Monday, June 30, 2014

WHY Rotary Year Begins on 1 July

Rotary's first fiscal year began the day after the first convention ended. The convention of the Rotary Clubs of America was held in Rotary’s birthplace, Chicago, in 1910.
ทำไมวันเริ่มต้นปีโรตารีจึงต้องเป็น ๑ กรกฎาคม
เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไม ปีบริหารของโรตารีจึงต้องเริ่มต้นในวันที่ ๑ กรกฎาคม ของทุกปี
ในช่วงแรกเริ่มนั้น เราใช้วันแรกหลังจากวันสุดท้ายในการประชุมใหญ่โรตารีสากลเป็นวันเริ่มต้นปีโรตารี และวันเริ่มต้นปีที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โรตารีคือวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๔๕๓ และในปีต่อมาคือปีโรตารี ๒๔๕๔-๕๕ ก็ใช้ระบบเดียวกัน คือวันแรกของปีบริหารคือวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๔๕๔ 
จนกระทั่งการประชุมในปี พ.ศ.๒๔๕๕ คณะกรรมการบริหารมีมติให้เริ่มมีการตรวจสอบงบการเงินของโรตารีสากล (ในขณะนั้นใช้ชื่อว่า "สมาคมแห่งสโมสรโรตารี") ผู้ตรวจสอบบัญชีจึงเสนอว่าควรกำหนดปีการเงินขององค์กรโรตารีให้สิ้นสุดในวันที่ ๓๐ มิถุนายน เพื่อว่าจะได้เผื่อเวลาให้เลขานุการและเหรัญญิกได้ทำสรุปงบการเงินและผลงานได้เพียงพอที่จะนำเสนอในการประชุมใหญ่ประจำปี และนำเสนอแก่คณะกรรมการบริหาร ตลอดจนจะได้จัดทำรายงานให้เพียงพอต่อตัวแทนสโมสรโรตารีทั่วโลกที่จะมาร่วมประชุม
คณะกรรมการบริหารจัดทำเป็นวาระเสนอเพื่อพิจารณา และในเดือนเมษายน ๒๔๕๖ ก็มีการกำหนดให้วันที่ ๓๐ มิถุนายน ในปีนั้นเป็นวันสิ้นสุดปีโรตารี  ปฏิทินโรตารีนี้ยังใช้ในการสรุปรายงานจำนวนสมาชิกสโมสรของปีเพื่อการกำหนดค่าบำรุง ซึ่งนิตยสารเดอะโรแทเรียนก็กำหนดวันเริ่มต้นและสิ้นสุดการเป็นสมาชิกในทำนองเดียวกันนี้ (โดยเริ่มเปลี่ยนแปลงที่ฉบับที่ ๕ เดือนกรกฎาคม ๒๔๕๗)

โรตารีสากลยังคงประเพณีการจัดประชุมใหญ่ในเดือนกรกฎาคม / สิงหาคมของทุกปีจนถึงปี พ.ศ.๒๔๖๐ โดยในการประชุมใหญ่ปี พ.ศ.๒๔๕๙ ที่ประชุมตัวแทนสโมสรโรตารีทั้งหมดมีมติให้เปลี่ยนวันประชุมใหญ่ไปเป็นเดือนมิถุนายน ด้วยเหตุผลว่า อากาศในเดือนกรกฎาคม / สิงหาคมนั้นร้อนเกินไป ดังนั้นในปีถัดไปจึงกำหนดการประชุมใหญ่ในวันที่ ๑๗-๒๑ มิถุนายนที่เมืองแอตแลนต้า รัฐจอร์เจีย

ศัพท์คำว่า "ปีโรตารี" จึงได้ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ซึ่งปรากฎอยู่ในนิตยสารเดอะโรแทเรียนฉบับเดือนกรกฎาคมของปีนั้น ในข้อความที่ว่า "ปีโรตารีที่กำลังจะผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็วนี้ สามารถเห็นได้จากสัญญานของความสำเร็จในการจัดประชุมร่วมกันของสโมสรโรตารีหลายแห่ง ที่สามารถจัดร่วมกันได้ง่ายสะดวกสบายยิ่งขึ้น"
จากผลของการลงมติของคณะกรรมการบริหารโรตารีสากลในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ วันสิ้นปีโรตารีจึงถูกกำหนดให้เป็นวันที่ ๓๐ มิถุนายน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

WHY THE ROTARY YEAR BEGINS 1 JULY

Ever wonder why the Rotary year begins 1 July? The international convention initially played a key role in determining the start date of our fiscal and administrative year.

Rotary's first fiscal year began the day after the first convention ended, on 18 August 1910. The 1911-12 fiscal year also related to the convention, beginning with the first day of the 1911 convention on 21 August.
At its August 1912 meeting, the Board of Directors ordered an audit of the International Association of Rotary Clubs' finances. The auditors recommended that the organization end its fiscal year on 30 June to give the secretary and treasurer time to prepare a financial statement for the convention and board, and determine the proper number of club delegates to the convention.
The executive committee concurred, and at its April 1913 meeting, designated 30 June as the end of the fiscal year. This also allowed for changes to the schedule for reporting club membership and payments. Even The Rotarian changed its volume numbering system to correspond to the fiscal year (beginning with vol. 5, July 1914).
Rotary continued to hold its annual conventions in July or August until 1917. Delegates to the 1916 event in Cincinnati, Ohio, USA, approved a resolution to hold future conventions in June, mainly because of the heat in cities where most of them occurred. The next one was held 17-21 June in Atlanta, Georgia.
The term "Rotary year" has been used to signify Rotary's annual administrative period since at least 1913. An article in The Rotarian that July noted, "The Rotary year that is rapidly drawing to a close has been signalized by several highly successful joint meetings of Clubs that are so situated as to assemble together easily and conveniently."
Since the executive committee's decision in 1913, the end of the Rotary year has remained 30 June.

Thursday, June 19, 2014

A Toast to Rotary


คำกล่าวสดุดีโรตารี

ในโอกาสพิเศษแห่งการจัดพิธีเฉลิมฉลองของโรตารี คณะผู้จัดงานมักเชิญผู้ใหญ่ในโรตารี หรือในสโมสร (หากเป็นงานของสโมสรเอง) ขึ้นกล่าวสดุดีโรตารีหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า A Toast to Rotary International ซึ่งเนื้อหาและโครงสร้างของคำกล่าวมีมาตรฐานคล้าย ๆ กัน
ต่อไปนี้จะขอเสนอตัวอย่างคำกล่าวสดุดีโรตารีที่นับว่าเป็นมาตรฐานที่ดีและครบถ้วน

ท่านประธานจัดงาน 
มวลมิตรโรแทเรียน และแขกผู้มีเกียรติ
ผมขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโรตารีสากล ที่ถือองค์กรมิตรภาพระดับโลก 
แม้องค์กรบำเพ็ญประโยชน์ทั่วโลกในปัจจุบันจะพบกับสภาวะความกดดันในการทำงานจนต้องปิดตัวลงเป็นจำนวนมาก แต่โรตารีดูเหมือนจะเป็นองค์กรที่จำเป็นจะต้องดำรงอยู่ต่อไปด้วยเหตุผลแห่งวัตถุประสงค์ขององค์กรแห่งนี้ ที่เกิดมีขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1905 
ตลอดเวลา 110 ปี เราผ่านวิกฤติการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สงครามโลก สงครามกลางเมือง อุบัติภัยธรรมชาติ น้ำขาดแคลนหรือน้ำท่วม วิกฤติการณ์ด้านสุขอนามัยของโลก อันเป็นความท้าทายกับองค์กรบำเพ็ญประโยชน์ทุกแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโรตารี  
ท่านเป็นส่วนหนึ่งของโรแทเรียน 1.2 ล้านคนที่กระจายอยู่ในกว่า 200 ประเทศและพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ทั่วโลก  ดังนั้นเมื่อผมกล่าวว่าท่านเป็นสมาชิกขององค์กรมิตรภาพระดับโลก ท่านได้เกียรติเช่นนั้นจริง ๆ
โรตารีและโรแทเรียนไม่เกรงกลัวสิ่งท้าทาย ดังคำกล่าวของท่านผู้ก่อตั้งโรตารี พอล พี แฮร์รีสที่ได้กล่าวไว้ในการประชุมใหญ่ที่ฮาวันนา ประเทศคิวบา เมื่อปี ค.ศ.1940
"โรตารีต้องยืนหยัด  แม้กาลเวลาเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ไป แต่โรตารียังคงยืนหยัดต่อไป เพราะอะไรและทำไมเป็นเช่นนั้น ก็เพราะโรตารีบดย่อยรวมทุกอย่างเข้าด้วยกัน ยกเว้นความกลัว ความชิงดีชิงเด่น และความคลางแคลงใจ แต่เราคือองค์กรที่เป็นแท่นศิลาแห่งมิตรภาพ ขันติ และอรรถประโยชน์ ที่มีความยั่งยืนและไม่สามารถถูกทำลายลงได้"
ผมภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของโรตารีและประเทศไทย และผมขอเชิญทุกท่านยืนขึ้นเพื่อดื่มสดุดีให้กับโรตารีสากล
….เพื่อโรตารีสากล


Mr. /Madam Chairman,

Distinguished guests, my fellow Rotarians, friends of Rotary, ladies and gentlemen;

I congratulate you all on being a part of the World Wide Fellowship of Rotary International.
Service Clubs seem to have become less popular during the more affluent years.
But Rotary is just as necessary today as it was when it was first introduced in 1905.
Wars, civil unrest, natural disasters, water shortages and worldwide health issues continue to be a challenge for Service Clubs and in particular Rotary.
You are part of over 1.2million Rotarians in 200 Countries and geographical areas. When I say you are members of the world wide fellowship of Rotary International, I mean it literally.

Rotary and Rotarians love a challenge. To quote our founder Paul Harris at the 1940 RI Convention in Havana Cuba:
“Rotary stands; though the tempest rage about – Rotary still stands. Why and how? Because it is grounded not on fear, rivalry, and suspicion, but on the eternal and indestructible rocks of friendliness, tolerance, and usefulness”.
I am proud to be a part of Rotary International,  and I ask you all to stand and join me in drinking a toast to Rotary International
To Rotary International

Wednesday, June 18, 2014

The New President

เยี่ยมบ้านประธานโรตารีสากล
Gary CK Huang, 2014-15 RI President


แกรี่ ซีเค ฮวง ประธานโรตารีสากลคนใหม่
แกรี่ ฮวง เล่นกีฬาหลายประเภทแต่ที่ชอบที่สุดคือบาสเก็ตบอล เขาเป็นกัปตันทีมและเล่นตำแหน่งพอยท์การ์ด (นักส่งลูก) ในทีมโรงเรียนมัธยม "เพราะผมตัวไม่ค่อยสูงนัก แต่เล่นไว" เขาฉายภาพความทรงจำให้ฟัง "ผมรู้ดีว่าจะพาลูกไปอย่างไรเพื่อให้ทีมของเราขนะ".
นั่นเกิดขึ้นหลายสิบปีมาแล้ว แต่ไม่ว่าจะเป็นเกมบาสเก็ตบอล หรือธุรกิจ หรือโรตารี การเคลื่อนลูกบอลจะต้องเป็นไปในเกมที่ฮวงวางเอาไว้  เขานิยมการปฏิบัติและการเดินไปข้างหน้า  เขาเป็นคนประเภทกระหายสิ่งท้าทาย อย่างเมื่อตอนที่สโมสรโรตารีไทเปบอกเขาว่าเขาเด็กเกินไปที่จะเป็นสมาชิกสโมสรฯ เขาก็ยังดื้อ ตั้งหน้าตั้งตาไปร่วมประชุมกับสโมสรอยู่ได้ถึง 9 เดือน จนเขาได้รับเชิญจริง ๆ ในตอนอายุได้ 30 ปี ซึ่งเขาก็ยังไม่หยุดเคลื่อนไหวแค่นั้น เพราะหลังจากนั้นอีกห้าปี ฮวงได้เป็นนายกสโมสร และเป็นผู้ว่าการภาคที่อายุน้อยที่สุดในไต้หวันในเวลาต่อมา  และได้เป็นกรรมการอำนวยการโรตารีสากลและกรรมการทรัสตีมูลนิธิโรตารีคนแรกของไต้หวัน และในเดือนนี้เขาได้เป็นประธานโรตารีสากลคนจีนคนแรก
ฮวงเกิดที่มณฑลฟู่เจียน ภาคใต้ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  เขาเป็นลูกคนที่สามจากทั้งหมดเจ็ดคน เช่นเดียวกับคนจีนอีกเป็นจำนวนมากในขณะนั้นที่ไม่พอใจการครอบครองประเทศของคอมมูนิสต์ ครอบครัวฮวงจึงย้ายมาอยู่ในไต้หวันในปี พ.ศ.2490 เมื่อตอนที่แกรี่อายุได้ 1 ขวบ.
พ่อแม่ของฮวงเคี่ยวเข็นให้เขาเรียนหนังสืออย่างหนัก แต่ก็ไม่ละเลยที่จะสอนให้เขาเรียนรู้เรื่องอื่น ๆ นอกโรงเรียนด้วย  "พ่อเคยพูดไว้ว่า เรียนให้ได้ปริญญาก็ดีอยู่ แต่ก็ต้องร่วมทำกิจกรรมและเข้าสมาคมด้วย เพราะมันจะช่วยผมได้มากในอนาคต" ฮวงกล่าว 
แม้คุณพ่อของฮวงจะไม่ใช่โรแทเรียน แต่ก็ยังปลูกฝังทัศคติแบบโรตารีให้กับลูกๆ  คุณพ่อมักพูดว่า การช่วยเหลือผู้อื่นคือการเรียนรู้ที่จะเป็นผู้นำ ผลก็คือ ฮวงได้เป็นประธานนักเรียนตอนเรียนในระดับมัธยมศึกษา นอกจากเล่นบาสเก็ตบอลแล้ว เขายังเล่นฟุตบอล วิ่งแข่ง และด้วยกำลังจากแม่ เขาเข้าร่วมแข่งขันประกวดสุนทรพจน์ และยังเป็นหัวหน้ากล่าวปลุกใจในโรงเรียนทุกเช้าเป็นเวลานานตลอดหกปี "พ่อมีความสุขกับผลงานที่ผมทำ" ฮวงกล่าว "ทุกครั้งที่มีกิจกรรมโรงเรียนที่เป็นพิธีการ ไม่ว่าเขาจะไม่ว่างขนาดไหน ก็จะต้องไปร่วมงานจนได้".
หลังจากจบมัธยมศึกษาเขาเข้ารับราชการทหารสองปี ก่อนที่จะเดินทางไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นมิชิแกนในเมืองยิปสิแลนติ เขาจำช่วงเวลาดี ๆ ที่นั่นได้ดีเพราะเป็นห้วงเวลาที่บริสุทธิ์และเปิดโลกทัศน์เกี่ยวกับโลกตะวันตกกลางให้กับเด็กเมืองที่มาจากไต้หวัน  เขาอาศัยอยู่กับครอบครัวอเมริกันผู้ตั้งชื่อภาษาอังกฤษให้เขาว่า "แกรี่" เพราะครอบครัวนี้ชอบนักแสดงที่ชื่อ แกรี่ คูเปอร์  แกรี่ ฮวงใช้เวลาว่างทำงานหลังเลิกเรียนที่สถานีบริการน้ำมัน เขาเริ่มจากรายได้ชั่วโมงละ 1.25 เหรียญ และหลังจากนั้นสองสามปี ค่าจ้างก็ขยับขึ้นไปจนถึง 4.75 เหรียญต่อชั่วโมง ตอนที่เรียนจบบริหารธุรกิจในปี พ.ศ. 2514 เขาซื้อแหวนบัณฑิตให้กับตัวเอง "มันเป็นของชิ้นแรกที่แพงที่สุดที่ผมซื้อด้วยเงินที่ตัวเองหามาได้ เพราะฉะนั้นผมจะสวมแหวนนี้อยู่ตลอดเวลา" เขากล่าว
กระนั้นยังไม่นับเป็นการสำเร็จการศึกษาของฮวง เพราะบิดาของเขาได้รับตำแหน่งเป็นประธานบริษัทประกันภัยในไต้หวันและต้องการให้ลูกชายเตรียมตัวสำหรับการถ่ายโอนธุรกิจทางด้านนี้  ฮวงจึงต้องเข้าเรียนต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค และใช้เวลาเพิ่มเติมในประเทศอังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมันนี และญี่ปุ่นเพื่อเก็บความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกิจประกันภัยและเพื่อสร้างเครือข่ายในต่างประเทศ  หลายปีต่อมา ฮวงยังคงสร้างเครือข่ายไปทั่วโลกในฐานะประธานโรตารีสากล
เมื่อกลับประเทศไต้หวัน ฮวงเข้าทำงานกับบริษัทประภันภัยเล็กๆ แห่งหนึ่งซึ่งเขาสามารถสร้างบริษัทนี้ให้เป็นบริษัทประกันภัยชั้นแนวหน้าของประเทศได้ในระยะเวลา 15 ปี  เขาทำข้อตกลงกับประธานบริษัทไว้ว่า ขอให้เขามีเวลาสำหรับการร่วมงานกับโรตารี "ผมต้องการทำงานให้โรตารีอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น" เขากล่าว
เมื่อฮวงเริ่มประสบความสำเร็จในอาขีพการงานและในโรตารี แม่ของเขาจะคอยดึงเขาไม่ให้ลอยตัวสูงเกินไป  ถึงตอนนี้เธอก็ยังทำอย่างนั้นแม้จะอายุ 95  ปีแล้วก็ตาม  "ผมรู้ว่าแม่ภาคภูมิใจในตัวผม" เขากล่าว "แต่ไม่ว่าผมจะประสบความสำเร็จขนาดไหน เธอก็จะไม่พูดยกยอผม"
ปีที่เขาเข้าเป็นสมาชิกโรตารีก็เป็นปีเดียวกันกับที่เขาพบ คอรีนนา เหยา ภรรยาของเขา ที่ห้องสมุดในโบสถ์ "เขาขยันโทรหาฉันตลอด" เหยากล่าว แต่ฮวงจำได้ว่ามันไม่ใช่อย่างนั้น "ความจริง เธอคือคนที่จีบผมต่างหาก" ฮวงแย้ง
เขาชอบแสดงออกและชอบเข้าสังคม ส่วนเธอออกจะเก็บตัว "ดิฉันสงสัยว่าเราจะเข้ากันได้ยังไง" คอรีนนากล่าว "แต่ผ่านมา 38 ปีแล้ว เราก็ยังอยู่กันได้ดี" คู่สามีภรรยานี้ได้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูลูกสามคน บุตรีสองและบุตรชายหนึ่งคน และตอนนี้มีหลานสองคนแล้วด้วยชื่อ เอ็ดดี้ และอีแวน  คนหลังนี้เกิดในวันที่ฮวงได้รับการเสนอชื่อเป็นประธานโรตารีสากล ฮวงจึงตั้งชื่อล้อตามโอกาสที่เขาจะได้ไปทำงานที่ "อีแวนสตัน"  
ฮวงและเหยาช่วยกันเลี้ยงลูกให้เติบโตพร้อม ๆ กับโรตารี ดังนั้นความทรงจำของเด็ก ๆ จึงมีโรตารีอยู่ด้วยเสมอ  "หนูต้องการทำสิ่งที่คุณพ่อทำกับเพื่อน ๆ ในโรตารี เติบโตขึ้นมาท่ามกลางป้า ๆ ลุง ๆ ในโรตารี" ลินดา ลูกสาวคนโตกล่าวกับพ่อของเธอ  แนนซี่ ลูกสาวคนที่สองจำได้ว่าเคยไปเยี่ยมสถานเลี้ยงเด็กกำพร้ากับคุณพ่อตอนเธอยังเล็ก ๆ "เป็นครั้งแรกที่หนูได้เรียนรู้ว่าโรตารีทำอะไร ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณพ่อรักมาก" ลินดากล่าว
โครงการช่วยเหลือเด็กกำพร้าเป็นโครงการแรกที่เป็นแรงบันดาลใจให้แก่ฮวงเมื่อ 30 มาแล้ว ตอนนั้นเขาเข้าเยี่ยมที่ศูนย์และต้องชงักเมื่อเห็นเด็กถูกยัดเยียดอยู่ในห้องเดียวกันตอนกลางคืน เด็ก ๆ หลายคนทานข้าวจากชามเดียวกัน เด็กหลายคนอายุพอ ๆ กับลูก ๆ ของเขา ที่ศูนย์แห่งนั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างต้องปรับปรุง เช่นหลังคา ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ผ้าอ้อมและของใช้สิ้นเปลืองต่าง ๆ สโมสรไทเปสามารถจัดหาสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการเหล่านี้ แต่ฮวงก็อยากให้มากกว่านั้น เขากับเพื่อนโรแทเรียนอีกคนหนึ่งเสนอให้การอุปการะแก่เด็กหญิงสองคน โดยเลือกเด็กที่มีอายุ 4 ขวบทั้งสองคนซึ่งมีปีเกิดนักษัตรปีเดียวกับเขาและเพื่อนคนนั้น นั่นคือปีระกา  พวกเขาจะพาหนูน้อยสองคนนี้ไปทานอาหารเย็นด้วยกันเดือนละครั้ง  และจ่ายค่าใช้จ่ายในการเรียนจนถึงระดับวิทยาลัย  หลังจบการศึกษาพวกเขายังช่วยออกเงินค่าใช้จ่ายในการจัดงานเลี้ยงแสดงความยินดี ซื้อตั๋วเครื่องบินไปเที่ยวฮ่องกง และหางานให้แก่เด็กทั้งสองทำเมื่อเดินทางกลับบ้านแล้ว สามสิบปีต่อมาพวกเขายังได้พบปะทานอาหารเย็นประจำเดือนกัน พร้อม ๆ กับครอบครัวของหญิงสาวทั้งสอง
ฮวงเชื่อว่าโรตารีน่าจะช่วยยกระดับชีวิตของผู้คนได้ คำขวัญที่เขาเลือกที่ว่า "รวมใจจุดประกายโรตารี" สะท้อนให้เห็นแรงปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะนำพาโรแทเรียนทั้งหลายช่วยจุดแสงว่างให้เกิดขึ้นในพื้นที่ที่ยังมืดมิดอยู่  ฮวงยังหวังด้วยว่าการรวมใจจุดประกายโรตารีจะเป็นแรงบันดาลใจให้โรแทเรียนช่วยกันสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กรนี้  เขาต้องการให้โรตารีเป็นที่ให้ความสุขและสนุก ไม่ใช่แค่สนุกแต่เป็นความสนุกที่สร้างความผูกพันธ์ฉันมิตร อยากอยู่ร่วมกันและอยากให้เพื่อนอื่น ๆ มาเข้าร่วมสโมสรด้วย
การหาสมาชิกเพิ่มเป็นทักษะพิเศษของฮวง ตอนที่เขาเป็นนายกสโมสร สมาชิกเพิ่มจาก 102 เป็น 138 คน ตอนเป็นผู้ว่าการภาคเขาเพิ่มสโมสรให้กับภาคที่ดูแลถึง 19 แห่ง  "ถ้าคุณจะเชิญใครมาเป็นสมาชิก คุณต้องสร้างความสนใจให้เกับเขา" เขาให้เหตุผล "เมื่อเขาชอบ เขาจะกลับมาอีก" 
เซเลีย เอเลนา ครูซ เดอ กีอาย กรรมการอำนวยการโรตารีสากลและเพื่อนของฮวง สนับสนุนวิธีนี้ "โรตารีเป็นองค์กรที่ทำงานกันจริงจังแต่ไม่ใช่แบบเป็นทางการ ประธานแกรี่เน้นทำโรตารีให้สนุกเวลาที่พวกเราทำงานบำเพ็ญประโยชน์" เธออธิบาย
The Huang Family

ฮวงยังให้การสนับสนุนเต็มที่กับแนวคิดการเพิ่มสมาชิกหนุ่มสาวและสมาชิกสตรี "โรแทเรียนบางคนไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง พวกเขาไม่เห็นด้วยกับการการเพิ่มสมาชิกเพศหญิงหรือสมาชิกที่อายุน้อย" เขากล่าว "แต่ถ้าเราได้สมาชิกหนุ่มสาว พวกเขาจะเป็นอนาคตของเรา ในไม่กี่ปีพวกเขาจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ยิ่งขึ้นและเป็นคนดียิ่งขึ้น และอาจรวยกว่าพวกเราด้วย" ฮวงกล่าวติดตลก "มันดีสำหรับพวกเขา ดีสำหรับโรตารี และดีสำหรับสังคมของเรา"
แม้จะเป็นการกล่าวให้ตลก แต่ฮวงก็จริงจังกับการหาเพิ่มสมาชิกให้กับสโมสรอย่างยิ่ง โดยเขาได้ชวนสมาชิกในครอบครัวมาเป็นสมาชิกสโมสรด้วย ภรรยาได้รับเชิญเป็นคนแรก จากนั้นก็ตามด้วยลูกทั้งสามคน แต่ละคนก็อยู่กันคนละสโมสร  บิลลี่ ลูกชายของเขาเชื่อว่าการที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกทำให้ครอบครัวของเราใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น "เราร่วมทำกิจกรรมด้วยกัน" เขากล่าว "และผมก็เข้าใจคุณพ่อได้ดีขึ้นด้วย"
ฮวงตื่นเต้นทุกครั้งที่ผู้เกี่ยวข้องในชีวิตของเขาได้เข้าร่วมกันทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ นี่เป็นการให้ความหมายใหม่กับคำว่าครอบครัวโรตารี  เขาหวังว่าโรแทเรียนอื่น ๆ จะทำตามอย่างที่เขาทำ "ทำไมเราจะต้องทิ้งครอบครัวไว้ที่บ้าน เพื่อตัวเองจะได้ไปทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์  ในเมื่อคุณทำด้วยกันก็ได้" เขาแนะนำ "ทำอย่างนี้แล้ว การทำความดีก็จะกลายเป็นงานของครอบครัวไปด้วย"
ทุกวันนี้ ฮวงเล่นกอล์ฟแทนบาสเก็ตบอล แต่เขาก็ยังคงเป็นคนคุมเกมที่เล่นในทีม รวมทั้งทีมโรตารี ที่จะต้องชนะเท่านั้น.

โดย ซูซี่ หม่า