Wednesday, April 27, 2016

STOP MOTHER FROM DYING: A ROTARIAN'S QUEST FOR VOCATIONAL SERVICE

โครงการอบรมอาชีพ- ช่วยแม่คลอดให้รอดตาย
โดย อดีตผู้ว่าการภาค ดร.หิมานซู บาซู ผู้ประสานงานฝึกอบรมด้านเทคนิคเพื่อกิจกรรมสุขภาพแม่และเด็กของมูลนิธิโรตารี
ทุกห้านาทีมีแม่ ๓ คนกับเด็กทารกเกิดใหม่อีกจำนวน ๒๐ คน ต้องเสียชีวิตไป ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในอัฟริกาและอนุภูมิภาคอินเดีย  ผมตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาการตายของแม่และเด็กอยู่เสมอว่าเราน่าจะป้องกันได้
เมื่อครั้งที่ภาคโรตารีของเราได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนำร่องวิสัยทัศน์อนาคตโรตารี ๒๐๑๐  เราก็มองเห็นช่องทางที่จะสามารถสนับสนุนโครงการที่เน้นเรื่องสุขภาพแม่และเด็ก  ผมทราบดีว่าโครงการแบบนี้จะสร้างผลกระทบที่เป็นประโยชน์ต่อเนื่องออกไปและเป็นผลที่มีความยั่งยืน  นอกจากนี้เราวางยุทธศาสตร์การทำงานที่จะส่งผลที่ประเมินความสำเร็จได้ และมีองค์ประกอบของผลที่สำเร็จบรรลุผลสำเร็จที่มองเห็นได้  แต่อย่างไรก็ดีโครงการแบบนี้ก็ต้องผ่านการทดสอบจากโครงการนำร่องที่ทุกฝ่ายต้องเฝ้าดูผลการดำเนินการอย่างใกล้ชิดและทำการประเมินอย่างตรงไปตรงมา
ประสานใจ
เพื่อนและผู้ให้การสนับสนุนหลายท่านในองค์กรระหว่างประเทศก็ดี หน่วยงานภาครัฐหรือนอกภาครัฐก็ดี ตลอดจนองค์กรโรตารีเอง ทุกองค์กรในทุกระดับช่วยกันพัฒนาโปรแกรมขึ้น ผ่านการประสานงานกันในชื่อรหัสโครงการ "CALMED"  (Collaborative Action in Lowering of Maternal Encoutered Deaths หรือ ปฏิบัติการร่วมมือเพื่อลดเหตุแห่งการตายในมารดา) จึงได้ถือกำเนิดขึ้น
แน่นอนว่าปัญหาสุขภาพแม่และเด็กนั้นได้รับการจัดลำดับความสำคัญและบรรจุไว้ในหนึ่งในหกโครงการที่โรตารีให้ความสำคัญลำดับต้น และปัญหาของแม่และเด็กบางครั้งก็มองเห็นไม่ชัดเจนไม่ว่าจะเป็นโรแทเรียนหรือคนนอกโรตารีก็ตาม  พวกเราส่วนมากไม่รู้ว่าช่วงเวลาสุกงอมที่หญิงตั้งครรภ์และให้กำเนิดลูกมีความเสี่ยงสูงสุดที่จะเสียชีวิตนั้นในไนจีเรียมีมากถึง ๑ ใน ๔๐ คน และมี ๑ ใน ๒๕๐ คนในอินดีย ในขณะที่มีเพียง ๑ ใน ๕,๙๐๐ คนในสหราชอาณาจักร  และแม้อัตราการเสียชีวิตนี้อาจหลีกเลี่ยงได้ อัตราการตายแบบนี้ก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลงไป
พลังยิ่งใหญ่แห่งเครือข่ายโรตารี
ส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานตามโครงการนำร่องนี้ คือเราต้องระบุความความต้องการที่แท้จริงเพื่อจัดสรรทรัพยากรที่โรตารีจัดหามาให้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งหมายรวมถึงผู้ที่อยู่ในวิชาชีพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น แพทย์ พยาบาล แพทย์ผดุงครรถ์  เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล และอาสาสมัครต่าง ๆ  ทั้งหมดมีบทบาทสำคัญในการช่วยปฏิบัติงานตามโครงการลดอัตราการเสียชีวิตของแม่และเด็ก
ด้วยว่าผมมีความรับผิดชอบในฐานะประธานมิตรภาพวิชาชีพแพทย์ในโรตารีจึงเป็นธรรมดาที่ผมจะต้องพยายามขายความคิดโครงการ CALMED ให้โรแทเรียนทั่วโลกในเวทีการประชุมใหญ่โรตารีสากล การประชุมใหญ่ภาค ระดับโซน และการประชุมอินสติติวท์  ผมยังรับเป็นผู้อำนวยการด้านการแพทย์ให้กับกลุ่มปฏิบัติการโรตารีเพื่อประชากรและการพัฒนา  ซึ่งมีสมาชิกเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคและให้ความรู้แก่โรแทเรียนที่สอบถามมาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพแม่และเด็ก
และในฐานะผู้ประสานงานการอบรมด้านเทคนิคเพื่อสุขภาพแม่และเด็กของมูลนิธิโรตารี ผมเข้าไปเกี่ยวข้องและติดต่อสื่อสารกับโรแทเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือในโครงการที่เกี่ยวเนื่องด้วยเรื่องสุขภาพทางเพศและการวางแผนครอบครัว 
โครงการ CALMED คืออะไร
โครงการคาลเมด ใช้รูปแบบการอบรมที่จะสร้างความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ในการทำคลอดฉุกเฉินและการดูแลทารกแรกคลอด  เนื้อหาโครงการครอบคลุมไปถึงการระมัดระวังในระหว่างตั้งครรถ์และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการทำคลอดในชนบทที่ห่างไกลบริการทางการแพทย์ที่มีเครื่องมือครบถ้วน
องค์ประกอบที่สามของโครงการนี้คือการวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตระหว่างและหลังคลอดของแม่  จัดทำข้อเสนอเพื่อเป็นแนวทางป้องกันในอนาคต (เรียกว่า MDSR หรือ การเฝ้าระวังเพื่อตอบสนองต่อสาเหตุการเสียชีวิตของแม่)  เมื่อมีวิวัฒนาการที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้นเราก็สามารถหาวิธีที่เหมาะสมเพื่อรับมือกับสาเหตุการตาย อย่างเช่นที่เราเรียกว่า การดูแลแบบแม่จิงโจ้ (KMC) ชุดป้องกันการช๊อค (NASG)  แนวคิดชั่วโมงทองคำ  เป็นต้น  ทั้งหมดก้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการแต่ละแบบ 
ทีมฝึกอบรมวิชาชีพสำหรับคาลเมด
ขณะนี้มีทุนสมทบระดับโลก ๓ ชุดที่ทำโครงการคาลเมดแบ่งตามที่ตั้งโครงการดังนี้
  • รัฐสิกขิม อินเดีย โดยมีเป้าหมายประชากร ๗ แสนคน เริ่มแล้วในปี พ.ศ.๒๕๕๖ ได้ทำการตรวจเยี่ยมโครงการในปี พ.ศ.๒๕๕๗ และ พ.ศ.๒๕๕๙
  • เมืองบุจ รัฐคุชราช อินเดีย  มีเป้าหมายประชากร ๒.๕ ล้านคน  เริ่มต้นในปี พ.ศ.๒๕๕๗  เยี่ยมโครงการครั้งที่สองในปี พ.ศ.๒๕๕๙
  • มัธยประเทศ อินเดีย มีเป้าหมายประชากร ๓.๕ ล้านคน  เพิ่งเริ่มวางระบบ และจะมีการเข้าเยี่ยมในเดือนตุลาคม ๒๕๕๙
ถึงขณะนี้ ทีมงานทั้งหมดได้ให้การอบรมผู้เข้าร่วมโครงการไปแล้ว ๓๙ คน ซึ่งจะได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่อบรมหลัก  (จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ ๑๐๐ คน)  เจ้าหน้าที่อบรมหลักนี้จะต้องไปอบรมแพทย์และพยาบาลอีก ๒๖๔ คน (เป้าหมาย ๕๐๐ คน)  เพื่อให้เข้าใจการทำคลอดฉุกเฉินและการดูแลทารกแรกคลอด และต้องไปอบรมผู้ฝึกอบรมรุ่นต่อไปอีก ๙๕ คน 
ผลการทำงานของทีมอบรมวิชาชีพคาลเมด
ในเบื้องต้น โครงการนี้ต้องการขยายจำนวนบุคคลากรการแพทย์ที่ได้รับการอบรมด้านการทำคลอดฉุกเฉินและการดูแลแม่และเด็กหลังคลอด  และเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ร่วมโครงการที่เป็นกลุ่มสตรีในหมู่บ้านให้รู้จักการดูแลสุขภาพก่อนและหลังคลอดและสุขภาพเด็กที่คลอดใหม่  รายงานระบุว่าแพทย์และพยาบาลตามโครงการนี้มีความมั่นใจมากขึ้นในการดำเนินการทำคลอดนับตั้งแต่โครงการคาลเมดเปิดตัว  การติดตามผลหลังจากนั้นสามปีในรัฐสิกขิมแสดงให้เห็นว่ามีความคืบหน้ามากในตัวเลขที่ลดลงของอัตราการตายของแม่เหลือเพียงร้อยละ ๒๕ ของตัวเลขในหนึ่งปีเท่านั้น เมื่อเทียบกับตัวเลขเมื่อสามปีก่อน ก่อนที่จะเร่ิมโครงการคาลเมด
จะช่วยได้อย่างไร
  • ลงทุนในโครงการเพื่อสุขภาพสตรีและเด็ก ซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
  • ปลดปล่อยพลังแห่งการลุ่มลึกในวิชาชีพของบรรดาโรแทเรียนและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ๆ เรามีรูปแบบจากทีมฝึกอบรมคาลเมดที่อาจนำไปปรับใช้ได้
  • บอกเล่าความสำเร็จของคาลเมด และพิจารณาแนะนำโครงการคาลเมดให้ใช้ในพื้นที่ของท่าน หากอยู่ในพื้นที่ ๆ มีปัญหาการเสียชีวิตของแม่และเด็กในอัตราสูง
จงเริ่มวันนี้ โดยการเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซท์ของโครงการ หรือติดต่อที่ผู้ดูแล ไม่ว่าท่านมีปัญหาและความเห็นใด ๆ   เมื่อเราร่วมมือกัน เราสามารถหยุดสาเหตุที่ฆ่าแม่หลังคลอดได้

Monday, April 11, 2016

มือก็ไกว ดาบก็แกว่ง ถ้ามีแรง ชีวิตนี้ดีแน่

EMPOWERING MOTHERS BY PREVENTING INJURIES

Robert Zinser is surrounded by women whose lives were forever changed after receiving surgery to repair obstetric fistulas, a preventable childbirth injury that can lead to social isolation, nerve damage, and death.
Robert Zinser understands numbers. The economist and retired president for Asia at chemical giant BASF has spent his life analyzing and predicting future trends. So when he initiated a five-year, $3 million pilot project to reduce infant and maternal mortality in Nigeria – a country with the second highest mortality rate in the world – he was doing more than just betting it would make a difference. He knew it would.
“In Nigeria, 70 percent of births are home deliveries. If the labor goes on too long, a woman can suffer a fistula,” an injury that often results in a stillborn baby, causes chronic incontinence, and can lead to social isolation as well as infection, nerve damage, or death. “With fistulas, prevention is key,” says Zinser, who co-founded what became the Rotarian Action Group for Population Growth and Sustainable Development and serves as its CEO.
Using a comprehensive approach of better antenatal care and quality assurance techniques, the project has helped reduce maternal mortality rates in hospitals by 60 percent. Since 2005 they’ve also repaired 1,500 fistulas – 500 more than their initial goal – and added microcredit and vocational training to the pilot project.
“Many women with this condition had been thrown out of their homes and needed a way to make a living,” says Zinser, who is a past district governor and member of the Rotary Club of Ludwigshafen-Rheinschanze, Germany. “They didn’t even know the injury could be repaired until we started running radio programs showcasing true-to-life stories and community dialogues.”
A Rotary Foundation grant for $478,000, sponsored by Rotary District 9125 in Nigeria and the Rotary Club of Weissenburg, Germany, helped launch the project. It also attracted an additional $826,000 from the German government and the Aventis Foundation. Activities such as solar power and water projects, donations of materials including mosquito nets, and cash contributions complemented the effort.
“If you travel in the developing world, walk through slums, and talk to people, you know that the women are often dominated by the men,” says Zinser. “They are suffering. They lack support. Women cannot be empowered if they can’t make their own choices in antenatal care and child spacing. But if mothers are empowered and healthy, so are their families, leading to an alleviation of poverty and hunger.”
So what does the 85-year-old Zinser plan to tackle next? “Scaling up,” he says. “The time is ripe. Maternal health is in the spotlight because of the UN Global Strategy for Women’s and Children’s Health. We should replicate and publicize this pilot project.
”My friends ask me, ’Why don’t you go golfing with us?’ They don’t know how my Rotary work benefits me,” Zinser says. “More and more, scientists are advising that if you do good for other people, it will keep you young. When I’m in Africa, I feel I am the right man, at the right time, in the right place.”

By Vanessa N. Glavinskas
This story originally appeared in the June 2012 issue of The Rotarian.
6-Aug-2013
-----------
"มือก็ไกว ดาบก็แกว่ง" ถ้าแรงมีชีวิตนี้มีหวัง
โรเบิร์ต ซินเซอร์ เก่งเรื่องตัวเลข เขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่เกษียณจากตำแหน่งประธานบริษัทเคมีที่ชื่อบาสฟ์ เอเซีย  เขาใช้เวลาตลอดชีวิตในการคาดคะเนและทำนายแนวโน้มอนาคต  ด้วยเหตุนี้ตอนที่เขาริเริ่มโครงการห้าปีที่ต้องใช้เงินสามล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อลดอัตราการตายของทารกเกิดใหม่ในประเทศไนจีเรีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีปัญหาอัตราเด็กเกิดใหม่ตายสูงเป็นอันดับสองของโลก โรเบิร์ตต้องทำมากกว่าการเดิมพันว่าผลของโครงการจะทำให้โลกมีอะไรที่แตกต่างเกิดขึ้น เขารู้ว่าผลที่เกิดขึ้นต้องมีมากกว่านั้นแน่
"ในไนจีเรีย แม่เจ็ดในสิบคนคลอดลูกที่บ้าน หากระยะเวลาในระบวนการคลอดนานเกินไป อาจส่วผลให้เกิดอาการฟิสตูลา ซึ่งเป็นอาการที่ส่งผลให้เด็กที่คลอดออกมาเสียชีวิต หรือผู้ป่วยมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ทำให้ต้องแยกตัวเองออกจากสังคม มีอาการติดชื้อ ประสาทบางส่วนถูกทำลาย หรือตายได้ในที่สุด  "สำหรับอาการฟิสตูลาแล้ว การป้องการคือวิธีที่ดีที่สุด"  ซินเซอร์กล่าว  เขาคือผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มปฏิบัติงานโรตารีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับประชากรในวัยเจริญเติบโต เขามีตำแหน่งเป็นซีอีโอของหน่วยงานนี้ 

วิธีการให้บริการครบถ้วนสำหรับแม่และเด็กก่อนคลอดรวมถึงเทคนิคการประกันสุขภาพ โครงการนี้ช่วยลดอัตราการตายของแม่ในโรงพยาบาลได้ ๖๐ เปอร์เซนต์ และได้ช่วยรักษาอาการป่วยฟิสตูลาสได้ถึง ๑๕๐๐ รายหรือเพิ่มขึ้น ๕๐๐ รายตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๘  ซึ่งนับว่าสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ โครงการนี้ยังเพิ่มบริการฝึกวิชาชีพและการให้กู้ยืมเงินแบบไมโครเครดิตด้วย
"สตรีเป็นจำนวนมากที่ป่วยด้วยโรคแบบนี้มักถูกไล่ออกจากบ้าน และไร้หนทางในการทำมาหากิน" ซินเซอร์แล่าวจากสำนึกของผู้ที่เป็นอดีตผู้ว่าการภาคโรตารี และเป็นสมาชิกของสโมสรลุควิกชาเฟ่น ไรน์ชานช์ แห่งประเทศเยอรมันนี  "พวกเธอไม่เคยรู้ด้วยซ้ำว่าโรคนี้รักษาได้ จนกระทั่งทราบการประชาสัมพันธ์จากพวกเราผ่านรายการวิทยุโดยเอาชีวิตจริงของผู้ที่ผ่านวิกฤตการณืนี้มาแล้ว มาเล่าห้ฟัง"
ทุนสมทบจากโรตารีสากลรวม ๔๗๘,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ โดยมีภาค ๙๑๒๕ ในประเทศไนจีเรียและสโมสรโรตารีไวเซนเบิร์ก เยอรมันนีได้ร่วมสมทบกันในโครงการนี้  และยังได้เงินสนับสนุนเพิ่มเติมจากรัฐบาลเยอรมันจำนวน ๘๒๖,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ กับมูลนิธิเอเวนติส  ทำให้สามารถขยายสู่กิจกรรมอื่น ๆ ได้อีกเช่น การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์พลังแสงอาทิตย์  การรณรงค์ให้ใช้มุ้งกันยุง และการดึงเงินบริจาคจากแหล่งอื่น ๆ เพิ่มเติม
"หากคุณเดินทางเข้าสู่ประเทศที่กำลังพัฒนา แล้วเดินเข้าไปในสลัมและคุยกับชาวบ้าน คุณจะรู้สึกได้ว่าผู้หญิงส่วนใหญ่ถูกครอบงำโดยผู้ชาย" ซินเซอร์กล่าว "พวกเธอเจ็บปวดและไม่มีใครช่วยได้  พวกผู้หญิงจะไม่สามารถมีพลังทำอะไรทั้งสิ้นหากพวกเธอดูแลสุขภาพตัวเองก่อนคลอดและเลี้ยงดูลูกหลังคลอดด้วยตัวเองไม่ได้ แต่หากเธอสามารถมีกำลังทำสิ่งเหล่านี้ได้และเป็นคนมีสุขภาพดี ครอบครัวก็จะมีความสุข และนำไปสู่ชีวิตที่ปราศจากความยากจนและความหิวโหยได้ในที่สุด
ดังนั้นแล้วคุณซินเซอร์ที่อายุตั้ง 85 ปีแล้ววางแผนที่จะทำต่อไป  "ต่อยอดออกไปอีก" เขากล่าว "เวลานี้เหมาะสมที่สุดแล้ว เราต้องเพ่งการทำงานโครงการไปที่สุขภาพแม่ เพราะมันจะสอดคล้องกับเป้าหมายการทำงานของสหประชาชาติในระดับโลกที่มียุทธศาสตร์ในการดูแลสุขภาพผู้หญิงและเด็ก  เราก็ควรทำงานสอดรับกับแนวทางนี้และเร่งประชาสัมพันธ์โครงการออกไป
"เพื่อนของผมถามว่า ทำไมผมไม่ไปเล่นกอล์ฟกับพวกเขาบ้าง"  เขาถามอย่างนี้ก็เพราะว่าไม่รู้ว่าผมได้ประโยชน์จากโรตารีขนาดไหน"  ซินเซอร์กล่าว  "นักวิทศาสตร์มากมายสรุปไว้ว่า หากคุณทำความดีให้กับผู้อื่น คุณก็จะดูอ่อนไว  เวลาผมไปอัฟริกา ผมจะรู้สึกเป็นคนที่ทำอะไรถูกที่ถูกเวลาและถูกใจผมที่สุด"
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องของกลุ่มปฏิบัติการโรตารีเพื่อการพัฒนาและความยั่งยืนแห่งการเติบโตของประชากร ได้ที่ http://www.rifpd.org/index.shtml 

เขียนโดย วาเนสซ่า เอ็น กลาวินสกาส

บทความนี้ปรากฎครั้งแรกที่นิตยสารเดอะโรแทเรียน ฉบับเดือนมิถุนายน ๒๕๕๕