Thursday, August 28, 2014

BUSINESS CLASS


Launch Detroit's Business class providing education background to borrowers
ก้าวสู่ชั้น (เรียน) ธุรกิจ
โรแทเรียนช่วยกันลงทุนกับเถ้าแก่ใหม่ในดีทรอยท์
บทความโดย แซลลีแอนน์ ไพรซ
รูปภาพโดย อลิซ เฮนสัน

--------------
Levi Johnson Jr. and his soul soup
ซ๊อสบาบีคิวที่ปรุงโดยเลวี่ จอห์นสัน รสชาติอร่อยมาก เขาเกิดที่เทสเนสซี่ เติบโตที่ดีทรอยท์ เรียนรู้วิธีปรุงอาหารแบบคนใต้ตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ ในช่วงพักร้อนที่บ้านเกิดของคุณแม่ผู้ซึ่งเป็นสมาชิกคนแรกในครอบครัวที่เก็บกระเป๋าเดินทางออกจากบ้านเกิดเพื่อไปหางานทำในภาคเหนือ เพราะฉะนั้นเขาจึงเป็นเหมือนคนกรุงที่แปลกหน้าที่ร่วมเดินทางกลับมาเยี่ยมบ้าน แต่เขากลับรู้สึกอบอุ่นเวลาอยู่ในครัวที่บ้านนี้  ดูคุณตาทำอาหารและลิ้มรสซ๊อสสูตรต้นตำรับของเขาอย่างเอร็ดอร่อย

ต้องนับว่าจอห์นสันเป็นคนดีทรอยท์ เพราะเขาแต่งงานมีครอบครัวอยู่ที่นี่ ทำงานให้กับคณะกรรมการบริหารการศึกษา ทำหน้าที่เป็นช่างคอยดูแลรถบัสของโรงเรียน เวลาว่างเขาไปเล่นดนตรีกับวงดนตรีท้องถิ่น ช่วยงานโบสถ์ และปรุงซ๊อสสูตรมายทีไฟน์โซลของมิสเตอร์เลวี่เพื่อทานเล่นในครอบครัวและแจกเพื่อน ๆ 

ในปี พ.ศ.๒๕๕๓ ช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ โรงเรียนรัฐบาลจำนวนหนึ่งในสี่ต้องปิดตัวลง จอห์นสันตกงาน แต่ก็โชคดีที่เขาได้งานประเภทเดียวกันที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง แต่เงินเดือนและสวัสดิการน้อยกว่าที่ทำงานเก่า "ผมทำงานนี้มาสิบเก้าปี แล้วอยู่ ๆ ก็มาตกงาน" เขากล่าว "ผมยังไม่แก่พอที่จะเกษียณอายุการทำงาน ดังนั้นผมจึงพูดกับตัวเองว่า ต่อไปนี้ผมจะต้องค้นหาความสามารถในตัวเองที่จะแปลงมันเป็นรายได้ จุดนี้เองทำให้ผมเริ่มจริงจังกับการทำธุรกิจผลิตซ๊อสขาย"

จอห์นสันคือหนึ่งในจำนวนผู้ประกอบการใหม่ ๑๓ รายที่เข้าร่วมโครงการลอนช์ดีทรอยท์ ซึ่งดำเนินการโดยภาคโรตารี ๖๔๐๐ (บางส่วนของมิชิแกนและออนแทริโอ /แคนาดา) จัดบริการสินเชื่อขนาดย่อมและให้การศึกษาการประกอบธุรกิจ รวมทั้งจับคู่กับโรแทเรียนเพื่อเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด เขาได้ทราบข่าวเกี่ยวกับโครงการนี้ในโรงครัวพ่อค้าแม่ค้าอาหารในตลาดอิสเทิร์น ซึ่งเป็นตลาดประจำเมืองเก่าแก่ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ  "ผมคุยกับใครบางคนถึงรายละเอียดว่าต้องมีขั้นตอนอย่างไรบ้างเพื่อจะได้เงินจากโครงการนี้มาผลิตสินค้าซ๊อสเป็นจำนวนมาก" จอห์นสันเล่าให้ฟัง  "จากนั้นผมได้รับอีเมลหนึ่งวันก่อนที่จะมีการเริ่มสำรวจเก็บข้อมูลของโครงการลอนช์ดีทรอยท์"  เขาศึกษาโครงการพัฒนาผู้ประกอบการรายย่อมของหน่วยงานอื่นเช่นกัน แต่โครงการเหล่านั้นจะต้องมีการชำระค่าธรรมเนียมการเข้าร่วมโครงการมาก หรือไม่ก็ต้องเข้าร่วมศึกษาในชั้นเรียนวันทำงานปกติ "ดังนั้นเมื่อผมรู้ถึงรายละเอียดโครงการของโรตารี ผมรู้สึกว่าโครงการนี้ทำมาเพื่อสิ่งที่ผมรอคอยพอดิบพอดี มันตอบโจทย์ผมเลย คณะกรรมการวางแผนลอนช์ดีทรอยท์ตอบรับใบสมัครของจอห์นสันและอนุมัติเงินกู้ ๑,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ในเดือนมกราคม เขานำเงินก้อนนี้ไปทำสัญญาซื้อบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ และทยอยส่งของไปขายเป็นล๊อตเล็ก ๆ ที่เขตเกรทเลคส์  บริษัทที่รับซื้อก็ช่วยจอห์นสันในการปรับปรุงสูตรอาหารเพื่อให้เข้ากับตลาดที่กว้างขึ้น ช่วยออกแบบฉลาก ตลอดจนส่งตัวอย่างไปให้สำนักงานอาหารและยาอเมริกัน (ยูเอสดีเอ) ตรวจเพื่อออกใบอนุญาตผลิต โดยตั้งเป้าว่าจะสามารถผลิตส่งให้ร้านค้าจำนวน ๖๐ แห่งได้ก่อนในเบื้องต้น  โดยในขณะนี้โรแทเรียนที่เป็นพี่เลี้ยงของจอห์นสันช่วยเอาซ๊อสแห่งจิตวิญญานนี้ไปช่วยวางขายตลาดระดับบนแถบชานเมือง  "ผมต้องเรียนรู้อีกมาก แต่ก็ค่อย ๆ เข้าใกล้เป้าหมายที่วางไว้มากกว่าในอดีต" จอห์นสันกล่าว "พอมีคนมาช่วยมากๆ โอกาสสำเร็จก็มีมากขึ้น"
สโมสรโรตารีมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยส่งเสริมโครงการเงินกู้ขนาดย่อม (ไมโครไฟแนนซ์) ในประเทศสหรัฐอเมริกา  มีหลักฐานสนับสนุนว่าหากการให้เงินกู้พร้อมการอบรมและบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการรายย่อยจะได้ผลสัมฤทธิ์สูงสำหรับชุมชนที่ประสบภาวะลำบาก  แนวความคิดนี้เบ่งบานจากประเทศกำลังพัฒนาในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ซึ่งบังเอิญสอดคล้องกับความสามารถของสโมสรโรตารีที่มีอยู่ในชุมชนเล็ก ๆ ต่าง ๆ ทั่วโลกโดยมีผู้นำในชุมชนเองที่มีความรู้ประสบการณ์มากล้นและยังมีเครือข่ายเพื่อนมากมายอีกด้วย
ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ มาริลีน ฟิทซ์เจอรัลด์ สมาชิกสโมสรโรตารีทราเวิร์สซิตี้เสนอความคิดเกี่ยวกับโครงการเงินกู้รายย่อยในดีทรอยท์ให้กับผู้นำในภาค ๖๔๐๐ ฟัง  ภาคนี้กินพื้นที่ดีทรอยท์ วินด์เซอร์ ออนแทริโอ และพื้นที่รอบนอกทั้งสองด้านของแม่น้ำดีทรอยท์  ก่อนหน้านี้เธอเคยทำโครงการเงินกู้รายย่อยในประเทศกำลังพัฒนา จากนั้นก็ใช้แนวความคิดเดียวกันไปช่วยเกษตรกรในเขตภาคเหนือของมิชิแกน
"ถ้าเราทำโครงการเงินกู้รายย่อยสำเร็จในต่างประเทศได้ ทำไมเราจะทำให้มันสำเร็จไม่ได้ในดีทรอยท์" ฟิทซ์เจอรัลด์ถามตัวเอง  "ผู้คนเริ่มสังเกตเห็นว่าเศรษฐกิจสมัยนี้เปลี่ยนแปลงไปแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่ความแตกต่างนี้เป็นเรื่องดี"
แลร์รี่ ไรท์ ประธานคณะกรรมการจัดทำแผนโครงการลอนช์ดีทรอยท์ รู้ดีว่าโครงการนี้ใช้เงินไม่มาก ประมาณทศวรรษที่ ๑๙๗๐ เขาและซาราห์ (ภรรยา) ช่วยกันทำธุรกิจตกแต่งสวนโดยกู้เงินจากธนาคาร ๒,๕๐๐ เหรียญ เพื่อซื้อเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน  และเช่นเดียวกับเจ้าของธุรกิจรายย่อยอื่น ๆ ครอบครัวไรท์พบกับมรสุมชีวิต แต่ในที่สุดก็สามารถหาเงินมาคืนเงินกู้นั้นได้ และยังสามารถต่อยอดธุรกิจจนประสบความสำเร็จ ถึงแม้สภาพเศรษฐกิจจะไม่ค่อยเอื้ออำนวยก็ตาม
Williams and her baby clothes biz
"เราต่างเจ็บปวดจากสิ่งที่เราเห็นรอบ ๆ ตัวเราในบ้านเมืองนี้ และเรารู้ว่ามันน่าจะดีกว่านี้ได้" ไรท์ ผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสโมสรโรตารีเทย์เลอร์กล่าว  สโมสรนี้อยู่นอกเมืองแถวท้ายแม่น้ำดีทรอยท์  "ตอนนี้เป็นจังหวะที่ดีมากสำหรับการเริ่มทำโครงการนี้  เรารู้สึกว่ามันเป็นโอกาสเหมาะที่เราจะก้าวเข้ามาทำมาทำอะไรบางอย่างที่เป็นสิ่งดี โดยเริ่มจากการทำสิ่งเล็ก ๆ นี้ก่อน"
โครงการนี้ได้รับการพิจารณาให้อยู่ในโครงการหลักหกประเภท เริ่มแรกตั้งเป้าหมายไว้ที่ผู้ประกอบการสุภาพสตรีในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของดีทรอยท์ซึ่งมีประชาชนเชื้อสายเม็กซิกันเป็นจำนวนมาก แต่ใบสมัครที่ส่งเข้ามานั้นกลับกลายเป็นมาจากทุกส่วนของดีทรอยท์ คณะกรรมการจึงต้องรับผู้สมัครมากเป็นสองเท่าจากที่คาดไว้ ส่วนผสมของผู้ประกอบการ ๑๓ รายมีตั้งแต่เกษตรกรไปจนถึงช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ ซึ่งครอบคลุมสถานที่ ๆ เป็นทั้งในห้องครัวของบ้านไปจนถึงร้านค้าที่อยู่ในอาคารเก่าแก่มีอายุนับร้อยปี ทุกรายมุ่งหวังที่จะเติบโต พัฒนาธุรกิจที่ทำอยู่ให้คุ้มกับเงินที่นำไปลงทุน
ฟิตซ์เจอรัลด์ช่วยไรท์และทีมงานพิจารณาโครงการที่สมัครเข้ามา  นอกจากการให้เงินกู้จำนวน ๑,๐๐๐ - ๒,๕๐๐ เหรียญที่มีดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี และต้องชำระคืนภายในหนึ่งปีแล้ว โปรแกรมนี้ยังจัดให้มีการให้ความรู้ และจัดหาพี่เลี้ยงแบบหนึ่งต่อหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีโอกาสเข้าถึงเครือข่ายทางธุรกิจ ซึ่งไรท์กล่าวว่า "เครือข่ายธุรกิจนี้ตามที่เรารู้กันดีว่า สำหรับโรแทเรียนมันมีค่าเป็นอย่างมาก เราสามารถนำทรัพยากรที่มีค่านี้ถ่ายทอดให้ผู้ประกอบการในโครงการได้ใช้ประโยชน์ นั่นก็คือบริการอาชีพของโรตารีนั่นเอง"
ขั้นตอนแรกของการทำโครงการนี้คือการหาทุน  ซึ่งมีสโมสรโรตารี ๑๒ แห่งในภาคบริจาคให้และยังมีวิทยาลัยแห่งอัลเลนพาร์คซึ่งผู้อำนวยการเป็นโรแทเรียน มอบเงินจำนวน ๓๐,๐๐๐ เหรียญ  เงินที่บริจาคนี้เตรียมไว้เพื่อการจัดการศึกษาทางด้านธุรกิจแก่ผู้ขอเงินกู้  โครงการนี้ใช้สถานที่ของวิทยาลัยเบเคอร์ จัดโปรแกรมให้เรียน ๕ ครั้งในช่วงฤดูใบไม้ล่วงปี ๒๕๕๖ แต่ละครั้งจะพูดถึงเนื้อหาทางธุรกิจที่แตกต่างกัน เช่นวิชาบัญชี กฎหมาย แล้วค่อย ๆ ทำความเข้าใจผ่านกรณีศึกษาที่เข้มข้นขึ้นในแต่ละครั้ง  ผู้ที่จะเป็นพี่เลี้ยงก็จะได้เข้ามาร่วมสังเกตการณ์ในครั้งแรก ๆ เมื่อผ่านไปสองสามครั้งแล้วจึงให้เข้าจับคู่กับผู้สมัคร.
เอียร์มา เฟินเต้ เจ้าของร้านขายเครื่องมืออในดีทรอยท์ฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ หลังเลิกเรียนเธอชอบอยู่พูดคุยกับเพื่อนและกลับเป็นคนหลัง ๆ  เธอกับสามีย้ายมาอยู่ที่ดีทรอยท์หลังแผนดินไหวครั้งใหญ่ในเม็กซิโกปี พ.ศ.๒๕๒๘ พวกเขาต้องช่วยกันเลี้ยงลูกชายสองคน เธอเองออกจะไม่มั่นใจในภาษาอังกฤษของตัวเองเท่าไหร่ ดังนั้นจึงค่อนข้างเครียดเวลาที่จะต้องไปเข้าชั้นเรียนใหม่ แต่ความจำเป็นบังคับเกี่ยวกับธุรกิจที่กำลังแย่ ทำให้เธอไม่มีทางเลือกมากนัก
"การศึกษานั้นเป็นสิ่งมีคุณค่า แต่คนที่อายุมากอย่างดิฉันการจะเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ มันไม่ง่ายนัก"  เฟินเต้กล่าว "แต่พอมีพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือและเป็นกำลังใจ คุณก็เรียนรู้ได้อย่างสบาย และถ้าคุณทำได้ เพื่อนบ้านของคุณก็น่าจะทำได้ คนที่อยู่เมืองอื่นก็น่าจะทำได้เหมือนกัน" หน้ากระดาษสีเหลืองจากนิตยสารเก้าแก่ฉบับหนึ่งติดอยู่บนผนังใต้หน้าต่างในร้านของเธอบอกได้ว่าร้านนี้มีตัวตนอยู่ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๔๐ ตอนนั้นแถวนี้มีแต่ชาวโปแลนด์  เศรษฐกิจที่ตกต่ำในช่วงทศวรรษ ๒๐๐๐ ส่งผลให้ชาวบ้านแถวนี้มีชีวิตที่ลำบาก  แต่หากคุณมองหน้าเฟินเต้ที่มีแต่รอยยิ้มคุณจะไม่มีทางรู้ถึงความลำบากที่เธอเคยประสบมาก่อน  เธอรับภาระดูแลร้านนี้มาหลังจากที่สามีเสียชีวิตตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๘ เธอเองต้องต่อสู้กับโรคมะเร็งทรวงอกตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๒ แต่เฟินเต้สามารถปลอบประโลมใจตัวเองได้จากกำลังใจที่ได้จากลูกชายทั้งสองและหลานอีกสามคน รวมทั้งเพื่อนบ้านในชุมชนที่ร้านของเธอให้บริการอย่างดีมาตลอด.
"ฉันสอนลูก ๆ เสมอว่า ถ้าแม่เดินได้หนึ่งก้าว พวกเขาจะต้องเดินได้สองก้าว" เธอกล่าว "ดิฉันพอใจที่จะเป็นคนแรกในชุมชนที่จะเริ่มทำอะไรก็ตาม"
เฟินเต้ สำเร็จการฝึกอบรมตามโปรแกรมพร้อมกับเพื่อนรุ่นเดียวกันอีก ๑๒ คนในเดือนเดือนมกราคม  เธอเอาเงินที่กู้ได้นี้ไปซื้อสินค้าคงคลังเพิ่มเติม หลังจากนั้นเธอดำเนินงานภายใต้การดูแลของโรแบร์โต ซานเชส โรแทเรียนพี่เลี้ยงของเธอ ซึ่งเป็นผู้มีเชื้อสายสเปนและเป็นอดีตผู้ว่าการภาคและประธานการเงินภาค  เขาจะมาเยี่ยมที่ร้านเป็นครั้งคราวเพื่อดูว่าธุรกิจเป็นอย่างไร และในฤดูร้อนที่จะมาถึงเขาอาสานำสโมสรโรตารีต่าง ๆ ให้เตื่นตัวในการเข้าชุมชนและสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ให้กับประชาชน
ซานเชสและไรท์ทั้งคู่เป็นกรรมการในคณะกรรมการลอนช์ดีทรอยท์ และอาสาเป็นพี่เลี้ยงให้  ประสบการณ์ของพวกเขาจะช่วยทำให้โครงการนี้ได้ผลที่น่าพอใจในอนาคต  "ก่อนจะมาทำหน้าที่พี่เลี้ยงเราต้องไปเข้าคอร์สอบรมการเป็นพี่เลี้ยงก่อน แต่พลังงานของพวกเราจะใช้ไปมากในเรื่องของการพัฒนาความสัมพันธ์ที่จะเกิดขึ้นในรอบการทำงานต่อไป" ไรท์กล่าว "การเป็นพี่เลี้ยงในตอนนี้จะช่วยให้งานในอนาคตมันง่ายขึ้น"
ครอบครัวไรท์ได้รับมอบหมายให้มาช่วยไบรอันนา บริเดล วิเลียมส์ ผู้สมัครขอกู้อายุเพียง ๒๖ ปี เด็กที่สุดในกลุ่มรุ่นนี้ เธอเริ่มทำธุรกิจชื่อ "ดีครีเอทเต็ด" มาสามปีแล้ว  ธุรกิจนี้คือการทำเสื้อผ้าเด็กขายในระบบออนไลน์ที่ทำกันในห้องใต้ดินของออฟฟิศในสวนสัตว์ดีทรอยท์ที่คุณแม่ของเธอทำงานตามสัญญาจ้างงานชั่วคราว และเธอก็โตมาจากห้องใต้ดินนี้เช่นกัน
"ตอนที่เราเริ่มทำงานนี้ เรามีเพียงแลบท๊อปตัวหนึ่ง จักรเย็บผ้า และตัวฉันกับแม่" วิลเลียมส์ทบทวนความหลังให้ฟัง  "วันนี้เราก้าวไปสู่จุดที่สามารถส่งของขายตามคำสั่งซื้อที่มาจากนิวซีแลนด์และบราซิล"  คุณแม่โยลันดา ทำหน้าที่ตัดเย็บและออกแบบ ในขณะที่วิลเลี่ยมส์คอยติดต่อลูกค้า คอยจัดหาผ้า หาออร์เดอร์ ส่งเสริมการขายในระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ และตอบอีเมลในตอนกลางคืนที่อาจถามเข้ามาจากผู้ที่กำลังจะเป็นแม่คน ที่สนใจในผลิตภัณฑ์ของเธอไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า รองเท้า ผ้าห่ม ถุงผ้าอ้อม และเครื่องใช้ทารกต่าง ๆ
"ฉันรู้ว่ามีอีกหลายอย่างที่ยังไม่รู้ ฉันก็พยายามเรียนรู้ตลอด"  วิลเลียมส์กล่าว แม้มีทีท่าว่ามีความกระตือรือร้นและวินัยในการทำงานสูง เพราะเธอต้องการพัฒนาตัวเองให้เป็นมืออาชีพ "แลร์รี่และซาร่าห์มีประสบการณ์มากกว่าฉัน ฉะนั้นหากมีเรื่องที่ฉันยังขาดประสบการณ์ ฉันรู้ว่าจะปรึกษาใครได้ นี่คือประโยชน์อันยิ่งใหญ่"  โครงการลอนช์ดีทรอยท์ช่วยพาความฝันของวิลเลี่ยมส์ไปสู่ความเป็นจริง เธอนำเงินไปจ่ายดาวน์สัญญาซื้อห้องโชว์สินค้าในแหล่งช้อปปิ้งสินค้าแฟชั่นลิเวอร์นัวส์  แม่ลูกคู่นี้ทำงานเจ็ดวันต่อสัปดาห์เพื่อผลิตสินค้าส่งให้ทันตามออร์เดอร์ที่รับจากหน้าร้านที่เปิดใหม่เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา  และช่วงฤดูร้อนธุรกิจก็จะเริ่มหนาแน่นขึ้นเพราะเป็นช่วงที่พ่อค้าแม่ค้าเอาสินค้าออกวางขายตามย่านถนนคนเดินใจกลางเมือง
วิลเลี่ยมส์ยังแสดงความสนใจเข้าร่วมโครงการบริการอาชีพของสโมสรโรตารีที่ไรท์สังกัด ซึ่งเขามีแผนที่จะไปทำกิจกรรมเพื่อแม่มือใหม่ในประเทศนิคารากัว  ธุรกิจของวิลเลี่ยมส์ได้รับโอกาสให้ผลิตชุดผ้าอ้อมจำนวน ๑,๘๐๐ ชุดเพื่อร่วมในโครงการความช่วยเหลือบรรดาคุณแม่ในเมืองชีนานดิก้า (ประเทศนิคารากัว) "เราพยายามเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทั้งหลายได้มีส่วนร่วมลงมือทำโครงการของโรตารี" ไรท์อธิบาย "เราจะพูดว่า นี่คือการทำงานจิตอาสาของเหล่าโรแทเรียน และเราหวังว่าพวกคุณก็จะทำแบบเดียวกันเมื่อคุณเติบโตขึ้นเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ  คุณก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ตอบแทนสังคมและชุมชนของคุณเอง"  
คณะกรรมการลอนช์ดีทรอยท์คาดว่าจะได้เริ่มโครงการรอบใหม่โดยการเปิดชั้นเรียนธุรกิจเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการที่สมัครขอเงินกู้กลุ่มใหม่ภายในฤดูใบไม้ร่วงนี้  ทีมงานของไรท์ได้เยี่ยมสโมสรโรตารีอื่น ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์รายละเอียดและแบบจำลองของโครงการเพื่อสโมสรเหล่านั้นจะพิจารณาเข้ามีส่วนร่วมในโครงการนี้ และชักชวนธุรกิจท้องถิ่นให้เข้าร่วมด้วย แต่กลุ่มก็ยังไม่จบเร็วนักสำหรับกลุ่มแรกที่ผู้ประกอบการยังคงมีการทำเวิร์คชอปกันทุกเดือนในหัวข้อต่าง ๆ เช่น การบัญชีขั้นสูง และการตลาดระดับรากหญ้า  พวกเขายังช่วยกันหาทุนและหาหุ้นส่วนธุรกิจ และองค์กรพัฒนาธุรกิจอื่น ๆ แล้วผู้กู้ที่คืนเงินกู้เร็วก็จะมีโอกาสในการกู้เงินก้อนใหญ่ขึ้นเพื่อพัฒนาธุรกิจของตนเองต่อไป  
นี่เป็นโอกาสที่น่าตื่นเต้นโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่อย่างวิลเลี่ยมส์  ในขณะที่หนุ่มสาวรุ่นเดียวกับเธอต้องออกนอกเมืองผลิตรถยนต์อย่างดีทรอยท์แห่งนี้ เพื่อหางานทำที่อื่นที่รุ่งโรจน์กว่า  วิลเลี่ยมส์ยืนยันจะอยู่ที่นี่ทำธุรกิจของเธอต่อไป "ฉันตั้งใจที่จะทำดีครีเอทเต็ดห้เป็นธุรกิจของเมืองนี้"  เธอกล่าว "อนาคตของดีทรอยท์มีอีกมากมาย" 

===========
(บทสัมภาษณ์)
'เราไม่ใช่พวกหัวเก่า'
เดอะโรแทเรียนคุยกับนักเขียน มาริลีน ฟิทซ์เจอรัลด์ เกี่ยวกับสาเหตุและวิธีการที่เงินกู้รายย่อย (ไมโครไฟแนนซ์)ประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา  สมาชิกสโมสรโรตารีทราเวิร์สซิตี้ผู้นี้เป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยกลุ่มปฏิบัติการโรตารี สาขาไมโครไฟแนนซ์และการพัฒนาชุมชน

เดอะโรแทเรียน : คุณได้ปรับเปลี่ยนหลักการไมโครไฟแนนซ์อย่างไรบ้างเพื่อให้มันใช้ได้ในอเมริกา
ฟิทซ์เจอรัลด์     : ในประเทศกำลังพัฒนา คุณอาจต้องการเงินเพียง ๒๕๐ เหรียญเพื่อลงทุนทำอะไรสักอย่างแล้วสามารถทำกำไรอย่างเพียงพอ  ที่นั่นเป้าหมายของเงินกู้อาจใช้ไปเพื่อทำให้ท้องอิ่ม ลูกไปโรงเรียนได้  แต่เป้าหมายเหล่านี้คงใช้ไม่ได้กับที่อเมริกาที่ให้กู้รายย่อยกันมากถึง ๒,๕๐๐ เหรียญ เพราะค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจมันสูงกว่ากันมาก แต่เราสามารถช่วยสร้างเครดิตให้พวกเขาได้ 
แต่เดิมผู้กู้อเมริกันต้องเป็นคนมีเครดิตดีมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เราพยายามให้กู้กับผู้กู้ที่ต่างไปจากเดิม แล้วเปลี่ยนเขาเหล่านั้นให้เป็นเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและสุดท้ายจึงเข้าสู่วิธีดั่งเดิมในการขอกู้จากธนาคาร  ความล้มเหลวในอัตราชำระคืนเงินกู้ในประเทศนี้เกิดกับธุรกิจขนาดย่อมสูงมาก  ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่สามารถทำกิจการให้สำเร็จภายในช่วงข้ามคืน หลายรายได้พยายามทำในสิ่งที่ไม่ประสบความสำเร็จซ้ำแล้วซ้ำอีก โครงการไมโครไฟแนนซ์ให้โอกาสแก่เจ้าของธุรกิจเหล่านี้และวางเส้นทางธุรกิจที่เขาสามารถอยู่ไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน 

เดอะโรแทเรียน :  แล้วถ้ายกเรื่องการตรวจสอบประวัติเครดิต และไม่ต้องมีหลักทรัพย์คำ้ประกันออกไป คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าผู้กู้จะชำระคืนเงินเมื่อถึงกำหนด
ฟิทซ์เจอรัลด์     : ในประเทศกำลังพัฒนา เราใช้วิธีเพื่อนควบคุมเพื่อน ทุกคนในกลุ่มเพื่อนรับผิดชอบต่อเงินกู้ และกลุ่มก็กำหนดวิธีการจัดการกับคนที่ไม่ชำระคืนเงินกู้  ที่นี่เราให้กู้เป็นแต่ละรายแยกจากกัน แต่เราก็มีโรแทเรียนที่มีความรู้ลึกในการทำธุรกิจคอยให้ความรู้ เป็นพี่เลี้ยง และเป็นกำลังสนับสนุนอยู่ตลอด ถ้าคุณกู้เงินจากธนาคารและเพิกเฉยการชำระคืน คุณจะได้รับจดหมายเป็นกอง ๆ จากธนาคาร จดหมายพวกนี้คุณไม่อยากเปิดอ่านแน่นอน  อันนี้เป็นวิธีการแบบเดิม ๆ แต่เราไม่ใช่สถาบันแบบเก่า เราต้องการสร้างความสัมพันธ์ ถ้าผู้กู้ไม่ประสบความสำเร็จ เราจะเข้าไปคุยด้วยแล้วช่วยวิเคราะห์ปัญหาด้วยกัน  และถ้าจำเป็นเราก็ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการชำระคืนเงินกู้หรือช่วยเขาปรับเปลี่ยนแนวทางการทำธุรกิจให้มันประสบความสำเร็จ
เดอะโรแทเรียน : คุณมีคำแนะนำอะไรให้กับสโมสรโรตารีอื่นๆ ที่อยากทำโครงการไมโครไฟแนนซ์หน่อยไหม
ฟิทซ์เจอรัลด์     : ก่อนอื่นต้องประเมินความสนใจของคน  ในดีทรอยท์เราแจกใบปลิวให้คนในชุมชนและจัดประชุมกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ถามหาความตั้งใจจริงและความช่วยเหลือที่เขาต้องการจริง ๆ คุณต้องให้ความใกล้ชิดกับผู้กู้ของคุณ ตรวจดูว่าเขามีทรัพยากรอะไรของตัวเองอยู่บ้าง จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ให้ได้มีประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไร เจาะใจเขาให้บอกความต้องการที่แท้จริงว่าต้องการเห็นกิจการของตัวเองเป็นอย่างไร  จากนั้นคุณต้องใคร่ครวญดูว่าอะไรสำคัญต่อองค์กรของคุณ แล้วจึงต่อรองกับผู้สมัครขอเงินกู้เรื่องเงื่อนไขที่จะนำเขาไปสู่ความสำเร็จที่ต้องการ คุณเองก็ต้องตัดสินใจในภาพรวมว่าอยากเห็นอะไรเกิดขึ้น แค่ให้รู้สึกดีคงจะไม่พอ จะต้องกำหนดให้ได้ว่าอะไรคือเครื่องมือในการวัดความสำเร็จของโครงการ  การวางแผนกลยุทธ์ก็มีความสำคัญเพราะผู้บริจาคและผู้อุปการะต้องการเห็นภาพที่ชัดเจนว่าคุณกำลังพยายามทำอะไรอยู่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสโมสรโรตารีต่าง ๆ เพราะคุณต้องคุยกับผู้ประกอบการเกี่ยวกับผู้ประกอบการเพื่อขอโอกาส นี่ไม่ใช่การทำการกุศล โรแทเรียนเข้าใจสัจธรรมข้อนี้ดี

Thursday, August 21, 2014

A Day to LIGHT UP Rotary in Sao Paulo

เมืองแห่งความกลมกลืนในความแตกต่าง สถานที่จัดประชุมใหญ่โรตารีสากลปี ๒๕๕๘
ตื่นตาตื่นใจใน..เซาเปาโล
โดย เจมส์ ไฮเดอร์

เมืองไหนดีกว่ากัน ระหว่างริโอเดอจาเนโรหรือเซาเปาโล  นี่เป็นหัวข้อที่ถกเถึยงกันในหมู่คนบราซิล และคงถกเถียงกันไปอีกนาน.
ริโอคือโปสเตอร์ทิวทัศน์ของโลกยุคใหม่ที่เป็นหาดสวรรค์ของผู้นิยมความสุขสนุกสนาน อยู่ท่ามกลางขุนเขาลำเนาไพร ผู้คนงดงามในชุดวับ ๆ แวม ๆ นี่เป็นข้อดีเด่นที่คนเพาลิสตาโน (คนในเซาเปาโล) ต้องยอมรับอย่างเสียไม่ได้ แล้วมักถามกันว่า "แล้วเมืองที่เลิศหรูนั้นจะหาอาหารมื้อดี ๆ ทานกันได้ไหม"
ทั้งนี้เป็นเพราะเซาเปาโลมีอาคารสูงตั้งตระหง่านอยู่บนที่ราบสูงจับจ้องไปยังที่ราบต่ำเบื้องหน้าที่เป็นชายฝั่งทะเล อันเป็นอนุสาวรีย์แห่งชีวิตที่หรูหรา เปรียบดังนิวยอร์คเมืองร้อนก็ว่าได้ ชาวเมืองต่างภาคภูมิใจในความเป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจของโลกที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับเจ็ด  และพวกเขายังยืนยันว่าที่นี่เป็นเมืองแห่งอาหารอร่อยที่สุดในอเมริกาใต้
นอกเหนือจากความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่กระจุกตัวที่เซาเปาโลแล้ว หุบเขาอาคารระฟ้าที่เป็นศูนย์กลางอย่างอาเวนนิดา เปาลิสต้าเป็นพื้นที่ ๆ ก่อให้เกิดรายได้ประชาชาติมากถึง ๑ เปอร์เซนต์ของทั้งหมดของประเทศที่มีชายหาดยาวสุดลูกหูลูกตานี้ ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากเศรษฐกิจของชาวญี่ปุ่นโพ้นทะเนี่มากกว่าที่ใด ๆ ในโลก อันเป็นผลสืบเนื่องจากการเปิดประเทศต้อนรับนักลงทุนจากทั่วโลกของบราซิลในช่วยต้น ๆ ของศตวรรษที่ ๒๐ พอดีกับญี่ปุ่นก็ประสบกับความยากลำบากในการทำมาหากินในประเทศตนเองหลังการล้มระบอบศักดินา จึงอพยพออกนอกประเทศมาตั้งถิ่นฐานรวมตัวกันหนาแน่นในเขตที่เรียกว่า "ลิเบอร์เดด" ที่เต็มไปด้วยร้านค้า กลิ่นอายแบบญี่ปุ่น และมีร้านซูชิอยู่มากมายอย่างเหลือเชื่อ
ลที่มากระจุกตัวกันอยู่ที่
ถัดจากลิเบอร์เดดไปสองสามช่วงถนน หากคุณเดินแบบทอดน่องไปเรื่อย ๆ ผ่านโบสถ์ขนาดใหญ่หรือที่มีชื่อว่า "แคททีดรัล ดาเซ" และผ่านอาคารอพาร์ทเมนต์ที่ด้านหน้าตกแต่งด้วยศิลปกรรมยุคใหม่สร้างตอนที่ศูนย์กลางเมืองแห่งนี้ยังเต็มไปด้วยพื้นที่ปลูกต้นชา ที่นี่คือศูนย์กลางของเมืองซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งโบสถ์คริสต์ของหมอสอนศาสนานิกายเยซูอิท ทำให้มองเห็นถึงสภาพบ้านเมืองแบบบ้านนอกที่สืบทอดให้เห็นในปัจจุบัน ตั้งตระหง่านอยู่ในจตุรัสเหมือนเป็นคนแคระท่ามกลางอาคารที่ทำการขนาดสูงที่มีอายุกว่าร้อยปี พระที่เคยดูแลโบสถ์ไม่มีอีกต่อไปแล้ว อาคารเหล่านั้นถูกครอบครองโดยร้านขนมที่ขายขนมโบโล (ขนมเค้กแบบโปรตุเกส) หรือขนมเค้กที่ทานอร่อยเสริฟพร้อมกาแฟในพื้นที่สวนหลังร้าน
แต่ถ้าหากต้องการเจาะลึกถึงหัวใจของการปรุงอาหารเลิศรสของเซาเปาโลต้องไปที่เมอร์คาโดมูนิซิปาล ตลาดใหญ่ทรงวิคตอเรียที่ดูจากข้างนอกคล้ายปลายทางสถานีรถไฟในลอนดอน  สำหรับผู้ที่มาร่วมประชุมใหญ่โรตารีสากล คุณอาจเรียกแท็กซี่จากศูนย์ประชุมอันเฮมบีข้ามแม่น้ำไทเต้ได้อย่างง่ายดาย  ภายในตลาดคุณจะพบกับร้านค้าต่าง ๆ มากมายขายสินค้าประเภทเครื่องเทศ ผลไม้ เนื้อสัตว์แปรรูป ปลาค็อดดองเค็ม [ที่พอร์โกเฟลิทซ์ คุณอาจซื้อหมูได้ทั้งตัว หรือตัวแคปิบารา (สัตว์คล้ายหนูที่ตัวใหญ่กว่าแต่ไม่มีหาง)] บนชั้นสองของตลาดคือระเบียงขนาดใหญ่เรียงรายไปด้วยร้านกาแฟ คุณสามารถหาแซนด์วิชและเบียร์เย็น ๆ ที่เรียกกันว่า "ช็อป" ทานดื่มไปพร้อมกับกวาดสายตาดูความวุ่นวายของตลาดด้านล่าง
Figueira Rubaiyat 
หากคุณต้องการไปตลาดที่ระดับสูงขึ้นไปอีก เซาเปาโลมีภัตตาคารที่มีชื่อระดับโลก ดีโอเอ็มคือสุดยอด ที่นี่ตั้งอยู่ในเขตจาร์ดีมเปาลิสต้ามักรู้จักกันทั่วไปว่าเป็นที่สุดของอาหารลาตินอเมริกา เกรงใจที่จะบอกว่าที่สุดในโลก เชฟอาเล็กซ์ อาทาลา ดังขนาดไทม์แมกกาซีนจัดให้เป็นหนึ่งในร้อยบุคคลที่ทรงอิทธิพลในโลกเมื่อปีที่แล้ว  เขาลงทุนปลูกพืชที่จะเอามาใช้เป็นส่วนประกอบอาหารเองในแถบอะเมซอน เดินทางบ่อย ๆ เพื่อเสาะแสวงหาพืชพันธ์ธัญญาหารที่บางประเภทก็เรียกชื่อไม่ถูก เขายังช่วยเกษตรกรรายย่อยให้ทำการเกษตรแบบอินทรีย์เพื่อจะได้มีรายได้สูงขึ้น  ผลที่ตามมาคือการคิดค้นเมนูอาหารแบบบราซิลเลียนที่เป็นที่นิยมและทำเลียนแบบกันแพร่หลาย แต่ก็ไม่มีใครเทียบพอจะเป็นคู่แข่งได้
ฟิกูอีรารุไบยาท ถือดูเหมือนจะเป็นภัตตาคารที่ตั้งอยู่ในทำเลดีที่สุดของเมืองบนถนนสายทันสมัย "แฮดดอกโลโบ" (หรือ รูแฮดดอกโลโบ) ในจาร์ดีมเปาลีสตา สวนภายในภัตตาคารแห่งนี้ มีโต๊ะตั้งอยู่รายรอบต้นไทรขนาดใหญ่ที่มีกิ่งก้านแผ่ขยายออกไปไกลครอบคลุมแขกที่มาใช้บริการเกือบทุกคน ดูไปคล้ายคอไดโนเสาที่ยื่นออกจากลำตัวยาวออกไปจนทะลุหลังคากระจกด้านบน  คนส่วนใหญ่มาที่นี่เพื่อทานเนื้อแบบบราซิลเลียนหรืออาร์เจนติน่า แต่เนื้อแกะคือหนึ่งในยอดอาหารจานโปรดที่ผมชอบเป็นพิเศษ และอาหารที่ปรุงโดยปลาจากอะเมซอนก็อร่อยไม่แพ้อาหารในเมืองมานอส.
เชฟอาหารญี่ปุ่นระดับปรมาจารย์ในเมืองก็พบได้ในภัตตาคารระดับบน เช่นที่ไอโซเมะ เข้าไปนั่งที่บาร์ไม้มองดูเชฟเตรียมอาหารอย่างพิถีพิถันไม่ว่าจะเป็นซูชิหรือซาชิมิต้นตำหรับ หรือจะเป็นอาหารพันธ์ผสมญี่ปุ่นกับบราซิลเลียนแบบฟิวชั่นเช่นหอยนางรมย่างโรยเสาวรส
แต่การหาอาหารชิมในตลาดล่างก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรพลาดในเซาเปาโลเช่นกัน อาหารภาคพื้นอื่น ๆ หารับประทานได้เช่นกันโดยเฉพาะอาหารทะเลภาคอีสาน ซึ่งที่ขึ้นชื่อที่สุดต้องเป็นที่โมโคโตะในวีลาเมเดอีรอส ขับรถ ๔๐ นาทีไปทางเหนือจากกลางเมือง ไกลหน่อยแต่คุ้ม มันเริ่มต้นชีวิตเหมือนจากรูกลางกำแพงห้องครัวที่สร้างโดยโฮเส่ โอลิเวียร่า เดอ อัลเมดา ผู้ซึ่งอพยพมาจากเพอร์นัมบูโกในภาคอีสานของบราซิล วิธีการทำอาหารแบบบ้าน ๆ ของเขาซึ่งรวมถึงสูตรลับสุดยอดอาหารปรุงจากเนื้อกับน้ำถั่ว ทำให้ผู้คนหลงไหลรสชาติกันทั่วบ้านทั่วเมืองและตลอดปี เหตุนี้เขาจึงยอมขยายกิจการที่ทำอยู่ออกไปจนนิวส์วีคนำไปบรรจุเป็นหนึ่งใน ๑๐๑ ร้านอาหารที่ดีที่สุดในโลก.
ที่โมโคโตะนี้ยังเป็นแห่งแรกในโลกที่บริกรเสิร์ฟเหล้าคาชัคก้า ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่เดิมผลิตจากชานอ้อยโดยทาสที่ทำงานในไร่ มักนิยมดื่มเพื่อการเฉลิมฉลอง ลีอันโดร บาทิสต้าจะนำคุณชมห้องเก็บเครื่องดื่มชั้นเลิศหลากหลายประเภทของประเทศ สุดยอดของเครื่องดื่มที่เขาชอบเป็นพิเศษคือยี่ห้อฮาวานาเทียบชั้นได้กับเหล้าสก๊อตที่ผลิตจากมอลต์ มันสูสีกันในด้านความนุ่มและราคา  และที่โชว์ได้ว่าดีที่สุดเป็นอันดับสองและคุณสามารถซื้อกลับบ้านได้เลยคือเว็บเบอร์เฮาส์ ที่คุณจะรู้สึกถึงร่องรอยของวนิลา รสชาตินุ่มแบบไวน์ซอแตน (ฝรั่งเศส) มากกว่าจะเป็นสุรา
เมื่อหนังท้องตึงกระเป๋าเริ่มแฟบ ก็ถึงเวลาลองสัมผัสความน่าหลงใหลอีกด้านหนึ่งขอเมืองนี้ นั่นคือฟุตบอลหรือซ็อคเกอร์ แต่ที่นี่เรียกกันว่า "ฟุชบอล" เป็นกิจกรรมที่เป็นมากกว่าความน่าหลงใหลของคนทั้งประเทศ บางคนเปรียบเหมือนเป็นศาสนาหนึ่ง และมันเกิดขึ้นที่เซาเปาโลนี่เอง  ชาลส์ มิลเลอร์ บุตรชายของวิศวกรรถไฟชาวสก๊อตมีแม่เป็นชาวบราซิลเลียน เกิดในปี พ.ศ.๒๔๑๗ ได้รับการศึกษาที่ประเทศอังกฤษ เขาได้เข้าทีมฟุตบอลลอนดอนคอรีนเธียนส์ ซึ่งตอนนี้ปิดตัวไปแล้ว เมื่อเขาเดินทางกลับบ้านเกิด เขาเอาลูกบอลหนังสองลูก รองเท้าฟุตบอลคู่หนึ่ง และคู่มือกฎกติกาฟุตบอลกลับมาบ้านด้วย จากนั้นมากีฬาลูกหนังนี้ก็เป็นที่นิยมในบราซิล และทำให้ประเทศนี้มีชื่อติดทีมดังในประวัติศาสตร์ซ็อคเกอร์โลก โดยมีสถิติชนะเลิศในเวิร์ลด์คัพ ๕ ครั้ง และยังมียอดนักฟุตบอลโลกหลายคนที่มาจากบราซิล
ชื่อ "คอรีนเธียนส์" (ชื่อเต็มคือ "สโมสรกีฬาคอรีนเธียนส์เปาลีสต้า") ปัจจุบันเกี่ยวข้องกับสโมสรดาวรุ่งที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง ที่มีแฟนบอลจำนวนหนึ่งยอมออกทุนจัดพิธีศพกับให้บรรดาผู้ให้การสนับสนุนรุ่นเก่าแก่ของทีมฟุตบอลนั้น พวกเขาออกให้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นโลงศพ เครื่องประดับของทีม และนักไวโอลีนที่คอยบรรเลงเพลงประจำทีม  มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญเลยที่เซาเปาโลจะได้รับการเสนอชื่อเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเวิร์ลด์คัพ ๒๐๑๔ ในสนามใหม่ล่าสุดที่ลงทุนสร้างเกือบห้าร้อยล้านเหรียญสหรัฐ อันถือว่าเป็นบ้านใหม่ของ "คอรีนเธียนส์"
Museu do Futebo
ถ้าอยากดูฟุตบอล แนะนำให้เลือกเจ้าภาพของทีมต่าง ๆ อาจเป็น ทีมเซาเปาโล  ปาล์มเมอร์ราส และโปรตุเกส ในอนาคตจะมีทีมซานโตสเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งเป็นสโมสรฟุตบอลของนักฟุตบอลระดับตำนานของบราซิลที่ชื่อ เปเล่
คุณอาจได้ทั้งอาหารอร่อยและดูฟุตบอลนัดเด็ดโดยไม่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยไปที่สนามกีฬาโมรูมบี้ ตั้งอยู่ในแหล่งหรูหราที่สุดของเซาเปาโล ซึ่งมีชื่อเรียกเหมือนกันว่า "โมรูมบี้" ที่นั่นคุณสามารถเอาบัตรเข้าชมแลกเป็นที่นั่งในร้านอาหารญี่ปุ่น "โคจิ" ได้  ร้านนี้เสิร์ฟซูชิท้องซาลมอนกับมะนาวที่อาจทำให้คุณลืมความสนใจในเกมที่กำลังเล่น ที่นี่เป็นอีกที่หนึ่งที่เป็นสนามกีฬาบนพื้นดินที่อาจหาอาหารและเครื่องดื่มดี ๆ รับประทานได้
เพิ่มเติมสำหรับแฟนบอล ผู้แวะเวียนไปที่ "มูซิอูดูฟุชบอล" (พิพิธภัณฑ์ฟุตบอล) ที่เป็นส่วนหนึ่งและอยู่ภายในสนามกีฬาเปาโลมาชาโดเดอคาวาโล อารีนาที่มีมาตั้งแต่ทศวรรษ 1940 แทรกตัวระหว่างอัฒจรรย์ของสนามลาดเอียงแห่งไฮกีอันโนโปลีส (อีกชื่อของโมรูมบี้) ภายในจัดวางเรื่องราวอย่างน่าสนใจแฝงอารมณ์ขันให้เห็น กระนั้นก็สะท้อนให้เห็นความศรัทธาในกีฬาฟุตบอลของชาวบราซิล ทำให้ผู้เยี่ยมชมรู้สึกถึงแง่งามของเกมฟุตบอล ที่อยากอวดคือห้องรูปบราซิลในสีแซปเปียเล่าเรื่องราวในอดีตครั้งเมื่อฟุตบอลเริ่มเข้ามาในประเทศนี้ การจัดแสดงสิ่งของที่เด็กข้างถนนซึ่งบางคนกลายเป็นมหาเศรษฐีในวงการซ็อกเกอร์ เคยเป็นเจ้าของตั้งแต่ของประเภทตุ๊กตาไปถึงถุงเท้าเตะบอลและแม้กระทั่งก้อนหิน ที่มีสีสันมากขึ้นก็คือเสียงบันทึกจากวิทยุในอดีตของนักพากย์กีฬาที่กำลังปลุกเร้าใจผู้ฟังในเกมประวัติศาสตร์การทำประตูของบราซิล (คำเตือนนักทำประตู : ส่วนใหญ่จบลงด้วยเสียงเชียร์อย่างตื่นเต้นของคนดูคล้าย ๆ "โกลลลลลลลลลลลล") และความทรงจำดี ๆ ของนักซ็อกเกอร์ในเกมที่เขาเล่น นักวิจารณ์กีฬาที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งเล่าให้ฟังถึงความเชื่อที่เขาและครอบครัวเคยมีร่วมกันเมื่อครั้งเป็นเด็ก (เหมือนชาวบราซิลส่วนใหญ่) ว่าเวลานั่งเชียร์ฟุตบอลโลกจะต้องนั่งม้านั่งตัวเดียวกันทั้งบ้าน ในขณะที่ผู้เป็นพ่อจะเอาแมกกาซีนม้วนสอดไว้ที่รักแร้เพื่อนำโชค.
ประวัติศาสตร์ไม่มีให้ชมมากนักในเซาเปาโล เมืองที่ครั้งหนึ่งถูกสร้างภายใต้การครอบครองและด้วยอิทธิพลของยุโรป แล้วก็ถูกลบล้างออกไปด้วยการแพร่ขยายและความซ้ำซ้อนของการพัฒนาอย่างบ้าคลั่ง ดั่งคำกล่าวของนักประพันธ์ชาวอังกฤษ เจมส์ สกูดามัวร์ที่บรรยายในหนังสือชื่อ "เฮลิโอโปลิส" ของเขาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๓ ว่า "เมืองที่ไม่เคยมีการวางผังเมือง เมืองที่ไม่มีมิติของเวลา เพราะชาวเมืองถูกลอบจู่โจมโดยความเป็นเมืองนั่นเอง โดนระเบิดลูกแล้วลูกเล่าอย่างต่อเนื่องจากการบูมปลูกกาแฟ น้ำตาล แล้วก็มายาง มันเกิดขึ้นเร็วมากจนไม่มีใครจะหยุดหายใจแล้วถามคำถามว่าเราทำอะไรและจะไปที่ไหน จากนั้นมามันก็ขยายตัวไปเรื่อย และตามมาด้วยการใช้พลังงานอย่างมากมายมหาศาล หากคุณเดินไปในเมืองบางครั้งอาจสัมผัสกับกลิ่นอายบรรยากาศเก่า ๆ จากสถานที่บางแห่งแบบที่คุณไม่เคยสัมผัสมาก่อน เช่นภาพเลือนรางสีขาวดำของอาคารระฟ้าอย่างในนครนิวยอร์คทศวรรษที่ ๑๙๕๐
ที่เมืองนี้เราสามารถเดินทางไปที่ต่าง ๆได้อย่างง่ายดาย ส่วนต่อขยายของเมืองมีรถไฟฟ้าที่สะดวกและปลอดภัย แท็กซี่มีมากมายและไม่แพงด้วย แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้รถโดยสารเพราะปกติจะแน่นและค่อนข้างวุ่นวายซ้ำยังขับกันเร็วเกินไป อ้างว่าเพื่อความปลอดภัย
Ibirapuera Park
หากต้องการจะหลบหนีความสับสนวุ่นวานในเมืองที่มีมวลมหาประชาชนถึง ๒๐ ล้านคน ลองไปที่เซ็นทรัลปาร์คแห่งเซาเปาโลที่ชื่อว่า "อีบีราปูเอรา"ปาร์ค ตั้งอยู่ใจกลางวีลามาเรียนา คุณจะพบกับบึงวางโค้งโอบล้อมด้วยสนามหญ้าที่เต็มไปด้วยต้นไม้ชื่อแปลก ๆ ชาวเปาลีสตามาที่นี่เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ทานปิคนิค หรือวิ่งออกกำลังกายบนทางวิ่งที่แทรกตัวระหว่างหญ้าที่เขียวขจี ความสวยงามของสถานที่แห่งนี้ยังปรากฎให้เห็นยามค่ำคืนเมื่อความร้อนของอากาศตอนกลางวันเหือดหายไป และน้ำพุในบึงน้ำพุ่งขึ้นรับแสงที่แดงและส้มที่ส่องจากสปอตไลท์ดูคล้ายสายฟ้าแล็บ
หากจะมีสถานที่สักแห่งหนึ่งที่รอดพ้นจากเงื้อมมือของความซ้ำซ้อนของการพัฒนา นั่นก็คือพิพิธภัณฑ์แห่งเปาลีสต้า (หรือ มูซิอูเปาลิสต้า) สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๓๘ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ปัจจุบันเน้นแสดงประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ ที่นี่ตั้งอยู่ในสวนบนเนินเขาทอดผ่านสระและบ่อน้ำหลายแห่งไปจรดที่อนุสาวรีย์ (ประกาศอิสรภาพจากโปรตุเกส) ขนาดใหญ่
Instituto Butantan
แต่หากต้องการจะหลบหนีไปไกลสักหน่อย ก็ลองจับแท็กซี่ไปที่อินสติตูโตบูตันตัน (ศูนย์วิจัยการแพทย์ชีววิทยา) แรกเห็นรู้สึกคล้ายอยู่ในยุโรปยุคสวยงาม (Belle Époque Europe) ที่มาตั้งอยู่กลางป่าเขตร้อนอย่างชานเมืองภาคตะวันตกของเซาเปาโล พื้นที่ตรงนี้ถือว่าเป็นเขตชนบทและดูแปลกตา สถาบันนี้สร้างขึ้นกว่าร้อยปีมาแล้วเพื่อเป็นศูนย์วิจัยทางการแพทย์เพื่อต่อสู้กับการระบาดของกาฬโรคในเวลานั้น ดังนั้นจึงมีการเลี้ยงงูพิษไว้หลายสายพันธ์ (โชคดีที่ยังเป็นศูนย์วิจัย และนับได้ว่าเป็นสถาบันที่ใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกาที่ผลิตและจำหน่ายยาต้านพิษงู ยาต้านสารพิษต่าง ๆ และวัคซีนชนิดต่าง ๆ)  คุณอาจเดินชมคอกงูพิษ งูจงอาง คิงสเนก และงูเหลือม นอกจากนี้ยังมีมุมสะสมแมงมุมยักษ์เขตร้อนที่จะทำให้ขนบนผิวคุณลุกได้ มีป้ายอันหนึ่งในสวนเตือนผู้มาเยี่ยมชมไม่ให้เข้าไปในบริเวณป่าที่ลึกเข้าไป จากการเยี่ยมชมสัตว์ในกรงที่นี่คุณคงไม่รู้สึกอยากฝืนคำเตือนนี
Samba de Rainha
เซาเปาโลยังมีแหล่งฟังดนตรีที่น่าตื่นตาตื่นใจ โดยเฉพาะที่เป็นจังหวะเร่าร้อนแบบแซมบ้า ในใจกลางเมืองที่บาร์โวเซ่ไวซิกิแซร์แถบรวมตัวคนทันสมัยที่ชื่อ พลาซ่าโรเซอเวลท์มีชื่อในด้านการดึงดูดนักฟังดนตรี  หรือที่บาร์ฟาเวลา วิลามาดาเลนา มีการแสดงของนักดนตรีหญิงชื่อวงว่า "แซมบ้าเดอฮายนา" (หรือ แซมบ้าควีน) เล่นที่นี่ทุกวันอาทิตย์  หรืออาจลองสัมผัสกับกราซีอาดิโอ บาร์ยืนเต้นที่วัยรุ่นของที่นี่เต้นตามจังหวะที่เขาชอบ  เมื่อพระอาทิตย์ตกดินแล้วอย่าเข้าไปใกล้ศูนย์กลางเมืองเก่าที่ใกล้กับ "เซ"  แต่บาร์และภัตตาคารในแถบถนนจาร์ดีมเปาลีสต้าและพินแฮรอสปลอดภัยสำหรับการเที่ยวดื่มกิน
วิธีปิดฉากวันแห่งการท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในเซาเปาโลวิธีหนึ่งคือการปิดด้วยไกปิรินยา หรือเหล้าค็อกเทลคาชัคกาพร้อมกับบีบมะนาวผสมน้ำตาล ถ้าจะจบแบบนี้ต้องไปที่ถนนแอสปิกวยต้าใกล้ ๆ วีลามาดาลีนา ซึ่งเป็นทั้งภัตตาคารและที่ฟังเพลง และตลอดทางเท้าที่คลาคล่ำไปด้วยหนุ่มสาวเปาลีสต้าแฝงตัวในความมืดทำในสิ่งที่วัยรุ่นเมืองเป็นที่รู้จักทำกัน -สุขกันเถิดเรา 

ลงทะเบียนร่วมประชุมใหญ่โรตารีสากลปี ๒๕๕๘ ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๖-๙ มิถุนายน โดยให้ลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนวันที่ ๑๕ ธันวาคม ได้ที่ www.riconvention.org 


A Day to Light Up Rotary in Sao Paolo

by James Hider
Which is the better city, Rio de Janeiro or São Paulo? That is the great debate that dominates Brazilian life, and probably always will.
Rio is the global poster child for beachfront hedonism, with its mountains and jungles and beautiful people in skimpy clothing. This is something paulistanos grudgingly admit. They then invariably ask, “Where in the Marvelous City can you get a decent meal?”
Because São Paulo, its concrete towers peering from a plateau over the coastal plain, is a monument to fine living, a tropical version of New York. Its busy denizens pride themselves on being the business heart of the world’s seventh-largest national economy, and they argue with justification that Sampa, as the city is known, is the culinary capital of South America.
Aside from the sheer concentration of wealth in São Paulo – its central skyscraper canyon, the Avenida Paulista, contains 1 percent of the nation’s GDP in its milelong stretch – part of the city’s gastronomic greatness stems from having the largest Japanese population outside of Japan. This legacy of the early 20th century, when Brazil was hungry for immigrants and post-feudal Japan was suffering famine, has left an entire area of the city center, known as Liberdade, full of Japanese shops, festivals, and amazing sushi restaurants.
A few blocks away from Liberdade – if you stroll past the hulking cathedral, or Catedral da Sé, and the crumbling art nouveau facades of apartment blocks built when the center was still surrounded by tea plantations – you come to São Paulo’s ground zero: the 16th-century Jesuit mission, an oddly rural-looking relic standing on a small square and dwarfed by high-rises and grandiose century-old office buildings. The monks who ran the mission are long gone, replaced by bakers who sell a mean bolo, or cake, to be savored with a Brazilian coffee in a small courtyard out back.
But to really leap into São Paulo’s exotic gourmet heart, start at the Mercado Municipal, the vast Victorian market hall that looks a little like a London railway terminal from the outside. For Rotary convention goers, it’s an easy cab ride across the Tietê River from the Anhembi Convention Center. Inside, you’ll find a labyrinth of stalls selling all varieties of Brazilian spices and fruit, cured meats, and salted cod. (At the Porco Feliz, you can pick up an entire pig, or order a capybara, the largest rodent in the world.) Upstairs is a huge balcony packed with cafes where you can down sandwiches and ice-cold draft beer, called chope, and contemplate the bustle below.
If you’re looking to go upmarket, São Paulo has some of the world’s highest-rated restaurants. At the top is D.O.M., in Jardim Paulista, frequently cited as one of Latin America’s best – if not the best. Its chef, Alex Atala, made Time magazine’s list of the 100 most influential people last year. He harvests his ingredients from sustainable sources in the Amazon, making frequent trips to seek out plants and fish with unpronounceable names, and helps small farmers produce organic crops profitably. The result is a home-grown Brazilian haute cuisine that has been much imitated, but not yet rivaled.
Figueira Rubaiyat commands one of the most impressive settings in the city, on Jardim Paulista’s glitzy Rua Haddock Lobo. In its garden, tables cluster around an enormous banyan tree whose branches snake out over diners like diplodocus necks before disappearing through the glass roof. Most people go for the Brazilian or Argentine beef dishes, but the lamb is among the best I have ever eaten, and the selection of meaty Amazon fish is as good as anything outside Manaus.
The city’s Japanese master chefs have also gone upmarket: At tiny Aizomê, sit along the wooden bar and watch as they prepare dishes ranging from traditional sushi and sashimi to Japanese-Brazilian fusion cuisine, such as grilled oysters with passion-fruit glaze.
But in São Paulo, eating downmarket doesn’t mean missing out. Regional cuisines are well represented, especially the northeast’s homey seafood-rich dishes. By far the most renowned spot for this is Mocotó in Vila Medeiros, a 40-minute drive north of the city center but worth the trek. It began life as a hole-in-the-wall kitchen set up by José Oliveira de Almeida, a migrant from Pernambuco in Brazil’s drought-plagued northeast. His home cooking – including his trademark meat and bean broth, made according to a secret recipe – has attracted such a lively crowd over the years, he was forced to expand into a full-scale restaurant that Newsweek listed as one of the 101 best eateries around the globe.
Mocotó also boasts the world’s first and only sommelier of cachaça – Brazil’s most celebrated native drink, originally distilled on slave plantations from pulped sugar cane. Leandro Batista will give you a tour of the best brews from the country’s vast range: His top tip is the Havana brand, which rivals single-malt Scotch for smoothness and price, but a close second-best, and one to bring home, is Weber Haus, with a hint of vanilla bean that gives it the softness of a good Sauternes rather than a spirit.
Once your belly is full and your wallet more or less depleted, it’s time to sample the city’s other passion: soccer. Futebol, as they call it here, is more than a national obsession; it’s more like a religion, and São Paulo is the place where it all began. Charles Miller, the son of a Scottish railway engineer and an Anglo-Brazilian mother, was born here in 1874 and studied in Britain, where he became a footballer for the now-defunct London Corinthians. When he returned to his native city, he brought with him two leather footballs, a pair of football boots, and a book of rules. The sport quickly caught on, and Brazil went on to become the most decorated national team in history, with a record five World Cup titles under its belt and an undisputed roster of some of soccer’s greatest players.
The name Corinthians is now associated with one of the most lucrative clubs in the world, whose fans are so devoted that it offers funeral services for die-hard supporters, complete with a coffin in the team’s colors and a violinist to play its anthem. It is no coincidence that São Paulo was picked to host the opening match of the 2014 World Cup in a spanking-new stadium built for about half a billion dollars, which is the new home of the Corinthians.
If you plan to catch a game, you can choose from a host of teams, including São Paulo, Palmeiras, and Portuguesa. Down the road, the team of Santos, from the dock city of the same name, was the club of footballing legend Pelé
You can combine the city’s loves for fine dining and football at Morumbi stadium, located in one of the swankier areas of São Paulo, also called Morumbi. There you can trade in the bleachers for a spot at Koji, a wonderful little Japanese restaurant whose salmon-belly sushi with a citrus twist is enough to distract even the most ardent fans from the game. It is also one of the few places in Brazil’s dry stadiums where spectators can enjoy a drink.
For more football, visit the Museu do Futebol under the bleachers of the Paulo Machado de Carvalho stadium, an impressive 1940s arena wedged among the green slopes of Higienópolis. With a lively layout and a wry sense of humor – despite dealing with Brazil’s holy of holies – it captures the essence of the beautiful game. Highlights include a room full of sepia photos of Brazil from the time when football first arrived, and a display of objects that the nation’s street kids – some destined to become multimillionaire soccer legends – use in kickabouts, from dolls’ heads to rolled-up socks and even rocks. It also has hilarious audio of radio commentators narrating the most famous goals (spoiler alert: most end in an ecstatic scream of “Goooooooooool”) and soccer personalities describing their most abiding memories of the game. One renowned commentator describes how, as a boy, his family (like most in Brazil) was so superstitious that he had to sit in the same chair during every World Cup match while his father held a rolled-up magazine under his armpit for luck.
There’s not a lot left of historic São Paulo, a once-elegant city built in the colonial European style that has been swept away by the frenetic pace of expansion and redevelopment. As British novelist James Scudamore described it in his 2010 novel, Heliopolis, “Town planning never happened: there wasn’t time. The city ambushed its inhabitants, exploding in consecutive booms of coffee, sugar and rubber, so quickly that nobody could draw breath to say what should go where. It has been expanding ever since, sustained by all that ferocious energy.” Walking through the city, you sometimes get an odd whiff of nostalgia for a place you’ve never been, a faint echo of the 1950s-era skyscrapers of the New York of black-and-white photos.
The city is easy to navigate – the extensive metro is clean and safe, and cabs are plentiful and reasonably priced. Avoid buses at all costs – they are generally packed, chaotic, and move too fast for their own safety.
To get away from the bustle of this city of 20 million souls, head to São Paulo’s equivalent of Central Park. A leafy sweep of lakes, lawns, and tropical trees with unpronounceable names, Ibirapuera Park, in the central Vila Mariana neighborhood, is where paulistanos go to unwind, have a picnic, or jog along paths that weave through the greenery. It is beautiful after dark, too, when the heat of the day is gone and the fountain on the lake is lit red and orange to look like flickering flames.
One treasure that escaped the city’s wild redevelopments is the magnificent Museu Paulista, built in 1895. It was once home to the Natural History Museum and now presents the history of the city. It looks out on a park that gently rolls down a hillside, past fountains and pools, to a vast stone monument to independence from Portugal.
But if you really want to escape, grab a cab and ask for the Instituto Butantan. Looking like a small slice of Belle Époque Europe dropped into the tropical woods of São Paulo’s western suburbs, this is one of the city’s most bucolic and unusual sites. Built more than a century ago as a medical research facility after an outbreak of bubonic plague, it houses a huge collection of venomous snakes. (Fortunately, because it is still a research center, it is also Latin America’s largest producer of antivenoms, antitoxins, and vaccines.) You can wander rows of rattlesnakes, cobras, king snakes, and massive tropical boa constrictors, as well as a collection of giant tropical spiders that will make your skin crawl. A sign on the edge of the leafy park warns you not to enter the forest – and having seen what’s in the cages, you won’t want to.
São Paulo has a thriving music scene, and it moves to the beat of the samba. In the city center, the Bar Você Vai Se Quiser on the trendy Praça Roosevelt has long been a magnet for music lovers. At Bar Favela in Vila Madalena, an all-female lineup called Samba de Rainha plays to a packed house on Sundays. Or grab a bite at the nearby Grazie a Dio! dance bar and watch the locals hit their rhythm. After dark, it’s best to stay away from the old city center near the Sé, but the restaurant and bar areas such as Jardim Paulista and Pinheiros are safe to stroll.
One of the best ways to cap off a day in São Paulo is with a caipirinha, the delicious cocktail of cachaça, freshly squeezed lime, and sugar. And one of the liveliest streets to enjoy one on is Rua Aspicuelta, in the bohemian neighborhood of Vila Madalena, which thrums with bars and restaurants, and whose sidewalks overflow with young paulistanos after dark, doing what their city is famous for – living it up.
Register for the 2015 Rotary International Convention, 6-9 June, by 15 December for special pricing. Go to www.riconvention.org