas into innovations and both enable entrepreneurship.


3. Is it necessarily so that the adoption of new ideas 'kill' (completely replace) the existing practices?
New ideas enrich a status quo, new ideas improve the status quo and yes new ideas may "kill" a situation which is out of date. Going through the Asian crisis (1997), the dot-com-crash (2001)  and the subprime mortgage scandal (2008) triggered a global financial crisis we still try to fix.  Rigorous new ideas are needed to manage global crisis. Such crisis is triggered by wicked problems you don't see coming or you may see the signs but you may procrastinate change and you cannot figure out the timing . Prepare for a new crisis and train the ability for adaptability. When crisis hits it is best to accept Joseph Mankiewicz' (film director) insight. “The difference between life and the movies is that a script has to make sense, and… life doesn’t". To be prepare proactively,  the insight of Albert Einstein is a good advice: "The significant problems we face cannot be solved at the same level of thinking we were at, when we created them". Training and preparation will create ideas for a new level of thinking and for inventing new tools for new solutions.



4. What makes the work of new ideas or creativity fail?

Relying on old success too much, getting stuck in old perceptions, complacency, lack of urgency.

5. In spreading the principle and practices in your Creativity GYM book, how do you creatively handle business and private life, apart from publishing the book? 
In spite of seamless fusion between business and home I do have my thinking time following the 27 aspects for creativity described in the book. Since I am an early bird my thinking time is from 5-11am and my execution time in the afternoon up to 6pm. During think time I like to isolate myself and focus on creative tasks like writing a book, preparing lectures, speeches and think how to solve wicked problems. Distractions coming from internet, telephone, TV, apps and  e-gadgets need to be shut down and closed out. Research found that we are distracted every 3,5 minutes and we need 27 minutes to get back into thinking mode. Therefore, I switch off gadgets and sit down to read, think and write. Switching off stands for relaxation, communication, listening and work life balance. Stop the negative spill over of non stop 'gadgeting' and 'phoning'.

Creativity GYM for Innovative Leaders by Dr. Alexander Paufler

6. How will you say to Rotarians to live a life creatively?
I said it with the answers to your five prior questions. My book shows the details, my ideas and the ideas of more than 800 people. All is learnable and doable, but everybody needs to be convinced and persuaded that it is a good idea to invest time in learning creativity. For sure everybody enjoys getting a good idea and even more so we enjoy realizing ideas.  I also will say, that creativity is built on curiosity. Curious creativity is a very satisfying process. Furthermore, I strongly believe in Leo F. Buscaglia's saying, "that the happiest people are those who love many things with a passion - intensely. Happy people have a wider focus than geniuses who often are only concentrating on one thing, however, happiness comes with variety and choices.
____________________________________
  
- Currently, the book is available in English as paperback in Thailand and as ebook on Amazon.com
- The Thai language version has been published by Nanmee Books and released November 2013.
- Soon a Chinese language version will be available both in traditional and simplified Chinese
  published by WU-NAN BOOK INC., 106 Taipeh, TAIWAN

Who is Dr. Alexander Paufler
Travelling the world started early for Dr. Alexander Paufler, bringing him from his native town Bad Hersfeldto Tuebingen, Germany and, because of his father’s job, on to Como on Lake Como (Italy), Duesseldorf, and more.  Studying Economics & Business Administration brought him to German Universities in Tuebingen, Saarbruecken and Duisburg. On this journey he earned an MBA and PhD. Later in his professional career hepassed the exam for Certified Tax Consultant.

Dr. Paufler’s consulting job and his book about Japanese Taxation led him to Japan in 1987. In 1990 he turned to a more operational career as CFO/CIO with Mercedes-Benz Japan. Daimler’s joint venture with Mitsubishi Motors opened the opportunity as Senior Executive Officer (Head of Finance & Tax). His role as CEO of Mercedes-Benz Greece from 2004-2008 lead to the CEO position at Mercedes-Benz Thailand starting in 2009.  

Dr. Alexander Paufler's passion for music and art began early.  He started to play the piano at the age of 11 and started to paint seriously at 13 – please have a look at his website www. Alexander Paufler.com.  

During his ten years working as a CPA and tax consultant he started to write articles for business journals. He published books about tax fraud, doing business and taxation in Japan, and change management with IT. His writing brought him to teaching. Regular lecturing at universities in Japan, Germany, Greece and Thailand earned him an Adjunct Professorship. His teaching scope in the field of Organizational Behaviour on ‘Change Management’, ‘Leadership’, ‘Branding’, ‘Business Ethics’ and ‘Music Business’ lead to the book ‘Creativity Gym’. He strongly believes that creativity is the key ingredient for innovative leaders coping with change.

All these activities shaped his career and created a unique work life balance. Dr. Alexander Paufler’s journey is another good example of what you can do by working out in the ‘Creativity Gym’."

Prof. Dr. Alexander Paufler currently teaches full time at the Sasin Graduate Institute of Business Administration of Chulalongkorn University and is frequently invited to address managements and hold workshops for various organizations in different countries.
(Introduction by Linda Cheng).

Thursday, December 5, 2013

WHY POLIO?

ทำไมเลือกโปลิโอ ?
โดย ปีเตอร์ รอส เรนจ์
จอห์น เซฟเวอร์ นักวิทยาศาสตร์โรแทเรียนที่เปิดฉากนำโรตารีเข้าสมรภูมิโปลิโอ
เรื่องนี้เริ่มเกิดขึ้นในเดือนเมษายน พ.ศ.2522 คุณเคลม เรนูฟ ประธานโรตารีสากลในขณะนั้นกำลังพลิกอ่านนิตยสารเดอะรีดเดอร์ไดเจสท์บนเครื่องบินขากลับจากฟิลิปปินส์  ในหน้านิตยสารฉบับนั้นเขาอ่านพบเรื่องเกี่ยวกับการขจัดโรคไข้ทรพิษ (ฝีดาษ)ให้หมดไปจากโลกโดยใช้ต้นทุนทั้งสิ้นเพียงเท่ากับค่าสร้างเรือรบออสเตรเลีย 2 ลำ ซึ่งเป็นข่าวที่เขาอ่านพบวันก่อนหน้านี้เท่านั้น เขาเพิ่งเสร็จสิ้นภารกิจในการทำข้อตกลงอย่างเป็นทางการในการจัดทำโครงการแรกภายใต้การให้ทุนของมูลนิธิโรตารีในโปรแกรม 3 เอชอันได้แก่ สุขภาพ ความหิวโหย และมนุษยชาติ ตอนนี้เรนูฟมีความสงสัยว่าทุนของมูลนิธิจะสามารถนำไปใช้ได้ไกลถึงโครงการสักโครงการหนึ่งที่จะขจัดโรคอีกโรคหนึ่งให้หมดไปจากโลกได้หรือไม่
เขาโทรหาเพื่อนคนหนึ่งที่ชื่อจอห์น เซฟเวอร์
เซฟเวอร์ เป็นผู้ว่าการภาคในนครวอชิงตัน ดีซี และยังเป็นหัวหน้าสาขาโรคติดต่อแห่งสถาบันประสาทวิทยาและฝ่ายโรคติดต่อและอัมพาต สถาบันอนามัยแห่งชาติ เขาพบกับเรนูฟเมื่อหกเดือนก่อนซึ่งเป็นช่วงที่เซฟเวอร์ขอให้ประธานโรตารีสากลมาพูดที่กระทรวงการต่างประเทศก่อนที่จะเดินทางอย่างเป็นทางการในฐานะประธานโรตารีสากลครั้งแรกสู่ทวีปอัฟริกาตะวันตก  "ผมไม่คิดว่าคนเป็นหมอจะทำงานเหมือนนักธุรกิจ แต่ความคิดแบบนี้ก็เปลี่ยนไป" เรนูฟกล่าว "ด้วยเหตุนี้ตอนที่ผมเกิดไอเดียบรรเจิดเรื่องขจัดโรคให้หมดไปจากโลก  ผมจึงรู้สึกเข้าถูกทางแล้วที่เลือกคุยกับจอห์น"
ด้วยเหตุที่เซฟเวอร์นั้นเป็นนักวิจัย เขาซึมซับความรู้จากการศึกษาโรคที่เกิดจากการติดต่อในเด็ก เช่นโรคหัด และการพัฒนาวัคซีน  เป้าหมายการทำงานของเขาคือการวิเคราะห์หาต้นตอของโรคต่าง ๆ และจัดหาวัคซีนที่เหมาะสมเพื่อสร้างภูมิต้านทานให้เด็ก ๆ ทั่วโลก  เขาตระหนักดีถึงข่าวดีที่โรคไข้ทรพิษที่ทรมานผู้คนที่ติดโรคนี้โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย ได้ถูกกำจัดหมดสิ้นไปจากโลก เป็นโรคแรกที่พ่ายแพ้ต่อความร่วมมือกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข
เซฟเวอร์ยังเป็นเพื่อนกับโจนัส ซัลค์ และอับเบิร์ต เซบิน สองนักปฏิวัติวงการสาธารณสุขด้วยการประดิษฐ์วัคซีนโปลิโอในปีทศวรรษที่ 50 และ 60 ซึ่งมีความสามารถยับยั้งโรคโปลิโอในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายในโลก และในสหรัฐอเมริกาเองก็มีผู้ป่วยคนสุดท้ายในปี พ.ศ.2522  เซฟเวอร์ชื่นชมวัคซีนแบบหยอดทางปากของเซบิน ที่มีต้นทุนต่อโดสเพียง 4  เซนต์ และเชื่อว่านี่คือหนทางที่จะช่วยให้เด็กปีละ 350,000คนปลอดภัยจากโรคโปลิโอ ข้อสำคัญต้องมีผู้ทีเหมาะสมมาบริหารจัดการเรื่องนี้
หลังจากที่ได้พูดคุยกับเรนูฟเกี่ยวกับเป้าหมายโรค เซฟเวอร์ปรึกษากับเซบิน และอีกสองสามสัปดาห์ต่อมาเขาได้ส่งจดหมายเสนอแนะว่า "หากมีเพียงโรคเดียวที่ต้องเลือกเพื่อบรรจุในโครงการ 3 เอช ผมขอเลือกที่จะเสนอโรคโปลิโอไมเอลิทิส"
โครงการ 3 เอชนั้นยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น เป็นครั้งแรกที่โรตารีเข้าผูกพันทำโครงการที่อยู่นอกเหนือกำลังความสามารถของสโมสรหนึ่งสโมสรใด หรือแม้แต่ภาคใดภาคหนึ่ง ในขณะที่โครงการแรกของเราเริ่มในเดือนกันยายน พ.ศ.2522 มุ่งเป้าที่การให้วัคซีนกับเด็กในประเทศฟิลิปปินส์  โครงการนี้ตั้งใจให้ส่งผลในการพัฒนาสุขภาพ  ขจัดความหิวโหย และต่อยอดการพัฒนามนุษย์และสังคม  โรตารียังไม่เคยทำโครงการที่่ส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์โดยรวมเช่นนี้กับองค์กรของเรามาก่อน
"เรื่องสำคัญคือเราต้องจัดหาวัคซีนโดยตรงจากผู้ผลิตและส่งต่อไปจนถึงประชาชนที่ต้องการรับวัคซีนนั้น"  เซฟเวอร์ หวนระลึกเหตุการณ์ในอดีต "ผมรู้ว่าโรแทเรียนทั้งหลายคือกองกำลังอาสาสมัครนานาชาติที่ยิ่งใหญ่ พวกเราสามารถเข้าหารัฐบาลของประเทศต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือในภารกิจการสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประชาชน จัดหาทุนสนับสนุน และสร้างพัฒนาการทางสังคม"
เรนูฟเชื่อเซฟเวอร์ ผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสโมสรโรตารีโพโตแมค รัฐแมรี่แลนด์ และได้โน้มน้าวผู้นำโรตารีท่านอื่น ๆ ให้เห็นสอดคล้องกันว่าองค์กรโรตารีนั้นมีความสามารถในการหยุดยั้งโรคโปลิโอได้ไม่ว่าจะพิจารณาจากความสามารถทางการเงินหรือในด้านการบริหารจัดการ เช่นเดียวกับผลงานของผู้นำโรตารีในอดีต"  เรนูฟกล่าวว่า "นี่คือผลงานของโรแทเรียนคนหนึ่งที่มีคุณสมบัติครบถ้วน เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เห็นศักยภาพของโรตารี  ด้วยชื่อเสียงของตัวเขาเอง และด้วยพื้นฐานวิชาชีพที่เป็นอยู่สามารถโน้มน้าวคณะกรรมการบริหารโรตารีสากลปี 2522-23 ให้เห็นชอบรับแนวคิดโลกที่ปราศจากโปลิโอเป็นโครงการหลักของโปรแกรม 3 เอช"
เซฟเวอร์เป็นบุตรของนักฟิสิก เขาจำได้ดีว่าบิดาปกป้องลูก ๆ อย่างไรจากโรคโปลิโอ  ในเวลานั้น เขากล่าว "คุณสามารถซื้อประกันสำหรับโรคโปลิโอให้กับลูกที่เพิ่งเกิดใหม่" เขายังจำได้ว่าในช่วงวันอาทิตย์ ครอบครัวต่าง ๆ มักพากันไปรวมกันที่โรงเรียนหรือหน่วยงานสาธารณะเพื่อรับวัคซีน "เราเรียกวันอาทิตย์แบบนี้ว่า "เซบินออนซันเดย์ (หรือเอสโอเอส) หรือที่ตอนนี้เราเรียกกิจกรรมแบบนี้ว่าวันสร้างภูมิคุ้มกันแห่งชาติ (NID)"
เซฟเวอร์ผ่านการอบรมเป็นกุมารแพทย์ที่มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์นและได้รับปริญญาเอกด้านจุลชีวศาสตร์ สำหรับที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) และศูนย์การแพทย์เด็กแห่งชาตินั้น เขาทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มำงานกับคนไข้ เป็นผู้เชี่ยวชาญวัคซีนที่เข้าใจและเข้าถึงสังคม และนักบริหารการแพทย์ที่รู้ตื้นลึกหนาบางในการเมืองเรื่องสาธารณสุข
ทักษะเหล่านี้จะไปมีบทบาทสำคัญตลอดสามสิบปีต่อมาในการที่เซฟเวอร์กับโรแทเรียนอีกเป็นจำนวนมากร่วมกันสร้างแรงบันดาลใจและเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนหน่วยงานสาธารณสุขชุมชนต่าง ๆ ทั่วโลกให้ต่อสู้กับโรคร้ายที่ทำให้เด็กแขนขาลีบเป็นอัมพาต เมื่อคาร์ลอส แคนสิโก้เป็นประธานโรตารีสากลในปร พ.ศ.2527-28 เขาได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวที่จะสามารถสร้างถูมิต้านทานโรคโปลิโอให้กับเด็กทั่วโลกภายในปีที่โรตารีมีอายุครบ 100 ปี. เซฟเวอร์ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธาณในคณะกรรมการโปลิโอนี้ในปี พ.ศ.2548 โดยแผนดังกล่าวรวมถึงการที่โรตารีจะสามารถจัดหาวัคซีนและสนับสนุนประเทศใดก็ตามที่ต้องการความช่วยเหลือ  (ในปี พ.ศ.2538 เขาได้รับการแต่งตั้งอยู่ในกลุ่มที่ตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็นคณกรรมการโปลิโอพลัสระหว่างประเทศ  ซึ่งเขาเป็นรองประธานฝ่ายการแพทย์ในปี พ.ศ.2549). ในคณะกรรมนี้นอกจากมีประธานโรตารีสากลคานซิโกและเซฟเวอร์แล้วยังมีดอกเตอร์เซบินและเฮอร์เบิร์ท พิกแมน (เลขาธิการโรตารีสากล)  "คนทั้งสี่นี้แหละที่ผมเชื่อว่าอยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนความฝันให้เป็นความจริง" เรนูฟกล่าว 
ในบทบาทของเซฟเวอร์นั้น เขาคือศูนย์รวมทุกเรื่องที่เกี่ยวกับโครงการโปลิโอและเป็นโฆษกของโรตารีที่จะคอยให้ข่าวกับโลกภายนอกด้วย งานที่ท้าทายอย่างแรกของเขาคือการเชิญองค์การอนามัยโลกเข้าเป็นหุ้นส่วนในโครงการนี้ เจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลกมีท่าทีในตอนแรกที่เต็มไปด้วยความสงสัยไม่แน่ใจว่าโรแทเรียนจะรู้ว่ากำลังจะต่อสู้กับอะไร เซฟเวอร์กล่าวว่า "แคนซีโกกับผมต้องประชุมพูคุยด้วยอยู่นานกับเจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลก ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัลในเจนิวา พวกเขาก็ต้อนรับเราดีอยู่ แต่เขาไม่คิดว่าองค์กรนอกภาครัฐบาลจะทำได้ไกลขนาดนี้"
ด้วยความช่วยเหลือจากเซฟเวอร์ โรตารีได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกว่าเราเป็นองค์กรนอกภาครัฐให้ร่วมเป็นองค์กรเครือข่ายที่สามารถทำงานในฐานะหุ้นส่วนเพื่อเป้าประสงค์เดียวกัน และนี่คือหุ้นส่วนที่รู้จักกันในขณะนี้ว่า "ความริเริ่มในระดับโลกเพื่อการขจัดโปลิโอ" ที่ประกอบด้วยหุ้นส่วนจากองค์การอนามัยโลก  โรตารีสากล  ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา และ ยูนิเซฟ  หน่วยงานสนับสนุนเพิ่มเติมที่สำคัญคือมูลนิธิบิลล์และเมลินดา เกทส์และรัฐบาลของทุกประเทศ  ความก้าวหน้าครั้งสำคัญเมื่อเร็ว ๆ นี้อีกครั้งหนึ่งของกลุ่มหุ้นส่วนนี้คือการที่รัฐบาลอินเดียให้ความร่วมมือในการบรรลุเป้าหมายหยุดการแพร่กระจายของโรคโปลิโอได้ในปี พ.ศ.๒๕๕๕  เมื่อตอนที่องค์การอนามัยโลกมอบหนังสือขอบคุณต่อนายกรัฐมนตรีอินเดียในความสำเร็จนี้  เขาได้กล่าวขอบคุณโรตารีและหุ้นส่วนต่าง ๆ  "ผมถึงกับลอยเลย" เซฟเวอร์กล่าว
เซฟเวอร์คือโฆษกที่พูดได้ชัดเจนและตรงประเด็น เขามีความเหมาะในหน้าที่นี้เพราะเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ แต่อีกแง่หนึ่งเขาก็เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ด้วยเหตุนี้เมื่อเขาได้รับการเชิดชูเกียรติในวิสัยทัศน์และระยะเวลาที่เขาทำงานอย่างต่อเนื่องในนามของผู้ต่อสู้กับโรคโปลิโอ เขามักจะโบกมือเหมือนภาพเจ้าหน้าที่อนามัยคอยปัดแมลงวันในหมู่บ้าน "มันไม่ใช่เพราะผมคนเดียว" เขากล่าวยืนยัน "ยังมีอีกหลายคนที่ช่วยกัน"
ผ่านไป 47 ปี กับการทำงานที่ NIH (สถาบันสุขภาพแห่งชาติ) และที่ศูนย์การแพทย์เด็กแห่งชาติ เซฟเวอร์ยังทำงานล่วงเวลาให้กับสถาบันมะเร็งแห่งชาติด้วย  วันนี้ชายผู้มีความมานะบากบั่นอายุ 81 ปี ยังเดินทางไปทั่วโลกเพื่อรณรงค์ด้วยแรงบันดาลใจที่เขาเคยเริ่มต้นไว้เมื่อ 34 ปีที่แล้ว  ตอนนี้ภารกิจเขาเสร็จไปแล้ว 99 เปอร์เซนต์ "งานชิ้นเล็ก ๆ ชิ้นสุดท้ายนี้เป็นงานที่ยากที่สุด" เขากล่าว
บทบาทสองด้านของเซฟเวอร์ทั้งที่เป็นโรแทเรียนและนักวิทยาศาสตร์นั้นมีคุณค่าต่อการขจัดโรคโปลิโอที่มิอาจประเมินได้ ฮามิด จาฟารี ผู้อำนวยการรณรงค์ขององค์การอนามัยโลกกล่าว  "เขาเชื่อมโยงโลกวิทยาศาสตร์และวิธีการทางเทคนิคของการสาธารณสุขที่นักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลกและซีดีซีเกี่ยวข้องอยู่ และโลกของโรตารีเข้าด้วยกัน เขาตอบคำถามให้กับโรแทเรียนได้ในเรื่องของวิทยาศาสตร์ ยุทธศาสตร์ด้านเทคนิค และงานวิจัย เพราะฉะนั้นคำพูดของเขาจึงนับว่าสำคัญมาก
เมื่อตอนที่มีการปรับการโหมรณรงค์การให้วัคซีนประเภทตัวยาสามอย่างไปเป็นตัวยาอย่างเดียวกับสองอย่าง เพื่อจำกัดประสิทธิภาพการกวาดล้างไปที่สายพันธ์โปลิโอที่ยังหลงเหลืออยู่และแพร่กระจายอยู่เท่านั้น  เซฟเวอร์คือหนึ่งในผู้ที่สนับสนุนความมั่นใจในการประยุกต์ยุทธศาสตร์ทางด้านนี้ "จอห์นทำถูกต้องในขณะนั้น" จาฟารีกล่าว "เพราะเขาเข้าใจวิทยาศาสตร์ เขาเข้าใจคุณค่าของการเปลี่ยนแปลง และเขาถูกต้องที่สนับสนุนเต็มกำลังในผลที่ยกระดับโครงการนี้ให้ไปไกลขึ้นไปอีก"
ในฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา เซฟเวอร์ได้เข้าร่วมการแถลงข่าวในหลายโอกาสเพื่อประกาศแผนปี 2556-2561 สำหรับความริเริ่มในการขจัดโปลิโอให้หมดโลก แผนดังกล่าวเป็นการวางพิมพ์เขียวสำหรับการขจัดโปลิโอในสามประเทศที่ยังคงมีการแพร่กระจายเชื่อไวรัสโปลิโอประจำถิ่นอยู่ นั่นคือ อัฟกานิสถาน ไนจีเรีย และปากีสถาน และทำการตีตราว่าโลกนี้ปลอดจากไวรัศโปลิโอในปี 2561.
"การที่จะต้องมีเขาอยู่ที่นั่นด้วยนั้นมีความสำคัญมาก เพราะเขาคือผู้ประสานงานกับผู้หาทุนและเป็นผู้เสนอแผนยุทธศาสตร์คนแรก ๆ ความเป็นไปได้ในการหาทุนใช้จ่ายในโครงการนี้ให้เพียงพอ และเขายังพูดคุยภาษาเดียวกับนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นผู้จัดทำเอกสารต่าง ๆ"  จาฟารีกล่าว "คุณเหมือนมีคน ๆ หนึ่งที่พูดได้ทั้งสองโลก  และเมื่อที่คุณมีผู้อำนวยความสะดวกขนาดนี้อยู่ใกล้ ๆ ด้วย คุณก็จะสบายใจขึ้นเวลาที่ต้องให้ข่าวกับนิวยอร์คไทม์ หรือวอชิงตันโพสต์ หรือสำนักหนังสือพิมพ์ใหญ่ ๆ อื่น ๆ ที่มารวมอยู่ในห้องแถลงข่าว"
รัฐมนตรีสาธารณสุขหลายท่านที่เข้าร่วมประชุมสมัชชาอนามัยโลกในปี พ.ศ.2555 ได้ยกเอาประเด็นการรณรงค์ขจัดโปลิโอขึ้นสู่สถานะ "เร่งด่วน" เป้าหมายการทำงานพุ่งไปสู่การผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนทางการเมืองเพื่อให้ได้รับเงินบริจาค  ได้จัดทำทีวีและสิ่งพิมพ์เพื่อการรณรงค์ เช่น สื่อโฆษณา "เหลือเพียงเท่านี้" ของโครงการจบโปลิโอวันนี้ ซึ่งได้บุคคลสำคัญ ๆ มาเป็นแบบ เช่น บิลล์ เกทส์ และอาร์ชบิชช๊อบ เดสมอนด์ ตูตู้ เป็นภาพการโฆษณาที่ดึงควาสนใจสาธารณชนให้ตื่นตัวดีมาก
การโหมกำลังปิดฉากโครงการนี้ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก  ประมาณว่า 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะต้องมาจากการบริจาคหลากหลายแนวทาง  ทั้งผ่านทางองค์กรเอกชนนอกภาครัฐ (NGO) และจากการสนับสนุนของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ เงินกองทุนนี้จะใช้ไปไม่เพียงในเรื่องของการระงับการแพร่กระจายของไวรัสโปลิโอแต่จะต้องใช้จ่ายในการเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นตลอดเวลาสามปีหลังจากรายงานไม่พบการแพร่กระจายโรคโปลิโอแล้ว ซึ่งขั้นตอนนี้จำเป็นสำหรับการที่จะออกคำประกาศว่าโลกนี้ปราศจากโปลิโอโดยสมบูรณ์แล้ว