Monday, November 17, 2014

Ziggy Marley Dedicates Song for Rotary's Polio Eradication Effort

ซิกกี้ ร้องเพลงเร้กเก้เพื่อขจัดภัยโปลิโอ
ซิกกี้ มาร์เลย์ นักร้องเพลงเร้กเก้ ลูกชายศาสดาเร้กเก้ บ๊อบ มาร์เลย์ มอบเพลงเพื่อสนับสนุนความพยายามของโรตารีในการรณรงค์กวาดล้างโปลิโอให้หมดไปจากโลก โดยได้บรรจุเพลงที่แต่งนี้ในอัลบัมล่าสุด "Fly Rasta" และได้รับการเผยแพร่ในการประชุมเนื่องในโอกาสวันโปลิโอโลก ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา

Ziggy Marley
ชมคลิปการแสดงของซิกกี้

Ziggy Marley dedicates song to polio eradication effort
Although reggae legend Ziggy Marley couldn’t attend Rotary’s World Polio Day event in Chicago on 24 October, he recorded a special message for attendees. Marley also performed a song from his latest album, “Fly Rasta,” which he said he hoped would “inspire people” to continue the effort to end polio, “which we will do soon.”
บันทึกการแสดงของซิกกี้ มาร์เลย์

Friday, November 7, 2014

November - THE ROTARY FOUNDATION Month

อาร์ค ซี คลัมภ์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิโรตารี รากฐานการเชื่อมโยงการบำเพ็ญประโยชน์ระหว่างประเทศ


Arch C. Klumph, Founder of The Rotary Foundation


Thursday, November 6, 2014

EUREKA !


ยูเรก้า !

ปัจจัยสี่ประการเบื้องหลังนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่
โดย คารีม อับดุล แจบบา

โคช จอห์น วูดเด้น
ตอนผมเป็นนักกีฬายูซีแอลเอที่มีโคชจอห์น วูดเดิร์นเป็นผู้ฝึกสอน เขาเคยพูดไว้ว่า "ผลจะออกมาดี ก็เฉพาะกับผู้ที่เตรียมตัวอย่างดีที่สุดที่จะรับผลที่ดีนั้น" เขาไม่ได้พ่นความคิดหัวเก่าประเภทโลกสวยอย่างน้ำเหลือครึ่งแก้ว เขาไม่คิดว่าเราจะชนะระดับชาติได้โดยการจ้องมองโปสเตอร์ของลูกแมวที่ถูกห้อยอยู่บนราวตากผ้า มีข้อความว่า "ห้อยอยู่ตรงนั้นแหละ ไอ้หนู" การคิดบวกนั้นสำคัญ แต่แค่นั้นมันไม่เพียงพอที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้ เขารู้ว่าการทำอะไรให้สำเร็จได้มันต้องผ่านขั้นตอนการสังเกต จินตนาการ ตั้งใจจริง และมีวินัย.
ตอนที่ผมเขียนหนังสือชื่อ "โลกของฉันสีอะไร - หน้าที่หายไปของประวัติศาสตร์นักประดิษฐ์แอฟริกัน-อเมริกัน" ผมพบว่า คุณสมบัติที่คล้ายคลึงกันในหมู่นักประดิษฐ์ทั้งหลายคือ การต้องเจอกับอุปสรรคหลายประการก่อนที่งานประดิษฐ์ของเขาจะประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ก็ยังต้องพบกับการอคติจากสังคมรอบตัวในตอนแรก ๆ ที่รับรู้ความสำเร็จของพวกเขา  เหตุผลที่ใช้คำว่า "หน้าที่หายไปของประวัติศาสตร์" ก็เพราะสีผิวของพวกเขาถูกกระแสหลักของสังคมปิดกั้นการยอมรับและผลักพวกเขาให้ไปอยู่ด้านหลังของรถโดยสารแห่งประวัติศาสตร์  การปฏิบัติเช่นนี้อาจทำให้คนบางส่วนท้อและถอนตัวออก แต่ไม่ใช่กับกลุ่มนักประดิษฐ์เหล่านี้ พวกเขาได้ "ทำให้สิ่งประดิษฐ์ของเขามีความเป็นเลิศ"


จอร์จ เดอ เมสทรัล ผู้ประดิษฐ์เวลโคร
คุณสมบัติข้อแรกที่นักประดิษฐ์ต้องมีคือ "ความช่างสังเกต" หลายคนคิดว่าตัวเองเป็นคนช่างสังเกต แต่ความจริงมันมีความแตกต่างกันมากระหว่าง "การมองเห็น" และ "ความช่างสังเกต" คนส่วนมากเห็นโอกาสที่จะต่อรองได้ดีเวลาหาซื้อของในห้าง โดยไม่ให้ถูกตอบโต้กลับ หรืออาจเฝ้าดูเด็กไม่ให้เล่นออกนอกถนน  พวกเขาเห็นเท่าที่จำเป็นในภารกิจเฉพาะหน้า ซึ่งเชอร์ล็อกโฮล์มเห็นแบบแตกต่างออกไป เขาเห็นรายละเอียดทุกอย่างและเข้าใจความหมายของแต่ละรายละเอียด นี่คือความช่างสังเกต ซึ่งจะต้องมองให้เห็นองค์ประกอบเล็ก ๆ  อย่างในกีฬาบาสเกตบอลก็เช่นกัน ผู้เล่นจะต้องไม่เพียงมองเห็นผู้เล่นคนอื่น ๆ ยืนอยู่ตำแหน่งไหน เขาจะต้องเห็นท่าทางของแต่ละคนว่ามือของพวกเขากำลังทำอะไร สายตาเขามองไปที่ไหน สามารถแปลความหมายได้ภายในอีกสามวินาทีข้างหน้า  ตัวอย่างที่ดีของงานประดิษฐ์ที่มาจากความช่างสังเกตคือ เจ้าของสินค้า "เวลโคร" ซึ่งเป็นชื่อแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ประเภท "แถบขอเกี่ยวกับห่วง" (หรือตีนตุ๊กแก หรือ แถบหนามเตย) ที่ใช้ประกอบกับสินค้ากันตั้งแต่ผ้าอ้อมยันรองเท้าบู๊ททหารและชุดนักบินอวกาศ เวลโครได้ชื่อว่าเป็นคำตอบกับปัญหาในชีวิตประจำวันมากมายหลายประการ แต่ต้นกำเนิดความคิดของเวลโครนั้นไม่ได้เกิดขึ้นในห้องแล็บ ความจริงมันเกิดจากแรงบันดาลใจของวิศวกรชาวสวิสที่เป็นคนชอบการล่าสัตว์ เชาชื่อจอร์จ เดอ เมสทรัลกับสุนัขของเขาตอนไปล่าสัตว์แถบเทือกเขาแอลป์ในปี พ.ศ.๒๔๘๔
หลังจากกลับจากการล่าสัตว์ เดอ เมสทรัลสังเกตเห็นหญ้าเจ้าชู้เกาะติดตามเสื้อผ้าและขนสุนัขของเขา  เขาสงสัยว่าเป็นเวลานับศตวรรษที่คนเดินผ่านหญ้าเจ้าชู้เหล่านี้ และในขณะที่แกะหญ้าเจ้าชู้ออกก็บ่นไป แต่ไม่เคยคิดสงสัยว่ามันมาติดเสื้อผ้าเขาได้อย่างไร  องค์ประกอบหลักของความช่างสังเกตคือขี้สงสัย ซึ่งเป็นบ่อเกิดของความปรารถนาที่จะรู้ความจริงที่อยู่เหนือความรู้เก่า ๆ   เดอ เมสทรัลเอาหญ้าเจ้าชู้มาส่องด้วยกล้องจุลทัศน์และเห็นว่าเมล็ดหญ้าเจ้าชู้แต่ละเมล็ดมีขอเกี่ยวนับร้อยขอที่พร้อมจะเกี่ยวเข้ากับวัสดุอะไรก็ตามที่มีห่วงอยู่อย่างเช่นผ้าและขนสัตว์
อีกหนึ่งตัวอย่างของความช่างสังเกตที่มีผลเปลี่ยนโลกคือ อเล็กซานเดอร์ เฟรมมิ่งในการค้นพบเพนนิซิลีน (ยาปฏิชีวนะ) ซึ่งในตอนแรกเขาเรียกมันว่า "น้ำรา"  ในปี พ.ศ.๒๔๗๑ เขากลับจากพักร้อน มาที่ห้องแล็บที่รกรุงรังและพบเชื้อราที่แพร่ขยายอยู่บนจานเพราะเชื้อแบคทีเรีย เขาแปลกใจมากที่สังเกตเห็นว่าเชื้อราเหล่านั้นฆ่าแบคทีเรียในจานทดลองจนหมด  การค้นพบนี้ได้ช่วยชีวิตคนนับล้าน แต่นี่ไม่ใช่การค้นพบครั้งแรกเพราะเมื่อ ๓๒ ปีก่อนหน้านั้น นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส เออร์เนสต์ ดูเชส์นีเมื่อตอนอายุเพียง ๒๓​ ปี จากการสังเกตการทำงานในโรงพยาบาลทหารที่ ๆ เขาทำงานว่า เด็กเลี้ยงม้าตั้งใจเลี้ยงเชื้อราบนบังเหียนม้าโดยเก็บบังเหียนม้าไว้ในที่มือ เด็กเลี้ยงม้ารู้ดีว่าเชื้อราพวกนี้ใช้รักษาอาการแผลกดทับจากการขี่ป้า ข้อสังเกตนี้เป็นเหตุให้ดูเชส์นีทำการวิจัยเพื่อระบุสายพันธ์เชื้อราและสรุปไว้ว่ามีฤทธิ์ต้านไทฟอยด์และอีโคไล.
อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง ผู้ค้นพบยาปฏิชีวนะ


จินตนาการคือคุณสมบัติข้อที่สองของนักประดิษฐ์ ทั้งนี้เพราะจินตนาการช่วยให้มองเห็นแนวทางที่จะนำเอาข้อสังเกตที่เกิดขึ้นไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้  อย่างเช่นหญ้าเจ้าชู้นำไปสู้แถบรัดของ เชื้อราไปสู่ยารักษาโรค  ความช่างสังเกตทำให้คนพูดว่า "เรื่องนี้น่าสนใจ"  และจินตนาการพาเขาไปสู่ความคิดที่ว่า "แล้วถ้าเรื่องน่าสนใจนี้เอาใช้ทำ....จะเกิดอะไรขึ้น?"  คำอธิบายที่ดีที่สุดสำหรับหัวข้อจินตนาการคงเป็นจากภาพยนตร์เรื่อง "THEY MIGHT BE GIANTS" ที่เขียนโดย เจมส์ โกลด์แมนที่บรรยายว่า จอร์จ ซี.สก๊อตให้คำอธิบายสาเหตุที่ดอน กิโฆเตคิดถูกว่า "แน่นอน เขามองไปไกลกว่านั้น เขาคิดว่ากังหันลมคือยักษ์ นั่นฟังดูเหมือนคนบ้า แต่ถ้าเราลองคิดว่ามันเป็นอะไรได้บ้าง.. ก็เหมือนพวกเราที่จิตปกติ เมื่อก่อนยังเคยคิดว่าโลกแบน แต่พอเราคิดว่า แล้วถ้ามันไม่แบนล่ะ ถ้ามันกลมล่ะ และเชื้อราบนขนมปังล่ะ จะทำเป็นยาได้ไหม  ถ้าเรามองไม่เคยสิ่งต่าง ๆ แล้วลองคิดว่ามันเป็นอะไรได้บ้าง ทำไมเป็นอย่างนั้น พวกเราเดี๋ยวนี้ก็คงอยู่ในป่าไม่ต่างจากลิง"
  

จินตนาการคือปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้โจเซฟ ลี  หนึ่งในนักประดิษฐ์ผิวดำอัฟริกันอเมริกันที่ผมเขียนถึงในหนังสือของผม เป็นนักประดิษฐ์ที่ประสบความสำเร็จ  ลีเป็นเจ้าของโรงแรมและผู้ผลิตอาหาร เขาพยายามหาทางใช้ประโยชน์จากขนมปังหมดอายุที่ต้องทิ้งลงถังขยะทุกวัน  เขารู้สึกเสียดายขนมปังเหล่านั้นที่ต้องถูกทิ้งไปเป็นจำนวนมาก เขาจึงคิดสร้างเครื่องจักรเพื่อผลิตเกร็ดขนมปังที่ภัตตาคารต่าง ๆ ใช้ในการชุบเนื้อปลา เนื้อสัตว์อื่น ๆ และขนมเค้ก  ไม่นานต่อมาสิ่งประดิษฐ์ของเขากลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของครัวในภัตตาคารทั่วโลก  ก่อนหน้านี้คนไม่รู้กี่หมื่นกี่พันคนโยนขนมปังทิ้งทุกวันเป็นจำนวนกี่ตัน จนกระทั่งคน ๆ หนึ่งมีจินตนาการที่ดีกว่า.

ดอน กิโฆเต กับยักษ์กังหันลม
ในโลกการกีฬา เราให้ความสำคัญกับความจริงจังในเกือบทุกเรื่อง  "คุณจะจริงจังกับทีมของเราได้ไหม"  โคชอาจตั้งคำถามนี้กับนักกีฬาของเขา  "ฉันจะเล่นกีฬาประเภทนี้จริงจังตลอดไปหรือไม่"  นักกีฬาอาจถามตัวเอง  เวลาทำเรื่องอะไรที่ง่าย ๆ คนเรามักจะยังนึกสนุกกับมัน  แต่พอมันเริ่มจริงจังขึ้นคนส่วนใหญ่จะเริ่มถอย  ผมเห็นนักกีฬาบาสเก็ตบอลหลายคนมีทักษะการเล่นดีเป็นธรรมชาติ แต่หลายคนก็ดีได้ไม่นาน ทั้งนี้เป็นเพราะพวกเขาขาดความจริงจัง เพราะความจริงจังนี้เป็นบ่อเกิดของความพยายาม "เพราะมีผู้ไม่ยอมแพ้แม้ถูกหยัน" (อ้างอิงดอน กีโฆเตอีกครั้งในเพลงประกอบ "ความฝันอันสูงสุด" (The Impossible Dream)).
สำหรับนักประดิษฐ์แล้ว ความจริงจังหมายถึงการไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามาระหว่างจุดของการเริ่มสังเกตเห็นและจุดที่นำไปปฏิบัติจริง  จำเรื่องของจอร์จ เดอ เมลทรัลที่ประดิษฐ์แถบรัดหนามเตยยี่ห้อ "เวลโคร" ได้ไหม เริ่มจากวันที่เขาสังเกตเห็นหญ้าเจ้าชู้ที่ติดมากับเสื้อผ้าของเขา เขาต้องใช้เวลาถึงแปดปีกว่าจะแปรเปลี่ยนข้อสังเกตนั้นเป็นสิ่งประดิษฐ์ได้.
แกร์เรตต์ มอร์แกน นักประดิษฐ์ผิวดำที่ยิ่งใหญ่
ความจริงจังอาจทำให้นักประดิษฐ์มีความเสี่ยงต่อสุขภาพหรืออาจถึงชีวิตได้ ทั้งนี้เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งประดิษฐ์นั้นใช้ได้จริง  ตัวอย่างที่ผมชอบคือนักประดิษฐ์อัฟริกันอเมริกันแกร์เร็ต มอร์แกน  เขาสามารถประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ ๆ มากมายในนามของเขา ซึ่งรวมถึงสัญญานไฟจราจร น้ำยายืดผม และต้นตำหรับหน้ากากกันแก็ซพิษ ซึ่งมีลักษณะเป็นอุปกรณ์ครอบศรีษะขนาดใหญ่มีสายท่อยาวถึงพื้นสองท่อที่ต่อมาจากหน้ากาก  เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เอาไว้ช่วยคนที่ติดในบริเวณที่มีไฟไหม้  ด้วยเหตุที่แกร์เร็ตเป็นคนผิวดำ ปัญหาอุปสรรคที่จะขายสิ่งประดิษฐ์ของเขาให้แก่แผนกอัคคีภัยจึงมีอยู่มากมาย   อย่างไรก็ตาม ในวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ มอร์แกนถูกเรียกตัวไปพบทีสถานีตำรวจ ตอนนั้นมีคนงาน ๓๒ คนติดอยู่ในอุโมงค์ใต้ทะเลสาบเอรี่  แก็ซพิษที่ฟุ้งกระจายในอุโมงค์ทำให้เป็นไปไม่ได้ที่จะส่งคนเข้าไปให้ความช่วยเหลือคนงานเหล่านั้น มอร์แกนโยนชุดหน้ากากกันควันพิษขึ้นบนรถกระบะ เขาเป็นคนดำคนแรกที่สามารถหาซื้อรถมาใช้ได้ แล้วไปรับแฟรงค์น้องชายของเขา เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุมีเพียงแกร์เรตต์ แฟรงค์ กับผู้ที่เชื่อในประดิษฐกรรมของเขาอีกสองคนที่ยอมสวมหน้ากากป้องกันควันพิษ แล้วคลานเข้าไปในอุโมงค์จนพบและช่วยเหลืออาคนงานที่ได้รับบาดเจ็บคนแรก  นักผจญเพลิงที่เหลือยังลังเลที่จะใช้อุปกรณ์กันควันพิษจนเห็นว่าพวกของแกร์เรตต์สามารถช่วยชีวิตคนงานที่ติดอยู่ในอุโมงค์ออกมาได้อีกหนึ่งคน เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติการครั้งนั้น เขาสามารถช่วยชีวิตคนงานได้ ๒๙ คน  แม้สองพี่น้องมอร์แกนกับหน้ากากกันพิษของเขาสร้างวีรกรรมอันน่าทึ่ง  แต่หนังสือพิมพ์ของเช้าวันรุ่งขึ้นกลับไม่มีการรายงานถึงปฏิบัติการของพี่น้องผิวดำมอร์แกน  แม้กระนั้นก็ตามมอร์แกนก็ยังคงยึดมั่นกับประดิษฐกรรมของเขาและในที่สุดสามารถขายมันให้กับศูนย์อัคคีภัยทั่วประเทศ
ตอนที่ผมเริ่มเล่นบาลเก็ตบอล ผมเป็นนักบาสที่สูงที่สุดในกลุ่มเพื่อนที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกัน  ทุกคนคิดว่าผมจะเล่นบาสได้ดีโดยปริยาย  แต่ความจริงไม่เป็นอย่างนั้น ผมผอมและแก้งก้างมากเหมือนสุนัขเกรฮาวด์วิ่งบนพื้นที่เพิ่งลงแวกซ์ขัดพื้น ผมต้องใช้เวลาเป็นปีฝึกหัดให้มีทักษะและความมั่นใจที่จะเล่นบาสเก็ตบอลในระดับสูง  เพราะฉะนั้นความสูงอาจส่งผมเข้ามาอยู่ในทีม แต่วินัยคือสิ่งที่ช่วยให้ผมคงอยู่ร่วมกับทีมได้  นักกีฬาหลายคนทั้งที่เป็นระดับมัธยม มหาวิทยาลัย และมืออาชีพ เบื่อหน่ายการฝึกและซ้อมอย่างหนักซึ่งนับเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทักษะ แต่พวกเขาก็ยังคงต้องกลับมาฝึกซ้อมเพราะต้องรักษาวินัยเพื่อผลที่จะเกิดขึ้นอย่างที่เขาพึงพอใจในอนาคต  พูดถึงวินัยผมมีตัวอย่างที่ชอบมากตัวอย่างหนึ่งของนักประดิษฐ์ ซึ่งต่อไปนี้เป็นเกร็ดประวัติที่เล่าโดยวอลเตอร์ เอส.มัลลอร์รี่่ี่เพื่อนเก่าแก่คนหนึ่ง ถึงโธมัส เอดิสัน ในหนังสือชีวประวัติของเอดิสันชื่อ ชีวิตและผลงาน เขาเขียนว่า "ผมเจอเขานั่งอยู่บนเก้าอี้ยาวที่มีความกว้าง ๓ ฟุตและยาวประมาณ ๑๕ ฟุต บนเก้าอี้ยาวนั้นมีจานทดลองเซลส์ที่ทำปฏิกริยากับสารเคมีต่าง ๆ นับร้อยจาน เขานั่งอยู่บนเก้าอี้ยาวนั้นเพื่อทดลอง ทบทวน และวางแผน ผมจึงได้รู้ว่าเขาได้ทำการทดลองเก้าพันครั้งเพื่อที่จะสร้างกล่องเก็บพลังงานแบตเตอรี่ แต่การทดลองทั้งหมดก็ไม่สามารถทำให้เขาประสบความสำเร็จในการสร้างกล่องแบตเตอรี่ได้  พิจารณาจากปริมาณแรงงานและความคิดที่ทุ่มเทลงไปกับการทดลอง ผมก็รู้สึกเห็นใจเขาและตั้งคำถาม ๆ เขาว่า 'มันน่าเสียใจกับแรงงานมหาศาลที่ทุ่มเทให้กับการทำงานนี้ แล้วยังไม่ได้ผลลัพธ์อะไรนะครับ' เอดิสันตอบกลับพร้อมรอยยิ้มทันทีว่า 'ผลลัพธ์.. ทำไมเหรอ  ผมได้ผลลัพธ์เยอะแยะไปหมด  ผมได้เรียนรู้วิธีที่ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ผิดเป็นพัน ๆ วิธี.' " 

โธมัส เอดิสัน ผ่านความล้มเหลวนับพันครั้งก่อนจะสำเร็จ
วินัยที่ทำให้คนยังกลับมาลองทำดูครั้งแล้วครั้งเล่า แม้จะทำไม่สำเร็จนับพันครั้ง  คือวินัยที่แยกความแตกต่างระหว่างคนที่ประสงความสำเร็จกับคนที่ต้องการเป็นนักประดิษฐ์
คุณเคยสังเกตหรือไม่ว่ามีคนพูดว่า "ผมเคยมีความคิดนี้มาก่อน.. ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว"  ความคิดนั้นอาจเป็นจริง  พวกเราหลาย ๆ คนอาจมีความคิดที่เข้าท่า ที่จะพัฒนาต่อไปเป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ และในที่สุดสามารถจำหน่ายในตลาดสร้างมูลค่าได้นับล้านดอลล่าร์ให้กับคนอื่น  ก็อย่างที่ได้อ่านมาตั้งแต่ต้นแล้ว ความคิดที่เกิดขึ้นมานั้นเป็นส่วนที่ง่ายที่สุดของขั้นตอนทั้งหมด การที่จะเปลี่ยนแปรความคิดนั้นให้เป็นนวัตกรรมจะต้องใช้ความพยายามมากกว่าการอุทาน "อะฮ่า!" คุณยังต้องเป็นคนช่างสังเกต มีจินตนาการ ตั้งใจจริง และมีวินัยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม.