Monday, August 31, 2015

WHY MENTOR MATTERS?

ที่ปรึกษา สำคัญตรงไหน
โดย โรเบิร์ต ดี. พัทนัม
ภาพโดย เกรก คลาก


โรแทเรียนให้คำปรึกษากับเยาวชนตามชุมชนต่าง ๆ ทุกวัน  การให้คำปรึกษาเหล่านั้นส่งผลให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง

คนอเมริกันมักคิดถึงตัวเองว่าเป็นคนเก่งแบบ "ข้ามาคนเดียว" ไม่ว่าจะเห็นจากในภาพยนตร์คาวบอยควบม้าเข้าสู่ดินแดนอันกว้างใหญ่ที่มีฉาก หลังเป็นพระอาทิตย์กำลังตก แต่หากว่าเราจะคิดสักนิดถึงความจริงที่ว่าสัญลักษณ์ของนิยายอเมริกันต้อง เกี่ยวข้องกับขบวนรถไฟที่นำเอาความช่วยเหลือจากชุมชนของผู้ บุกเบิก ลูกตุ้มกาลเวลาแกว่งไปมาระหว่างขั้วพระเอกตัวคนเดียวกับอีกขั้วคือชุมชน  ทั้งสองต่างปรากฎอยู่ในความคิดเชิงปรัชญาและในชีวิตจริงของเรา  ในช่วงกึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ไม่ว่าจะร้ายหรือดีเราก็ได้พบเห็นลูกตุ้มยักษ์แกว่งอยู่ระหว่างขั้วสุดยอดคน ในสังคม การเมือง วัฒนธรรม ในขณะเดียวกันอีกขั้วหนึ่งนักวิจัยก็ป้อนข้อมูลหลักฐานที่ว่าสังคมมีความ สำคัญเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นสถาบันทางสังคม ระบบเครือข่ายในสังคม หรือกล่าวสั้น ๆ คือ ชุมชนนั่นเอง ก็ยังเป็นขั้วที่เติมเต็มความมั่งคั่งให้กับประเทศและเป็นโอกาสของลูกหลาน ของเรา

นักสังคมวิทยามักใช้คำว่า "ทุนสังคม" เพื่ออธิบายการต่อเชื่อมทางสังคม ซึ่งหมายความถึงความผูกพันธ์ที่เกิดขึ้นแบบไม่เป็นทางการกับครอบครัว เพื่อน เพื่อนบ้าน และคนรู้จัก  ที่เกี่ยวโยงออกไปสู่สังคมพลเมือง สถาบันศาสนา ทีมนักกีฬา  กิจกรรมของอาสาสมัคร เป็นต้น  ทุนสังคมนั้นได้รับการยืนยันบ่อย ๆ ว่าเป็นดัชนีบ่งชี้ที่หนักแน่นว่าชุมชนหรือปัจเจกบุคคลอยู่ในสถานภาพที่ดี  การยึดโยงกันในชุมชนและเครือข่ายสังคมมีผลมากต่อสุขภาพ ความสุข ความสำเร็จทางการศึกษา ความสำเร็จทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัยในสังคม และ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง) สวัสดิภาพของเยาวชน  แต่ว่ามันก็เหมือนกับทุนทางการเงินและทุนมนุษย์ ทุนสังคมนั้นถูกจัดสรรออกไปอย่างไม่เท่าเทียม และความแตกต่างในการเชื่อมโยงทางสังคมเป็นผลต่อช่องว่างทางโอกาสสำหรับ เยาวชน
ผลการศึกษามากมายระบุว่าคนอเมริกันที่มีการศึกษามีเครือ ข่ายเชื่อมโยงเขาทั้งในระดับกว้างและลึก ทั้งกลุ่มคนใกล้ตัวเช่นครอบครัวเพื่อนและไกลออกไปในสังคมที่กว้างขวาง  ตรงข้ามคนอเมริกันที่มีการศึกษาต่ำ มีเครือข่ายทางสังคมที่ด้อยกว่า ซ้ำซ้อนในวงแคบ ๆ และยึดติดอยู่ในครอบครัว (ซ้ำซ้อนในวงแคบหมายถึงเพื่อนรู้จักคนที่เขารู้จักทั้งหมด พวกเขายังขาดการเข้าถึง "เพื่อนของเพื่อน" แบบที่คนอเมริกันชั้นสูงมีกัน  กล่าวโดยสรุปคือพ่อแม่ของเด็กที่เรียนถึงระดับมหาวิทยาลัยมีเพื่อนสนิท มากกว่าและมีคนรู้จักมากกว่าพ่อแม่ของเด็กที่มีการศึกษา น้อย

ห้องเรียนส่งผลต่ออนาคตของความเป็น "เพื่อนสนิท" ที่จะผูกพันกันอย่างเหนียวแน่นยาวนาน ที่อาจเกื้อกูลกันต่อไปได้ทางจิตใจและอาจมากถึงทางวัตถุ  หนึ่งในห้าของผู้ปกครองที่มีระดับความเป็นอยู่ดีมีรายงานว่ามีเพื่อนสนิท มากถึง ๒๐ - ๒๕ เปอร์เซนต์ มากกว่ากลุ่มพ่อแม่หนึ่งในห้าที่อยู่ระดับล่าง

บางทีสิ่งที่น่าจะมีความสำคัญกว่า ก็คือการที่คนอเมริกันที่มีความรู้ดีและมีเครือข่าย "ความสัมพันธ์แบบหลวม ๆ" มากและเชื่อมโยงเป็นวงกว้างหลากหลายระดับชั้น การเข้าถึงและลักษณะความหลากหลายของความสัมพันธแบบหลวม ๆ นี้มีคุณค่าต่อสังคมในอันที่จะขับเคลื่อนให้เกิดการศึกษาและเศรษฐกิจที่ดี ขึ้น เพราะว่าความสัมพันธ์แบบนี้เปิดทางให้ผู้ปกครองและเด็กที่มีฐานะดีตักตวง ประโยชน์เครือข่ายผู้มีความรู้และมีความมั่งคั่งได้มากกว่า เด็ก ๆ และผู้ปกครองที่มีฐานะยากจนกว่า

พ่อแม่ที่จบวิทยาลัยมักจะมีหนทางในการทำความรู้จักกับคนมาก หน้าหลายตา  ความสัมพันธ์หลวม ๆ นี้ดีเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอาชีพการงานที่จะสร้างความก้าว หน้าสืบเนื่องไปของลูก ๆ เช่น อาชีพอาจารย์ ครู นักกฎหมาย บุคคลากรทางการแพทย์ ผู้นำทางธุรกิจ แต่ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดกับชนชั้นแรงงานดั้งเดิมก็คือเครือข่ายที่มีอาชีพ เป็นตำรวจและเครือข่ายเพื่อนบ้าน
ในทางตรงกันข้าม ความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้ปกครองที่อยู่ในชนชั้นระดับล่างกลับรวมศูนย์ไว้ อย่างไม่เหมาะสมในกลุ่มครอบครัว (และอาจเพียงไกลออกไปในกลุ่มเพื่อนโรงเรียนมัธยมศึกษาและเพื่อนบ้านใกล้ เคียง) ซึ่งด้วยเหตุผลที่พวกเขาอยู่ในตำแหน่งทางสังคมในระดับที่ไปสุดที่ผู้ปกครอง ถึงแม้ครอบครัวที่มีความรู้ดีมีฐานะพอใช้ได้จะได้เปรียบที่ มีเครือข่ายส่วนตัวขนาดใหญ่กว่า สิ่งที่สำคัญกว่าคือคุณภาพของเครือข่ายที่มีอยู่นั้นว่ากลุ่มเพื่อนหรือคน รู้จักในเครือข่ายนั้นสามารถหยิบยื่นความช่วยเหลือแก่พวก เขาและลูก ๆ ได้

ผู้ปกครองที่มีฐานะดีจะสามารถสร้างเครือข่ายแบบหลวม ๆ ให้กับลูกของตัวเองได้ด้วยการจัดให้พบปะกับเพื่อนเด็กโตด้วยกัน คนทำงาน หรือในกิจกรรมที่จัดเตรียมไว้  ในขณะที่เด็ก ๆ จากครอบครัวคนทำงานจะไปมาหาสู่กันเฉพาะญาติสนิทกับเพื่อนบ้าน ทำให้การสร้างเครือข่ายที่มีคุณภาพเกิดขึ้นได้ยาก  เมื่อลูก ๆ ของครอบครัวมีฐานะปรับตัวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย เลือกวิชาหลัก และวางแผนการทำงาน พวกเขามีผู้ให้คำปรึกษาที่เชื่อถือได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกในครอบครัว คณะที่เรียน หรือบุคคลภายนอก ในขณะที่เด็กจากครอบครัวยากจนจะปรึกษาเฉพาะกับสมาชิกในครอบ ครัวที่สนิทกันคนหรือสองคนเท่านั้น และจะยิ่งน้อยลงไปอีกถ้าในครอบครัวไม่มีคนที่มีประสบการณ์จากมหาวิทยาลัย กล่าวโดยสรุปคือเครือข่ายสังคมของครอบครัวมีฐานะดีมีการ ศึกษาสูงจะเป็นหลักประกันการขยายความมั่งคั่งทางโอกาสแก่ เด็ก ๆ ในครอบครัว

การสร้างสายสัมพันธ์มีความสำคัญไม่เพียงแต่การหาโรงเรียน หรืองานดี ๆ เท่านั้น  ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มีมากพอ ๆ กับเส้นทางการมีโอกาสได้ฝึกงานหรือมุมหนึ่งของงานออฟฟิศ นั่นก็คือการที่ทุนสังคมสามารถปกป้องเด็กที่มีฐานะดีจากภัยที่เกิดขึ้นกับ วัยรุ่น  การศึกษาตลอด ๔๐ ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นผลที่ค่อนข้างคงที่ว่าการใช้ยาเสพติดหรือดื่มของมึน เมาเป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับเด็กที่มีฐานะดีไม่ต่างจาก เด็กยากจน แต่ที่แตกต่างกันคือครอบครัวและชุมชนให้การปกป้องคุ้มครองจนเด็กที่มาจาก ฐานะดีได้รับผลลบน้อยที่สุดจากยาเสพติดและภัยร้ายต่าง ๆ

การให้คำปรึกษาหรือการกลุ่มพี่เลี้ยงภายนอกครอบครัวมีบทบาท สำคัญชัดเจนในการช่วยให้เด็กพัฒนาศักยภาพของตนเองมากยิ่ง ขึ้น

การประเมินผลที่จัดทำด้วยความระมัดระวังของหน่วยงาน อิสระได้แสดงให้เห็นว่าการให้คำปรึกษาอย่างจริงจังสามารถ ช่วยเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ (รวมถึงพ่อแม่) ผลดีที่ตามมาคือการศึกษาและจิตวิทยาสังคมที่ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ช่วยเรื่องคะแนนเข้าเรียน ผลการเรียน สร้างคุณค่าให้แก่ตนเอง และลดการใช้ความรุนแรง การประเมินผลนี้ได้ผลค่อนข้างคงที่แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงตัวแปรที่อาจมี น้ำหนักมาก ผลที่วัดได้นี้ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อการให้คำปรึกษาทำอย่างต่อเนื่องยาวนาน และเป็นผลชัดเจนกับเด็กที่อยู่ในสภาวะเสียงสูง  (เด็กจากชนชั้นสูงมีโอกาสรับคำปรึกษาแบบไม่เป็นทางการอยู่แล้วรอบ ๆ ตัวพวกเขา ดังนั้นการให้คำปรึกษาแบบเป็นทางการไม่มีผลมากนักต่อความสำเร็จของพวกเขา) จากผลการประเมินนี้สรุปว่าการให้คำปรึกษาทำให้เกิดผลที่มี ประสิทธิภาพ

การให้คำปรึกษาแบบเป็นทางการนั้นไม่ใช่สิ่งที่เป็นปกติและ ไม่ยั่งยืนเมื่อเทียบกับการให้คำปรึกษาแบบไม่เป็นทางการ  ในการสำรวจระดับประเทศเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๖ เยาวชนตอบแบบสอบถามจำนวน ๖๒ เปอร์เซนต์บอกว่าได้รับคำปรึกษาแบบไม่เป็นทางการ (หรือแบบธรรมชาติ)  ในขณะที่เพียง ๑๕ เปอร์เซนต์รับคำปรึกษาแบบเป็นทางการ  ยิ่งไปกว่านั้นการให้คำปรึกษาแบบไม่เป็นทางการยังมีช่วงเวลายาวนานถึง ๓๐ เดือน ในขณะที่คำปรึกษาแบบเป็นทางการจบลงภายในเวลา ๑๘ เดือน

อย่างไรก็ตามค่าเฉลี่ยระดับประเทศเหล่านั้นทำให้ผลต่างใน การเข้าถึงการให้คำปรึกษาที่มีอยู่สูงมากนั้นยังไม่ชัดเจน กล่าวคือการให้คำปรึกษาแบบไม่เป็นทางการยังคงเป็นสิงที่ ปกติธรรมดาสำหรับเด็กจากครอบครัวร่ำรวยระดับกลางไปจนถึง ระดับสูงในขณะที่เด็กจากครอบครัวรายได้ต่ำจะเข้าถึงยากกว่า

เมื่อดูคะแนนรวมทุกกลุ่มสำหรับการให้คำปรึกษาแบบไม่เป็นทาง การภายนอกครอบครัว เช่น ครู เพื่อน ๆ ของคนในครอบครัว ผู้นำเยาวชน ผู้นำศาสนา โคช ผลปรากฎว่าเด็กที่มาจากครอบครัวชั้นสูงเข้าถึงได้มากกว่าสองถึงสามเท่า  เด็กฐานะดีและเพื่อน ๆ ของเขาที่มีฐานะด้อยกว่าจะมีโอกาสเท่าเทียมกันสำหรับคนในครอบครัวในการเข้า ถึงคำปรึกษา แต่เด็กครอบครัวฐานะดีมักจะได้จะได้คำแนะนำจากผู้มีความเชี่ยวชาญสูงกว่า ดังนั้นคำแนะนำสำหรับครอบครัวมักจะมีผลต่อความสำเร็จทางการ ศึกษาของเด็กในครอบครัวฐานะดีกว่า กล่าวโดยสรุปคือเด็กจากครอบครัวมีฐานะดีมักจะได้คำแนะนำแบบไม่เป็นทางการที่ ดีกว่า

ช่องว่างของการได้รับคำปรึกษานั้นมีกว้างมากในเด็กนักเรียน ระดับประถม และมีมากขึ้นเมื่อเด็กเรียนถึงระดับชั้นมัธยมต้น  ความจริงที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือการให้คำปรึกษาแบบเป็นทางการไม่ได้ช่วยปิดช่องว่างได้มากนัก  ความจริงคำปรึกษาแบบเป็นทางการชดเชยได้เพียงเล็กน้อย สำหรับนักเรียนระดับประถมกับมัธยมและจะหายไปโดยสิ้นเชิง เมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น  ในชั้นระดับมัธยมปลายนั้นไม่มีความแตกต่างกันเลยสำหรับการรับคำปรึกษาแบบ เป็นทางการ  ดังนั้นโดยรวมแล้วช่องว่างของการให้คำปรึกษา (ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ) นั้นเริ่มในระดับประถมและเพิ่มขึ้นมากเมื่อเด็กต้องการความช่วยเหลือจากนอก ครอบครัว

กล่าวโดยย่อ สองในสามของเด็กครอบครัวรำ่รวยมีผู้ให้คำปรึกษาที่ไม่ใช่คนในครอบครัว ในขณะ ที่สองในสามของเด็กยากจนไม่มี  ช่องว่างที่ชัดเจนนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเด็กยากจนไม่ต้องการคำปรึกษา เพราะความจริงก็คือเด็กยากจนซึ่งมีจำนวนมากถึงสองเท่าของ เด็กครอบครัวมีฐานะมีช่วงสำคัญของชีวิตที่ต้องการที่ปรึกษา แต่ไม่สามารถหาที่ปรึกษาได้

ผลประการหนึ่งของการเกิดช่องว่างของการมีที่ปรึกษาคือ การซำ้เติมช่องว่างของการเรียนรู้เพื่อเอาตัวรอดของเด็ก ๆ ซึ่งทำให้เด็กที่มีฐานะดีได้เปรียบกว่าในสังคมสามารถเรียน รู้การเอาตัวรอดจากโอกาสที่มีให้เลือกมากกว่า  จากการสัมภาษณ์แสดงว่า เด็กวัยรุ่นอายุ ๑๘ - ๑๙ ปีทั่วประเทศไม่เข้าใจกับการปฏิบัติตัวในโรงเรียน  ไม่ว่าจะเป็นระบบสองหรือสี่ปีในโรงเรียน หรือการจัดการการเงิน  โอกาสในการได้งานทำ  และแม้แต่โปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือพวกเขาเอง เช่น โปรแกรมการให้เงินกู้เพื่อการศึกษา  พอ่แม่ที่มีความรู้น้อยก็มีทักษะจำกัดหรือไม่มีประสบการณ์เพียงพอที่จะ อธิบายสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ข้อสำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือการที่พวกเขาขาดเครือข่ายที่ปรึกษาแบบไม่เป็น ทางการในขณะที่พวกเด็กรวยมีอยู่รอบตัว  ตัวอย่างหนึ่งที่น่าหดหู่ก็คือในระหว่างที่พวกเราเก็บข้อมูลสัมภาษณ์อยู่ นี้ คุณพ่อจากครอบครัวชนชั้นแรงงานถามเราว่าเขาจะนำลูกสาวมาร่วมสัมภาษณ์พร้อม กับลูกชายได้หรือไม่ เพื่อว่าลูกสาวคนนี้จะได้พบปะกับพวกคนที่เรียนจบมหาวิทยาลัยบ้าง โปรแกรมดี ๆ ที่ตอบสนองต่อช่องว่างทางโอกาสจะช่วยตอบสนองช่องว่างของการเรียนรู้ และในที่สุดจะปิดช่องว่างแห่งการให้คำปรึกษาได้.

----------
สโมสรของท่านจะช่วยอะไรได้บ้าง
โปรแกรม ของโรตารีหลากหลายโปรแกรมที่มุ่งพัฒนาเยาวชน ท่านอาจเริ่มจากสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้
อินเตอร์ แรคท์ เป็นสโมสรเยาวชนที่สโมสรโรตารีห้การ อุปถัมภ์สำหรับกลุ่มเยาวชนที่มี อายุ ๑๒-๑๘ ปี ท่านสามารถให้การอุปถัมภ์ได้แบบการตั้ง สโมสรในโรงเรียนหรือแบบในชุมชนก็ ได้ โดยดูขั้นตอนตามเอกสารในเว็บไซท์ต่อไปนี้ www.rotary.org/take-action/empower-leaders/sponsor-interact-club.
ไร ลา หรือ รางวัลผู้นำเยาวชนโรตารี โดยปกติไรลาคือกิจกรรมเยาวชนที่ออกแบบมาเพื่อ นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา แต่สามารถปรับหลักสูตรเพื่อเด็โตขึ้นที่มี ความเป็นผู้นำ หากต้องการจัดกิจกรรมไรลาโปรดดูรายละเอียด เพิ่มเติมที่ www.rotary.org/take-action/empower-leaders/organize-ryla-event
 
ต้อง การข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมของโรตารีที่เกี่ยว กับเยาวชน ตลอดจนทุนการศึกษาและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมได้ที่ www.rotary.org/myrotary/take-action/empower-leaders.

Thursday, August 20, 2015

Attendance VS Engagement


ทำทองไม่รู้ร้อน สโมสรจะล่มสลาย
โดย เทอร์รี่ อาร์ เวฟเวอร์ ผู้ว่าการภาค 7750 (แคโรไลน่าใต้ ประเทศสหรัฐอเมริกา)

ระหว่างเดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่ใหม่ของผมในฐานะผู้ว่าการภาค ผมมักได้รับรู้ถึงความเข้าใจผิด ๆ ในหลาย ๆ สโมสรเกี่ยวกับอุปสรรคอย่างหนึ่งที่ทำให้สโมสรไม่โต
ทองไม่รู้ร้อน
คะแนนการประชุมสโมสร

ขอให้ถอยหลังกลับมาสักนิด หลายปีก่อนสภานิติบัญญัติโรตารีสากล ได้ประกาศว่ากิจกรรมในโรตารีที่ทดแทนการประชุมได้นั้นมีมากมายหลายประการ ซึ่งรวมไปถึงวิธีการต่าง ๆ ไม่ใช่แค่การไปร่วมประชุมต่างสโมสร แต่การประชุมแบบอื่น ๆ ในสโมสรของตนเองเช่น ประชุมกรรมการฝ่ายต่าง ๆ การประชุมบอร์ด (กรรมการบริหาร) การออกไปทำโครงการ (ซึ่งบางสโมสรใช้เวลาอยู่กับกิจกรรมนั้น ๆ นานเป็นชั่วโมงหรือสองชั่วโมง) ก็นับได้ว่าเป็นการทดแทนการประชุม ที่ทดแทนได้นั้นมีความหมายรวมถึงกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของโรตารี แต่มีเงื่อนไขว่าจะให้เป็นคะแนนการประชุมได้ สมาชิกท่านนั้นก็ต้องรายงานไปยังเลขานุการสโมสรถึงการได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว หลายสโมสรมีแบบฟอร์มลงลายมือชื่อในการประชุมกรรมการฝ่าย หรือการเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ แล้วส่งรายชื่อนั้นให้แก่เลขานุการสโมสร เท่านั้นก็คือว่าเป็นคะแนนการประชุมสำหรับสมาชิกได้เลย

การประเมินการมีส่วนร่วม

ทำไมสภานิติบัญญัติยอมการทดแทนเช่นนั้น ก็เพราะว่าคะแนนการประชุมจะไม่ใช่จุดที่สมาชิกมาที่ห้องประชุมสโมสรอีกต่อไป เพราะจากนี้ไปการประเมินคะแนนการประชุมจะประเมินจากการมีส่วนร่วมของสมาชิก นี่คือดัชนีบ่งชี้ว่าสโมสรทำได้ดีพอหรือไม่ในการสร้างหนทางแห่งการร่วมมือร่วมใจของสมาชิกในกิจกรรมต่าง ๆ ของโรตารี เชื่อผมเถิด เรามีสถิติที่พิสูจน์ได้ว่าเมื่อสมาชิกขาดการมีส่วนร่วมในสโมสรแล้ว นั่นหมายถึงทางลัดที่จะพาเขาถอดใจและเขียนใบลาออกให้ท่าน ดูที่รายงานคะแนนการประชุม คนที่มาประชุมน้อยหรือไม่มาเลยคือคนที่กำลังคิดจะลาออก คุณจะทำอะไรได้บ้างไหมที่จะหาทางให้เขาเข้ามามีส่วนร่วม และหวังยิ่งกว่านั้นคือ หวังว่าเขาจะชื่นชอบในกิจกรรมบางอย่างที่สโมสรหยิบยื่นให้เขาร่วมปฏิบัติ

ที่สำคัญกว่านั้น การวิเคราะห์การมีส่วนร่วม (คะแนนการประชุมก็คือเครื่องมือพื้นฐานที่สุด) ก็เสมือนหนึ่งการสร้างหลักประกันยืนยันว่าสมาชิกได้ผลตอบแทนจากการลงทุนมาเป็นสมาชิกสโมสรของเขาเอง สมาชิกที่ไม่ปรากฎตัวในกิจกรรมโรตารีใด ๆ เลยเท่ากับเขาขาดทุนในโรตารี และถ้าเรารู้ว่ามีสมาชิกแบบนี้อยู่แต่เนิ่น ๆ เราสามารถเข้าทำการแก้ไขเยียวยาให้เขาได้กลับเข้าสโมสรทำเรื่องที่เขาสนใจได้

การมีส่วนร่วมดี การเข้าประชุมก็ดี

ดังนั้น ขอให้พวกเราอย่ามองว่าการเข้าประชุมเป็นดัชนีบ่งชี้ความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกเท่านั้น แต่เราต้องอธิบายให้สมาชิกมุ่งหวังฟังแนวทางเดียวกันหมด แทนที่จะพูดว่า “คุณต้องมาประชุมเดือนละ 4 ครั้ง” ให้พูดใหม่ว่า “เราคาดหวังว่าคุณจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมโรตารีอะไรก็ได้เดือนละ 4 ครั้ง คุณเลือกเอาเองเลยว่าอยากทำอะไร เลือกเวลาที่จะทำกิจกรรมนั้นเองได้เลย” ผมคิดว่าคำพูดสองประโยคนี้ให้ความรู้สึกแตกต่างกัน และนี่แหละคือสิ่งที่เราอยากจะวัดและประเมินจริง ๆ ยิ่งกว่า

ดังนั้นมันไม่ได้อยู่ที่การทำให้สมาชิกมาที่ประชุมสโมสร ที่จริงมันอยู่ที่รูปแบบและการนำเสนอของเราที่จะตอบสนองความต้องการแบบที่เขาเลือกเองได้ ที่เขาจะสามารถเลือกเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นของขวัญแก่ชาวโลก

บทความเพื่อเดือนแห่งสมาชิกภาพและการพัฒนาสโมสร สิงหาคม เรากำลังรวบรวมเรื่องราวดี ๆ จากสมาชิกทุกท่าน ซึ่งท่านก็สามารถร่วมเขียนร่วมส่ง เพื่อดำรงความภาคภูมิใจในโรตารี เขียนถึงเราได้ที่เฟสบุค


SOURCE:

The elephant in Rotary’s living room
By Terry R. Weaver, governor of District 7750 (South Carolina, USA)
In my travels as a newly fielded district governor, I’ve run into a misperception that several clubs have told me is getting in the way of membership growth.
The elephant in the living room?
ATTENDANCE.
Let’s step back. Several years ago, Rotary’s Council on Legislation declared that almost ANY legitimate Rotary activity qualifies as a make-up. This includes not only attending another club’s meeting, but also a committee meeting or board meeting, working on a project (some clubs say for at least one or two hours), etc. “Etc.” means anything that can reasonably be called a Rotary service activity. Now, of course to get “credit” for a make-up, the member has to report that qualifying activity to the club secretary. Most clubs use a sign-in sheet at a committee meeting or project and then forward the whole list to the secretary.
Measuring engagement
Why did the Council do that? Because the point of tracking attendance is not to make people come to meetings. When measured this way, it’s a measure of engagement — a key performance indicator of how your Rotary club is doing at involving members in Rotary activities. Believe me, we have the data to prove that when a member isn’t engaged and involved in the club, it’s a short trip to a resignation letter. Look at your members’ attendance percentages. Those at the bottom of the list are thinking about resigning. What can you do to get them engaged, involved, and — hopefully — passionate about something the club is doing?
More importantly, tracking engagement (attendance is a surrogate) is an important way of ensuring that members get the return on their Rotary investment that they deserve. Members who don’t show up for club activities aren’t getting the benefit of Rotary, and if we can identify those folks early, we can intervene and get them involved in something they’re interested in.
Participation versus attendance
So, let’s not only treat attendance as a key performance indicator for engagement but let’s explain it the same way to prospects. Rather than, “You have to attend four meetings a month,” say, “We expect you to participate in some Rotary activity four times a month — you pick the activity that works for you, and you pick the time.” I think that’s a whole different message, and actually what we’re attempting to promote and measure.
It’s not about making people come to meetings. It’s about offering them a platform where they, in their own ways and based on their own preferences, can Be a Gift to the World.
For Membership and New Club Development Month in August, we are collecting stories from members about why they joined– and are proud to stay– in Rotary. Tell us your story on Facebook


Wednesday, August 5, 2015

Ian H.S. Riseley is the Choice for RI President 2017-18


ประธานโรตารีสากล 2017-18
เอียน เอช เอส ไรส์ลี จากสโมสรโรตารีแซนดริงแกม วิคตอเรีย ออสเตรเลีย เป็นผู้ที่ได้รับเลือกจากคณะกรรมการสรรหาประธานโรตารีสากลประจำปี พ.ศ.2560-61  เขาจะก้าวเข้าสู่ตำแหน่งประธานโรตารีสากลนอมินีในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ หากปราศจากผู้ดำเนินขั้นตอนยื่นการท้าทาย
ไรส์ลีกล่าวว่าการเข้าเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทเอกชนและองค์กรภายนอกจะกลายเป็นนโยบายสำคัญที่มีผลต่ออนาคตของโรตารี
"เรามีโปรแกรมและบุคคลากรและทรัพยากรต่าง ๆ พร้อม" ไรส์ลีกล่าว "การทำความให้กับโลกนี้เป็นเป้าหมายของพวกเราทุกคน  เราต้องเรียนรู้จากประสพการณ์การกำจัดโรคโปลิโอ มาเป็นประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพในการสร้างความตระหนักแก่สาธารณชน อันจะเป็นผลงานที่นำเสนอต่อหุ้นส่วนของเราได้
ไรส์ลีเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีและเป็นเจ้าของบริษัทไรส์ลีและโก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าในและต่างประเทศ และมีความสนใจเป็นพิเศษในกิจการระหว่างประเทศ  เขาเคยได้รับรางวัลสันติภาพ "ออสเอด" จากรัฐบาลออสเตรเลียในปี พ.ศ.2547  จากผลงานของเขาในการร่วมสร้างความสงบให้เกิดขึ้นกับประเทศติมอร์-เลสเต้  เขายังได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ออสเตรเลียในปี พ.ศ.2549 จากการบำเพ็ญประโยชน์ให้กับชุมชนในประเทศออสเตรเลีย
"รัฐบาลประเทศต่าง ๆ เห็นผลงานด้านบวกของสิ่งที่โรตารีทำให้กับสังคม"  เขากล่าว "เราควรร่วมงานกับพวกเขาในกสนนำสันติภาพให้เกิดขึ้นและขจัดความขัดแย้งต่าง ๆ เช่นเดียวกับการใช้ความพยายามในการต่อสู้กับโรคโปลิโอ"
นับจากปีที่เขาร่วมกับโรตารีในปี พ.ศ.2521 เขาได้ปฏิบัติหน้าที่ให้กับโรตารีสากลในหลายฐานะ ได้แก่ เหรัญญิก  กรรมการทรัสตีมูลนิธิโรตารี  กรรมการบริหารโรตารีสากล  สมาชิกคณะกรรมการเฉพาะกิจ  ประธานและกรรมการชุดต่าง ๆ และได้ผ่านการเป็นผู้ว่าการภาคมาแล้ว
เขายังเป็นอดีตกรรมการรณรงค์กำจัดโปลิโอภาคเอกชนแห่งออสเตรเลีย และได้รับรางวัลผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อโลกที่ปลอดจากโปลิโอของมูลนิธิโรตารี  เขาและจูเลียต ภรรยาเป็นผู้บริจาคเมเจอร์โดนเนอร์ของพอลแฮร์รีสเฟลโลว์ และเป็นสมาชิกบีเควสท์โซไซตี้

รายงานโดย ไรอัน ไฮแลนด์
3 สิงหาคม 2558
Ian H S Riseley 

Ian H.S. Riseley, of the Rotary Club of Sandringham, Victoria, Australia, is the selection of the Nominating Committee for President of Rotary International in 2017-18. He will become the president-nominee on 1 October if no other candidates challenge him.
Riseley says that meaningful partnerships with corporations and other organizations are crucial to Rotary’s future.
“We have the programs and personnel and others have available resources,” says Riseley. “Doing good in the world is everyone’s goal. We must learn from the experience of the polio eradication program to maximize our public awareness exposure for future partnerships.”
Riseley is a practicing accountant and principal of Ian Riseley and Co., which specializes in advising local and international businesses, and has a strong interest in international affairs. He received the AusAID Peacebuilder Award from the Australian government in 2002 in recognition of his work in Timor-Leste. He also received the Order of Australia medal in 2006 for service to the Australian community.
“Governments see Rotary as positive representatives of a civil society,” he says. “We should work with them to advocate for peace and conflict resolution, just as we are advocating for polio eradication.”A member since 1978, Riseley has served Rotary as treasurer, director, trustee, RI Board Executive Committee member, task force member, committee member and chair, and district governor.
He is also a former member of the Australian Polio Eradication Private Sector Campaign and a recipient of The Rotary Foundation’s Service Award for a Polio-Free World. He and his wife, Juliet, are Multiple Paul Harris Fellows, Major Donors, and Bequest Society members.
The Nominating Committee’s members are Ann-Britt Åsebol, Rotary Club of Falun-Kopparvågen, Sweden; John T. Blount, Rotary Club of Sebastopol, California, USA; Hee-Byung Chae, Rotary Club of Seoul West, Seoul, Korea; Serge Gouteyron, Rotary Club of Valenciennes-Denain aérodrome Nord, France; Frederick W. Hahn Jr., Rotary Club of Independence, Missouri, USA; Stuart B. Heal, Rotary Club of Cromwell, New Zealand; Paul Knyff, Rotary Club of Weesp (Vechtstreek-Noord), Netherlands; Masahiro Kuroda, Rotary Club of Hachinohe South, Aomori, Japan; Anne L. Matthews (chair), Rotary Club of Columbia East, South Carolina, USA; Michael D. McCullough, Rotary Club of Trenton, Michigan, USA; David D. Morgan, Rotary Club of Porthcawl, Mid Glamorgan, Wales; Gideon M. Peiper, Rotary Club of Ramat Hasharon, Israel; José Alfredo Sepúlveda, Rotary Club of Pachuca Plata, Hidalgo, Mexico; P.C. Thomas, Rotary Club of Nilgiris West, Tamil Nadu, India; Alceu Antimo Vezozzo, Rotary Club of Curitiba, Paraná, Brazil; and C. Grant Wilkins, Rotary Club of Denver, Colorado, USA.

By Ryan Hyland
Rotary News 
3-Aug-2015

Monday, August 3, 2015

GOOD NEWS FROM NIGERIA


ข่าวดีจากไนจีเรีย
หน้าประวัติศาสตร์ต้องบันทึกไว้ ว่าวันนี้เป็นวันครบรอบ 1 ปี  ที่ประเทศไนจีเรียปลอดจากรายงานผู้ป่วยโรคโปลิโอรายใหม่่  จึงทำให้ประเทศไนจีเรียเกือบจะได้รับการประกาศให้เป็นประเทศปลอดโรคโปลิโอซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยตายหรือรอดชีวิตเป็นคนพิการแขนขาลีบ  ขอให้รอเพียงอีกไม่กี่สัปดาห์ หากยังไม่พบการติดต่อเชื้อโปลิโอป่าในประเทศนี้อีก องค์การอนามัยโลกก็จะประกาศอย่างเป็นทางการ และถอดชื่อประเทศไนจีเรียออกจากกลุ่มประเทศที่มีโรคโปลิโอเป็นโรคประจำถิ่น  ซึ่งจะทำให้เหลือเพียงประเทศอัฟริกานิสถานและประเทศปากีสถานเพียง 2 ประเทศเท่านั้น

Nigeria sees no Wild Polio Cases for One Year.
Today marks one year since Nigeria last reported a polio case caused by wild poliovirus.  The country is on the brink of eradicating the paralyzing disease.  If no cases are reported in the coming weeks, the World Health Organization is expected to remove Nigeria from the list of countries where polio is endemic, leaving just two: Afghanistan and Pakistan.

Source:  Friday, July 24, 2015 Nigeria reaches one year without polio