Monday, March 31, 2014

HOPE OVER TROUBLED WATER



หุมเขาแห่งความมั่งคั่ง "เซอร์โรลิโก"
กว่าสี่ร้อยปีมาแล้ว ณ แผ่นดินที่มีผู้คนอยู่ไม่หนาแน่นนักซึ่งปัจจุบันคือเมืองดีเอโกฮูอัลปา ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศโบลิเวีย หนุ่มเคซัวจุดไฟที่เชิงเขาแห่งหนึ่งเพื่อขจัดความหนาวเย็น  เมื่อตื่นขึ้นในตอนเช้าสายตาของเขาถูกกระทบจากแสงสีเงินที่สาดส่องจากผืนดินใต้กองฟีนที่เขาจุดไว้เมื่อคืน
ความพยายามของเขาที่จะไม่แพร่งพรายเรื่องนี้ให้ผู้บุกรุกจากสเปนได้ล่วงรู้ไม่เป็นผล  ในปีพ.ศ. ๒๐๘๘ ชาวสเปนครอบครองภูเขาลูกนั้น ตั้งชื่อภูเขาว่า "เซอร์โรลิโก" (ยอดเขาแห่งความมั่งคั่ง) สร้างเมือง "โปโตซี" ตรงเชิงเขา และภายใน ๕๐ ปี เซอร์โรลิโกก็กลายเป็นแหล่งผลิตแร่เงินที่สำคัญที่สุดของโลก เมืองโปโตซีได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่ใหญ่และมั่งมั่งที่สุดของอาณาจักรสเปน.
ตลอดเวลากว่า ๒๐๐ ปีที่แร่เงินจำนวน ๔๕,๐๐๐ ตัน ถูกขนออกจากภูเขาแห่งนี้ มีน้ำหนักมากกว่าอนุสาวรีย์เทพีสันติภาพ ๒๐๐ เท่า และนับเป็นจำนวนแร่เงินร้อยละห้าของที่มีอยู่ทั่วโลกนับถึงวันนี้  ส่วนใหญ่ใช้ผลิตเป็นเหรียญดอลล่าร์ของสเปนหรือที่เรียกว่า "เงิน  ๘ เรียล" ที่เป็นสกุลเงินที่นิยมทั่วยุโรป เอเชีย อัฟริกา และในทวีปอเมริกา และได้กลายเป็นสกุลเงินโลกสกุลแรก เป็นเหรียญเงินที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายในประเทศสหรัฐอเมริกาจนถึงกลางศตวรรษ ๑๘๐๐
ในเวลาที่คนสเปนอพยพออกไปจากประเทศนี้ แร่เงินถูกขุดไปหมดแล้ว และคนงานนับล้านชีวิตล้มตายลงในเหมือง ภูเขาถูกขุดจนเป็นรูพรุนไปหมด อุโมงค์ที่ขุดไว้พังทลายทับร่างคนงานเหมืองนับไม่ถ้วน
แม้จะทรุดไปกว่าหลายร้อยฟุต "หุบเขากินคน" ดังที่มีคนตั้งสมญานามไว้ ก็ยังคงมองเห็นได้ในเมืองโปโตซี เมืองที่บัดนี้เป็นแหล่งมลพิษรุนแรงที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง
ตัดข้ามมาที่ ๆ ห่างออกไปอีกหลายพันไมล์ ทอม คูเปอร์กำลังเตรียมพร้อมเข้ารับตำแหน่งนายกสโมสรโรตารีนอร์แมน (รัฐโอคลาโฮมา ประเทศสหรัฐอเมริกา) สำหรับปีโรตารี ๒๕๕๒-๕๓  ด้วยพื้นฐานอาชีพนักอุทกวิทยา คูเปอร์มีความตั้งใจและกระตือรือร้นที่จะทำโครงการเกี่ยวกับน้ำที่สามารถสร้างผลประโยชน์ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน แต่ด้วยว่าโครงการต่าง ๆ ที่น่าสนใจรอผู้สนับสนุนด้านการเงิน มีให้เลือกมากมายในงานวิจัยที่มหาวิทยาลัย เขาจึงกลับไปที่มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมาที่เรียนจบมาและได้พบกับโรเบิร์ท นาเอิร์น ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ระบบนิเวศน์และแหล่งน้ำ นาเอิร์นเล่าให้คูเปอร์ฟังเกี่ยวกับทีมงานของเขาที่ทำงานแบบใช้เทคโนโลยีขั้นต่ำในการบำบัดน้ำเสียจากเหมืองแร่ที่จะให้ผลอย่างยั่งยืน มีการทดสอบในสหรัฐอเมริกาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เหมืองทาร์ครีกซุปเปอร์ฟันด์  ที่นั่นมีการสกัดแร่ตะกั่วและสังกะสี ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมเลวร้ายลงเป็นอย่างมาก จนกรมพิทักษ์สิ่งแวดล้อมสหรัฐเมริกาประกาศให้น้ำบริเวณนั้นเป็น "น้ำเสียที่ไม่อาจบำบัดได้"
สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปเมื่อทีมวิจัยมหาวิทยาลัยโอคลาโฮมาร่วมกับรัฐบาลและภาคเอกขนทำการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียตามธรรมชาติโดยใช้แรงโน้มถ่วงเพื่อทำเป็นทางน้ำไหลผ่านก้อนกรวดและหินปูน น้ำที่ถูกปล่อยออกจากท่อน้ำทิ้งของเหมืองจะผ่านขั้นตอนการบำบัดหลายขั้นตอน เมื่อสะอาดเพียงพอจะถูกส่งต่อไปยังชุมชนเมืองทาร์ครีก

นาเอิร์นบอกคูเปอร์ว่าระบบนี้ใช้ได้ดีในโอคลาโฮมา ทีมงานของเขาจะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเดียวกันนี้กับโครงการต้นแบบที่มีระบบเล็กลงไปแต่เป็นที่ได้รับความรุนแรงของมลภาวะสูงกว่า พื้นที่นั้นคือ "โปโตซี"  ว่าแล้วเขาก็แนะนำให้คูเปอร์รู้จักกับนักศึกษาปริญญาเอก บิลล์ สโตร์สไนเดอร์ที่กำลังทำงานวิจัยประเทศโบลิเวีย.
สโตร์สไนเดอร์เดินทางไปโปโตซีครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖ เมื่อตอนเป็นนักศึกษาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ตอนนั้นเขาเป็นอาสาสมัครให้กับองค์กรไม่แสวงหากำไรแห่งหนึ่งที่ประดิษฐ์เตาเชื้อเพลิงประสิทธิภาพสูงเพื่อให้ชาวบ้านใช้  แต่เขาไม่เคยลืมภาพแม่น้ำที่ไหลผ่านเมืองที่อยู่ใต้สะพานในเมืองโปโตซี น้ำในแม่น้ำดูเหมือนขยะสะตรอเบอร์รี่ปั่น
ภาพนั้นฝั่งใจเขามาตลอด สโตร์สไนเดอร์ปัจจุบันอายุ ๓๓ ปีเติบโดจากเมืองโมนองกาเฮลาแวลลี พิทสเบอร์ก ซึ่งเป็นพื้นที่ ๆ เคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมหนัก เขาเคยเล่นในลำธารน้ำใกล้บ้าน ซึ่งมาทราบทีหลังว่าถูกทำลายจากมลพิษของเหมืองแร่ถ่านหิน.
ขณะที่กำลังทำปริญญาเอกสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สโตร์สไนเดอร์เดินทางกลับไปที่โปโนซีอีกครั้งหนึ่งและคราวนี้เขาอยู่ที่นั่นนานหนึ่งเดือนเพื่อเก็บตัวอย่างน้ำในแหล่งน้ำที่อยู่ในพื้นที่ของเหมืองแร่ทั้งหมด เขาตรวจได้ค่าพีเอชเท่ากับ 0 สำหรับแหล่งน้ำในเมืองหลวง (ค่าพีเอชที่สูงกว่า ๗ เช่น ผงฟู ถือว่าปกติ แต่ถ้าต่ำกว่า ๗ ถือว่ามีสภาพเป็นกรด เช่นซ๊อสพริกอยู่ที่ ๔  น้ำส้มสายชู ๓ น้ำกรดในแบตตารี ๑ เป็นต้น) เขาทำการวิจัยจนพบว่าการปล่อยน้ำกรดออกจากเหมืองแร่ซึ่งถือเป็นที่มาของมลพิษที่สำคัญในโปโตซี ผ่านไปตามแหล่งหินที่มีแร่ธาติประเภทตะกั่ว แคดเมี่ยม สารหนู และโลหะหนักต่าง ๆ เช่นเดียวกับกรณีในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคน หินพวกนี้ปกติจะยังไม่เป็นพิษเป็นภัย จนกว่าจะมีเหมืองมาตั้งอยู่ใกล้ ๆ และเริ่มปล่อยน้ำกรดมาชะเอาสารโลหะต่าง ๆ ออกมา
"ผมแทบไม่เชื่อว่าความเข้มข้นของสารพิษจากโลหะหนักจะมีสูงขนาดนี้" สโตร์สไนเดอร์จำความประหลาดใจนั้นได้ "เมื่อผมตรวจตัวอย่างน้ำ ผมพบสารหนู และก็พบแคดเมี่ยม โครเมี่ยม โคบอลท์ ตะกั่ว ทองแดง และสารโลหะเป็นพิษหลายอย่างในท่อน้ำทิ้งของเหมือง ทำให้ผมตกใจมาก"  สารหนูที่พบในบางแห่งที่เขาเก็บตัวอย่างได้สูงกว่าค่าที่กฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดถึง ๑๐๐,๐๐๐ เท่า
ผู้ร่วมงานวิจัยในประเทศโบลิเวียของเขาชื่อ ศาสตราจารย์เฟรดดี้ ลาโนส ที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ในมหาวิทยาลัยโทมาส ฟรีอาส ในโปโตซี และเขายังเป็นเจ้าของเหมืองแร่ขนาดเล็กแห่งหนึ่งที่ดำเนินงานโดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษกับแหล่งน้ำ เขาไม่แปลกใจเห็นรายงานผลตรวจสอบตัวอย่างน้ำ เพราะเขาได้เคยเห็นผลที่เกิดจากน้ำเป็นพิษนี้แล้ว ว่ามันทำลายสวนผลไม้ เผาไหม้ลิ้น และหนองน้ำที่ปนเปื้อนด้วยพิษจากน้ำกรด
พวกเขาร่วมกันค้นหาพื้นที่ ๆ ไม่ใหญ่เกินไปสำหรับการเริ่มโครงการระบบบำบัดแบบธรรมชาติ แต่ในเมืองนี้ก็มีพื้นที่ถูกกระทบจากมลพิษน้ำเสียกว้างขวางมาก หมู่บ้านหนึ่งชื่อว่า "จุกุชา" มีความเหมาะสมมาก และสโตร์สไนเดอร์ก็ได้รู้จักกับเจ้าของเหมืองที่นี่ที่ยินดีให้ความร่วมมือพัฒนาระบบบำบัดนำ้เสียดังกล่าว
มองครั้งแรกคุณอาจคิดว่าภูเขาในโบลิเวียคือเทือกเขาโกลเด้นฮิลล์ในแคลิฟอร์เนีย บนพื้นที่สูง ๑๕,๐๐๐ ฟุต ไม่มีชะง่อนแบบเทือกเขาเซียร่าหรือหน้าผาแบบเทือกเขาร๊อคกี้ ภูเขาในโบลิเวียอยู่รวม ๆ กันและมียอดเขาที่กว้าง และระหว่างภูเขามีแนวแม่น้ำที่หุบเขา
หุบเขาจุกุชาโอบล้อมแม่น้ำจุกุชา คดเคี้ยวผ่านเข้าไปในชุมชนเกษตรกรรมที่ชื่อว่า "วิทิจิ"  ที่นี่พื้นดินอ่อนนุ่มและเกลี้ยงเกลา แม่น้ำแทรกตัวผ่านไร่ฝ้าย จตุรัสในเมืองและพื้นที่เกษตรเล็ก ๆ คนแถวนี้เงียบ ๆ และสุภาพ หากินด้วยการปลูกต้นองุ่น พีช และข้าวโพด เลี้ยงอัลพาคา (สัตว์เลี้ยงคล้ายแกะ) ชาวบ้านผันน้ำจากแม่น้ำเพื่อใช้ในการซักเสื้อผ้าและเลี้ยงพืชไร่ในยามที่ฝนทิ้งช่วง แต่ก็รู้ดีว่าน้ำนั้นไม่เหมาะกับการดื่มกิน แต่ท่านนายกเทศมนตรีบอกว่าคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจถึงอันตราย "บางคนอาบน้ำจากแหล่งน้ำนี้ เด็ก ๆ ก็อาบด้วย พออาบเสร็จก็รู้สึกคันตัว" เขากล่าว และเสริมว่ามีบ่อน้ำไม่กี่แห่งที่สามารถใช้ดื่มได้ แต่ก็ไม่เพียงพอกับการนำไปเลี้ยงสัตว์
วันหนึ่งในฤดูในไม้ร่วง ผู้คนเกือบทั้งหมดในเมืองวิทิจิไปรวมกันอยู่ในตลาดนอกเมือง เด็ก ๆ เล่นกับโต๊ะบิลเลียดเก่าที่ตั้งไว้กลางแจ้ง ในขณะที่คนเลี้ยงวัวต้อนฝูงวัวผ่านพ่อค้าขายสีย้อมผ้า ผัก และพวกเขากำลังดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เรียกว่าชิชา  "แต่ละปีสภาพมลพิษยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ผลไม้ที่ปลูกได้มีคุณภาพแตกต่างจากที่เคยเป็น วันนี้ไม่มีพีชขายแล้ว" เกษตรกรคนหนึ่งที่ชื่อว่า ฮิลาริออง รอเมโรกล่าว "เราสังเกตเห็นตั้งแต่ ๑๐ ถึง ๑๕ ปีก่อนแล้ว"
ในขณะที่เกษตรกรคุยกันเรื่องผลิตผล เด็กสองสามคนกำลังเล่นสาดน้ำใส่กันโดยมีแม่คอยดูอยู่ เด็กอีกคนเดินมาแล้วใช้มือตักน้ำขึ้นดื่ม
เหนือขึ้นไปของเมืองวิทิจิคือสาเหตุของการเกิดมลพิษในแม่น้ำ เพราะเป็นที่ตั้งของเหมืองกูมูรานาและอันดาคาวา เจ้าของเหมืองกูมูรานาชื่อแพตทริเชีย มองเชอ เป็นทายาทรุ่นที่สามที่ครอบครองเหมืองแห่งนี้ และยอมตกลงเข้าร่วมโครงการกับสโตร์สไนเดอร์และลาโนสเพื่อใช้หลักการทางวิศวกรรมในการแก้ปัญหาสภาพน้ำในแม่น้ำ มองเชอกล่าวว่า "ตอนแรกที่พวกเขามาคุยกับดิฉัน ดิฉันคิดว่า "สุดท้ายแล้ว การแก้ไขปัญหามลภาวะที่นี่ก็คงต้องใช้หลักวิชาการ"
มองเชอทำเหมืองดีบุกขนาดเล็ก ซึ่งแตกต่างเหมืองแร่เงินที่ต้องใช้สารเคมีในการสกัด แม้กระนั้นก็ตามน้ำทิ้งสีส้มสว่างที่ไหลออกจากเหมืองแห่งนี้ผ่านบ่อบำบัดหลายบ่อลงสู่แม่น้ำ น้ำในแม่น้ำส่วนที่อยู่เหนือเหมืองของเธอขึ้นไปก็ไม่ได้มีคุณภาพดีกว่า ทะเลสาบสองแห่งบนยอดเขาที่เป็นต้นน้ำก็มีสีแดงและน้ำเงินที่เกิดจากโลหะที่แฝงอยู่ในน้ำ มีเหมืองกว่าสิบแห่งที่อายุกว่าร้อยปี ที่รายล้อมแหล่งน้ำนี้ที่ปิดตัวลงแล้ว เหมืองอันดาคาวาที่อยู่ข้าง ๆ เหมืองของมองเชอ เป็นเหมืองมีขนาดใหญ่กว่าและปล่อยน้ำเข้าสู่ช่องเขาที่อยู่เหนือเหมืองของเธอ และบางครั้งก็มีการสูบน้ำนี้กลับเข้าไปที่แหล่งน้ำต้นทาง
สโตร์สไนเดอร์และลาโนสเสนอให้ทำการบำบัดน้ำที่ไหลเข้าไปสู่พื้นที่เหมืองของคูมูรานาโดยระบบธรรมชาติ  "คุณเริ่มใช้น้ำที่ต้นน้ำและตลอดลงมาถึงปลายน้ำ" สโตร์สไนเดอร์อธิบาย วิศวกรจะบำบัดน้ำที่ไหลเข้าในเหมืองของคูมูรานา โดยการใช้หินปูนที่ขุดได้จากแหล่งหินปูนเหนือขึ้นไปอีก ๔๐ ไมล์ มาเคลือบฝั่งแม่น้ำทั้งสองที่อยู่เหนือเหมือง หินปูนช่วยซับของเหลวที่เจือปนโลหะ เมื่อตรวจสอบจากระดับพีเอช ค่าพีเอชของหินปูนเป็นปกติ น้ำที่ผ่านหินปูนผิวน้ำนั้นจะมีค่าพีเอชสูง นั่นคือค่าความเป็นกรดของน้ำลดลง เพราะสารละลายโลหะคงอยู่ร่วมกับน้ำไม่ได้ จึงกลายสภาพเป็นสารเหนียวหนืดแยกตัวจากน้ำ
นอกจากนั้น ทีมงานต้องปิดเหมืองที่ถูกทิ้งร้างใกล้ ๆ เพื่อลดการถูกทำให้เกิดการปนเปื้อนของน้ำบริเวณนั้น ขั้นตอนต่อไปมองเชอตกลงจะสร้างระบบเร่งการบำบัดน้ำล้นที่ออกจากเหมืองของเธอ ซึ่งจะปรับสภาพของน้ำส่วนใหญ่ที่ไหลลงสู่แม่น้ำจุกุชา
กลับไปที่โอคลาโฮมา คูเปอร์ได้สรุปแล้วว่าจะทำโครงการอะไร เขาตื่นเต้นกับความคิดนั้น ว่าหากนำไปปฏิบัติแล้วประสบความสำเร็จในประเทศโบลิเวีย ระบบบำบัดแบบธรรมชาตินี้จะช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ นำไปใช้บำบัดน้ำเสียของตนเองได้ โครงการนี้ใช้เงินไม่มาก มีความยั่งยืน และบริหารจัดการง่าย สโมสรก็สามารถทำโครงการเสนอขอทุนสมทบจากมูลนิธิโรตารีได้
"ผมบอกบิลล์ ว่ารู้ไหมว่าการขอทุนสมทบนั้น ผมต้องมีสโมสรเจ้าบ้าน คุณรู้จักใครที่โปโตซีไหม"  คูเปอร์นึกขึ้นได้ "ผมพูดว่า ขอแค่ชื่อที่เหลือผมจัดการเอง"
ชื่อที่ได้คือ อัลเฟรโด พอร์เซล เพื่อนร่วมงานกับลาโนสและในขณะนั้นเป็นสมาชิกสโมสรโปโตซี  คูเปอร์โทรหาเขาและบอกเขาว่าจะเดินทางไปโบลิเวียและหวังว่าสโมสรโปโตซีจะยอมเป็นสโมสรเจ้าบ้านเพื่อขอทุนสมทบร่วมทำโครงการบำบัดน้ำเสียในแม่น้ำจุกุชา โรแทเรียนในโปโตซีต่างประหลาดใจและกังขา "เราเห็นนักวิทยาศาสตร์มาที่โปโตซีหลายคนรวมทั้งนักมนุษย์วิทยา วิศวกรและนักธรณีวิทยา พวกเขาได้แต่มาทำการศึกษาแต่ก็ไม่ได้ทำอะไร" มาร์โก ออร์เตก้า เบอร์ริออส สมาชิกสโมสรคนหนึ่งกล่าว และแซดดี้ พาร์โด สมาชิกอีกคนหนึ่งก็ตั้งสมมุติฐานว่าความสนใจในโครงการนี้คงมีอยู่ไม่นาน
แต่สโตร์สไนเดอร์และคูเปอร์มีความตั้งใจจริง พวกเขาไปนำเสนอเส้นทางทำโครงการ (โรดแมป) ในขณะที่เขาเยี่ยมเก้าสโมสรในโอคลาโฮมาและเท็กซัสเพื่อที่จะขอความช่วยเหลือในโครงการนี้ เขาสามารถหาเงินได้ ๕๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐและมูลนิธิสามารถให้ทุนสมทบได้อีก ๒๕,๐๐๐ เหรียญ โดยมีสโมสรโปโตซีเป็นสโมสรเจ้าบ้าน
คูเปอร์ทำทุกอย่างตามที่สัญญาไว้โดยการเดินทางไปที่โปโตซีกับโจ โกลเวอร์แห่งสโมสรโรตารีนอร์แมนครอสทิมเบอร์  พวกเขาได้พบกับโรแทเรียนในท้องถิ่นและตัวแทนจากหุ้นส่วนในโครงการที่จะเป็นผู้ปฏิบัติงาน คูเปอร์ไว้วางใจสมาชิกสโมสรในโบลิเวียในการจัดหาวัสดุเครื่องมือต่าง ๆ รวมทั้งหินปูนด้วย
"การหาผู้จำหน่ายหินปูน นั้นคุณคงไม่หามาจากอเมริกา" คูเปอร์กล่าว "คุณต้องรู้วิธีการทำงานกับคนท้องถิ่น ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน แซดดี้ พาร์โตคือผู้ทำหน้าที่นั้น"
ก่อนหน้านั้น สโมสรโปโตซีได้เชิญเพื่อนอีกสองสามคนมาร่วมปรึกษาในห้องประชุมเล็ก ๆ คุยกันถึงเรื่องข่าวท้องถิ่นและทำการติดต่อผู้คนที่รู้จัก ตอนนั้นสมาชิกสโมสรนี้ก็รู้สึกเหมือนได้เชื่อมโยงกับโลกทั้งโลก คูเปอร์ยังเสนอให้พวกเขาได้เดินทางไปที่สหรัฐอเมริกาเพื่อร่วมประชุมประจำปีเรื่องน้ำ และนำเสนอโครงการนี้กับกลุ่มวิศวกรสิ่งแวดล้อม
ในปี พ.ศ.๒๕๕๓ คนงานเริ่มกรอกหินปูนเข้าไปในเหมืองร้างใกล้คูมูรานาและโบกปูนซิเมนต์ปิดเพื่อให้น้ำไหลผ่านหินปูนก่อน พวกเขายังได้นำเอาหินปูนเทเป็นแนวในแม่น้ำ
กระบวนการทำงานนี้ค่อนข้างยาก พวกเขาต้องการหินจำนวน ๒,๒๐๐ ตัน หรือประมาณ ๑๕๐ คันรถดัมพ์ โครงการใดก็ตามถ้าเกิดขึ้นในประเทศโบลิเวียแล้วก็มีสิทธิเข้าทางของนักการเมือง หรือไม่ก็ตกคลองไป รถบรรทุกจำนวนมหาศาลขับผ่านเข้าไปในช่องแคบของภูเขา บ่อยครั้งจะต้องผ่านถนนที่เคลือบไปด้วยน้ำแข็ง บางครั้งคนขับรถพบอุปสรรคเช่น ประตูปิด หรือเครื่องยนต์ขัดข้อง พวกเขามักทิ้งของที่บรรทุกแล้วก็ขับรถกลับ การประท้วงเป็นปัญหาที่เกิดเป็นปกติ และการปิดถนนของคนงานโบลิเวียก็เกิดขึ้นบ่อยบางครั้งเกิดขึ้นไม่กี่วันจนถึงอาจเป็นหลายสัปดาห์ วิศวกรที่ปฏิบัติงานตามสถานีในตูลซ่า โอคลา และลาปาซ ประเทศโบลิเวียบางทีช่วยทำหน้าที่เหมือนผู้รับเหมา คือช่วยดูแลโครงการ ณ ฐานที่ปฏิบัติงานและเข้าจัดการกับวิกฤติการณ์ต่าง ๆ
ในเดือนพฤษภาคม ปี ๒๕๕๔ หินปูนกองมหึมาอยู่กระจัดกระจายทั่วหุบเขา ขาวบ้านกว่าสามสิบคนทั้งชายหญิงทั้งเด็กและคนแก่มาช่วยกันขนหินเหล่านั้น พวกโรแทเรียนจากโปโตซี รวมทั้งลาโนส ไนเอิร์น สโตร์สไนเดอร์ คูเปอร์ นีล โรบินสันจากสโมสรโรตารีนอร์แมน อาจารย์อีกคนหนึ่งและนักศึกษาหลายคนก็มาช่วยด้วย ทุกคนทำงานกันทั้งวันจนกระทั่งกองหินปูนเรียงเป็นทางยาวเหมือนงูขาวที่อยู่ในพระอาทิตย์
"ตรงนี้เริ่มมีสาหร่าย เห็นไม๊ครับ นี่เป็นสัญญานที่ดี เพราะก่อนหน้านี้ ไม่มีอะไรสีเขียวให้เห็นได้" เบอร์ริออสกล่าว  ในปี พ.ศ.๒๕๕๖ ขณะที่เขาเดินผ่านลำน้ำเล็ก ๆ สีขาวใกล้กับเหมืองคูมูรานาในค่ำคืนที่หนาวเย็นและมืดคลี้ม บนหุบเขานั้น สโตร์สไนเดอร์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเซ็นต์ฟรานซิส ซึ่งเป็นสถาบันเล็ก ๆ ที่เขาสอนหนังสืออยู่ กำลังทำการวิเคราะห์น้ำจากแหล่งน้ำที่นี่  พวกเขาทำงานกันทั้งวันแม้จะมีฝนที่ตกลงมาเป็นน้ำแข็งอยู่ตลอด
สองปีนับจากเวลาที่หินปูนได้ถูกเทลงในท้องน้ำในแหล่งน้ำแถบนี้ ค่าพีเอชถีบตัวสูงขึ้น พืชชั้นต่ำเช่นมอสเริ่มเกิดขึ้นและกระจายตัวรอบแหล่งน้ำ สาหร่ายเติบโตแพร่กระจายออกไปทั้งที่เมื่อก่อนบริเวณนั้นแห้งแล้งมาตลอด ตอนนี้บรรดานกเริ่มบินกลับมาแล้ว
(Passive treatment system at the Oklahoma Tar Sands Superfund site in 2009. The nearest pond is the start of processing. The farthest is the final finishing wetland before treated water is discharged into receiving waters. Courtesy Robert Nairn.)
ต้นอ่อนของพืชสองสามต้นกับแสงสุกสว่างของสาหร่ายกำมือหนึ่งคงบอกไม่ได้ว่าเป็นชัยชนะ แต่เมื่ออยู่ในท่ามกลางความหายนะของระบบนิเวศน์ที่นี่ ปรากฎการณ์นี้นับเป็นความมหัศจรรย์ ซึ่งยังเป็นตัวชี้วัดความน่ายินดีว่าสถานการณ์ในหุบเขาแห่งนี้ยังไม่สิ้นหวังเสียทีเดียว
โครงการนี้ยังต้องเดินทางอีกยาวไกล ด้วยความล่าช้าในระบบราชการ มองเชอยังไม่สามารถเสร็จสิ้นการสร้างระบบบำบัดในเหมืองของเธอ ทำให้โครงการนี้ยังไม่สามารถดำเนินขั้นตอนต่อไปได้
อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ.๒๕๕๗ เรื่องมหัศจรรย์ก็เกิดขึ้น สโตร์สไนเดอร์กล่าวว่า รัฐบาลประเทศโบลิเวียตกลงที่จะให้ทุนในการวางระบบเร่งบำบัดทั้งในเหมืองคูมูรานาและอันดาคาวา เจ้าหน้าที่ถูกกระตุ้นให้เร่งทำงานในโครงการนี้หลังจากที่เกิดการประท้วงครั้งใหญ่จากพวกชาวบ้านในชนบทของเมืองวิทิจิจนถึงโปโตซี พวกเขาปิดถนนและขัดขวางการทำงานของราชการ เพื่อให้รัฐบาลจัดหาน้ำสะอาดให้  รายละเอียดเรื่องนี้กำลังทยอยเผยแพร่ออกมา แต่สโตร์สไนเดอร์กล่าวว่าเขาหวังว่ารัฐบาลจะยอมจ่ายสำหรับการติดตั้งระบบเร่งบำบัดและค่าใช้จ่ายการดูแลในแต่ละปีเพื่อให้ระบบทำงานต่อเนื่อง  แผนก็คือให้วิศวกรปฏิบัติงานทำหน้าที่เป็นผู้รับเหมา และโรแทเรียนจากโปโตซีทำหน้าที่บริหารการใช้เงิน  สโตร์สไนเดอร์ ไนเอิร์น และลาโนสจะยังคงให้คำปรึกษาการทำโครงการนี้ในลำดับต่อไปด้วย
เมื่อการติดตั้งระบบบำบัดเสร็จสิ้น ทีมงานนี้จะสามารถสร้างระบบบำบัดแบบธรรมชาติในขนาดที่ใหญ่ขึ้นโดยการสร้างบ่อต่อเนื่องหลายระดับเพื่อลดปริมาณโลหะหนัก คูเปอร์กล่าวว่าสโมสรนอร์แมนจะอยู่เคียงข้างโครงการนี้เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการจัดหาทุนในขั้นตอนต่อ ๆ ไป  เมื่อโครงการสำเร็จลุล่วง ไม่เพียงแต่น้ำจะสะอาด แต่แม่น้ำในหุบเขาแห่งนี้จะเป็นต้นแบบความสำเร็จให้กับแหล่งน้ำอื่น ๆ ที่หมดหวังไปแล้วจากมลพิษของการทำเหมืองแร่
"ด้วยเงินทุนเพียงเล็กน้อยจากโรตารี เราแสดงให้เห็นว่าทางแก้ไขยังมีอยู่" สโตร์สไนเดอร์กล่าว "เราจะนำน้ำสะอาดกลับคืนมาให้แก่ผู้ยากไร้" 
ที่มา : นิตยสารโรตารีประเทศไทย เดือนพฤษภาคม/มิถุนายน ๒๕๕๗
__________

RC Norman's P. Tom Cooper
William Strosnider
Robert Nairn

More than 400 years ago, in a sparsely populated region of what is now southern Bolivia, Diego Huallpa, a young Quechua man, lit a fire at the base of a mountain to ward off the bitter cold. Legend has it, when he awoke the next morning, a trickle of molten silver had bubbled out of the ground beneath his fire.
He tried – and failed – to keep his discovery from the Spanish conquistadors. In 1545, they claimed the mountain, christened it Cerro Rico (“Rich Hill”), and built the town of Potosí at its foot. Within 50 years, Cerro Rico had become the most productive silver mine in the world, and Potosí one of the largest and wealthiest cities in the Spanish empire.
Over two centuries, miners removed 45,000 tons of silver from the mountain – 200 times the weight of the Statue of Liberty, and about 5 percent of all the silver in existence today. Most of it was stamped into Spanish dollars, or “pieces of eight,” which spread throughout Europe, Asia, Africa, and the Americas, becoming the world’s first global currency. The coins were legal tender in the United States until the mid-1800s.
By the time the Spanish had left, most of the silver was gone and millions of slave workers had died in the mines, which had become honeycombed with unstable tunnels that collapsed and entombed the miners.
Despite losing hundreds of feet, “the mountain that eats men,” as it became known, still looms over Potosí – which now ranks as one of the most polluted places on earth.
Thousands of miles away, Tom Cooper is getting ready to take office as 2009-10 president of the Rotary Club of Norman, Okla., USA. Cooper, a former hydrologist with a passion for water projects, is eager to head up an effort that will have a lasting impact. That’s when it occurs to him: Universities typically have research projects in need of funding. He visits his alma mater, the University of Oklahoma, and meets Robert Nairn, director of its Center for Restoration of Ecosystems and Watersheds. Nairn tells Cooper about his team’s work on a low-tech, sustainable system to treat water contaminated by mining. They’d tested it in the state’s northeast corner, at the Tar Creek Superfund site, where lead and zinc mining had so severely degraded the environment that the U.S Environmental Protection Agency had declared the water there “irretrievably damaged.”
That changed when University of Oklahoma researchers, working with the government and private sector, installed a passive treatment system that uses gravity to route contaminated groundwater through organic material and limestone gravel. The water, discharged from old mining boreholes, travels through several stages. Once clean, it flows into a tributary of Tar Creek.
Nairn tells Cooper that the system is working in Oklahoma, and that the team is trying out the technology in a smaller, pilot system near another severely polluted area: Potosí. He introduces Cooper to one of his most promising PhD students, Bill Strosnider, who is leading the research in Bolivia.
Strosnider visited Potosí for the first time in 2003, as a college student. He was volunteering with a nonprofit that designed fuel-efficient stoves for locals, but he never forgot his first glimpse of the town’s river. “Under the bridge in Potosí, the water looked like a strawberry garbage milkshake,” he says.
The image struck him. Strosnider, now 33, grew up in Pittsburgh’s Monongahela Valley, an area of heavy industry. He often played in the stream near his house, only to learn later that an abandoned coal mine had polluted it.
While working toward his PhD in environmental engineering, Strosnider returned to Potosí and spent a month sampling water downstream of mines throughout the region. The water near the city registered nearly 0 on the pH scale. (Anything over 7, such as baking soda, is basic. Anything under 7 is acidic. Hot sauce is around 4, vinegar is 3, battery acid is 1.) As he researched acid mine drainage – the source of pollution in Potosí – he learned that the rock in the mountains of Bolivia (and in many U.S. mining regions) is full of naturally occurring lead, cadmium, arsenic, and other heavy metals that are harmful to human health. They pose no threat until miners expose new rock and hit the water table. When water and air meet the freshly cut rock, the water becomes acidic, and as it runs downhill, the acid water dissolves these metals into a toxic slurry.
“I couldn’t believe the concentrations of heavy metals,” Strosnider recalls. “When I ran the samples, I found arsenic, but also cadmium, chromium, cobalt, lead, nickel – so many toxic metals in these acid mine drainage sources, it just blew me away.” The arsenic in some places he sampled was 100,000 times higher than the legal limit in the United States.
His Bolivian research partner, Freddy Llanos, a professor of mining engineering at Tomás Frías University in Potosí and the owner of a small mine that operates without hitting the water table, was less surprised by the findings. He had seen firsthand the effects of the toxic water – stunted fruit trees, water that burns the tongue, wetlands scorched by the acidity.
In an area of such widespread pollution, the men searched for a site big enough to implement a passive treatment system, but small enough to manage. The Juckucha Valley would work. Even better, Strosnider knew a mine-owner there who was willing to team up with them.
At first glance, you might mistake the Bolivian highlands for the golden hills of California. At 15,000 feet, you realize that these are not the craggy Sierras or the sharp Rockies; the Bolivian mountains are massive, with broad flanks and wide peaks. In between, lie many river valleys.
The Juckucha Valley surrounds the Juckucha River, which weaves past villages down to an indigenous farming community called Vitichi. Here, the land is gentle and rounded. The river meanders through cottonwood stands, quaint town squares, and small farms. People are quiet and polite, growing grapes, peaches, and corn and raising alpaca. Villagers siphon river water to clean clothes and to water crops when rain is lacking, but few are foolish enough to drink from the river. Still, the town’s mayor says many people don’t fully understand the danger. “They bathe in this water, even the children. After they bathe, their skin starts to itch,” he says. A few limited wells provide water for drinking, but not enough for the fields and livestock.
One fall day, almost everyone in Vitichi is at a market outside. Kids play on a ragged outdoor pool table while farmers move cattle past people selling dyes, vegetables, and drinking a sweet corn alcohol called chicha. “The contamination every year gets worse and worse, and the fruits are not the same quality as before. Now there are no peaches,” says one farmer, Hilarion Romero. “We started noticing it 10 to 15 years ago.”
As other farmers talk about their crops, a few toddlers splash in the water while a mother looks on. Another child walks over and dips his hands in for a drink.
Far above Vitichi, two main sources of runoff pollute the river: Kumurana mine and Andacava mine above it. The proprietor of Kumurana, a third-generation mine-owner named Patricia Monje, has committed to working with Strosnider and Llanos on an engineering solution to clean the river valley. “When they first talked to me, I thought, “Finally,’” Monje says. “The environmental problems here need technical solutions.”
Monje runs a small tin mine, which, unlike a silver mine, requires no added chemicals. Even so, a steady bright-orange stream runs all day from the mine, through her processing plant, across a series of ponds, and into the river. The water in the river above her mine is not much cleaner. The two alpine lakes that feed it are, by turns, bright red or bright blue from the metals within. Ringing them are about a dozen abandoned, century-old mines. Monje’s neighbor – Andacava, a larger operation – releases its runoff into a valley above her, and it sometimes feeds into their shared watershed.
Strosnider and Llanos proposed that they start by cleaning the water that flows into the property of the Kumurana mine with a passive system. “You start upstream and work your way downstream,” Strosnider explains. The engineers would clean the water flowing into Kumurana by lining two river channels above the mine with limestone quarried 40 miles away. Limestone offers a simple, sustainable solution: On the pH scale, limestone is basic, so when water runs over its surface, the water’s pH increases. As the water becomes less acidic, the dissolved metals can’t stay in a solution state, so they essentially coagulate and settle out.
In addition, the team would close an abandoned mine nearby to reduce its contamination of the area. As a next step, Monje has agreed to construct an active system to treat the runoff from her mine, which will improve most of the water flowing into the Juckucha River.
Back in Oklahoma, Cooper knew he’d found the project he wanted to work on. He was excited by the idea that, if introduced successfully in Bolivia, the passive treatment method could help other developing countries clean their water. The project would be low-cost, sustainable, and manageable if the club could secure a grant from The Rotary Foundation.
“I told Bill, ‘You know, to get a Matching Grant, I need a host club. Do they have anybody in Potosí?’” Cooper recalls. “I said, ‘Get me a name and I’ll do the rest.’”
That name was Alfredo Porcel, one of Llanos’ university colleagues and, at the time, a member of the Rotary Club of Potosí. Cooper called him and said he was coming to Bolivia and hoped the Potosí club would act as host club on a Matching Grant to fund a cleanup project in the Juckucha River Valley. Potosí Rotarians were surprised and skeptical. “We’d seen a lot of scientists coming to Potosí – anthropologists, engineers, geologists. They did studies, but nothing ever happened,” says club member Marco Ortega Berrios. Another Potosí Rotarian, Sady Pardo, says they assumed that interest in the project would fade.
But Strosnider and Cooper were determined. They went on a “road show,” visiting nine clubs across Oklahoma and Texas to ask for help. They raised about $50,000 for the project, and the Foundation provided $25,000 in Matching Grant funds, with Potosí as the host club.
Cooper fulfilled his promise and made a trip down to Potosí with Jo Glover, of the Rotary Club of Norman-Cross Timbers. They met the local Rotarians and representatives from partner organization Engineers in Action. Cooper credits the Bolivian club members with securing key resources, including limestone.
“Finding the limestone suppliers – that’s something you don’t do from America,” Cooper says. “You have to know the ins and outs of that. That is a major undertaking. Sady Pardo did that.”
Until that point, the Potosí club had consisted of a few friends who met in a tiny room and talked about local news and made business contacts. Suddenly, they felt connected to the entire world. Cooper even arranged for them to attend a water conference at the University of Oklahoma to share their project with other environmental engineers.
In 2010, workers began filling in the abandoned mine near Kumurana with limestone and sealed it with concrete so that all the water trickling out would pass through the limestone first. They also started hauling limestone to line the channels.
The process was difficult. They needed nearly 2,200 tons of rock, or about 150 dump-truck trips. Any project in Bolivia can easily fall into a political ditch – or an actual ditch. The massive trucks drove on impossibly narrow mountain roads, often coated with ice. When truck drivers met impediments, whether locked gates or mechanical problems, they often would dump their loads and leave. Strikes are common, and Bolivian workers regularly barricade roads, halting traffic, for days or weeks. Engineers in Action, based in Tulsa, Okla., and La Paz, Bolivia, acted as the contractor, helping to monitor the project on the ground and responding to each crisis.
In May 2011, with piles of limestone scattered across the valley, three dozen locals – young and old, women and men – showed up to haul boulders. The Potosí Rotarians, along with Llanos, Nairn, Strosnider, Cooper, Norman club member Neil Robinson, another professor, and several students helped out. They worked all day until the limestone-lined streams gleamed like long white snakes in the sun.
“Here is some algae, see? It’s a good sign. Before, there was nothing green here,” Berrios says. It is 2013, and he is leaning over a tiny, whitish rivulet near the Kumurana mine on a chilly, overcast day. Up the valley, Strosnider and students from Saint Francis University, a small Pennsylvania college where he is now a professor, are taking readings of the water. He keeps them going all day, even through a heavy downpour of freezing rain.
In the two years since the team laid the limestone along the streambeds, the pH has crept up. Tiny, mossy wetland plants are sprouting up next to the stream, and algae are flourishing in places that were once barren. Birds have returned.
A few sprouts and a handful of slimy algae may not seem like much of a victory, but in this devastated ecosystem, they’re a small miracle. They’re also an indication that the graceful, imposing mountainsides here are not beyond hope.
Still, the project has a long road ahead. Due in part to red tape, Monje has not been able to finish constructing her plant’s treatment system, keeping the project from moving on to the next step.
However, by early 2014, something “amazing” had happened, Strosnider says: The Bolivian government agreed to fund active treatment systems at both the Kumurana and Andacava mines. Officials were spurred to action after villagers marched from rural Vitichi to Potosí, blocking roads and barricading government offices, to demand better water. The details are still emerging, but Strosnider says he hopes the government will pay for the installation of the active systems and the yearly costs to run them. Plans are for Engineers in Action to serve as contractor, and for Potosí Rotarians to administer the funds. Strosnider, along with Nairn and Llanos, will continue to advise during the project’s next stage.
Once the installation of the treatment systems is complete, a team can build a bigger passive system through a series of pools to further reduce the heavy metals. Cooper says the Norman club is standing by to help fund the next phase. Once that is complete, not only will the water be clean, but this small river valley may act as a model for other watersheds devastated by mining pollution.
“With a small investment from Rotary, we showed that there are solutions,” Strosnider says. “We’re going to bring back water quality for impoverished people.”

No comments: